Lerpop Sorutana

เลิกไม่เลิก เลื่อนไม่เลื่อน เอเชียนอินดอร์ อยู่ที่ “บิ๊กป้อม” ที่จะนำนาวากีฬาไทยไปทางใด และเชื่อว่า”สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย” กำลังเฝ้ารอการตัดสินใจของไทยอย่างใกล้ชิด

   อยู่ที่เรื่องมติคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย (บอร์ด กกท.) เมื่อ 31 พ.ค.2566 กับการมีมติที่จะขอยกเลิกหรือเลื่อนการแข่งขันเอเชียนอินดอร์และมาเชียลอาร์ทเกมส์ ครั้งที่ 6 ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพในเดือน พ.ย.2566  อีกไม่กี่เดือนข้างหน้า    ด้วยเหตุผลอย่างเดียวที่ชัด ๆ คือ ตอนนี้ในช่วงรัฐบาลรักษาการนั้น กกท.ทำเรื่องของหารือสำนักงบประมาณ เพื่อที่จะเดินต่อไปขอความเห็นชอบ จากคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อที่จะขอเงินงบกลางจากรัฐบาล ยังไม่แน่ชัด ขณะที่ข่าวขั้นต้นนั้น ระบุแนวทางที่สองที่เดินไม่ได้คือ การของบจากเงินสะสมกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ไม่ได้อีก โดยข้อสรุปคือกองทุนไม่มีงบแบ่งให้    มติการขอยกเลิก หรือขอเลื่อน จึงเกิดขึ้น จากบอร์ด กกท.ที่ทุกคนต้องร่วมรับผิดชอบ ถึงแม้จะอ้าปากไม่ค่อยได้ก็ตาม แต่คงหนีความรับผิดชอบไม่ได้เพราะเป็นมติกลุ่ม    ทันทีที่ข่าวออกมา กระแสในวงการกีฬาระดับคีย์แมนกีฬาของชาติ นานาชาติ หรือแม้แต่คนในองค์กรกีฬาทุกระดับของไทย ต่างก็กระซิบกันว่าไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ที่จะขอยกเลิก แต่ไม่กล้าพูดดัง ๆ มากกว่านั้น เพราะเกรงจะโดนเพ่งเล็งโดยใช่เหตุ จากผู้ไม่ประสงค์ดี ไปฟ้องเจ้านาย    คำว่าไม่เห็นด้วยกับการยกเลิกคนของวงการกีฬา กับที่นี่ Station THAI ก็ตรงกันคือ …

เลิกไม่เลิก เลื่อนไม่เลื่อน เอเชียนอินดอร์ อยู่ที่ “บิ๊กป้อม” ที่จะนำนาวากีฬาไทยไปทางใด และเชื่อว่า”สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย” กำลังเฝ้ารอการตัดสินใจของไทยอย่างใกล้ชิด Read More »

เงินอัดฉีดจากกองทุนกีฬา สำหรับนักกีฬาไทยชุดซีเกมส์ 2023 คลอดแล้ว สรุปทั้งสิ้น 247.5 ล้านบาท มีแค่ 2 ใน 40 สมาคมไร้ผลงาน จึงไม่ได้ซักบาท

