ตอนที่ 31 : บาทหลวงดิดอง : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

บาทหลวงดิดอง

            บทความชิ้นนี้คือคำอุทิศแก่มิตรสหายคราวบิดาของคูเบอร์แต็งคือ อองรี ดิดอง นักบวชเชื้อสายโดมินิกัน ซึ่งได้จากไปในวันที่ 13 มีนาคม ค..1900 ซึ่งทราบกันดีว่า คำขวัญโอลิมปิก “เร็วกว่า สูงกว่า แข็งแรงกว่า” มาจากท่านนี้และในระหว่างการเยือนของคูเบอร์แต็ง ท่านได้สร้างความประทับใจแก่นักเรียนตนเองด้วยคำขวัญข้างต้นในพิธีเปิดเทศกาลกีฬาโรงเรียนในอะครูอิลเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค..1891 ซึ่งคูเบอร์แต็งได้ใช้เป็นคำขวัญโอลิมปิกใน ค..1894 อย่างไรก็ตาม บทความชิ้นนี้ไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่เป็นการแสดงความชื่นชมต่อผลสัมฤทธิ์รอบด้านของมนุษย์ผู้ยิ่งใหญ่ในฐานะพระนักเทศน์ ครูผู้สอนและพลเมืองฝรั่งเศสที่น่านับถือ คูเบอร์แต็งชื่มชมจิตวิญญาณเสรีและความเห็นเชิงวิพากษ์ของบาทหลวงดิดองภายในกรอบศาสนจักรฝรั่งเศส

            คล้อยหลังจากการก่อตั้งอนุสาวรีย์ของพระคาดินัลลาวิจ์รีย์ ซึ่งเป็นนักชาตินิยมและผู้นำอารยธรรมที่เข้มแข็งบนชายฝั่งแอฟริกาไม่นาน ความพลัดพรากได้มาเยือนเร็วเกินไปแก่พระนักบวชที่เสมือนเป็นลาวิจ์รีย์ของการศึกษาในฝรั่งเศส

            ไม่ว่าใครก็ตามที่เกี่ยวข้องกับบาทหลวงดิดอง จะได้สัมผัสถึงดวงวิญญาณของท่านที่สิงสถิตย์อยู่เบื้องหน้าบนยอดภูเขาเสมอ ซึ่งเพ่งมองอนาคตและพินิจพิจารณาด้วยสายตาเรียบง่ายตลอดเวลา แรงปรารถนาประการแรกของท่านคือความบากบั่นโดยท่านค้นหาแม้กระทั่งในตัวนักเรียน ท่านกล่าวแก่ข้าพเจ้าในวันหนึ่งว่า “เป็นเรื่องตลกที่ข้าพเจ้ารู้สึกเหมือนเป็นอัมพฤกษ์เมื่อกลุ่มนักเรียนไม่มีการต่อต้านแก่ข้าพเจ้า จึงเป็นเหตุให้ข้าพเจ้าลงมือกระทำเกินกว่าเหตุในบางครั้ง เพื่อบังคับให้พวกเขาก่อการปฏิรูป”

            แรงปรารถนาประการต่อมาคือ การทำงาน และประการสุดท้ายคือ สมัยใหม่นิยม ข้าพเจ้าจำได้ถึงสุนทรพจน์ที่ท่านได้กล่าวในพิธีมอบรางวัลต่อหน้านักเรียนที่ตั้งใจฟังและพ่อแม่ที่กังวลใจ ด้วยความหาญกล้าไม่มีใครเปรียบ บาทหลวงดิดอง ประเดิมการจู่โจมซึ่งหน้าต่อสิ่งที่น่ารังเกียจยิ่งในขณะนั้น กล่าวคือ การต่อต้านชาวยิว โดยใช้คำเรียกที่เปิดเผยว่า ความขี้เกียจ ซึ่งก่อให้เกิดความเจ็บปวดแก่สังคมไร้จิตวิญญาณที่พร่ำบ่นถึงการถูกครอบงำและควบคุมจากกลุ่มคนยิว

