ตอนที่ 35 : “อุดมการณ์โอลิมปิกในโรงเรียน” จากอุดมการณ์โอลิมปิกถึงมหาวิทยาลัยมวลชน : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

อุดมการณ์โอลิมปิกในโรงเรียน: จะต้องได้รับการสนับสนุน!

            ในเวลาที่คูเบอร์แต็งเขียนบทความชิ้นนี้ ท่านกำลังวางแผนประมวลวิชาของหลักสูตรอุดมการณ์โอลิมปิกที่ศูนย์การศึกษาเมดิเตอเรเนียนในเมืองนิซ

            เมื่อการสอนเริ่มต้นขึ้นพร้อมด้วยความชราภาพของตนเอง คูเบอร์แต็งสามารถจัดการเรียนการสอนได้เพียงสามหลักสูตรเท่านั้นและไม่สามารถดำเนินภารกิจและความรับผิดชอบในฐานะ “ประธานศูนย์โอลิมปิกศึกษา” ได้ จึงทำให้ตำแหน่งนี้ที่เมืองนิซดำรงอยู่ไม่นานนัก

            การจัดตั้ง “ประธานศูนย์โอลิมปิกศึกษา” ที่ศูนย์การศึกษาเมดิเตอร์เรเนียนในเมืองนิซทำลายประตูที่ปรากฏแก่สายตาซึ่งยังไม่เคยถูกแง้มแม้เพียงนิด เป็นสิ่งแน่นอนที่กล่าวอ้างกันถึงความขัดแย้งระหว่างร่างกายและจิตใจว่า ไม่มีการยอมรับอย่างกว้างขวางเช่นเคย ถึงแม้จะยังคงหลอกหลอนในสมองของนักอนุรักษ์นิยมโดยแท้ ผู้ฟังวัยเยาว์คงจะหัวเราะเยาะต่อแนวคิดนี้ แต่ก็มีอ่าวกั้นความเชื่อนี้จากความคิดที่ว่า ความร่วมมืออย่างมีประสิทธิผลของทั้งสองประการนั้นจะสามารถเข้าสู่สนามการศึกษาอย่างเป็นทางการได้ โดยอ่าวนี้ไม่ใช่เพียงแค่หนึ่งก้าวแต่เป็นความห่างไกลมาก มร.เดอ มองซี ต้องได้รับคำขอบคุณจากการช่วยให้เกิดขึ้นได้ซึ่งท่านชอบสิ่งใหม่โดยเฉพาะเมื่อสิ่งเหล่านั้นสวมเสื้อคลุมยุคเก่า นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นในที่นี้ นอกจากนี้ การมีส่วนร่วมของครูใหญ่คือความเป็นเมดิเตอร์เรเนียนอย่างยิ่ง แต่จะไปได้ไกลเพียงใด? อุดมการณ์โอลิมปิกไม่ได้ปรากฎในโลกอย่างฉับพลันที่กรุงโรม หรืออียิปต์ หรือนครคาร์เธจ และแน่นอนว่าไม่ใช่เป็นของชาวลิกูเรียนหรือชาวเครตัน แต่เป็นชาวกรีกซึ่งอยู่เหนือข้อสงสัยทั้งปวงและเป็นยิ่งกว่านั้นด้วย โดยมีปฐมบททางประวัติศาสตร์ทั้งมวลที่ต้องนำมาสู่การพิจารณา ในช่วงนั้น ทวีปเอเชียทำอะไรกัน? ชาวฮินดู (นอกพื้นที่ของอเล็กซานเดอร์) ชาวญี่ปุ่น หรือชาวจีน จะกล่าวอะไร? รวมทั้งชาวสแกนดิเนเวียและเยอรมัน ชาวเคชัวหรือมายา? ซึ่งเป็นการง่ายที่แสดงว่า ในบรรดาผู้คนจำนวนมากแต่คงไม่ใช่ทั้งหมดนั้น สัญชาติญาณกีฬาได้ปรากฏขึ้นโดยเริ่มตั้งแต่จุดกำเนิดเดิมทีของพวกเขา สิ่งนี้คืออุดมการณ์โอลิมปิกหรือไม่? ไม่ใช่อย่างแน่นอน การที่อุดมการณ์โอลิมปิกจะเป็นที่ประจักษ์นั้น สัญชาติญาณกีฬาต้องรายล้อมด้วยสุนทรียภาพและความเกี่ยวข้องต่อจริยธรรมเช่นกัน สัญชาติญาณกีฬานี้ต้องยอมให้ปรัชญาเป็นตัวตัดสินการแข่งขันและศาสนาประจำชาติ ไม่ว่าจะเป็นศาสนาหลักหรือไม่ก็ตาม จะต้องดำเนินการอยู่เบื้องหลังในบางลักษณะ

