สถานีการศึกษา

สอศ. เดินหน้าสร้างช่างอากาศยานสมรรถนะสูง ป้อนสายการบินชั้นนำระดับประเทศ

เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2566 ดร.นิติ นาชิต ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานอาชีวศึกษาธุรกิจและบริการ เป็นประธานเปิดงานปัจฉิมนิเทศนักศึกษาเข้าฝึกอาชีพในสถานประกอบการของนักศึกษา สาขาวิชาช่างอากาศยาน โดยมี นางปัทมา วีระวานิช ที่ปรึกษาการจัดการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา และผู้บริหาร ผู้อำนวยการ ครู นักศึกษาอาชีวศึกษา พร้อมด้วย นาวาอากาศตรีบัญชา ชุนสิทธิ์ ประธานคณะอนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนฯ (อ.กรอ.อศ.) กลุ่มอาชีพอุตสาหกรรมการบิน นายนราธิป นเรศเสนีย์ หัวหน้างานตรวจสอบและรับรองคุณภาพหน่วยงานตรวจสอบและรับรองมาตรฐาน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) นายทนงชาย เจษฎารักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท วิงสแปน เซอร์วิสเซส จำกัด เข้าร่วมงาน ณ สำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา ถนนรามอินทรา กรุงเทพฯ ดร.นิติ นาชิต ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานอาชีวศึกษาธุรกิจและบริการ เปิดเผยว่า ตามนโยบายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูงเพื่อการพัฒนาประเทศ ส่งผลให้สาขาวิชาช่างอากาศยาน เป็นสาขาที่โดดเด่น และเป็นที่ไว้วางใจของสถานประกอบการ โดยเฉพาะสถานประกอบการชั้นนำด้านการบิน ที่มีความสนใจและสนับสนุนนักศึกษาอาชีวะสาขาวิชาช่างอากาศยาน เข้ารับการฝึกอาชีพในสถานประกอบการ จึงเป็นการเน้นย้ำการพัฒนาการอาชีวศึกษา พัฒนาคุณภาพวิชาชีพ …

สอศ. เดินหน้าสร้างช่างอากาศยานสมรรถนะสูง ป้อนสายการบินชั้นนำระดับประเทศ Read More »

กรมสุขภาพจิต ชี้ เสนอข่าวกราดยิงเน้นดราม่า ห่วงสังคมชินชาต่อความรุนแรง

เมื่อวันที่ 23 มี.ค. 66 นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กล่าวถึงเหตุกราดยิงที่จังหวัดเพชรบุรี ว่า บทเรียนความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากการใช้อาวุธปืน ไม่ว่าจะเป็นกรณีสารวัตรคลั่งจนถึงเหตุการณ์ล่าสุด จะพบว่าเกิดขึ้นมาจากความเครียดและมีปัญหาทางจิตใจ ซึ่งปกติคนที่จะดูแลในเรื่องนี้มีตั้งแต่ชุมชนและองค์กร เพราะผู้ที่มีอาวุธปืนส่วนใหญ่ล้วนอยู่ในองค์กรทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นทหาร ตำรวจ เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ องค์กรต้องทำหน้าที่ดูแลบุคลากรของตนให้ดี ไม่ใช่เกิดปัญหาก็ส่งต่อให้ระบบสาธารณสุขเป็นผู้รับผิดชอบ เพราะเป็นระบบปลายทาง แต่ควรคำนึงว่าก่อนที่คนเหล่านี้จะมีปัญหา เคยเป็นบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ให้กับหน่วยงานได้อย่างดีเยี่ยม การครอบครองอาวุธปืนของคนในองค์กรต้องมีการติดตามปัญหาสภาพจิตใจทั้งระบบ เพราะการครอบครองอาวุธปืน มีในเจ้าหน้าที่ทุกพื้นที่ของประเทศ การครอบครองอาวุธอาจก่อเหตุได้ ตั้งแต่ตัวเองและผู้อื่น เช่น ทำร้ายตนเอง ทำร้ายคนในครอบครัว คนในชุมชน หรือ แม้แต่คนไม่รู้จัก ฉะนั้นอย่าใช้อำนาจทางปกครองหรือวินัยมาจำกัดการดูแลครอบครองอาวุธปืนอย่างเดียว แต่ต้องใช้มาตรการการดูแลเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบ พร้อมเรียกร้องยกเลิกซื้ออาวุธปืนสวัสดิการ เพราะคำว่าสวัสดิการนั้นไม่เหมาะใช้กับอาวุธ เพราะการใช้อาวุธเป็นการใช้ในขณะปฏิบัติหน้าที่ หากเสร็จสิ้นภารกิจหรือไม่เกี่ยวข้องแล้ว ก็ไม่ควรมีการครอบครองอาวุธปืน นอกจากนี้ การเสนอข่าวเหตุการณ์เช่นนี้ กสทช. ควรเข้ามามีบทบาทควบคุมไม่ให้เกิดความดราม่ามากจนเกินไป เพราะห่วงอนาคตสังคมจะชินชาต่อความรุนแรง เกิดการเลียนแบบ หรือ ลดความยับยั้งชั่งใจ ซึ่ง กสทช.สามารถเข้าไปดูแลและควบคุมได้ตั้งแต่สื่อหลัก สื่อออนไลน์ที่มีการลงทะเบียน เพราะบทเรียนจากการนำเสนอข่าวจะเห็นว่าทุกครั้งมีบทเรียนไม่ซ้ำกันและดราม่าความรุนแรงแตกต่างกัน ทั้งนี้ การติดตามข่าวแบบทุกนาที หรือ …

