สถานีความคิด

ชาวกีฬาอาชีพ ฝากถึงรัฐมนตรีกีฬาคนใหม่ ที่จะเป็นผู้นำกีฬาอาชีพของไทย เผื่อจะเป็นประโยชน์ได้บ้าง ในการช่วยดูแล อย่างเท่าเทียม หรือ เหมาะสม

     เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าเขียนถึง      โดยผู้สื่อข่าวได้รับการแจ้ง เป็นเอกสาร แสดงความคิดเห็นที่ฝากถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ‘สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล’ ซึ่งอยู่ในฐานะประธานกรรมการกีฬาอาชีพคนใหม่ โดยตำแหน่ง ในปัจจุบันนี้ โดยเนื้อหา อาจจะเป็นประโยชน์ต่ออดีตและแนวทางในการพิจารณาในอนาคต ของคณะกรรมการกีฬาอาชีพ      ซึ่งเอกสารนั้นได้สรุปถึงการให้ความสำคัญ ในการพิจารณาสนับสนุนและส่งเสริม กลุ่มกีฬาอาชีพในประเทศไทย โดยคณะกรรมการกีฬาอาชีพในแต่ละปี ซึ่งได้เงินจากกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ เพื่อนำมาแบ่งปันบุคลากรกีฬาที่ข้องในกีฬาอาชีพนั้น ไม่เท่าเทียมหรือไม่เหมาะสม ที่เป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขในยุครัฐบาลใหม่ ในการดูแลกีฬาอาชีพในประเทศไทย      ที่ระบุว่า วงเงินงบประมาณของกีฬาอาชีพทุก ๆ ปี มักจะไปกองอยู่ที่บางกลุ่มชนิดกีฬา และบางกลุ่มที่เป็นบุคลากรกีฬาอาชีพเท่านั้น และ บางส่วนในมุมมองนั้นการเขียนโครงการที่ของบสนับสนุน ก็เขียนมีเป้าหมายที่ดี แต่เมื่อมีการดำเนินการแล้วกลับไม่เป็นไปตามที่ได้มีการระบุไว้ แต่ก็ได้รับการปล่อยไปจากกลุ่มที่มีการประเมินผลของโครงการนั้น ๆ โดยเฉพาะการสนับสนุนผู้จัดการแข่งขันกีฬาอาชีพ ที่มีสัดส่วนงบประมาณจากทั้งหมดที่ได้รับจากกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ มากถึง ร้อยละ 80-90 ของงบประมาณทั้งหมด ขณะที่ เรื่องอื่น ๆ เช่นการอุดหนุนองค์กรและสโมสรกีฬาอาชีพ การพัฒนานักกีฬาและบุคลากรกีฬาอาชีพ เป็นวงเงินที่สัดส่วนน้อยมาก     …

ชาวกีฬาอาชีพ ฝากถึงรัฐมนตรีกีฬาคนใหม่ ที่จะเป็นผู้นำกีฬาอาชีพของไทย เผื่อจะเป็นประโยชน์ได้บ้าง ในการช่วยดูแล อย่างเท่าเทียม หรือ เหมาะสม Read More »

ชาวกีฬาทุกระดับควรทราบและอย่าลืม “กองทุนกีฬา” มีทุนการศึกษาให้ นักกีฬาระดับทีมชาติและจังหวัด จากระดับประถมจนถึงปริญญาเอกทุกปี