            เป็นที่ทราบกันดีว่า สัญชาติญาณกีฬาทั้งปวงนี้ได้ปรากฏในลักษณะของตัวอ่อนภายในอุดมการณ์โอลิมปิกอย่างไม่ตั้งใจที่เกือบจะหยั่งรากในยุคกลาง โดยถือกำเนิดเป็นรูปร่างอย่างรวดเร็วเนื่องเพราะเต็มเปี่ยมด้วยพลัง แต่ก็เสื่อมคลายลงอย่างปัจจุบันทันด่วนเช่นกันด้วยเหตุผลหลายประการ แต่ที่สำคัญคือสัญชาติญาณกีฬานี้ไม่เคยเป็นภารกิจของรัฐหรือการศึกษาดั่งเช่นอุดมการณ์โอลิมปิกโบราณ ยุทธการอัศวินได้กระจัดกระจายและมลายหายไป แต่อุดมคติบางประการที่ได้รับการยกย่องเป็นทวีคูณจากผู้ทรงเกียรติแห่งความสำเร็จยังคงฉายแสงเจิดจริสในความคิดของ ลิง เดอ ฮาห์น และ โทมัส อาร์โนลด์ รวมทั้งร่องรอยบางประการในงานของ อาโมรอส ซึ่งล้มเลิกตั้งแต่ครั้นเริ่มต้น

            สิ่งทั้งปวงเหล่านี้ไม่เป็นเพียงประวัติศาสตร์ แต่เป็นชีววิทยาที่รับรู้ผ่านดวงจิตซึ่งถูกปฏิเสธในฐานะแนวคิดมาอย่างเนิ่นนานและแน่วแน่ โดยแค่ความพยายามที่จะรวบรวมแม้รายสรุปก็ตาม โอลิมปิกศึกษาก็จะเผยความรุ่มรวยและหลากหลายของตนเองให้ปรากฏ

            ระหว่างช่วง “เชาวน์ปัญญา” แห่งชีวิตของคณะกรรมการโอลิมปิกนานาชาติ เมื่อวารสารโอลิมปิกรีวิวทำหน้าที่เป็นทั้งสิ่งพิมพ์และเครื่องมือหลักในระหว่างสิบห้าปีแรกของศตวรรษนี้ตั้งแต่การประชุมสภาโอลิมปิกที่เมืองลูอาวา (ค.ศ.1897) จนถึงสงครามหรือประมาณนี้ หัวข้อเหล่านี้ได้รับการกล่าวถึงพร้อมการวางรากฐานสำหรับภารกิจในอนาคต ในปัจจุบัน สำนักวิชาการสอนกีฬานานาชาติได้เติมเต็มงานที่ยังไม่แล้วเสร็จ เป็นที่ประจักษ์ว่า ในไม่ช้า โครงการเช่นที่กล่าวถึงในตอนต้นของบทความนี้ จะได้รับการขับเคลื่อนเพื่อให้หัวข้อเหล่านี้ช่วยชี้นำมติมหาชน ซึ่งยังคงถูกเบี่ยงเบนและห่างไกลนัก ในการนี้ การกีฬาศึกษาจะได้รับการขับเคลื่อนอย่างแน่นอนสู่ตำแหน่งที่เหมาะสมต่อเป้าหมายของตนเองตามที่ได้กำหนดไว้ในการประชุมสภาโอลิมปิกที่เมืองโลซานน์เมื่อยี่สิบปีก่อน

RANDOM

error: Content is protected !!