กรมสุขภาพจิต ชี้ เสนอข่าวกราดยิงเน้นดราม่า ห่วงสังคมชินชาต่อความรุนแรง Read More »

กมช. เผย ภัยคุกคามทางไซเบอร์ หน่วยงานด้านการศึกษา-สาธารณสุข พบการโจมตีสูงสุด

คณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) เปิดเผย รายงานสรุปผลการดำเนินงานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2564 – 30 กันยายน 2565 ที่ถูกตรวจพบมากที่สุด มีจำนวนทั้งสิ้น 551 เหตุการณ์ การโจมตีด้วยการแฮ็กเว็บไซต์ (Hacked Website) เพื่อเปลี่ยนแปลงข้อมูลเผยแพร่หน้าเว็บไซต์ (Website Defacement) และการปลอมแปลงหน้าเว็บไซต์เพื่อหลอกเอาข้อมูล (Website Phishing) การฝังมัลแวร์อันตรายบนหน้าเว็บไซต์หน่วยงาน เพื่อหลอกให้ผู้เข้าถึงเว็บดาวน์โหลดไปติดตั้ง (Website Malware) รวม 367 เหตุการณ์ Ransomware เป็นมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ที่สามารถเข้ารหัสลับข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเหยื่อได้ รวม 21 เหตุการณ์ และ Emotet Malware เป็นมัลแวร์ที่ขโมยข้อมูลทางการเงิน เช่น รหัสผ่านบัญชีธนาคารออนไลน์ และมีความสามารถในการแพร่กระจายตัวเองผ่านเครือข่ายและการส่งอีเมลหลอกลวง (Phishing mail) รวม 9 เหตุการณ์ ขณะที่ หน่วยงานที่ถูกโจมตีด้วยภัยคุกคามทางไซเบอร์ ได้แก่  หน่วยงานด้านการศึกษา 211 …

กมช. เผย ภัยคุกคามทางไซเบอร์ หน่วยงานด้านการศึกษา-สาธารณสุข พบการโจมตีสูงสุด Read More »

อาชีวะ ลุยพื้นที่ EEC เดินหน้าสถาบันภาษาจีนและการศึกษาอบรมด้านเทคนิคและอาชีวะ มุ่งผลิตแรงงานคุณภาพรองรับสถานประกอบการจีนในพื้นที่