   ผู้สื่อข่าว Station THAI ได้รายงานว่า จากผลงานในการแข่งขันซีเกมส์ครั้งที่ 32 ที่ กัมพูชาช่วงที่ผ่านมา ซึ่งทัพนักกีฬาไทยสามารถคว้าเหรียญรางวัลได้ 108 เหรียญทอง 86 เหรียญเงิน และ 108 เหรียญทองแดงนั้น ในการสรุปยอดเงินรางวัลที่นักกีฬาไทยทำเหรียญรางวัลได้ รวมทั้งผู้ฝึกสอน และสมาคมกีฬาที่มีเหรียญจากการแข่งขันครั้งนี้ ที่จะได้รับเงินรางวัลจากกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ซึ่งโดยเงื่อนไขจากประกาศของกองทุนไว้คือ นักกีฬาที่ได้เหรียญทอง จะได้ 300,000 บาท เหรียญเงิน 150,000 บาท และเหรียญทองแดง ได้ 75,000 บาท ขณะที่ผู้ฝึกสอนของกีฬาที่เป็นบุคคลหรือทีมไม่เกิน 6 คน จะได้ร้อยละ 20 หากเป็นทีมตั้งแต่ 7 คนขึ้นไปได้ร้อยละ 10 จากวงเงินที่นักกีฬาได้ และ สมาคมกีฬาจะได้ร้อยละ 30 จากจำนวนเงินที่นักกีฬาได้ แต่ไม่เกิน 10 ล้านบาทนั้น ตอนนี้ได้สรุปออกมาแล้ว จะเป็นเงินรางวัล รวมทั้งหมดทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง จำนวน 247,552,500 …

เงินอัดฉีดจากกองทุนกีฬา สำหรับนักกีฬาไทยชุดซีเกมส์ 2023 คลอดแล้ว สรุปทั้งสิ้น 247.5 ล้านบาท มีแค่ 2 ใน 40 สมาคมไร้ผลงาน จึงไม่ได้ซักบาท Read More »

พลตรีโอสถ สบายใจได้แจงต่อ “บิ๊กป้อม” กรณีห่วงใยต่อการบริการนักกีฬาคนพิการแล้ว และยินดีที่จะให้ข้อมูลที่มั่นใจว่าชัดเจน ต่อบอร์ดกองทุนกีฬา หากมีการสอบถามข้อเท็จจริง

                จากที่การเดินทางโดยเครื่องบินเช่าเหมาลำของนักกีฬาคนพิการของไทย ที่เดินทางไปกัมพูชา เมื่อวันที่ 31 พ.ค.2566 เพื่อร่วมการแข่งขันกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ครั้งที่ 12 ณ กรุงพนมเปญ ซึ่งเจอปัญหาเรื่องไม่สามารถของการขนอุปกรณ์และกระเป๋าส่วนตัวของนักกีฬา ไปพร้อมกับนักกีฬาได้ และต้องขนตามไปส่งให้กับนักกีฬาในเช้าวันต่อมาอย่างครบถ้วน แต่จากกรณีดังกล่าว กลายเป็นเรื่องที่ กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ที่คณะกรรมการบริหารบอร์ด กองทุน ซึ่งมีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณเป็นประธาน เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.2566 ได้หยิบยกเรื่องที่นักกีฬาประสบปัญหานี้เข้าสู่ที่ประชุม และมีการวิพากษ์วิจารณ์จาก กรรมการบางท่าน จนมีการมอบให้การกีฬาแห่งประเทศไปตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อรายงานต่อบอร์ด กองทุน                 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่า ภายหลังมีข่าวเรื่องดังกล่าว พลตรี โอสถ ภาวิไล เลขาธิการคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย ที่รับผิดชอบในการดำเนินการ อำนวยความสะดวกให้นักกีฬาคนพิการ ได้เปิดเผยว่า การดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้นั้นได้เสร็จสิ้นไปแล้วโดยไม่ได้กระทบหรือเสียหายต่อการเตรียมตัวเข้าร่วมของนักกีฬาแต่อย่างใด และจากที่มีข้อกังขา เรื่องการจัดจ้างนั้น ก็ยืนยันได้ว่า ทุกอย่างก็เป็นไปตามความเหมาะสมและอำนาจหน้าที่ทุกอย่าง เราคัดเลือกเอาผู้เสนอราคา ที่ต่ำกว่างบที่การกีฬาแห่งประเทศไทยให้ไว้                 …

พลตรีโอสถ สบายใจได้แจงต่อ “บิ๊กป้อม” กรณีห่วงใยต่อการบริการนักกีฬาคนพิการแล้ว และยินดีที่จะให้ข้อมูลที่มั่นใจว่าชัดเจน ต่อบอร์ดกองทุนกีฬา หากมีการสอบถามข้อเท็จจริง Read More »

