สถานีการศึกษา

อาชีวะอุบลฯ เปิดบ้านโชว์ศูนย์ความเป็นเลิศฯ Excellent Center ด้านการโรงแรม ต้อนรับคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา ลงพื้นที่เก็บข้อมูลอัปเกรดการศึกษาไทย

เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2566 ที่ห้องประชุมศรีอุบล นางสาวลฎาภา แสวงทรัพย์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ตัวแทนครู นักเรียน นักศึกษา ให้การต้อนรับคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา นำโดย นายทรงเดช เสมอคำ รองประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา รองประธานคณะอนุกรรมาธิการการอาชีวศึกษา พลเอกอู๊ด เบื้องบน กรรมาธิการการศึกษา พลอากาศเอกชิตพล เกษมคุณ ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการการศึกษา และคณะอนุกรรมาธิการการอาชีวศึกษา เพื่อศึกษาดูงานด้านการศึกษา ประเด็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาและอุปสรรคในการจัดการอาชีวศึกษาในปัจจุบัน การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการพัฒนาสมรรถนะครู บุคลากรและผู้เรียน แนวทางการ R-Skill , Up-Skill และ New-Skill ครูและบุคลากร การพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) สาขาวิชาการโรงแรม รวมทั้ง การพัฒนาองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย (อวท.) ของ นักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี โดยมี นายธาตรี พิบูลมณฑา ผู้อำนวยการสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี ร่วมต้อนรับและให้ข้อมูลในการบริหารสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี และ นางสาวลฎาภา แสวงทรัพย์ …

อาชีวะอุบลฯ เปิดบ้านโชว์ศูนย์ความเป็นเลิศฯ Excellent Center ด้านการโรงแรม ต้อนรับคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา ลงพื้นที่เก็บข้อมูลอัปเกรดการศึกษาไทย Read More »

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จัดประกวดภาพถ่าย “จุดประกายการขับเคลื่อน 13 หมุดหมายในท้องถิ่นและตำบล” ชิงเงินรางวัล พร้อมโล่เกียรติคุณ

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) มอบหมายให้ บริษัท ชัตเตอร์ วี จำกัด ดำเนินการจัดกิจกรรมประกวดภาพถ่าย หัวข้อ “จุดประกายการขับเคลื่อน 13 หมุดหมายในท้องถิ่นและตำบล” เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ผลงานภาพถ่ายให้เป็นที่จดจำ และได้มีส่วนร่วมในการสร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับ 13 หมุดหมาย ผ่านมุมมองของตนเอง เพื่อชิงเงินรางวัล พร้อมโล่เกียรติคุณ จาก นายกรัฐมนตรี และเกียรติบัตร จาก สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รางวัลการประกวด – รางวัลชนะเลิศ ภาพที่ดีที่สุดจากทุกหมุดหมาย (The Best of the best) 1 รางวัล รับเงินรางวัล จำนวน 30,000 บาท พร้อมโล่เกียรติคุณ ท่านนายกรัฐมนตรี และเกียรติบัตร – รางวัลชนะเลิศ ในแต่ละหมุดหมาย (Gold) รวม 13 รางวัล รับเงินรางวัล จำนวน 5,000 บาท บาท และเกียรติบัตร …

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จัดประกวดภาพถ่าย “จุดประกายการขับเคลื่อน 13 หมุดหมายในท้องถิ่นและตำบล” ชิงเงินรางวัล พร้อมโล่เกียรติคุณ Read More »

ม.ขอนแก่น มอบแบบจำลอง AI ภาพเสมือน สถาปัตยกรรมขอมบนพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ส่งเสริมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อ.เปือยน้อย