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 66 ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ลงพื้นที่ EEC ขับเคลื่อนสถาบันภาษาจีนและการศึกษาอบรมด้านเทคนิคและอาชีวะ ชูอาชีวะระบบทวิภาคี และกลไกสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัด (สอจ.) สร้างความเข้าใจสถานประกอบและสถานศึกษาอาชีวะเขตพื้นที่ EEC เพื่อผลิตกำลังคนรองรับความต้องการของสถานประกอบการจีน ที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมไทย-จีน จังหวัดระยอง ณ บริษัท Xtron Air นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ โดยมี นางปัทมา วีระวานิช นายกสภาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 3 ที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ ดร.นิติ นาชิต ที่ปรึกษาอาชีวศึกษาด้านมาตรฐานธุรกิจและบริการ ดร.สุรพงษ์ เอิมอุทัย ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคี เป็นผู้แทนร่วมประชุมหารือ จัดทำร่างบันทึกความเข้าใจ และศึกษาดูงานภาคประกอบการนิคมอุตสาหกรรมไทย-จีน จังหวัดระยอง นางปัทมา วีระวานิช นายกสภาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 3 ที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากล่าวในโอกาสร่วมประชุมหารือว่า ตนได้รับมอบหมายจาก ว่าที่ร้อยตรีธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นผู้แทนการประชุม ซึ่ง สอศ. มีความยินดี ชื่นชม …

อาชีวะ ลุยพื้นที่ EEC เดินหน้าสถาบันภาษาจีนและการศึกษาอบรมด้านเทคนิคและอาชีวะ มุ่งผลิตแรงงานคุณภาพรองรับสถานประกอบการจีนในพื้นที่ Read More »

คิวเอส เผย ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกตามสาขาวิชา ปี 2566 สหรัฐอเมริกานำโด่งมีหลักสูตรติด 10 อันดับแรกมากสุด ถึง 256 หลักสูตร

คิวเอส ควัคควาเรลลี ซีมอนด์ส (QS Quacquarelli Symonds) สถาบันวิเคราะห์ข้อมูลด้านการอุดมศึกษาระดับโลก ได้ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกตามสาขาวิชา (QS World University Rankings by Subject) ครั้งที่ 13 เปิดโผรายชื่อมหาวิทยาลัยชั้นนำใน 54 สาขาวิชา ซึ่งรวมถึงสามสาขาวิชาใหม่ล่าสุดที่มีการจัดอันดับ ได้แก่ วิทยาการข้อมูล การตลาด และประวัติศาสตร์ศิลปะ ทั้งนี้ ผลการจัดอันดับมาจากการวิเคราะห์เปรียบเทียบหลักสูตรระดับมหาวิทยาลัยจำนวนกว่า 15,700 หลักสูตร จากมหาวิทยาลัย 1,594 แห่ง ใน 93 ประเทศและดินแดน การจัดอันดับสาขาวิชาครั้งใหญ่นี้ ประกอบด้วยเกณฑ์การพิจารณา 5 ประการ ได้แก่ ความมีชื่อเสียงทางด้านวิชาการ (Academic Reputation) และทัศนคติของผู้จ้างงานต่อบัณฑิต (Employer Reputation) จากการสำรวจนักวิชาการ 151,000 คน และนายจ้าง 99,000 รายทั่วโลก, การอ้างอิงต่อผลงานวิจัย (Research Citations per …

คิวเอส เผย ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกตามสาขาวิชา ปี 2566 สหรัฐอเมริกานำโด่งมีหลักสูตรติด 10 อันดับแรกมากสุด ถึง 256 หลักสูตร Read More »