ตอนที่ 21 : จดหมายโอลิมปิก ฉบับที่สิบสี่ : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

จดหมายโอลิมปิก ฉบับที่สิบสี่: คุณค่าของการชกมวย (ตอนที่หนึ่ง)             คูเบอร์แต็งให้คุณค่าเชิงการศึกษาเป็นอย่างมากแก่กีฬาฟันดาบและโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกีฬาชกมวยสำหรับการสร้างความเป็นชาย โดยท่านไม่พอใจเป็นที่สุดในกรณีที่กีฬาชกมวยถอนตัวจากโปรแกรมในโอลิมปิกเกมส์ 1912 ที่สต็อกโฮล์มเนื่องด้วยเหตุผลทางกฎหมาย คูเบอร์แต็งชื่นชอบกีฬาทั้งสองชนิดอย่างสูงซึ่งท่านเองได้ฝึกหัดกีฬาทั้งสองชนิดนี้ จึงไม่เป็นที่แปลกใจว่าท่านได้ตีพิมพ์บทความหลายชิ้นเกี่ยวกับกีฬาสองชนิดนี้ จดหมายโอลิมปิกทั้งสองฉบับต่อไปนี้ คูเบอร์แต็งทบทวนความสำคัญเชิงการศึกษาของกีฬาป้องกันตัวสำหรับเยาวชนโดยเน้นย้ำประโยชน์ของการชกมวยด้านการบำบัด ธีโอดอร์ รูซเวลต์ ได้แสดงความมีประสิทธิผลของเรื่องนี้โดยการเปิดชมรมชกมวยในพื้นที่ยากจนของนิวยอร์ค              เมื่อวานก่อน ข้าพเจ้าได้สาธยายวิธีการที่ ธีโอดอร์ รูซเวลต์ ได้ใช้กีฬาชกมวยเป็นบันไดขั้นแรกของการพัฒนาความเป็นชายของตนเองอย่างหนักแน่น ในปัจจุบัน การชกมวยไม่เป็นที่ชื่นชอบของพลเมืองโลซานน์ พ่อแม่ไม่ประสงค์ให้ลูกหลานเข้าไปข้องแวะซึ่งพวกเขาผิดพลาดยิ่งในเรื่องนี้ ในสายตาของพวกเขา การชกมวยเป็นเพียงแค่ศิลปะของการชก (ศิลปะที่เป็นธรรมชาติของความจำเป็นต้องการที่ปลายแขนผู้ชายที่แข็งแรงและเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ) ซึ่งเป็นความไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง การชกมวยไม่ใช่สัญชาติญาณเท่านั้น หากท่านไม่เคยลองเรียนชกมวย จงลองต่อยหรือเตะให้ตรงดู แล้วท่านจะค้นพบไม่เพียงความงุ่มง่ามแต่ยังเป็นความไร้ประสิทธิผลอย่างสิ้นเชิงของความพยายามตนเอง ซึ่งจะกลายเป็นการเฉี่ยวหรือการชะงักงันเท่านั้น ท่าทางที่ธรรมชาติสอนให้คนป้องกันตนเองคือการคว้าจับอาวุธใกล้มือ หรืออาจยึดกุมคู่ต่อสู้และพยายามทุ่มเขาลงซึ่งเป็นอันตรายในทุกสิ่ง ทัศนคติของนักชกมวยมีดุลยพินิจมากกว่านั้นมาก โดยจะเริ่มต้นการปกป้องจากการจัดท่าด้วยทักษะระดับสูงที่พร้อมต่อสู้จากด้านหลัง เล็งกำหมัดที่เข้าหา และตัดสินใจที่จะหลบหลีกหรือปัดป้อง พร้อมหาพื้นที่รุกหรือตอบโต้กลับ รวมทั้งรวบรวมความแข็งแรงสู่ด้านหน้าในช่วงเวลาวิกฤต ซึ่งเป็นกลวิธีและยุทธศาสตร์แบบย่อส่วนที่ต้องการคุณลักษณะด้านร่างกายและจิตใจเป็นอย่างมาก นักชกมวยจำเป็นต้องมีความนิ่งและผ่อนคลาย ความว่องไวของสายตาและการตัดสินใจ ความปราดเปรียวว่องไวและเหนือสิ่งอื่นใดคือ พลังความกล้าหาญที่ต่อเนื่องตลอดเวลาของการแข่งขัน ซึ่งจะไม่ปรากฎความอ่อนแอแต่ประการใด             นอกจากประโยชน์ข้างต้นแล้ว การชกมวยคือกีฬาสำหรับชายชาตรีที่เร่งรีบด้วยการออกกำลังกายอย่างเต็มที่ในเวลาสั้นที่สุดและต้องการอุปกรณ์น้อยชิ้น สิ่งจำเป็นคืออะไร? ถุงมือคู่หนึ่ง กางเกงขาสั้น และรองเท้าพื้นนุ่มเปิดส้น …