            ในเรื่องทั่วไป บาทหลวงดิดอง ได้ชี้นำทางแก่ผู้ฟังเยาว์วัยในการงานด้านการพาณิชย์ อุตสาหกรรม การเงิน อาณานิคมต่างๆซึ่งเป็นอาชีพที่คู่ควร และมีเกียรติ รวมทั้งการทหาร เป็นที่ประจักษ์ถึงความชื่นชมของท่านต่อกำลังทหารของชาติ และท่านได้กล่าวถึงเกียรติภูมิของการทหารด้วยการยกย่องชมเชยนายทหารที่เข้าร่วมฟัง หนังสือพิมพ์ได้รายงานสรุปข้างต้น แต่อย่างน้อยที่สุด ข้าพเจ้าได้เห็นสุนทรพจน์นี้เป็นเพียงมุมมองยิ่งใหญ่เชิงปรัชญาที่มีต่อบทบาทของการทหารแก่โลกโดยแม้จะเยินยอมากเกินไปสักเล็กน้อย

            เอกภาพในชีวิตบุรุษผู้นี้ไม่ได้แสดงผ่านคำพูดแต่จากการกระทำ ทุกสิ่งที่บาทหลวงดิดองลงมือปฏิบัติต่างล้วนมุ่งเป้าหนึ่งเดียวคือ การเป็นบุรุษในกาลปัจจุบัน ท่านไม่เคยถอนตัวหรือถอดใจต่ออดีตและหวาดกลัวหรือหวั่นเกรงต่ออนาคต

            บาทหลวงดิดองพึงพอใจที่ตนได้กระทำในสิ่งที่เยาวชนมอบความไว้วางใจแก่ท่านต่อการศึกษาของพวกเขา ในฐานะพระนักเทศน์ การกล้าใช้ภาษาของท่านถือเป็นความรื่นรมย์มากกว่าความขุ่นเคือง ในฐานะนักการศึกษา ท่านสร้างตัวแบบทรงพลัง และในกิจกรรมหลากหลายทั้งปวงนั้น ท่านเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งความรัก และเสรีนิยมแท้จริงไว้ถ้วนทั่วกาย ท่านเสาะหาวิธีการนำพานักเรียนตนเองให้เกิดความเชื่อมโยงกับนักเรียนมัธยมศึกษาของโรงเรียนรัฐเป็นประจำและตัวท่านเองก็คอยจะพบปะสังสรรค์กับผู้คนที่มีความเห็นต่างเช่นกัน

            ด้วยบริบทของจดหมายน้อยเหล่านี้ ข้าพเจ้าไม่สามารถจะเชื่อมโยงความสวยงามและจริยธรรมที่เข้มแข็งทั้งปวงของท่านได้ โดยความเป็นเพื่อนสนิทมิตรสหายกับท่านตลอดสิบปีที่ผ่านมา ได้แสดงให้ข้าพเจ้าได้ประจักษ์ในกายท่าน ข้าพเจ้าอาจกระทำได้ในโอกาสต่อไป

            ในวันนี้ที่ท่านจากไปแล้ว จะมีใครสามารถทดแทนสิ่งที่ท่านได้ปฏิบัติด้วยแบบฉบับตนเองได้? ประเทศฝรั่งเศสไม่มีการศึกษา พวกเรารู้แต่เพียงการเตรียมเด็กอ่อนโยน ผู้ดูแลศาสนสถาน หรือปั้นเด็กน้อยนักตรรกวิทยาเท่านั้น ทั้งนี้ ข้าพเจ้าชื่นชมอย่างแท้จริงต่อทุนเสบียงความเข้มแข็งและเชาวน์ปัญญา ที่ขับเคลื่อนสายพันธุ์ของพวกเราให้ยืนหยัดกับความผิดเพี้ยนที่ขาดประสิทธิภาพซึ่งดำรงอยู่ยาวนาน

RANDOM

มูลนิธิทีทีบี ชวนน้อง ๆ เยาวชนร่วมรณรงค์ต่อต้านการบูลลี่ ผ่านการประกวดโครงงาน โครงการ “เท่อย่างไทย โดย ไฟ-ฟ้า ทีทีบี” ในหัวข้อ “เท่ได้ต้องไม่บูลลี่” ชิงถ้วยพระราชทาน กรมสมเด็จพระเทพฯ

NEWS

error: Content is protected !!