ครม. รับลูก วธ. หนุน Soft Power ส่งเสริมภาพลักษณ์ประเทศผ่านสื่อบันเทิง

วธ. ร่วมกับทุกภาคส่วนแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ ร่วมศึกษา พร้อมจัดทำร่างแผนงาน มาตรการภาษีจูงใจ หนุนขับเคลื่อน Soft Power ด้วยมิติวัฒนธรรม เน้นสร้างมูลค่าเศรษฐกิจสินค้าบริการ แข่งขันในตลาดโลก เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวภายหลังเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ได้รับมอบหมายจากครม. และ นายกรัฐมนตรี ให้ศึกษาแนวทางการใช้สื่อบันเทิงเพื่อนำเสนอวัฒนธรรมของประเทศในลักษณะ Soft Power เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้กับประเทศในวาระต่าง ๆ ส่งเสริมและเผยแพร่ภาพลักษณ์ที่ดีและวัฒนธรรมประเพณีไทย โดยมีการรายงานต่อ ครม. เป็นระยะนั้น ที่ประชุม ครม. มีมติรับทราบรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติ ครม. เรื่อง การนำเสนอวัฒนธรรมของประเทศในลักษณะ Soft Power โดย วธ. ได้ศึกษาและหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เห็นควรกำหนดแนวทางการนำเสนอเพื่อการขับเคลื่อนและพัฒนา พอสังเขป ดังนี้ 1.การส่งเสริมภาพลักษณ์ประเทศผ่านสื่อบันเทิงในลักษณะ Soft Power คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ ซึ่งมี …

ครม. รับลูก วธ. หนุน Soft Power ส่งเสริมภาพลักษณ์ประเทศผ่านสื่อบันเทิง Read More »

สโมสรนศ.แพทย์ ม.รังสิต จัดกิจกรรมเปิดบ้านแนะนำ วิทยาลัยแพทยศาสตร์ MEDRSU Virtual Roadshow ในวันที่ 2 เม.ย. นี้

คณะกรรมการสโมสรนักศึกษา วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต จัดกิจกรรมเปิดบ้านแนะนำ วิทยาลัยแพทยศาสตร์ MEDRSU Virtual Roadshow ในวันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน 2566 เวลา 13.30-15.00 น. ผ่านทาง Online via ZOOM พบกับ การแนะนำวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต อาทิ หลักสูตรการเรียนการสอน การใช้ชีวิต กิจกรรม แชร์ประสบการณ์จากรุ่นพี่นักศึกษาแพทย์ และศิษย์เก่า แชร์เทคนิคและรายละเอียดการสอบเข้า และอื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งนี้ คณะกรรมการผู้จัดงานจะทำการส่ง link ZOOM ให้เข้ากับผู้เข้าร่วมผ่านช่องทาง E-mail ในเช้าของวันงาน ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนได้ที่ https://bit.ly/40pp1Ht ตั้งแต่วันนี้ – วันที่ 1 เมษายน 2566

สสวท. ชวนครูวิทย์สิ่งแวดล้อม ร่วมประกวด GLOBE Thailand Teacher Shining Star 2023 หมดเขตรับสมัคร 9 มิ.ย. 66

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) โดย โครงการโลกศึกษาเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อม (GLOBE) ขอเชิญคุณครูส่งผลงานเข้าร่วมประกวด GLOBE Thailand Teacher Shining Star 2023 (GLOBE TSS) 3 ประเภทรางวัล คือ กิจกรรมการสร้างแรงบันดาลใจในการเป็น GLOBE Young Scientist (GLOBE Young Scientist Inspiration) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์โลกทั้งระบบ (ESS Curriculum Implementation in School) และ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate Change Learning Activities in School) ผู้สมัครต้องเป็นครูผู้สอนระดับประถมศึกษา หรือ มัธยมศึกษา ตามประเภทการสมัคร เป็นครูที่สอนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม หรือ วิทยาศาสตร์โลกทั้งระบบ หรือ นำกิจกรรมการเรียนรู้ของ GLOBE หรือ กิจกรรมการเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งในหรือนอกห้องเรียนในระดับประถมศึกษา หรือ มัธยมศึกษา สำหรับรางวัล Climate …

สสวท. ชวนครูวิทย์สิ่งแวดล้อม ร่วมประกวด GLOBE Thailand Teacher Shining Star 2023 หมดเขตรับสมัคร 9 มิ.ย. 66 Read More »

นวัตกรรม “EVERFRESH ผลไม้ ยืดอายุด้วยโมเลกุลธรรมชาติ” ชะลอเน่าเสีย ช่วยลดต้นทุน ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ฝีมือ นศ. ภาควิชาจุลชีววิทยา มจธ.