ตอนที่ 21 : จดหมายโอลิมปิก ฉบับที่สิบสี่ : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »

สพสท เตรียมจัดประชุมวิชาการแห่งชาติ ครั้งใหญ่ที่กาญจนบุรี เดือนสิงหาคม 2566 นี้ กิจกรรม และการบรรยายจากผู้ทรงคุณวุฒิหลากหลาย เชิญชวนผู้สนใจติดต่อร่วมงานด่วน

   รองศาสตราจารย์ ดร.วิชิต คนึงสุขเกษม นายกสมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และ สันทนาการแห่งประเทศไทย หรือ สพสท เปิดเผยว่า ในวันที่ 9-11 สิงหาคม 2566 นี้ ที่โรงแรม RS HOTEL (ราชศุภมิตร) จังหวัดกาญจนบุรี ทางสมาคมจะจัดกิจกรรมการประชุมวิชาการแห่งชาติครั้งใหญ่ในรอบปี ในหัวข้อเรื่อง กิจกรรมทางกายเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะสู่วิถีอนาคต ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้สนใจ ครูอาจารย์ด้านที่เกี่ยวข้อง หรือนิสิต นักศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมงาน    โดยในงานที่จะจัดขึ้นนั้นในช่วง 9-11 สิงหาคม 2566 นั้น จะมีการปาฐกถาพิเศษ จากนายแพทย์ อุดม อัศวุตมางกุร ผู้อำนวยการกองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข การบรรยายจาก ดร.จรวยพร ธรณินทร์ อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นายแพทย์ ดร.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ดร.อารีกุล …

สพสท เตรียมจัดประชุมวิชาการแห่งชาติ ครั้งใหญ่ที่กาญจนบุรี เดือนสิงหาคม 2566 นี้ กิจกรรม และการบรรยายจากผู้ทรงคุณวุฒิหลากหลาย เชิญชวนผู้สนใจติดต่อร่วมงานด่วน Read More »

วงการกีฬาลุ้น “บอร์ดกกท.” ทบทวนมติขอยกเลิกการจัดเอเชี่ยนอินดอร์ หวั่นเหตุผล และความกระชั้นชิดของเวลา จะทำให้ชาติเสียหาย และหากไม่จัดจริง เชื่อว่าจะเป็นการทิ้ง “มรดกบาป” ให้กับวงการกีฬาไทยไปตลอดกาล

