สถานีความคิด

ตอบคำถามที่อยากรู้ของชาวกีฬา…วันนี้กองทุนกีฬามีเงินเท่าไหร่ และเงินสะสมมา 3 ปี เหลือแค่ไหน

            ตามที่ทราบกันแล้วว่า กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ มีแหล่งรายได้หลักจากเงินที่เรียกเก็บจากผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ในอัตราร้อยละ 2 ของภาษีสุราและยาสูบ ตามมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ.2558 และที่ได้แก้ไขเพิ่มเติม โดยมีกรมสรรพสามิตและกรมศุลกากรเป็นผู้ดำเนินการเรียกเก็บเงินเข้ากองทุน ตั้งแต่วันที่ 27 มี.ค.2558 ตามกระบวนการที่ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดเก็บ การส่งเงิน การยกเว้น และการขอคืนเงินบำรุงกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ สำหรับสุราและยาสูบ พ.ศ.2558 กำหนด             ตอนนี้ (ก.ย.2566) เรามาดูกันว่า สถานะทางการเงินของกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ เป็นอย่างไร และมีเงินคงเหลือเท่าไหร่             โดยการดูแลเรื่องเงินกองทุนนั้น ฝ่ายการคลังกองทุน การกีฬาแห่งประเทศไทย มีหน้าที่รับผิดชอบในการเบิกจ่ายเงินกองทุนที่ให้การส่งเสริม และสนับสนุนกับผู้รับการส่งเสริมและสนับสนุนด้านต่าง ๆ พร้อมทั้งเร่งรัด ติดตาม รายการสถานการณ์เบิกจ่ายเงินของกองทุนฯ เพื่อสนับสนุนข้อมูลให้กับกองทุนฯ ซึ่งมีการจัดทำสรุปข้อมูล รายงานผลการดำเนินงาน ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2564-2567 ประกอบด้วยรายได้ประจำปีงบประมาณ (ภาษีสุราและยาสูบ) และกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติจากกรมบัญชีกลางในแต่ละปีงบประมาณ รวมถึงรายงานเงินคงเหลือ ที่ตกเป็นเงินสะสมประจำปี และคาดว่าจะคงเหลือ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2566 …

ตอบคำถามที่อยากรู้ของชาวกีฬา…วันนี้กองทุนกีฬามีเงินเท่าไหร่ และเงินสะสมมา 3 ปี เหลือแค่ไหน Read More »

ตอนที่ 36 : จดหมายโอลิมปิกฉบับที่หก : ขนมปังและละครสัตว์ : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

จดหมายโอลิมปิกฉบับที่หก: ขนมปังและละครสัตว์             จดหมายโอลิมปิกฉบับที่หกสำหรับผู้อ่านวารสาร กาเซ็ตเดอโลซานน์ เกี่ยวกับคำถามพื้นฐานว่า กิจกรรมกีฬามีคุณค่าอะไรต่อคนธรรมดาสามัญ คำตอบของคูเบอร์แต็งอยู่ที่การเล่นกีฬาเป็นประจำภายใต้สถานการณ์เสื่อมสลายของระบอบราชาธิปไตยและระเบียบโลกใหม่ภายหลังหายนะของสงครามโลกครั้งที่ 1 การกีฬามอบความเป็นเอกภาพที่ยั่งยืนของสังคมแก่ประชาชนและฟื้นฟูความหวังต่ออนาคตแก่เยาวชนทั่วโลก             มนุษยชาติเรียกร้องต่อผู้ปกครองเป็นประจำในเรื่องความบันเทิงและความเป็นอยู่ อาณาจักรโรมันเรียกสิ่งนี้ว่า “Panem et circenses” กล่าวคือ ขนมปังและละครสัตว์ สูตรสำเร็จในปัจจุบันยิ่งไม่เป็นไปเพื่อการศึกษาและแย่ลง ฝูงชนต้องการ “มันฝรั่งและโรงภาพยนตร์” พวกเราได้จัดตั้งกระทรวงมันฝรั่งและกำลังอยู่ในอันตรายที่จะมีรัฐมนตรีกระทรวงโรงภาพยนตร์ในวันหนึ่ง จะไม่มีการจัดตั้งสิ่งใดที่ดีกว่านี้อีกหรือ?             ขอพวกเราจงมองไปรอบตัว และพิจารณาถึงความต้องการทั่วไปของยุคสมัย ซึ่งดูเหมือนว่า ความพยายามเบื้องต้นคือการจัดสรร และผลตอบแทนแรงงาน ที่ยุติธรรมขึ้น ตามด้วยการลดข้อจำกัดพื้นที่กิจกรรมระหว่างบริการภาครัฐ และโครงการเอกชนซึ่งมักจะมีเส้นหน้าสุด ที่แปลก และบางครั้งก็เป็นที่น่าละอาย และท้ายสุดคือการศึกษาของทุกคน และไม่ใช่เฉพาะกลุ่มผูกขาดจำนวนน้อยอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปเหล่านี้ทั้งหมดเสี่ยงที่จะบรรลุผลเว้นเสียแต่ว่า พวกเราสร้างศูนย์การแสดงและบันเทิงได้สำเร็จเพื่อทำให้แนวคิดที่ธรรมดา ชัดเจนและเป็นรูปธรรม สามารถดึงดูดความสนใจของประชากรทุกวัย และทุกอาชีพรวมทั้งทุกความคิดเห็น และทุกสถานการณ์ จงอย่าคิดว่า ระบอบประชาธิปไตยจะดำรงอยู่ได้ดีด้วยเพียงตำรากฎหมาย และการลงคะแนนเลือกตั้งเท่านั้น โดยไม่มีสิ่งใดจะผูกมัดประชาชนไว้ด้วยกัน ก่อนหน้านี้ พวกเขาได้รับความสันโดษจากศาสนจักรและงานจัดเลี้ยงหรูหราสวยงามจากราชวงค์ ท่านจะทดแทนสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร? ด้วยการเปิดอนุสาวรีย์และแสดงสุนทรพจน์ภายใต้ชุดคลุมยาวหรือ? เชิญ!             มีวัฒนธรรมหนึ่งซึ่งสามารถบ่มเพาะรูปแบบถาวรของเอกภาพพลเมือง และเป็นวัฒนธรรม …