                การให้ทุนการศึกษาแก่ นักกีฬาและบุคลากรกีฬา เป็นงานที่สำคัญส่วนหนึ่งของกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ที่ให้การสนับสนุนทุกปี จากระดับพื้นฐานจนถึงปริญญาเอกทีเดียว                 ที่ผ่านมา มีบุคลากรทางการกีฬา จากสมาคมกีฬาต่าง ๆ รู้เรื่องนี้ดี จึงมีการขอสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง แต่บางสมาคมกีฬาอาจจะไม่รู้หรือไม่เข้าใจ จึงยังไม่มีการยื่นขอสิทธิที่ควรจะได้จากกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ นั่นคือการขอรับทุนการศึกษาของนักกีฬาและบุคลากรกีฬา ซึ่งเปิดรับมาหลายปีแล้ว และเปิดกว้างการให้การสนับสนุน                 สำหรับปีนี้ การขอรับและการพิจารณาทุนการศึกษานั้นได้ผ่านไปแล้ว มีนักกีฬาและบุคลากรกีฬาจากสมาคมกีฬาต่าง ๆ มากกว่า 300 คน ที่ได้รับการพิจารณาให้ทุน ตั้งแต่ระดับพื้นฐาน จนระดับที่สูงสุดคือของการศึกษาคือระดับปริญญาเอกเลยทีเดียว                 และในปีการศึกษาหน้า ก็เตรียมพร้อมไว้สำหรับผู้เกี่ยวข้องที่สนใจ โดยดูจากรายละเอียด ประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ทุนการศึกษาแก่นักกีฬาและบุคลากรกีฬา พ.ศ.2562 และเพิ่มเติม พ.ศ.2563 มีรายละเอียดสรุปได้ถึงเรื่องนี้ดังนี้                 “ทุนการศึกษา” หมายถึง ทุนที่ให้เป็นค่าเล่าเรียน รวมถึงค่าใช้จ่ายในการรักษาสถานภาพเป็นนักศึกษา เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายทางการศึกษา และค่าใช้จ่ายอื่นตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนเห็นสมควร                 ผู้มีสิทธิยื่นเสนอขอรับทุนการศึกษาตามประกาศนี้ คือสมาคมกีฬาทั้งใช้ชื่อแห่งประเทศไทยและแห่งจังหวัด โดยนักกีฬาในสังกัด รวมทั้งบุคลากรกีฬา เช่นผู้ฝึกสอนทีมชาติ …

ชาวกีฬาทุกระดับควรทราบและอย่าลืม “กองทุนกีฬา” มีทุนการศึกษาให้ นักกีฬาระดับทีมชาติและจังหวัด จากระดับประถมจนถึงปริญญาเอกทุกปี Read More »

เงินรางวัลเอเชี่ยนพาราเกมส์…สำหรับนักกีฬาคนพิการและผู้เกี่ยวข้องว่ามีเท่าไหร่ และมีรายละเอียดอย่างไรก่อนไปเอเชี่ยนพาราเกมส์ครั้งที่ 4 ที่จีน

                จากที่กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ได้สนับสนุนการให้เงินรางวัลสำหรับนักกีฬา โค้ช และสมาคมกีฬา ในศึกเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 19 ที่หางโจว ประเทศจีน ซึ่งทุกคนจะรับทราบไปแล้วว่า ได้เท่าไหร่อย่างไร                 แต่หลังจากงานเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 19 แล้วนั้น ยังมีงานต่อเนื่องที่ หางโจว จะเป็นเจ้าภาพกีฬารายการเอเชี่ยนพาราเกมส์ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 22-28 ตุลาคม 2566 นี้ ซึ่งจะมีทัพนักกีฬาคนพิการของไทย ส่งไปลุยร่วมการแข่งขันเช่นทุกครั้งที่ผ่านมา                 สำหรับเรื่องของเงินรางวัลจากกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ที่จะเตรียมไว้รอให้นักกีฬา เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และ สมาคมที่ดูแลนักกีฬาคนพิการ มีรายละเอียดขั้นต้นคือ ผู้ที่ได้เหรียญทอง จะได้ 1,000,000 บาท เหรียญเงิน 500,000 บาท เหรียญทองแดง 250,000 บาท                 และยังมีรายละเอียดต่อมาที่ต้องเข้าใจคือ                 ตามประกาศของกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ปี 2565 นั้น ระบุเรื่องการคำนวณเงินรางวัลให้แก่นักกีฬาคนพิการให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (ที่จะไปเกี่ยวข้องกับการกำหนดรางวัลในแต่ละเหรียญรางวัลข้างต้น) …

เงินรางวัลเอเชี่ยนพาราเกมส์…สำหรับนักกีฬาคนพิการและผู้เกี่ยวข้องว่ามีเท่าไหร่ และมีรายละเอียดอย่างไรก่อนไปเอเชี่ยนพาราเกมส์ครั้งที่ 4 ที่จีน Read More »

เปิดความจริง เรื่องเงินกองทุนพัฒนากีฬา มาจากไหน ใครให้มา และมีวัตถุประสงค์การจ่ายงบให้ใคร อย่างไร!