รศ.ดร.นิยม วงศ์พงษ์คำ รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และ ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ส่งมอบแบบจำลองเสมือนของสถาปัตยกรรมศาสนสถานในอารยธรรมขอมบนพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ให้แก่ นายปิยะพงษ์ คลังทอง นายอำเภอเปือยน้อย และ นายสิทธิชัย อินทุประภา รองผู้อำนวยการ สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานขอนแก่น ณ ปราสาทเปือยน้อย อำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น ทั้งนี้ โครงการการพัฒนาแบบจำลองเสมือนของสถาปัตยกรรมศาสนสถานในอารยธรรมขอมบนพื้นที่จังหวัดขอนแก่น เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ในปี พ.ศ.2564-2565 เป็นการดำเนินงานโดย คณะศิลปกรรมศาสตร์ และ สถาบันการสอนวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยได้รับสนับสนุนงบประมาณโครงการจาก ฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างแบบจำลองเสมือนของสถาปัตยกรรมศาสนสถานในอารยธรรมขอมบนพื้นที่จังหวัดของแก่น ในรูปแบบภาพสามมิติ วิดีโอ และแอปพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ดร.ฮาวา วงศ์พงษ์คำ เจ้าของโครงการ การพัฒนาแบบจำลองเสมือนของสถาปัตยกรรมศาสนสถานในอารยธรรมขอมบนพื้นที่จังหวัดขอนแก่น เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม เปิดเผยว่า จุดเริ่มต้นของโครงการนี้ คือ ต้องการที่จะทำประโยชน์ต่อชุมชน เนื่องจากตนมีความรู้ด้านสถาปัตยกรรม และได้เรียนต่อยอดที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น …

ม.ขอนแก่น มอบแบบจำลอง AI ภาพเสมือน สถาปัตยกรรมขอมบนพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ส่งเสริมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อ.เปือยน้อย Read More »

สพฐ. จับมือ 3 หน่วยงาน กูรูด้านอาหาร พัฒนารร.ต้นแบบ S.M.A.R.T.S Model School ยกระดับโภชนาการ รร.ทั่วประเทศ

เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2566 ผู้สื่อข่าว รายงานว่า นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือพัฒนาโรงเรียนต้นแบบด้านอาหารและโภชนาการ ในโรงเรียน S.M.A.R.T.S Model School ภายใต้โครงการ “อายิโนะโมะโต๊ะ โภชนาการเพื่อเด็กไทย ก้าวไกลสร้างชาติ” ระหว่าง 4 หน่วยงาน ประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ สถาบันโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดล และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ร่วมลงนาม พร้อมด้วยคณะทำงานของทั้ง 4 หน่วยงาน ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุมราชวัลลภ ชั้น 2 อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ นายอัมพร พินะสา เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า ที่ผ่านมา มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ ได้สนับสนุนและดำเนินการโครงการที่เกี่ยวข้องกับอาหารและโภชนาการสำหรับเด็กนักเรียนในโรงเรียนสังกัด สพฐ. มาอย่างต่อเนื่อง และด้วยเจตนารมณ์ของมูลนิธิฯ ที่ต้องการเห็นการต่อยอดการดำเนินงานไปสู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริง จึงเป็นที่มาของพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือระหว่าง 4 …

สพฐ. จับมือ 3 หน่วยงาน กูรูด้านอาหาร พัฒนารร.ต้นแบบ S.M.A.R.T.S Model School ยกระดับโภชนาการ รร.ทั่วประเทศ Read More »

“ตรีนุช” รุดลงพื้นที่จ.ปราจีน เร่งด่วน เพื่อติดตามสถานการณ์สารกัมมันตรังสีซีเซียม – 137 ที่ รร.ไทยรัฐวิทยา 93

นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย นายรณรงค์ นครจินดา ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี และคณะ ลงพื้นที่จ.ปราจีนบุรี เพื่อตรวจเยี่ยมและสร้างความรับรู้ความเข้าใจกรณีวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม – 137 หลุดจากที่ติดตั้ง ณ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 93 จ.ปราจีนบุรี เมื่อเร็ว ๆ นี้  จากกรณีวัสดุสารกัมมันตรังสีซีเซียม – 137 ได้หายไปจาก บริษัท เนชั่นแนล เพาเวอร์ แพลนท์ 5 เอ ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังไอน้ำ ตั้งอยู่ ต.ท่าตูม อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี นั้น เบื้องต้นทราบว่า วัสดุดังกล่าวหลุดจากที่ติดตั้ง วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 ทราบเรื่องเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2566 โดย ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) ได้รับแจ้งเหตุกรณีวัสดุกัมมันตรังสีสูญหาย มีขนาดกว้าง 12.7 ซม. ยาว …