ตอนที่ 36 : จดหมายโอลิมปิกฉบับที่หก : ขนมปังและละครสัตว์ : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »

ตอนที่ 35 : “อุดมการณ์โอลิมปิกในโรงเรียน” จากอุดมการณ์โอลิมปิกถึงมหาวิทยาลัยมวลชน : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

อุดมการณ์โอลิมปิกในโรงเรียน: จะต้องได้รับการสนับสนุน!             ในเวลาที่คูเบอร์แต็งเขียนบทความชิ้นนี้ ท่านกำลังวางแผนประมวลวิชาของหลักสูตรอุดมการณ์โอลิมปิกที่ศูนย์การศึกษาเมดิเตอเรเนียนในเมืองนิซ             เมื่อการสอนเริ่มต้นขึ้นพร้อมด้วยความชราภาพของตนเอง คูเบอร์แต็งสามารถจัดการเรียนการสอนได้เพียงสามหลักสูตรเท่านั้นและไม่สามารถดำเนินภารกิจและความรับผิดชอบในฐานะ “ประธานศูนย์โอลิมปิกศึกษา” ได้ จึงทำให้ตำแหน่งนี้ที่เมืองนิซดำรงอยู่ไม่นานนัก             การจัดตั้ง “ประธานศูนย์โอลิมปิกศึกษา” ที่ศูนย์การศึกษาเมดิเตอร์เรเนียนในเมืองนิซทำลายประตูที่ปรากฏแก่สายตาซึ่งยังไม่เคยถูกแง้มแม้เพียงนิด เป็นสิ่งแน่นอนที่กล่าวอ้างกันถึงความขัดแย้งระหว่างร่างกายและจิตใจว่า ไม่มีการยอมรับอย่างกว้างขวางเช่นเคย ถึงแม้จะยังคงหลอกหลอนในสมองของนักอนุรักษ์นิยมโดยแท้ ผู้ฟังวัยเยาว์คงจะหัวเราะเยาะต่อแนวคิดนี้ แต่ก็มีอ่าวกั้นความเชื่อนี้จากความคิดที่ว่า ความร่วมมืออย่างมีประสิทธิผลของทั้งสองประการนั้นจะสามารถเข้าสู่สนามการศึกษาอย่างเป็นทางการได้ โดยอ่าวนี้ไม่ใช่เพียงแค่หนึ่งก้าวแต่เป็นความห่างไกลมาก มร.เดอ มองซี ต้องได้รับคำขอบคุณจากการช่วยให้เกิดขึ้นได้ซึ่งท่านชอบสิ่งใหม่โดยเฉพาะเมื่อสิ่งเหล่านั้นสวมเสื้อคลุมยุคเก่า นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นในที่นี้ นอกจากนี้ การมีส่วนร่วมของครูใหญ่คือความเป็นเมดิเตอร์เรเนียนอย่างยิ่ง แต่จะไปได้ไกลเพียงใด? อุดมการณ์โอลิมปิกไม่ได้ปรากฎในโลกอย่างฉับพลันที่กรุงโรม หรืออียิปต์ หรือนครคาร์เธจ และแน่นอนว่าไม่ใช่เป็นของชาวลิกูเรียนหรือชาวเครตัน แต่เป็นชาวกรีกซึ่งอยู่เหนือข้อสงสัยทั้งปวงและเป็นยิ่งกว่านั้นด้วย โดยมีปฐมบททางประวัติศาสตร์ทั้งมวลที่ต้องนำมาสู่การพิจารณา ในช่วงนั้น ทวีปเอเชียทำอะไรกัน? ชาวฮินดู (นอกพื้นที่ของอเล็กซานเดอร์) ชาวญี่ปุ่น หรือชาวจีน จะกล่าวอะไร? รวมทั้งชาวสแกนดิเนเวียและเยอรมัน ชาวเคชัวหรือมายา? ซึ่งเป็นการง่ายที่แสดงว่า ในบรรดาผู้คนจำนวนมากแต่คงไม่ใช่ทั้งหมดนั้น สัญชาติญาณกีฬาได้ปรากฏขึ้นโดยเริ่มตั้งแต่จุดกำเนิดเดิมทีของพวกเขา สิ่งนี้คืออุดมการณ์โอลิมปิกหรือไม่? ไม่ใช่อย่างแน่นอน การที่อุดมการณ์โอลิมปิกจะเป็นที่ประจักษ์นั้น สัญชาติญาณกีฬาต้องรายล้อมด้วยสุนทรียภาพและความเกี่ยวข้องต่อจริยธรรมเช่นกัน สัญชาติญาณกีฬานี้ต้องยอมให้ปรัชญาเป็นตัวตัดสินการแข่งขันและศาสนาประจำชาติ ไม่ว่าจะเป็นศาสนาหลักหรือไม่ก็ตาม จะต้องดำเนินการอยู่เบื้องหลังในบางลักษณะ             …