   คงจะข่าวที่โด่งดังแน่นอน หากว่ามีการดำเนินการ “จริง” กับเรื่องที่คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย (บอร์ด กกท.) ซึ่งประชุมเมื่อ 31 พ.ค.2566 มีมติจะขอยกเลิกการจัดการแข่งขันเอเชียนอินดอร์ และมาเชียลอาร์ตเกมส์ ครั้งที่ 6 ที่ไทยขอเป็นเจ้าภาพมาเองและกำหนดจะจัดในเดือน พ.ย.2566 ที่กรุงเทพ และ ชลบุรี ที่หากจะนับจริง ๆ นั้นเหลือเวลาไม่ถึง 6 เดือนดีแล้วที่มหกรรมนี้จะเริ่มต้นขึ้น    โดยกระบวนการต่อไปหากไทยจะยกเลิกจริง คือ จะต้องแจ้งมติบอร์ด กกท.ไปยังคณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อระบุเหตุผลในการขอยกเลิก แล้วส่งต่อให้ คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย แจ้งไปยังสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย หรือ โอซีเอ ที่เป็นเจ้าของเกมส์ (ซึ่งกว่าจะเสร็จกระบวนการนี้อาจจะเหลือเวลาไม่ถึง 4-5 เดือนก่อนงานจะเริ่มแข่งจริง) และต่อไป โอซีเอ ต้องเรียกฝ่ายที่เกี่ยวข้องประชุม ถ้าพิจารณาเห็นตามเราแจ้งนั้นก็จะแจ้งไปยังชาติสมาชิก 45 ชาติทั่วเอเชียถึงการยกเลิก ซึ่งหากนับเวลาที่กระชั้นนี้ อาจจะเหลือเวลาอีกไม่เท่าไหร่ก่อนถึงวันกำหนดแข่ง ที่ทุกชาติต้องเตรียมนักกีฬาเข้าร่วม ในการที่จะเสร็จสิ้นกระบวนการขอยกเลิกทั้งหมด    ดูเหมือนง่ายๆ ครับกับการ “คิดและจะทำ” อย่างนั้น …

วงการกีฬาลุ้น “บอร์ดกกท.” ทบทวนมติขอยกเลิกการจัดเอเชี่ยนอินดอร์ หวั่นเหตุผล และความกระชั้นชิดของเวลา จะทำให้ชาติเสียหาย และหากไม่จัดจริง เชื่อว่าจะเป็นการทิ้ง “มรดกบาป” ให้กับวงการกีฬาไทยไปตลอดกาล Read More »

บอร์ดกองทุนกีฬา เจ้าของเงิน “ไม่ทน” หลัง นักกีฬาคนพิการชุดอาเซียนพาราเกมส์ เจอปัญหาที่ไม่ควรเกิดขึ้น จึงมีมติตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง กับผู้จัดการ การเช่าเหมาลำเครื่องบิน เพื่อหาบทสรุปตอบ “ข้อกังขา”

   จากกรณีที่มีปัญหาของนักกีฬาคนพิการของไทย ที่เดินทางจากประเทศไทยไปกัมพูชา เมื่อวันที่ 31 พ.ค.2566 เพื่อร่วมการแข่งขันกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ครั้งที่ 12 ณ กรุงพนมเปญ มีปัญหาเรื่องไม่สามารถของการขนอุปกรณ์และกระเป๋าส่วนตัวของนักกีฬา ไปพร้อมกับนักกีฬาได้ ซึ่งกว่าของจะเดินทางไปถึงก็ต้องขนไปต่างหากและนำส่งในเช้าวันที่ 1 มิ.ย.2566 และกลายเป็นเรื่องที่ วิพากษ์วิจารณ์ ถึงการดำเนินงานของฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการอำนวยความสะดวกต่อนักกีฬาและเจ้าหน้าที่จากประเทศไทย และ Station THAI ได้นำเสนอการชี้แจงของ พลตรีโอสถ ภาวิไล เลขาธิการคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย ที่เป็นผู้ดูแลในการจัดการเรื่องนี้ไปแล้ว    แต่ในกรณีนี้ยังไม่จบอยู่ที่การชี้แจงและการแก้ไขที่ผ่านไปแล้ว โดยผู้สื่อข่าวได้รายงานว่า ในการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ หรือบอร์ดกองทุนกีฬา เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.2566 ที่ผ่านมา ที่มีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ประธานกรรมการบอร์ดกองทุนกีฬา เป็นประธาน ได้มีการนำเรื่องปัญหาที่เกิดขึ้นนี้เข้าไปหารือ เนื่องจากว่าเงินสนับสนุนการดำเนินงานทั้งหมดนั้นมาจากกองทุนกีฬา    โดยที่ประชุมที่มีตัวแทน “กลุ่มกีฬาคนพิการ” ร่วมด้วย พร้อมทั้ง ฟังการชี้แจงต่าง ๆ จากการกีฬาแห่งประเทศไทย ที่เกี่ยวข้องในการดูแลการตัดสินใจจากที่ได้มอบหมายให้คณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งสรุปว่ามีข้อกังขา ในการดำเนินการของคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย โดยพลตรีโอสถ ภาวิไล …