            จากที่ทราบกันว่า เงินจากกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ หรือ กองทุนกีฬา นั้นถือเป็น “ท่อน้ำเลี้ยงใหญ่” ของวงการกีฬาประเทศไทย             แต่บางท่านอาจจะยังไม่ทราบรายละเอียดว่า เงินกองทุนกีฬานี้มาจากไหน มาจากแหล่งรายได้ใดในแต่ละปี เพื่อนำมาใช้จ่ายในวงการกีฬา ที่นี่มีคำตอบ…             กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ มีแหล่งรายได้หลักจากเงินที่เรียกเก็บจากผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ในอัตราร้อยละ 2 ของภาษีสุราและยาสูบ ตามมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ.2558 และที่ได้แก้ไขเพิ่มเติม โดยมีกรมสรรพสามิตและกรมศุลกากรเป็นผู้ดำเนินการเรียกเก็บเงินเข้ากองทุน ตั้งแต่วันที่ 27 มี.ค.2558 ตามกระบวนการที่ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดเก็บ การส่งเงิน การยกเว้น และการขอคืนเงินบำรุงกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ สำหรับสุราและยาสูบ พ.ศ.2558 กำหนด             นั่นคือแหล่งที่มาของเงินกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติในแต่ละปี             ส่วนเรื่อง กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ใช้จ่ายงบประมาณตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่อย่างไรนั้น มาดูกันต่อ             โดยมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ.2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้เงินกองทุนฯ สามารถนำไปใช้จ่ายเพื่อกิจการต่าง ๆ ได้ดังนี้             …

เปิดความจริง เรื่องเงินกองทุนพัฒนากีฬา มาจากไหน ใครให้มา และมีวัตถุประสงค์การจ่ายงบให้ใคร อย่างไร! Read More »

เรื่องราวของ กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ กำเนิดคู่กีฬาไทยมายาวนานและมีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง…ก่อนที่จะถึงวันนี้

            คนวงการกีฬาทั้งระดับภูมิภาค ระดับชาติ คงเคยได้ยินชื่อของ กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ บ่อยครั้ง และบ่อยครั้งมากขึ้นเรื่อย ๆ ในต่อ ๆ ไป             แต่หลายท่าน หรือ บางส่วนอาจจะไม่ทราบว่า “กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ” หรือ ที่เรียกง่าย ๆ ว่ากองทุนกีฬา ที่ช่วยส่งเสริม-สนับสนุน และถือเป็นท่อน้ำเลี้ยงสำคัญของวงการกีฬาไทยอยู่ในปัจจุบัน มีความเป็นมาอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นสิ่งที่น่ารู้ หรือ เพื่อการศึกษาของผู้ที่สนใจจะนำความรู้นี้ไปใช้ประโยชน์             เริ่มแรกของการจัดตั้งกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ จัดตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 ก.พ.2542 โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของการกีฬาแห่งประเทศไทย ซึ่งกองทุนฯ เป็นหน่วยงานที่จัดอยู่ในประเภท เพื่อการสนับสนุนส่งเสริม ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด มีภารกิจให้การสนับสนุนส่งเสริมพัฒนากีฬาชาติไปสู่ความเป็นเลิศในระดับชาติและนานาชาติ             ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 มิ.ย.2550 เรื่องเห็นชอบงบประมาณประจำปีไม่น้อยกว่า 150 ล้านบาท ทั้งนี้ให้ขึ้นอยู่กับความจำเป็นในแต่ละปี โดยสอดคล้องกับกิจกรรมทางด้านกีฬาที่กองทุนฯต้องสนับสนุนตามระเบียบ หลักเกณฑ์ เช่นข้อบังคับการกีฬาแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการบริหารกองทุนการศึกษาของนักกีฬา พ.ศ.2547 ตามระเบียบคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติว่าด้วยการจัดการเงินกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ พ.ศ.2548 …