ตอนที่ 35 : “อุดมการณ์โอลิมปิกในโรงเรียน” จากอุดมการณ์โอลิมปิกถึงมหาวิทยาลัยมวลชน : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »

ตอนที่ 34 : “จดหมายโอลิมปิก ฉบับที่ 5 โอลิมปิกศึกษาศาสตร์” : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

จดหมายโอลิมปิก ฉบับที่ห้า: โอลิมปิกศึกษาศาสตร์             ในบทความสำคัญสำหรับผู้อ่านวารสาร กาเซ็ต เดอ โลซานน์ ชิ้นนี้ คูเบอร์แต็งบัญญัติคำว่า “โอลิมปิกศึกษาศาสตร์” ซึ่งจำเป็นต้องมี “โรงงานผลิตถาวร” โดยหมายถึง เสรีภาพส่วนตัวของแต่ละบุคคลในการเล่นกีฬาซึ่งจะสร้างความเสมอภาคและมิตรภาพจากการเล่นและมีบทบาทต่อการสร้างระบอบประชาธิปไตยรูปแบบใหม่ของรัฐภายหลังความโกลาหลจากสงครามโลกครั้งที่ 1 คูเบอร์แต็งเรียกร้องให้อุดมการณ์โอลิมปิกสร้างความตระหนักต่อสิทธิมนุษยชน ในการนี้ ท่านกำลังคาดถึงการพัฒนาความทันสมัยราวกับเป็นศาสดาพยากรณ์ โอลิมปิกศึกษาศาสตร์จึงเป็นหลักพื้นฐานชีวิตที่ประจักษ์ได้จากการเล่นกีฬา             โอลิมปิกศึกษาศาสตร์ที่ข้าพเจ้าเพิ่งกล่าวถึงนั้น ตั้งอยู่ทั้งบนวัฒนธรรมของความเพียรพยายามและวัฒนธรรมของความงามไร้ที่ติ พร้อมด้วยความหลงใหลในการก้าวข้ามขีดจำกัดผสมผสานกับความชื่นชมต่อความพอประมาณ ซึ่งไม่เพียงพอที่จะตอบสนองด้วยการเฉลิมฉลองแก่โลกทุกสี่ปีในโอลิมปิกเกมส์ โอลิมปิกศาสตร์จำเป็นต้องมีโรงงานผลิตถาวร โรงงานโอลิมปิกของโลกโบราณคือยิมเนเซียม แม้รอบปีโอลิมปิกจะได้รับการฟื้นฟูในขณะที่ยิมเนเซียมโบราณยังไม่มี แต่ต้องเกิดขึ้น             ที่ต้องมีเนื่องเพราะเหตุว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำลังแสดงบทบาทสำคัญต่อโลกในวันพรุ่งนี้ ไม่ว่าพวกเราจะชอบหรือไม่ก็ตาม รัฐกำลังล่มสลาย ตัวแบบยิ่งใหญ่ยังคงได้รับความชื่นชมด้วยศรัทธาและดูเหมือนจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่าเดิมมาก แต่จะไม่มีคำพยากรณ์ของพระเจ้าหลุดออกจากริมปากที่ปิดแน่น หากแม้นปีกของวิทยาลัยศาสนจักรกระสับกระส่าย คงจะรู้สึกถึงการมาเยือนของความสะพรึงกลัวที่คุกคามและอัตรายยิ่ง             ผู้ที่หวังจะรักษาไว้ซึ่งลำดับชั้นสังคมดั้งเดิม โดยการซ่อมแซมและผู้ที่หวังจะปรับเปลี่ยนสู่ลำดับชั้นใหม่ของสังคมล้วนมีผลประโยชน์ไม่ต่างกันต่อการสร้างเมืองให้เป็นหน่วยพื้นฐานหนึ่งของกิจกรรมพวกเขา จากทุกภาคส่วน ลำดับชั้นสังคมนี้จะถูกเข้าหาและเรียกร้องให้แก้ไขปัญหาหลากชนิดจำนวนมาก ยุคสมัยของการควบคุมเบ็ดเสร็จได้จบลงแล้ว ภาวะการณ์แตกแยกเป็นเสี่ยงๆ กำลังเริ่มต้นขึ้นในทุกแห่ง ยุทธศาสตร์ที่โอบอุ้มยุโรปมากว่าสองร้อยปีด้วยการรวบรวมผู้คนและเอกภาพการบริหารนั้น กำลังหลีกทางแก่เป้าหมายการบรรลุความเสมอภาคทางสังคมซึ่งจะขับเคลื่อนในระดับท้องถิ่น ความพึงพอใจของการขยายพรมแดนและความสวยงามของระบบราชการที่เป็นเอกภาพจะไม่สามารถเคลื่อนมวลชนได้อีกต่อไป             ในเมืองสมัยใหม่ที่กำลังจะกำเนิดขึ้นดั่งอดีตโชติช่วงของเมืองกรีกโบราณนั้น ยิมเนเซียมจะเป็นสถานที่สำคัญและมีชื่อเสียง พวกเราจงวางแผนจัดวางสถาปัตยกรรมหลักนี้ไปด้วยกัน

