“ตรีนุช” ลงพื้นที่จ.ปัตตานี มอบเงินเยียวยาครูชายแดนใต้ พร้อมจัดสวัสดิการและให้ทุนการศึกษาแก่ทายาทจนจบป.ตรี

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2566 ผู้สื่อข่าว รายงานว่า นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีมอบเงินช่วยเหลือเยียวยาให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ณ โรงแรมเซาท์เทิร์นวิว จังหวัดปัตตานี

นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  เปิดเผยว่า มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2556 เห็นชอบสนับสนุนสวัสดิการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ย้อนหลังไปถึงวันที่ 1 มกราคม 2547 จำนวน 162 ราย โดยได้ช่วยเหลือเยียวยาครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับผลกระทบไปแล้ว ตั้งแต่ปี 2564 – 2566 จำนวนทั้งสิ้น 112 ครอบครัว และกระทรวงศึกษาธิการได้จัดสวัสดิการด้านอื่น ๆ ให้ได้มาตรฐานใกล้เคียงกับส่วนราชการต่าง ๆ เพิ่มเติม รวมถึงสนับสนุนทุนการศึกษารายปีต่อเนื่องให้แก่ทายาทผู้ได้รับผลกระทบ ให้ได้รับการศึกษาจนจบปริญญาตรี เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษา ให้เป็นผู้มีความรู้ มีทักษะความสามารถในการประกอบอาชีพ เลี้ยงตนเองและครอบครัวในอนาคต โดยปีการศึกษา 2562 – 2565 ได้จัดสรรทุนการศึกษาไปแล้วจำนวน 5,000 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 20,945,000 บาท

“ในโอกาสต่อไปก็จะให้การช่วยเหลือเยียวยาครูและบุคลากรทางการศึกษาที่พิการ หรือ ทุพพลภาพ จากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565 ต่อไป”

นอกจากการช่วยเหลือเยียวยาครูและบุคลากรทางการศึกษาแล้ว กระทรวงศึกษาธิการยังให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ การพัฒนาร่วมกันให้ประชาชนทุกช่วงวัยได้มีโอกาสทางการศึกษา และการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และ ศูนย์ขับเคลื่อนการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศค.จชต.)

แนวทางการช่วยเหลือและดูแลคุณครู
– ปรับอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคล ในส่วนของเงินสมทบเป็นเงินเดือนครู สำหรับนักเรียนโรงเรียนเอกชน ประเภทอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2565 เป็นต้นไป ซึ่งจะใช้งบประมาณปีละ 97.4 ล้านบาทครอบคลุมสถานศึกษาอาชีวศึกษา 484 แห่ง
– ครูในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ได้เลื่อนวิทยฐานะก่อนภาคอื่น
– การแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยการจัดมหกรรมการเงินเพื่อครูไทยทั่วทุกภูมิภาค รวมทั้งพื้นที่ภาคใต้ที่จะจัดขึ้นในเร็ว ๆ นี้

ด้านโอกาสสำหรับเด็ก ๆ
– จัดโรงเรียนกินนอนให้นักเรียนด้อยโอกาส หรือ โครงการประชารัฐจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สพฐ.) สนับสนุนงบอุดหนุนให้กับนักเรียนโครงการประชารัฐจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มโอกาสให้นักเรียนที่ยากจน ถูกทอดทิ้ง ไม่มีผู้อุปการะ และได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้เข้ารับบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึง
– สานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนใต้ นำการกีฬามาใช้ในการพัฒนาเยาวชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับความต้องการ ความสนใจ สามารถนำความรู้ความสามารถด้านกีฬาไปใช้ในการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพ
– โครงการอาชีวะ ฝีมือชน พัฒนากำลังคนชายแดนใต้ (สอศ.) สนับสนุนทุนการศึกษาให้กับนักเรียน นักศึกษาโครงการอาชีวะ ฝีมือชน พัฒนากำลังคนชายแดนใต้ เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับเยาวชนไทยในเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
– โครงการฝึกอาชีพให้กลุ่มเป้าหมายพิเศษ (สอศ.) ดำเนินการจัดฝึกอบรมอาชีพให้กับเยาวชนในสถาบันศึกษาปอเนาะ ตามความสนใจของผู้เรียน และจัดตั้งกลุ่มฝึกอาชีพให้เยาวชนในสถาบันศึกษาปอเนาะ 25 แห่ง โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม 24 แห่ง
– ปรับเพิ่มอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลสำหรับนักเรียนพิการในโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา และอาชีวศึกษา (ปวช.) จำแนกเป็น นักเรียนพิการในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา จำนวน 4,452 คน นักเรียนพิการในโรงเรียนเอกชน ประเภทอาชีวศึกษา จำนวน 310 คน
– การขับเคลื่อนนโยบายสถานศึกษาปลอดภัย
– การขับเคลื่อนนโยบายพาน้องกลับมาเรียน

ด้านการสนับสนุน
– ปรับเพิ่มค่าอาหารกลางวันให้แก่นักเรียนระดับชั้นเด็กเล็ก ถึง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
– ปรับอัตราเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัวสำหรับผู้เรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้เรียน และช่วยเพิ่มศักยภาพของสถานศึกษาในการจัดและพัฒนาคุณภาพการศึกษา แบบขั้นบันไดต่อเนื่อง 4 ปีงบประมาณ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2566 – 2569

RANDOM

รัฐบาลญี่ปุ่น ร่วมกับ หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) จัดประกวดภาพยนตร์สั้น หัวข้อ “สิ่งที่ฉันต้องการ” ในโครงการ JENESYS 2023 คัดเลือกตัวแทนเยาวชนไทยไปร่วมกิจกรรม ที่เมืองมินามิอาวาจิ จ.เฮียวโงะ ประเทศญี่ปุ่น

error: Content is protected !!