บอร์ดกองทุนกีฬา เจ้าของเงิน “ไม่ทน” หลัง นักกีฬาคนพิการชุดอาเซียนพาราเกมส์ เจอปัญหาที่ไม่ควรเกิดขึ้น จึงมีมติตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง กับผู้จัดการ การเช่าเหมาลำเครื่องบิน เพื่อหาบทสรุปตอบ “ข้อกังขา” Read More »

‘ดรามา’ เหมาเครื่องบินส่งนักกีฬาคนพิการไทยลุยศึกอาเซียนพาราเกมส์ที่กัมพูชาแล้ว “มีปัญหา” เป็นอุทาหรณ์ “ราคาถูกต้องอดทน” ด้านเลขาพาราลิมปิกไทย ขอชี้แจงบ้าง หลังโดนวิพากษ์ในการตัดสินใจหนนี้ ว่าดำเนินการเหมาะสมแล้ว

   จากกรณีที่มีปัญหาของนักกีฬาคนพิการของไทย ที่เดินทางจากประเทศไทยไปกัมพูชา เมื่อวันที่ 31 พ.ค.2566 เพื่อร่วมการแข่งขันกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ครั้งที่ 12 ณ กรุงพนมเปญ มีปัญหาเรื่องไม่สามารถของการขนอุปกรณ์และกระเป๋าส่วนตัวของนักกีฬา ไปพร้อมกับนักกีฬาได้ ซึ่งกว่าของจะเดินทางไปถึงก็ต้องขนไปต่างหากและนำส่งในเช้าวันที่ 1 มิ.ย.2566 และกลายเป็นเรื่องที่ “ดราม่า” ถึงการดำเนินงานของฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการอำนวยความสะดวกต่อนักกีฬาและเจ้าหน้าที่จากประเทศไทย ที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ เมื่อเปรียบเทียบกับการ ที่การนำส่งและรับกลับนักกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ ครั้งที่ 11 เมื่อปีที่ผ่านมา ที่อินโดนีเซีย ซึ่งได้รับการชื่นชมอย่างมากในความสะดวกสบายในการอำนวยการ    ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่า ภายหลังมีข่าวเรื่องดังกล่าว พลตรี โอสถ ภาวิไล เลขาธิการคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สายการบิน low cost หรือสายการบินต้นทุนต่ำ ที่เดินทางไปเป็นลำขนาดกลาง ขณะที่นักกีฬาพารานั้น ต้องใช้อุปกรณ์ ของตัวเองซึ่งมีจำนวนมาก ทำให้น้ำหนักเกิน สายการบินจึงแก้ปัญหาด้วยการตีเที่ยวเปล่า เพื่อมารับสัมภาระ แต่อย่างไรก็ดีในช่วงเวลาเดินทางกลับ การจองไฟลท์ในช่วงดึกที่กัมพูชาไม่สามารถทำได้ เพราะสนามบินเขาไม่ได้ทำการ 24 ชั่วโมง ทำให้ไฟลท์เลื่อนออกไปราว 4 ชม. และสัมภาระก็เดินทางไปถึงและทำการจัดส่งเป็นที่เรียบร้อย   …