“เงินกองทุนกีฬา” เมื่อเจอเหตุต่าง ๆ ทั้งมั่วนิ่ม ทั้งเจตนาโกย-กวาด ของผู้มีส่วนได้เสียอย่างปัจจุบัน ถึงจะมีปีละ “แสนล้าน” ก็ไม่พอและยังจะมีปัญหา!

     เรื่องของดาราดัง ออก Social เรื่องของการไม่ได้รับการสนับสนุนเงินรางวัลจากกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ที่เป็นกระแสและสุดท้ายจะลงเอยอย่างไรก็ว่ากันไปตามที่จะสรุปกันในข้อเท็จจริง      แต่ก็ไม่น่าแปลกใจ เพราะที่ผ่านมา มีข่าวมากมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ ที่มีมากจากหลาย ๆ มุม ที่ดูเหมือนจะมีปัญหาต่อการได้ “เงินกองทุน”      ย้อนกลับไปลองวิเคราะห์ปัญหาความไม่เข้าใจเหล่านี้ จะพบว่ามาจาก 1.ความไม่เข้าใจของสมาคมกีฬา ทั้งที่กองทุนและ กกท.นั้นได้จัดสัมนาซักซ้อมความเข้าใจในระเบียบการให้รางวัลให้กับทุกสมาคมมาตลอด แต่การถ่ายทอดบอกต่อกันอาจจะไม่ได้สร้างความเข้าใจให้กับทีมงาน และปัญหาที่ 2. เกิดจากการเจตนา “มั่วนิ่ม” ของผู้เกี่ยวข้องเพื่อการได้เงิน      เรื่องเจตนามั่วนิ่มนี่สำคัญ      โดยการมั่วมีกรณีตัวอย่าง จากบางสมาคมกีฬาซึ่งที่ผ่านมามีทั้งเรื่องของการอุปโลกน์ หรือการปิดบังข้อมูลที่ถูกต้องจากที่ส่งนักกีฬาเข้าแข่ง ในเรื่องจำนวนชาติที่ร่วมแข่งขัน หรือแม้แต่การเข้าร่วมแข่งประเภทการแข่งขันที่ไม่ได้มาตรฐานสากล รายการไม่ได้มาตรฐาน ไม่ถึงเกณฑ์ที่จะได้ แต่ก็เหมารวมเหมือนแจ้งเท็จหรือพูดไม่หมด เพื่อขอรับเงินรางวัล      รวมทั้งการเหมารวมรายการระดับแข่งขันเล็กๆ หรือแบบเก็บคะแนน ที่มีมากมายในระดับทวีป หรือระดับโลก เป็นรายการสำคัญที่อ้างอิงการขอรับการสนับสนุนรางวัลทั้งหมดโดยอาศัยแค่ชื่อรายการแข่งแต่ไม่เอ่ยรายละเอียดเนื้อใน      แม้แต่บางประเภทที่แข่งในรายการแข่งที่สำคัญจริง แต่ประเภทที่แข่งขันนั้น …

“เงินกองทุนกีฬา” เมื่อเจอเหตุต่าง ๆ ทั้งมั่วนิ่ม ทั้งเจตนาโกย-กวาด ของผู้มีส่วนได้เสียอย่างปัจจุบัน ถึงจะมีปีละ “แสนล้าน” ก็ไม่พอและยังจะมีปัญหา! Read More »

ตอนที่ 33 : การกีฬากับประเด็นสังคม : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