“ตรีนุช” รุดลงพื้นที่จ.ปราจีน เร่งด่วน เพื่อติดตามสถานการณ์สารกัมมันตรังสีซีเซียม – 137 ที่ รร.ไทยรัฐวิทยา 93 Read More »

DPU ระดมผู้เชี่ยวชาญธุรกิจ จัดงาน Hackathon ติวเข้ม นศ. เฟ้นหาไอเดียสุดเจ๋ง ปั้นผู้ประกอบการหน้าใหม่

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มุ่งสู่การเป็น “Smart Campus” เดินหน้าจัดโครงการ DPU Hackathon เฟ้นหาสุดยอดทีมนักศึกษาที่มีไอเดียธุรกิจสุดเจ๋ง สร้างสรรค์สินค้า-บริการที่ใช่ ตอบโจทย์ความท้าทายของโลกยุคใหม่ ชูแนวคิด “Smart Idea with SDGs” ระดมผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขาติวเข้มนักศึกษา เติมเต็มองค์ความรู้ เพิ่มประสบการณ์และทักษะจำเป็น พร้อมสานต่อไอเดียธุรกิจให้เกิดขึ้นจริง และก้าวสู่การเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ ผศ.ดร.พัทธนันท์ เพชรเชิดชู รองอธิการบดีสายงานวิชาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ หรือ DPU กล่าวถึงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยฯ เพื่อมุ่งสู่การเป็น “Smart Campus” ว่า DPU มีความมุ่งมั่นในการจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อเป็นการเสริมสร้างประสบการณ์และพัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ ทักษะการแก้ปัญหา การคิดเชิงวิเคราะห์ การทำงานเป็นทีม การนำเสนอ การคิดเชิงสร้างสรรค์ การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี และการเป็นผู้ประกอบการ เพื่อให้นักศึกษาทุกคนมีศักยภาพพร้อมที่จะก้าวไปกับโลกยุคใหม่ ดังนั้น โครงการ DPU Hackathon โดย ฝ่ายนวัตกรรมหลักสูตรและการสอน จึงได้เกิดขึ้นมา เพื่อเป็นหนึ่งในแนวทางส่งเสริมให้นักศึกษามีเวทีฝึกฝนและพัฒนาทักษะ พร้อมทั้งได้เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์จริง ซึ่งโครงการฯ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ …

DPU ระดมผู้เชี่ยวชาญธุรกิจ จัดงาน Hackathon ติวเข้ม นศ. เฟ้นหาไอเดียสุดเจ๋ง ปั้นผู้ประกอบการหน้าใหม่ Read More »

วธ. ยันพร้อมจัด “พิพิธภัณฑ์ในยามค่ำคืน (Night at the Museum)” เต็มรูปแบบ หลังตัวเลขเข้าชมแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวทางมรดกศิลปวัฒนธรรม ปี 65 ทะลุ 4 ล้านคน

วธ.เผยตัวเลขเข้าชมแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวทางมรดกศิลปวัฒนธรรม ปี 65 มากกว่า 4 ล้านคน พร้อมจัด “พิพิธภัณฑ์ในยามค่ำคืน (Night at the Museum)” เต็มรูปแบบ ในงานใต้ร่มพระบารมี 241 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ 21 – 25 เมษายน 2566 ชมความงามของโบราณสถานวังหน้า การแสดงศิลปวัฒนธรรม นิทรรศการในพระที่นั่งต่าง ๆ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566 โดยมี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (กวช.) เป็นประธาน ที่ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ที่ประชุมได้รายงานสถิติผู้เข้าใช้เข้าชมแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวทางมรดกศิลปวัฒนธรรม ที่อยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มากกว่า 4 ล้านคน ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นและมีทิศทางเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ โดยได้รับความสนใจจากประชาชนและนักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมอย่างต่อเนื่อง …

วธ. ยันพร้อมจัด “พิพิธภัณฑ์ในยามค่ำคืน (Night at the Museum)” เต็มรูปแบบ หลังตัวเลขเข้าชมแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวทางมรดกศิลปวัฒนธรรม ปี 65 ทะลุ 4 ล้านคน Read More »