‘ดรามา’ เหมาเครื่องบินส่งนักกีฬาคนพิการไทยลุยศึกอาเซียนพาราเกมส์ที่กัมพูชาแล้ว “มีปัญหา” เป็นอุทาหรณ์ “ราคาถูกต้องอดทน” ด้านเลขาพาราลิมปิกไทย ขอชี้แจงบ้าง หลังโดนวิพากษ์ในการตัดสินใจหนนี้ ว่าดำเนินการเหมาะสมแล้ว Read More »

บอร์ด กกท. ที่นำโดย “บิ๊กป้อม” ถอยกรูด เมื่อปัญหารุมเร้า โดยเฉพาะรัฐบาลกำลังเปลี่ยนมือ และเงินยังไม่ได้อนุมัติ จึงมีมติแจ้งยกเลิกการเป็นเจ้าภาพ เอเชียนอินดอร์ และมาเชียลอาร์ตเกมส์ ครั้งที่ 6 ที่ไทยขอเป็นเจ้าภาพเองในปลายปีนี้

  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการประชุมคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย (บอร์ด กกท) โดยมี “บิ๊กป้อม” พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ในฐานะประธานกรรมการ บอร์ด กกท.เป็นประธาน เมื่อวันที่ 31 พ.ค.2566 มีมติที่น่าสนใจจากการประชุมครั้งนี้ คือ การที่มีมติของบอร์ด กกท.ที่จะขอยกเลิกการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน กีฬาเอเชียนอินดอร์และมาเชียลอาร์ตเกมส์ ครั้งที่ 6 ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพ ซึ่งกำหนดไว้ เป็นช่วงเดือนพฤศจิกายน 2566 ที่กรุงเทพและชลบุรี ซึ่งมีการเตรียมงานไปมากพอสมควร โดยได้มอบหมายให้การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) นำเรื่องสู่การขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในมตินี้ และจากนั้นก็ประสานไปยังคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย เพื่อให้แจ้งการขอยกเลิกการจัดการแข่งขัน ไปยังสภาโอลิมปิกแห่งเอเชียหรือ โอซีเอ หรือ อาจจะเป็นการขอเลื่อน เพื่อให้ทางประเทศซาอุดีอารเบีย ที่จะเป็นเจ้าภาพมหกรรมกีฬานี้ครั้งที่ 7  ได้จัดในปี 2568 ที่กรุงริยาด ได้จัดก่อน แล้วประเทศไทยค่อยขอจัดต่อจากประเทศซาอุฯ ในปี 2570 อีกครั้งหากไม่มีชาติใดรับจัด   ซึ่งเหตุผลของการขอยกเลิกหรือการเลื่อนของบอร์ด กกท.นั้น ได้มองว่าประเทศไทยอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาล ทำให้เกิดปัญหาการเตรียมงานสะดุด โดยเฉพาะเรื่องของการอนุมัติการสนับสนุนเงินจากงบของรัฐบาล ที่พอดีอยู่ในช่วงสูญญากาศของรัฐบาลที่กำลังรักษาการอยู่นี้ …

บอร์ด กกท. ที่นำโดย “บิ๊กป้อม” ถอยกรูด เมื่อปัญหารุมเร้า โดยเฉพาะรัฐบาลกำลังเปลี่ยนมือ และเงินยังไม่ได้อนุมัติ จึงมีมติแจ้งยกเลิกการเป็นเจ้าภาพ เอเชียนอินดอร์ และมาเชียลอาร์ตเกมส์ ครั้งที่ 6 ที่ไทยขอเป็นเจ้าภาพเองในปลายปีนี้ Read More »

ตอนที่ 20 : จดหมายโอลิมปิก ฉบับที่สิบสอง : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