ประเทศไทย มีการส่งออกผลไม้เป็นอันดับต้น ๆ ของโลก และหนึ่งในนั้นคือ “มะม่วงน้ำดอกไม้” แต่ระหว่างการส่งออกผลไม้มักจะพบปัญหาการเน่าเสีย เนื่องจากในการขนส่งต้องใช้ระยะเวลาค่อนข้างนาน ทำให้ผลไม้เน่าเสียก่อนถึงผู้บริโภค มีค่าใช้จ่ายสูง และปัญหานี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้วิธีที่นิยมใช้เพื่อยืดอายุ หรือ เก็บรักษาผลไม้ให้ได้นานขึ้น จะมีการใช้สารต่าง ๆ โดยเฉพาะการใช้คลอรีนล้างผลไม้ เพื่อยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ แต่เนื่องจากคลอรีนเป็นสารอันตราย หากได้รับประทานในปริมาณมาก หรือ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะส่งผลกระทบต่อร่างกาย หลายประเทศจึงมีความกังวล เช่น ประเทศเกาหลีใต้ ห้ามนำเข้าผักผลไม้ที่มีสารปนเปื้อนคลอรีน ทำให้ปัจจุบันการส่งออกมีข้อควรระวังที่สำคัญ คือ เรื่องการล้างผลไม้ด้วยคลอรีน การเคลือบ หรือ แวกซ์ผลไม้ที่ทำให้ผิวหรือเปลือกของผลไม้มีลักษณะมันวาว ก็อาจทำให้ผู้บริโภคบางรายเกิดความกังวลเช่นกัน นี่จึงเป็นที่มาของ “การพัฒนาสูตร EVERFRESH ผลไม้ ยืดอายุด้วยโมเลกุลธรรมชาติ” เป็นผลงานของ 8 นักศึกษาจากภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ประกอบด้วย นายสันติ นกยอด, นางสาวกานต์ญาณี ศรีแก้วฟ้าทอง, นางสาวธนวรรณ สังข์สุวรรณ, นางสาวสุธาทิพย์ เงินเจือ, นางสาวเบญญาภา …

นวัตกรรม “EVERFRESH ผลไม้ ยืดอายุด้วยโมเลกุลธรรมชาติ” ชะลอเน่าเสีย ช่วยลดต้นทุน ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ฝีมือ นศ. ภาควิชาจุลชีววิทยา มจธ. Read More »

สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) จัดประกวด “ITD NEXT : The Smart ASEAN Influencer Contest 2023″ ค้นหาอินฟลูเอนเซอร์หน้าใหม่ ขยายเวลารับสมัครและส่งผลงานถึงวันที่ 21 เมษายน 2566 

สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) หรือ สคพ. (itd) จัดประกวด “ITD NEXT : The Smart ASEAN Influencer Contest 2023″ ขยายเวลาเปิดรับสมัครและส่งผลงานถึงวันที่ 21 เมษายน 2566  วัตถุประสงค์ เพื่อเฟ้นหานักสื่อสารและสร้างสรรค์ผลงานด้านสื่อดิจิทัลรุ่นใหม่ที่มีความคิดสร้างสรรค์ คล่องแคล่ว ทันสมัย และเปี่ยมไปด้วยแรงบันดาลใจ กำหนดการกิจกรรมการประกวด ส่งเอกสารการสมัคร ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2566 ส่งผลงานรอบคัดเลือกได้ถึงวันที่ 21 เมษายน 2566 ประกาศผลรอบคัดเลือกในวันที่ 2 พฤษภาคม 2566 เข้ารับการอบรมกับ ITD ในวันที่ 13 พฤษภาคม 2566 ส่งผลงานรอบรองชนะเลิศ ตั้งแต่วันที่14 – 31 พฤษภาคม 2566 ประกาศผลผู้ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศในวันที่ 7 มิถุนายน 2566 แข่งขันรอบชิงชนะเลิศและพิธีมอบรางวัล …

สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) จัดประกวด “ITD NEXT : The Smart ASEAN Influencer Contest 2023″ ค้นหาอินฟลูเอนเซอร์หน้าใหม่ ขยายเวลารับสมัครและส่งผลงานถึงวันที่ 21 เมษายน 2566  Read More »

error: Content is protected !!