เรื่องราวของ กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ กำเนิดคู่กีฬาไทยมายาวนานและมีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง…ก่อนที่จะถึงวันนี้ Read More »

ตอนที่ 37 : จดหมายโอลิมปิกฉบับที่แปด : การสร้างคุณลักษณะ : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

จดหมายโอลิมปิกฉบับที่แปด การสร้างคุณลักษณะ             การออกกำลังกายเป็นไปเพื่อดุลยภาพทางชีวภาพหรือสร้างเสริมความแข็งแรงทางกาย? ในบทความนี้ คูเบอร์แต็งพยายามจะอธิบายหน้าที่สองประการที่แตกต่างนี้ให้แก่ผู้อ่านวารสาร กาเซ็ตเดอโลซานน์             เนื้อหาทั้งปวงที่พวกเราจะกล่าวถึงในที่นี้คือความแตกต่างที่ต้องได้รับการเน้นย้ำสม่ำเสมอระหว่างการออกกำลังกายในการทำหน้าที่เพียงเพื่อการชดเชยทางชีวภาพและการออกกำลังกายในฐานะผู้สร้างความแข็งแกร่งทางจริยธรรมและพลังอำนาจแห่งชาติ ในกรณีแรก การออกกำลังกายเป็นการย้อนกลับสู่ดุลยภาพและการใช้ยาดีแก่หนุ่มสาวหรือผู้ใหญ่ที่ดำรงชีพด้วยความเนือยนิ่งหรือการใช้สมองมากเกินควร การออกกำลังกายจึงแสดงบทบาทในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพส่วนบุคคลเสมือนตำรวจทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยแก่สาธารณะ ในกรณีที่สองนั้น การออกกำลังกายซึ่งหากเข้าใจและนำไปปฏิบัติอีกแนวทางหนึ่ง จะสามารถช่วยสร้างคุณลักษณะ ฟื้นฟูชุมชน หรือแม้กระทั่งสร้างจุดเชื่อมโยงระหว่างชนชั้นของสังคมยุคประชาธิปไตย การออกกำลังกายชนิดนี้จึงห่างไกลจากเส้นแนวหน้าที่คับแคบของสรีรวิทยาและสถาปนาตนเองที่ใจกลางของการศึกษาระหว่างจิตวิทยาที่ปลายข้างหนึ่งและศิลปศึกษาในอีกข้างหนึ่ง รวมทั้งกลายเป็นตัวแปรหลักของความเจริญรุ่งเรืองทั้งปวง การออกกำลังกายชนิดหลังนี้เคยเป็นอยู่ในยุคกรีกโบราณ และเกือบจะดำรงอยู่ในยุคกลาง รวมทั้ง ได้ปรากฏขึ้นอีกครั้งในโลกสมัยใหม่โดยครั้งแรกอย่างไม่ตั้งใจในบรรดาชาวแองโกล-แซกซันในสมัยของคิงส์ลีย์และโทมัส อาร์โนลด์ และอีกครั้งแก่สายตาทั่วโลกด้วยแบบอย่างชัดเจนภายหลังการรื้อฟื้นโอลิมปิกเกมส์ที่ป่าวประกาศในกรุงปารีส ค.ศ.1894             ความผิดพลาดมาจากความเห็นว่า แนวคิดการออกกำลังกายสองชุดนี้เป็นดั่งเส้นคู่ขนานและต้องได้รับการกำกับดูแลด้วยกฎกติการร่วมกัน ในความเป็นจริง แนวคิดสองชุดนี้มีความแตกต่างกันมากทั้งเป้าหมายและวิธีการ แนวคิดหนึ่งชื่นชมความเพียรพยายามในขณะที่อีกแนวคิดหนึ่งหวั่นเกรง แนวคิดหนึ่งแสวงหาภยันตรายในขณะที่อีกแนวคิดหนึ่งห้ามปราม การอธิบายข้างต้นแสดงความแตกต่างในหน้าที่เหล่านั้น การออกกำลังกายมีความเหมาะสมเสมอในการนำดุลยภาพกลับคืนสู่สิ่งมีชีวิตโดยหากมนุษย์ละเลยในเรื่องนี้ จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนรุ่นหลังหากแม้นไม่ใช่แก่ตัวพวกเขาเอง ในอีกทางหนึ่ง ช่วงประวัติศาสตร์หนึ่งจะเกิดขึ้นที่สาธารณชนเรียกร้องการออกกำลังกายเพื่อเป้าหมายสู่การฟื้นฟู การบูรณะ และความเข้มงวด ซึ่งพวกเรากำลังอาศัยอยู่ในช่วงประวัติศาสตร์นี้ 