การกีฬากับประเด็นสังคม             การประชุมสภาโอลิมปิกหัวเรื่องจิตวิทยาการกีฬาและสรีรวิทยาการกีฬาใน ค.ศ.1913 ที่เมืองโลซานน์ได้รับการวิพากษ์อย่างหนักจากหนังสือพิมพ์สวิสสังคมนิยมซ้ายจัด คูเบอร์แต็งรู้สึกถึงความรับผิดชอบต่อการเน้นความสำคัญด้านสังคมของการกีฬา ท่านได้ย้ำถึงความเสมอภาคของนักกีฬาทั้งปวงในสนามกีฬา แนวคิดสองประการหลักต่อทุกรายการกีฬาคือ การช่วยเหลือกันและการแข่งขัน โดยคูเบอร์แต็งกล่าวอ้างว่า แนวคิดข้างต้นต่างล้วนเป็นพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ ทั้งนี้ ประเด็นสังคมในการกีฬาคือองค์ประกอบของความบากบั่นทุกประการของมนุษย์ต่อความยุติธรรม โดยปราศจากการกล่าวถึงตนเองในฐานะผู้แต่ง คูเบอร์แต็งประพันธ์บทกลอนเยอรมัน “Ode to Sport” ซึ่งทำให้ท่านได้รับเหรียญทองโอลิมปิกของรายการแข่งขันวรรณกรรมที่กรุงสต็อกโฮล์ม ค.ศ.1912             ความรุนแรงที่เกิดขึ้นแก่การประชุมสภาโลซานน์ภายในเอกสารปฏิวัติสังคมนิยมสวิสคงจะไม่เป็นที่น่าใส่ใจหากไม่เป็นเพราะว่า ในช่วงเวลานั้น เกิดความพยายามในการจัดตั้งกลุ่มนักกีฬาสังคมนิยมเช่นกัน สหสัมพันธ์ข้างต้นเชื่อมโยงกระแสนิยมสองประการในเรื่องนี้ซึ่งเกี่ยวกับบทบาทที่การกีฬาสามารถมีต่อสังคมในยุคพวกเรา โดยบทบาทนี้ควรได้รับการพิจารณาแต่เป็นที่ชัดเจนในด้านสันติสุขซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไม ความรุ่งเรืองของการกีฬาจึงเป็นที่สนใจของนักสังคมนิยมบางคนแต่ก็สร้างความขุ่นเคืองแก่คนอื่นในขณะเดียวกัน ความก้าวหน้าของการกีฬาเป็นคับข้องแก่ผู้สนับสนุนสงครามชนชั้นและดึงความเห็นใจของผู้คนที่วาดหวังแก่หนทางที่อ่อนโยนกว่าในการนำพาการเปลี่ยนแปลงที่พวกเขาปรารถนาแก่องค์กรต่างๆของสังคม             การเล่นกีฬาไม่ได้ขจัดความไม่เสมอภาคทางสังคมแต่ช่วยสร้างสัมพันธภาพอย่างเท่าเทียมกัน ในการนี้ รูปแบบมีความสำคัญกว่าสาระ ในที่สุดแล้ว ใครจะกล้าประกันได้ว่า ความเสมอภาคจะนำมาซึ่งสังคมสันติสุข? ไม่มีสิ่งใดจะไม่แน่นอนไปกว่านี้อีกแล้ว อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้ค่อนข้างแตกต่างในด้านความเสมอภาคของสัมพันธภาพซึ่งกล่าวโดยง่ายว่า ลักษณะสัมพันธภาพนี้เป็นรูปแบบที่มีประโยชน์สุดของความเสมอภาคต่อการนำไปปฏิบัติในระบอบประชาธิปไตย ตัวอย่างของอเมริกาซึ่งอาจเป็นช่วงเวลาที่สั้นเกินกว่าจะหาข้อสรุปทางสังคมที่ชัดเจนได้นำเสนอข้อพิสูจน์ที่น่าสนใจในสิ่งที่ข้าพเจ้ากล่าวสนับสนุนในที่นี้ โดยมีบางประเทศที่มีความไม่เสมอภาคมากแต่เกิดสัมพันธภาพเอื้อเฟื้อต่อกันซึ่งทำให้สังคมสันติสุขดำรงอยู่อย่างสมบูรณ์และเป็นรูปธรรมกว่าที่อื่นมาก             ไม่แปลกที่หลักความเสมอภาคจะเกิดง่ายขึ้นในประเทศใหม่นั้น ไม่ได้ปรากฏและคงอยู่ด้วยตัวเองในแห่งหนใดยกเว้นสนามกีฬา โดยประการแรกด้วยการบังคับอย่างแท้จริงบนเครื่องแต่งกาย เครื่องแบบกีฬาไม่เคยจะสลับซับซ้อนแต่กลับเรียบง่ายขึ้นทุกวันเนื่องเพราะพฤติกรรมแพร่หลายของการออกกำลังกายในสภาพเปลือย ในไม่ช้าความสง่างามของเครื่องแต่งกายจะไม่ใช่ประเด็นสำคัญเว้นแต่จะเกี่ยวข้องกับรูปทรงร่างกายและคุณภาพเนื้อผ้า ความโดดเด่นทางสังคมไม่มีความเกี่ยวข้องประการใดกับความไม่เสมอภาคของสิ่งเหล่านี้ จากเสื้อผ้ามาสู่การกระทำ ใครจะเป็นคนที่แข็งแกร่งที่สุด เร็วที่สุด ทรหดอดทนที่สุด? ยามนี้คือช่วงเวลาเหมาะสมที่จะกล่าวซ้ำถึงงานเขียนของผู้แต่ง Ode to …

ตอนที่ 33 : การกีฬากับประเด็นสังคม : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »

หลังเพื่อไทยได้ตำแหน่งรัฐมนตรีกีฬา ตอนนี้ต้องลุ้นต่ออีกสเต็ปว่าอีก 2 ตำแหน่งสำคัญคือประธานบอร์ด กกท.และ กองทุน จะได้มาแบบเบ็ดเสร็จหรือไม่…น่าติดตาม