สำนักงาน กปร. เชิญชวนเยาวชนเข้าร่วมโครงการค่ายเยาวชนรู้งานสืบสานพระราชดำริ (RDPB Camp) รุ่นที่ 13 ภายใต้หัวข้อ “สานรักษ์ ดิน น้ำ ป่า พัฒนาคุณภาพชีวิต” ปิดรับสมัคร 31 มี.ค. 2566

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือ สำนักงาน กปร. เชิญชวนเยาวชนเข้าร่วมโครงการค่ายเยาวชนรู้งานสืบสานพระราชดำริ (RDPB Camp) รุ่นที่ 13 ภายใต้หัวข้อ “สานรักษ์ ดิน น้ำ ป่า พัฒนาคุณภาพชีวิต” ปิดรับสมัคร 31 มี.ค. 2566 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่แนวพระราชดำริการพัฒนาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าผู้หัวทรงสืบสาน รักษา ต่อยอดไปสู่เยาวชน นิสิต นักศึกษาจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ 2. เพื่อให้เยาวชนได้รับรู้และรับทราบองค์ความรู้ตามแนวพระราชดำริในมุมมองใหม่ หรือ นวัตกรรมการพัฒนาในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 3. เพื่อให้เยาวชนเป็นเครือข่ายในการเผยแพร่และสืบสาน รักษา ต่อยอด ขยายผล แนวพระราชดำริได้อย่างกว้างขวางและถูกต้องยิ่งขึ้น การดำเนินโครงการ โครงการค่ายเยาวชนรู้งานสืบสานพระราชดำริ (RDPB Camp) รุ่นที่ 13 มีรายละเอียดในการดำเนินงาน ดังนี้ – กิจกรรมที่ 1 ค่ายเยาวชนรู้งานสืบสานพระราชดำริ (RDPB Camp) รุ่นที่ 13 โดยการคัดเลือกเยาวชนในระดับอุดมศึกษา หรือ เทียบเท่า …

สำนักงาน กปร. เชิญชวนเยาวชนเข้าร่วมโครงการค่ายเยาวชนรู้งานสืบสานพระราชดำริ (RDPB Camp) รุ่นที่ 13 ภายใต้หัวข้อ “สานรักษ์ ดิน น้ำ ป่า พัฒนาคุณภาพชีวิต” ปิดรับสมัคร 31 มี.ค. 2566 Read More »

“กังหันน้ำคีรีวง” กังหันผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก นวัตกรรมฝีมือคนไทย ขยายผลสู่ชุมชนรอบเทือกเขานครศรีธรรมราช

แม้ว่า “ไฟฟ้าพลังน้ำ” จะเป็นหนึ่งในแหล่งพลังงานทดแทนที่ถูกบรรจุอยู่ ภายใต้แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558 – 2579 (AEDP2015) แต่ส่วนใหญ่จะเน้นไปเทคโนโลยีกังหันน้ำผลิตไฟฟ้าขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าป้อนเข้าสู่ระบบสายส่ง ขณะที่ เทคโนโลยีกังหันน้ำผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก ซึ่งมีราคาต่อหน่วยพลังงานต่ำสุดในกลุ่มพลังงานหมุนเวียนด้วยกัน (ประมาณ 1.5-12 บาท/กิโลวัตต์-ชั่วโมง) กลับเป็นเทคโนโลยีนำเข้า ที่ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงถึงกิโลวัตต์ละ 100,000 บาท เพราะยังไม่มีบริษัทของไทยที่สามารถผลิตกังหันน้ำขนาดเล็กได้ ทั้งที่เป็นเทคโนโลยีที่จะก่อให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกรในพื้นที่ห่างไกลจากสายส่งได้อย่างมหาศาล ชุมชนคีรีวง คือ ตัวอย่างหนึ่งของชุมชนเกษตรกรรม ที่อยู่ห่างไกลจากจากสายส่ง และต้องใช้เครื่องปั่นกระแสไฟฟ้า ที่ทำให้มีต้นทุนค่าน้ำมันค่อนข้างสูง และหากจะใช้แผงโซลาร์เซลล์ก็มีที่โล่งแจ้งอยู่จำกัด และใช้ได้เฉพาะเวลากลางวัน ขณะเดียวกันระบบท่อที่เกษตรกรแต่ละรายทำ ก็เป็นการใช้น้ำที่ไหลผ่านท่อลงมจากจากยอดเขา เพื่อปลูกผลไม้และพืชสวนต่าง ๆ เพียงอย่างเดียว ทั้งที่หากนำมาผ่านเครื่องกังหันน้ำผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (0-1 KW) ก่อนปล่อยสู่แปลงปลูก ก็จะทำให้มีกระแสไฟฟ้าที่นำไปใช้ประโยชน์ได้อีกหลายด้าน นี่จึงเป็นที่มาของการเข้าไปทำการวิจัย พัฒนา ติดตั้ง และทดลองใช้กังหันน้ำผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ณ ชุมชนหมู่บ้านคีรีวง ตั้งแต่ปี 2548 โดยมี ผศ.ดร.อุสาห์ บุญบำรุง …