มี 2 ฝ่ายคลังใน กกท. ฝ่ายใดเป็นฝ่ายใด “ฝ่ายการคลังกองทุน” ก่อตั้งมาใหม่ เพื่ออะไร ทำหน้าที่ใด เป็นอีกมุมใน กกท.ที่น่ารู้จัก เพราะมันคือเรื่อง “เงิน”

      เรื่องเงินๆ ทองๆ ของวงการกีฬา ที่ถูกจ่ายจากแหล่งเงินสู่พี่น้องในส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในวงการกีฬา มีการพูดถึงบ่อย ทั้งที่เข้าใจและไม่เข้าใจว่า ส่วนที่เกี่ยวข้องในการจ่ายเงินนั้น เป็น “คนกลุ่มไหน” ที่เกี่ยวข้อง ในกระบวนการ       คำตอบคือ “ฝ่ายคลัง” ที่อยู่ภายใต้การกีฬาแห่งประเทศไทย คือ “ผู้จ่าย” เงินหลังจากที่มีการอนุมัติผ่านในโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ของชาวกีฬาที่มีสิทธิขอ ได้ร้องขอและได้รับการอนุมัติแล้ว       ซึ่งก่อนหน้านั้นจะมีอยู่ “ฝ่ายคลังเดียว” ที่รับผิดชอบ คือฝ่ายการคลังของการกีฬาแห่งประเทศไทย แต่ปัจจุบันจะมีเพิ่มอีก 1 ก็คือ “ฝ่ายการคลังกองทุน” ขึ้นมาในการกีฬาแห่งประเทศไทย เพื่อมาช่วยทำงานด้านการเบิกจ่ายเงินให้กับวงการกีฬาอีกกลุ่ม…นี่เป็นความรู้ที่วงการกีฬาควรเข้าใจ จะได้เดินเข้าหาเพื่อสอบถามหรือติดตามงานได้ถูก เพราะเรื่องเงินใหญ่เสมอ       ผอ.ประวิทย์ เมตตา ผู้อำนวยการฝ่ายการคลังกองทุน กกท.คือผู้ที่จะอธิบายให้ฟัง เพื่อความเข้าใจของที่มาที่ไปเกี่ยวกับการมี “2 คลัง” ในการกีฬาแห่งประเทศไทย โดยเปิดเผยว่า   …

มี 2 ฝ่ายคลังใน กกท. ฝ่ายใดเป็นฝ่ายใด “ฝ่ายการคลังกองทุน” ก่อตั้งมาใหม่ เพื่ออะไร ทำหน้าที่ใด เป็นอีกมุมใน กกท.ที่น่ารู้จัก เพราะมันคือเรื่อง “เงิน” Read More »

มีเหรียญก็มีเงิน จากกองทุนพัฒนาการกีฬาชาติ…มารอลุ้นเหรียญ-เงินรางวัลทัพไทย ที่จะได้จากศึกเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 19

     การแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 19 ณ เมืองหางโจว ประเทศจีน ระหว่าง วันที่ 23 ก.ย.-8 ต.ค.2566 นักกีฬาไทยและเจ้าหน้าที่จากสมาคมกีฬาต่าง ๆ  รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องของทีมกีฬาไทยทั้งหมดจำนวน  1,290  คน กำลังจะเดินทางไปทำหน้าที่ ในฐานะตัวแทนจากประเทศไทย เพื่อร่วมการแข่งขันกับชาติต่าง ๆ ในทวีปเอเชีย      สำหรับคนไทยแล้วนั้น กีฬาระดับมหกรรมกีฬาที่ใหญ่ที่สุดของเอเชียหนนี้ ที่น่าเชียร์ และน่าติดตาม ส่วนหนึ่งคือ การสร้างผลงานของนักกีฬาไทย จากสมาคมกีฬาต่าง ๆ ทั้ง 48 สมาคมนั้น จะสามารถ คว้าเหรียญรางวัลจาก 40 ชนิดกีฬาที่เจ้าภาพจัดและจำนวนเหรียญที่ชิงกว่า 482 เหรียญทอง เราจะได้มากแค่ไหน      หลังจากที่ในการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 18 ที่ผ่านมา เมื่อปี 2561 ซึ่งประเทศอินโดนีเซีย จัดที่เมืองปาเล็มบัง นั้นทีมนักกีฬาไทย สามารถคว้าเหรียญได้ 11 เหรียญทอง …