                ที่นี่ Station THAI เคยแสดงความคิดเห็นเรื่องราวของรัฐบาลใหม่ ที่จะมาดูแลกีฬาตั้งแต่หลังจบการเลือกตั้งหมาด ๆ ซึ่งพรรค“เพื่อไทย” มีแนวโน้มอยู่ในฝั่งเป็นรัฐบาล โดยวันนั้นระบุอย่างชัดเจนว่า “เพื่อไทย” มาคุมกีฬาแน่นอน เพราะมีหลาย ๆ อย่างที่เข้าล็อค ที่เล็งของพรรคนี้                 ลองติดตามข้อคิดเห็นเดิม ในวันนั้น ที่นี่ https://www.station-thai.com/idea/28251/                 จากวันนั้นถึงวันนี้คงจะเห็นภาพการเคลื่อนไหวในการต่อรอง ไม่ว่าจะหมุนการเลือกแบ่งกระทรวงซักกี่รอบจากพรรคร่วมรัฐบาล ท้ายที่สุดเรื่องที่เคยคิดไว้ก็เป็นจริง คือ พรรคเพื่อไทย  ได้ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จริง ๆ (ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยจากการต่อรองใดๆก็ตาม)                 แต่จริง ๆ เรื่องการที่ใคร พรรคใด ได้มาเป็น “รัฐมนตรีกีฬา” แม้จะเป็นจุดน่ามองสำหรับคนในวงการกีฬามากก็ตาม แต่ก็คงไม่เท่ากับการมองอีกชั้น คือ การที่ฝ่ายบริหารรัฐที่นำโดย ท่าน เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีนี้ จะมอบรองนายกรัฐมนตรี คนใดมาเป็นประธานกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย และ ประธานกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ เพราะในส่วนนี้คือส่วนของหัวขบวนการขับเคลื่อนทุกอย่างในวงการกีฬาอย่างแท้จริง                 ที่คาดไว้ตอนนี้คือ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ คงไม่มานั่ง …

หลังเพื่อไทยได้ตำแหน่งรัฐมนตรีกีฬา ตอนนี้ต้องลุ้นต่ออีกสเต็ปว่าอีก 2 ตำแหน่งสำคัญคือประธานบอร์ด กกท.และ กองทุน จะได้มาแบบเบ็ดเสร็จหรือไม่…น่าติดตาม Read More »

ตอนที่ 32 : จิตใจหนักแน่นในร่างกายแกร่งกล้า : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

จิตใจหนักแน่นในร่างกายแกร่งกล้า             คูเบอร์แต็งเขียนในสักแห่งว่า การกีฬาสมัยใหม่มุ่งพ้นขีดจำกัด ซึ่งต้องการคำขวัญเพื่ออธิบายความเพียรพยายามทางกายของนักกีฬาและการหล่อหลอมคุณลักษณะตนเอง โดยท่านกล่าวว่า คติพจน์ละตินที่แซ่ซ้องกันมากกว่าของนักเขียน ยูเวนัล “จิตใจบริสุทธิ์ในร่างกายผุดผ่อง” ไม่เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะนำมาใช้กับการกีฬาสมัยใหม่เนื่องเพราะครอบคลุมเฉพาะด้านสุขอนามัยของการกีฬาและถูกบรรจุไว้ภายในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์โบราณเท่านั้น วลี “จิตใจหนักแน่นในร่างกายแกร่งกล้า” ที่แต่งโดยนักภาษาละตินคือ เมอร์เล็ต ตอบสนองอย่างสมบูรณ์ต่อความเข้าใจในการกีฬาของคูเบอร์แต็ง             สิ่งทั้งปวงย่อมล่วงไป การปฏิวัติไม่เพียงล้มล้างรัฐบาลแต่รวมถึงระบบด้วยเช่นกัน คำเก่าแก่คร่ำครึ “จิตใจบริสุทธิ์” เป็นได้แต่เพียงหัวข้อสนทนาระหว่างนักกวีที่ถูกลดชั้นสู่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์โบราณ ไม่มีใครจะกล้าพูดถึงคำนี้เมื่อมอบรางวัลหรือแสวงหากรอบปัญญาญาณที่ยั่งยืนของห้าคำข้างต้น คำใหม่จะทดแทนคำโบราณ ยุคเข้มแข็งของพวกเราตระหนักทันใดว่า คำโบราณนั้นสนับสนุนใบสั่งแพทย์สำหรับสิ่งที่แค่ยอมรับได้และความเฉื่อยชา เพื่อให้สุขภาพดี แล้วอย่างไรละ! ท่านจะครอบครองโลกด้วยคุณลักษณะที่แย่ กระนั้นหรือ? แต่ขอให้พวกเราแยกแยะสองสามประการ สุขภาพกายยังไม่เป็นกฎทั่วไป               นอกจากนี้ สุขภาพจิตก็ยังหาได้ยากหรือน้อยกว่ามาก การปรารถนาความดีสองประการนี้แก่เพื่อนบ้านนั้น ไม่ใช่เพียงการแสดงความหวังที่ฟุ้งเฟ้อ โดยจะเป็นประโยชน์มากในการเรียกร้องความพยายามส่วนตัวให้บรรลุ (ในระดับที่เป็นไปได้) “จิตปรกติ” ที่ประเมินค่ามิได้ซึ่งเป็นที่มาของดุลยภาพและความสบายหรือที่เราอาจเรียกว่า ความสุข อย่างไรก็ตาม อุดมคตินี้ยังคงเป็นเชิงการแพทย์มากกว่าที่จะปรับใช้ต่อความทะเยอทะยานของนักกีฬา คำกล่าว “จิตใจบริสุทธิ์ในร่างกายผุดผ่อง” นั้นดีเยี่ยมด้านสุขอนามัยแต่ไม่เหมาะกับการกีฬาซึ่งสร้างความเดือนร้อนใจแก่ มร.คูเบอร์แต็ง ขนาดบางสิ่งเป็นการกีฬาโดยแท้แต่ก็ยังไม่เพียงพอสำหรับเขา คูเบอร์แต็งต้องการบางสิ่งที่เป็นโอลิมปิก …