“กังหันน้ำคีรีวง” กังหันผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก นวัตกรรมฝีมือคนไทย ขยายผลสู่ชุมชนรอบเทือกเขานครศรีธรรมราช Read More »

เมื่อเลือดเป็นยา ทางเลือกใหม่บรรเทาปวด ผลงานวิจัยชิ้นโบว์แดง คลินิกระงับปวด จุฬาฯ

แพทย์จุฬาฯ วิจัยสำเร็จ ใช้เกล็ดเลือดเข้มข้นของคนไข้เอง ฉีดเข้าเอ็นข้อไหล่ ลดปวด สมานเอ็นฉีกขาด และฟื้นฟูกล้ามเนื้อที่ฉีกขาดได้ ทางเลือกใหม่แทนการผ่าตัด ลดความเสี่ยงจากผลกระทบจากการกินยาแก้ปวดต่อเนื่องเป็นเวลานาน “การฉีดเกล็ดเลือดฟื้นฟูเอ็นข้อหัวไหล่เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาคนไข้ที่เราทำมากว่า 5 ปีแล้ว แนวทางนี้ช่วยลดผลข้างเคียงของยากลุ่มแก้ปวดได้ และมีความปลอดภัยสูงมาก เพราะเป็นการเอาเกล็ดเลือดและพลาสมาของคนไข้เอง ออกมาแล้วฉีดกลับเข้าไปในร่างกายเพื่อกระตุ้นซ่อมแซมตัวเอง” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (พิเศษ) นายแพทย์มาร์วิน เทพโสพรรณ แพทย์ประจำคลินิกระงับปวด ฝ่ายวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เล่าถึงวิธีการบรรเทาอาการปวดด้วยเกล็ดเลือด วิทยาการนี้เป็นงานวิจัยที่ คลินิกระงับปวด ร่วมมือกับ หน่วยการกีฬาของโรงพยาบาลจุฬาฯ เพื่อศึกษาการดูแลความปวดให้กับผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุจากการทำงาน การเล่นกีฬา การเคลื่อนไหวร่างกายที่ผิดท่า ซึ่งล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ และเอ็นฉีกขาด บางรายต้องรักษาด้วยการผ่าตัด บางรายรักษาไม่หายขาด พัฒนาไปสู่อาการปวดเรื้อรังตลอดชีวิต “ในการศึกษานี้ เราเปรียบเทียบการรักษาโดยทำ MRI ที่หัวไหล่ของคนไข้ที่ได้รับการฉีดเกล็ดเลือดไปแล้ว 6 เดือน กับคนไข้ที่ไม่ได้ใช้วิธีการฉีดเกล็ดเลือดในการรักษาเอ็นหัวไหล่ฉีกขาด พบว่า การฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้นเข้าไปในเอ็นข้อไหล่ ช่วยลดอาการปวดได้อย่างมีนัยยะสำคัญ ภายใน 1 – 2 เดือน และยังช่วยซ่อมแซมรอยฉีกขาด ทำให้เอ็นข้อไหล่ติดกันได้ดีขึ้นด้วย ขนาดแผลที่ฉีกขาดก็ลดขนาดลง …

เมื่อเลือดเป็นยา ทางเลือกใหม่บรรเทาปวด ผลงานวิจัยชิ้นโบว์แดง คลินิกระงับปวด จุฬาฯ Read More »

error: Content is protected !!