มีเหรียญก็มีเงิน จากกองทุนพัฒนาการกีฬาชาติ…มารอลุ้นเหรียญ-เงินรางวัลทัพไทย ที่จะได้จากศึกเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 19 Read More »

‘ปานปรีย์’ นำทัพเป็นประธานกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติคนใหม่ และมาลองดูว่าตามโครงสร้างของกองทุนกีฬาแห่งชาติมีใครบ้าง

     ตั้งแต่มีการก่อตั้งกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ในยุคปี พ.ศ.2542 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันนั้น ผู้นำที่ถือเป็นหัวเรือใหญ่ ในฐานะประธานกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาตินั้น มีมาแล้วถึง 13 คนด้วยกันที่ทำหน้าที่ ตามลำดับดังนี้                 1.นายชวน หลีกภัย                 2.นายปองพล อดิเรกสาร                 3.นายกร ทัพพะรังสี                 4.นายโภคิน พลกุล                 5.พลเอกธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา                 6.นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ                 7.นายคิด จาตุศรีพิทักษ์                 8.หม่อมราชวงศ์ ปรีดิยาธร เทวกุล                 9.พลตรีสนั่น …

‘ปานปรีย์’ นำทัพเป็นประธานกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติคนใหม่ และมาลองดูว่าตามโครงสร้างของกองทุนกีฬาแห่งชาติมีใครบ้าง Read More »

เปิดจำนวนเงิน…ไทยเทงบ 1.3 พันล้าน จากกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ และบางส่วนจาก กกท. ส่งนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ลุยเอเชี่ยนเกมส์’19

     การส่งนักกีฬาและเจ้าหน้าที่จากประเทศไทยไปเข้าร่วมการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 19 ณ เมืองหางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน “หางโจวเกมส์” ในช่วง 23 ก.ย.-8 ต.ค.2566 ใช้งบประมาณทั้งหมดประมาณเท่าไหร่ และใช้ในการดำเนินการส่วนไหนบ้าง เป็นคำถามที่เชื่อว่ามีผู้อยากทราบ      นายประชุม บุญเทียม รองผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ฝ่ายกีฬาเป็นเลิศและวิทยาศาสตร์การกีฬา ซึ่งเป็นผู้ดูแลการรับและจ่ายงบ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ไทยไปร่วมศึกกีฬา “หางโจวเกมส์” มีคำตอบ ในรายละเอียดที่สนใจครั้งนี้      โดยได้เปิดเผยว่าจากที่ประเทศไทยส่งนักกีฬาและเจ้าหน้าที่เข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้ จำนวน 40 ชนิดกีฬา มีนักกีฬาและเจ้าหน้าที่จากไทยไปร่วมรวมแล้วจำนวน 1,411 คน      ในด้านงบประมาณที่เกี่ยวข้อง เริ่มจากการเก็บตัวฝึกซ้อมนักกีฬา ที่แบ่งเป็น 2 ระยะ คือตั้งแต่ 1 พ.ย.2564-30 ก.ย.2565 และอีกช่วงคือ 1 ต.ค.2565-20 ก.ย.2566 รวมแล้วทั้งหมด 2 ช่วงเก็บตัวนักกีฬาจะเป็นจำนวน 689 …

เปิดจำนวนเงิน…ไทยเทงบ 1.3 พันล้าน จากกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ และบางส่วนจาก กกท. ส่งนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ลุยเอเชี่ยนเกมส์’19 Read More »

error: Content is protected !!