จดหมายโอลิมปิก ฉบับที่สิบสอง: ธีโอดอร์ รูซเวลต์             งานเขียนชิ้นนี้ของคูเบอร์แต็งเป็นคำไว้อาลัยส่วนตัวแก่อดีตประธานาธิบดี  ธีโอดอร์ รูซเวลต์ แห่งสหรัฐอเมริกา ผู้มีความสัมพันธ์ทั้งด้านส่วนตัวและด้านวิชาการที่แนบแน่นกับคูเบอร์แต็งมาก โดยรูซเวลต์มีความเกี่ยวเนื่องกับยุทธศาสตร์โอลิมปิกไม่เพียงในฐานะประธานกิตติมศักดิ์ของโอลิมปิกเกมส์ที่เมืองเซนต์หลุยส์ ค.ศ.1904 แต่คูเบอร์แต็งยังได้เชิดชูท่านให้เป็นบุคคลแห่งศตวรรษที่ยี่สิบด้านการพัฒนารอบด้านและแบบฉบับความเป็นนักกีฬาของโอลิมปิกด้วย โดยทั้งสองท่านได้ติดต่อสื่อสารกันฉันมิตรและคูเบอร์แต็งได้แสดงความชื่นชมแก่รูซเวลต์โดยการอุทิศส่วนแรกของหนังสือไตรภาค “Education des adolescents au XXs siecle: La Gymnastique utilitaire” แก่ท่าน ในจดหมายฉบับที่สิบสองนี้ คูเบอร์แต็งได้อ้างถึงอัตชีวประวัติที่รูซเวลต์ได้มอบให้แก่สภาโอลิมปิก ค.ศ.1913             วีรบุรุษที่เพิ่งถึงแก่อสัญกรรมด้วยความเคารพจากนานาชาติที่หลุมฝังศพ ยังคงเป็นผู้อุทิศตนแก่การกีฬาตราบจนวาระสุดท้ายของบุรุษชน แต่สิ่งที่ตรงข้ามกับความคิดเห็นทั่วไปคือ แบบอย่างของ ธีโอดอร์ รูซเวลต์ ไม่ได้มาจากสายเลือดหรืออารมณ์ความรู้สึก จงอ่านทบทวนเอกสารที่ท่านส่งถึงที่ประชุมสภาของจิตวิทยาการกีฬาที่จัดขึ้น ณ ที่แห่งนี้เมื่อ ค.ศ.1913 ซึ่งมีเนื้อหาขนาดยาวที่ประกอบไปด้วยผลงานและการอภิปรายของสภาแห่งนี้และท่านจะพบว่า รูซเวลต์ไม่เหมือนกับบุรุษที่ได้รับการประชาสัมพันธ์ผ่านรูปภาพและคำพรรณนาอย่างสิ้นเชิง ชายผู้ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพลังอำนาจทุกรูปแบบในปัจจุบันนั้น คือ วัยรุ่นขี้อายและอ่อนไหวซึ่งดูราวประหนึ่งขี้โรค ไม่กล้าตัดสินใจและทรหดอดทน จึงช่างเป็นเรื่องราวของเหตุการณ์ระหว่างการเดินทางที่ความอ่อนแอของเขาได้ปรากฎแก่ตนเองจากการไม่สามารถที่จะต่อสู้กับความเย้ยหยันและผลการแก้ไขอย่างตั้งใจที่หล่อหลอมตนเองให้เข้มแข็งได้ต่อกรกับความหลากหลายของชีวิต ปฏิบัติการนี้เริ่มต้นจากภายในสนามมวยขนาดย่อมและไปสิ้นสุด ณ ทุ่งหญ้าฟาร์เวสต์ที่เขาต้องการมีส่วนร่วมกับความเหนื่อยล้าและอันตรายของคนเลี้ยงวัว หนังสือชีวประวัติชอบที่จะบรรยายวีรบุรุษแห่งทุ่งหญ้าที่รายล้อมด้วย …

ตอนที่ 20 : จดหมายโอลิมปิก ฉบับที่สิบสอง : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »

error: Content is protected !!