ตอนที่ 32 : จิตใจหนักแน่นในร่างกายแกร่งกล้า : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »

ตอนที่ 31 : บาทหลวงดิดอง : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

บาทหลวงดิดอง             บทความชิ้นนี้คือคำอุทิศแก่มิตรสหายคราวบิดาของคูเบอร์แต็งคือ อองรี ดิดอง นักบวชเชื้อสายโดมินิกัน ซึ่งได้จากไปในวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ.1900 ซึ่งทราบกันดีว่า คำขวัญโอลิมปิก “เร็วกว่า สูงกว่า แข็งแรงกว่า” มาจากท่านนี้และในระหว่างการเยือนของคูเบอร์แต็ง ท่านได้สร้างความประทับใจแก่นักเรียนตนเองด้วยคำขวัญข้างต้นในพิธีเปิดเทศกาลกีฬาโรงเรียนในอะครูอิลเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ.1891 ซึ่งคูเบอร์แต็งได้ใช้เป็นคำขวัญโอลิมปิกใน ค.ศ.1894 อย่างไรก็ตาม บทความชิ้นนี้ไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่เป็นการแสดงความชื่นชมต่อผลสัมฤทธิ์รอบด้านของมนุษย์ผู้ยิ่งใหญ่ในฐานะพระนักเทศน์ ครูผู้สอนและพลเมืองฝรั่งเศสที่น่านับถือ คูเบอร์แต็งชื่มชมจิตวิญญาณเสรีและความเห็นเชิงวิพากษ์ของบาทหลวงดิดองภายในกรอบศาสนจักรฝรั่งเศส             คล้อยหลังจากการก่อตั้งอนุสาวรีย์ของพระคาดินัลลาวิจ์รีย์ ซึ่งเป็นนักชาตินิยมและผู้นำอารยธรรมที่เข้มแข็งบนชายฝั่งแอฟริกาไม่นาน ความพลัดพรากได้มาเยือนเร็วเกินไปแก่พระนักบวชที่เสมือนเป็นลาวิจ์รีย์ของการศึกษาในฝรั่งเศส             ไม่ว่าใครก็ตามที่เกี่ยวข้องกับบาทหลวงดิดอง จะได้สัมผัสถึงดวงวิญญาณของท่านที่สิงสถิตย์อยู่เบื้องหน้าบนยอดภูเขาเสมอ ซึ่งเพ่งมองอนาคตและพินิจพิจารณาด้วยสายตาเรียบง่ายตลอดเวลา แรงปรารถนาประการแรกของท่านคือความบากบั่นโดยท่านค้นหาแม้กระทั่งในตัวนักเรียน ท่านกล่าวแก่ข้าพเจ้าในวันหนึ่งว่า “เป็นเรื่องตลกที่ข้าพเจ้ารู้สึกเหมือนเป็นอัมพฤกษ์เมื่อกลุ่มนักเรียนไม่มีการต่อต้านแก่ข้าพเจ้า จึงเป็นเหตุให้ข้าพเจ้าลงมือกระทำเกินกว่าเหตุในบางครั้ง เพื่อบังคับให้พวกเขาก่อการปฏิรูป”             แรงปรารถนาประการต่อมาคือ การทำงาน และประการสุดท้ายคือ สมัยใหม่นิยม ข้าพเจ้าจำได้ถึงสุนทรพจน์ที่ท่านได้กล่าวในพิธีมอบรางวัลต่อหน้านักเรียนที่ตั้งใจฟังและพ่อแม่ที่กังวลใจ ด้วยความหาญกล้าไม่มีใครเปรียบ บาทหลวงดิดอง ประเดิมการจู่โจมซึ่งหน้าต่อสิ่งที่น่ารังเกียจยิ่งในขณะนั้น กล่าวคือ การต่อต้านชาวยิว โดยใช้คำเรียกที่เปิดเผยว่า ความขี้เกียจ ซึ่งก่อให้เกิดความเจ็บปวดแก่สังคมไร้จิตวิญญาณที่พร่ำบ่นถึงการถูกครอบงำและควบคุมจากกลุ่มคนยิว             …

ตอนที่ 31 : บาทหลวงดิดอง : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »

ตอนที่ 30 : ระหว่างการศึกสองครา จากอุดมการณ์โอลิมปิกถึงมหาวิทยาลัยมวลชน : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

ระหว่างการศึกสองครา จากอุดมการณ์โอลิมปิกถึงมหาวิทยาลัยมวลชน             ในช่วงนั้น เทคโนโลยีที่แพร่หลายไปทั่วด้วยประโยชน์เชิงประสิทธิผลซึ่งปรากฏขึ้นในสังคมที่กำลังปฏิวัติอุตสาหกรรมอย่างสมบูรณ์นั้น โดยแม้จะเคยนำไปสู่การปฏิรูป แต่กลับไม่ได้รับการเอาใจใส่โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ การเพิกเฉยต่อองค์ประกอบด้านมนุษย์อย่างมีนัยสำคัญ              เชาวน์ปัญญาและความกล้าหาญคือสิ่งจำเป็นต่อการพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งคุณค่าสูงสุดของมนุษย์ ทั้งนี้ ไม่ขึ้นอยู่กับสถานะของบุคคลโดยเฉพาะชนชั้นสังคมในขณะนั้น             ถึงเวลาต่อการเรียกร้องด้านจริยศึกษาและการปฏิรูปการศึกษาที่จะส่งเสริมให้แต่ละบุคคลเข้าถึงศักยภาพเต็มเปี่ยมของตนเองอย่างอิสระในความหมายที่แท้จริง ปิแอร์ เดอ คูเบอร์แต็งได้เกิดความเข้าใจในสิ่งนี้ครั้นเริ่มต้นความพยายามด้านการศึกษาตั้งแต่ ค.ศ.1890 โดยพัฒนาแผนงานและเริ่มมองหาพันธมิตร               ณ ทอย์นบีฮอลล์ ซึ่งเป็นสถานศึกษาเอกชนไม่คิดค่าใช้จ่ายแก่ผู้ใช้แรงงานในย่านยากจนข้นแค้นของไวท์ชาเพิลในกรุงลอนดอน คูเบอร์แต็งได้สังเกตถึงการกระทำเพื่อพัฒนาอนาคตของผู้มีชะตาชีวิตน่าเศร้าบนความขมขื่นและหดหู่โดยปราศจากความหวัง โดยแม้นักเรียนจะขัดสนด้านวัสดุสิ่งของ จริยธรรมและกายภาพ แต่ก็สามารถจัดการศึกษาด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอด้วยการอุทิศตนของนักศึกษามหาวิทยาลัยอาสาสมัครซึ่งทำให้ค้นพบถึงความเป็นมนุษย์ที่เต็มเปี่ยมของผู้ใช้แรงงานแต่ละคนและการทำให้ความเป็นมนุษย์นั้นเกิดมรรคผลด้วยการปลุกจิตวิญญาณสร้างสรรค์ วัฒนธรรมเรียนรู้และวัฒนธรรมทางกายจึงจะสามารถบรรลุผลอย่างไม่ลำบากโดยไม่ต้องการสิ่งใดเว้นแต่การเค้นความแข็งแกร่งจากความหาญกล้าเท่านั้น ด้วยการแสดงออกอย่างอิสระ แต่ละบุคคลกลับมาเป็นเจ้าของตนเองอีกครั้งหนึ่งและกาลปัจจุบันได้กลายเป็นคำสัญญาแห่งอนาคต ผลสำเร็จเหล่านี้ยืนยันสิ่งที่คูเบอร์แต็งเชื่อว่า เมืองที่ควรคู่กับชื่อเสียงเรียงนามนั้น เหนือสิ่งอื่นใด จะต้องเป็นชุมชนของพลเมืองอิสระที่ปฏิบัติตนตามจริยธรรมขั้นสูง นักมนุษยนิยมต้องไม่แยกบุคคลออกจากสังคม              คูเบอร์แต็งทุ่มเทตลอดชีวิตทำงานด้วยแรงปรารถนาต่อการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมวลชนที่จะสามารถเกื้อหนุนความเจริญก้าวหน้าของปัจเจกชนทุกคน             เพื่อนทั้งหลายของข้าพเจ้าดูประหลาดใจว่า ตั้งแต่ที่ข้าพเจ้ามีชัยเหนือการศึกโอลิมปิกในวงกว้างกว่าที่พวกเขาทำนายไว้เป็นการทั่วไปนั้น ข้าพเจ้าไม่ยอมหยุดที่จะอิ่มอกอิ่มใจในการเก็บเกี่ยวผลงานที่ปรากฎ พวกเขากลับประหลาดใจที่ข้าพเจ้าพาตนเองเข้าสู่การศึกอีกแห่งที่มีสนามรบไม่ชัดเจนพร้อมด้วยเหล่าทหารจำนวนน้อยและรุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติสังคมที่วุ่นวายซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่สายตา             แผนงานของข้าพเจ้าไม่ได้เกิดจากความเร่งรีบหรือบุ่มบ่ามทั้งสิ้น …

ตอนที่ 30 : ระหว่างการศึกสองครา จากอุดมการณ์โอลิมปิกถึงมหาวิทยาลัยมวลชน : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »

error: Content is protected !!