สถานีการศึกษา

10 จุดเสี่ยงในโรงเรียน ที่มีโอกาสสัมผัสเสี่ยงสูง รับเปิดเรียน On-Site

ถึงแม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 จะค่อย ๆ ผ่อนคลายลงไปบ้างแล้ว และกำลังจะเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นโรคโควิด 19 ก็ยังคงอยู่และยังไม่ได้หายไป การป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากโรคโควิด 19 ยังเป็นสิ่งที่จำเป็นและยังต้องปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดซ้ำอีกในอนาคต และจากผลการสำรวจการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขบัญญัติต้อนรับเปิดเทอม ในกลุ่มวัยเรียนและยุวอาสาสมัครสาธารณสุข ระหว่างวันที่ 4 – 22 พฤษภาคม 2565 โดย กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข พบว่า มีพฤติกรรมที่มีโอกาสสัมผัสจุดเสี่ยงในโรงเรียน ดังนี้ 1. โต๊ะ เก้าอี้ ในห้องเรียน และนอกห้องเรียน ร้อยละ 89.1 2. ห้องน้ำที่โรงเรียน ร้อยละ 84.88 3. โต๊ะอาหาร เก้าอี้ ภาชนะ เช่น แก้วน้ำ จาน ชาม ช้อนส้อมในโรงอาหาร ร้อยละ 77.1 4. ราวบันได ร้อยละ 76.62 5. …

10 จุดเสี่ยงในโรงเรียน ที่มีโอกาสสัมผัสเสี่ยงสูง รับเปิดเรียน On-Site Read More »

โรงเรียนล่องแพวิทยา จ.แม่ฮ่องสอน ตัวอย่างโรงเรียน Stand-alone ในพื้นที่ห่างไกล ต้นแบบสถานศึกษาที่เน้น Active Learning

นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มอบหมายให้ นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) พร้อมด้วยคณะ ทำงาน ONE TEAM ประกอบด้วย ผอ.สวก., สทศ., สบว., สบน., ศนฐ., และทีมวิชาการของรองเลขาธิการ กพฐ. ร่วมพูดคุยหารือกับ ผอ.สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 2 และผู้บริหารโรงเรียนล่องแพวิทยา เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ได้ โรงเรียนล่องแพวิทยา สังกัด สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 2 เป็นโรงเรียนในโครงการพระราชดำริ ฯ (กพด.) จัดการศึกษาให้กับนักเรียน ตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงชั้นมัธยมปลาย ตั้งอยู่ในพื้นที่ภูเขาสูง ทุรกันดาร ให้บริการทางการศึกษากับนักเรียนชาวไทยหลากหลายชาติพันธุ์ ในเขตรอยต่อ 3 จังหวัด ได้แก่ อําเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ อําเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก และ อําเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน …

โรงเรียนล่องแพวิทยา จ.แม่ฮ่องสอน ตัวอย่างโรงเรียน Stand-alone ในพื้นที่ห่างไกล ต้นแบบสถานศึกษาที่เน้น Active Learning Read More »

โรงเรียนชุมแพศึกษา สานต่อโครงการเศรษฐกิจพอเพียง เดินหน้า “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง”

นายนิพนธ์ ก้องเวหา ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานเปิด โครงการอารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” โดยมี ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น ผู้อำนวยการโรงเรียน และคณะครู ให้การต้อนรับ ณ โรงเรียนชุมแพศึกษา อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น สำหรับ โรงเรียนชุมแพศึกษา ในฐานะโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษที่เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาเยาวชนในท้องถิ่น ได้น้อมนำแนวพระราชดำริ โครงการอารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ด้วย โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง ซึ่งได้ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ นำมาประยุกต์แบบชาวบ้าน ปั้นโคก ขุดหนอง และทำนา เพื่อปรับเปลี่ยนพื้นฐาน แนวความคิด ฝึกวินัย ลงมือปฏิบัติ แก้ปัญหาจริงในท้องถิ่นสู่การเรียนรู้ในสถานศึกษา โดยอาศัยขั้นตอนการดำเนินงานตามหลักคิด 4 ข้อ ได้แก่ 1. รู้สถานการณ์ 2. รู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง …

โรงเรียนชุมแพศึกษา สานต่อโครงการเศรษฐกิจพอเพียง เดินหน้า “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” Read More »

9 ราชมงคล ผนึกกำลัง ขานรับ อว. เรียนข้ามมหาวิทยาลัย พร้อมเดินหน้าธนาคารหน่วยกิตดิจิทัล

รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด ประธาน ทปอ.มทร. ประชุมหารือกับ ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. และลงนามความร่วมมือเครือข่ายราชมงคล ในการลงทะเบียนเรียนข้ามมหาวิทยาลัย และสานต่อการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตผ่านระบบธนาคารหน่วยกิตดิจิทัล รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) ในฐานะ ประธานคณะกรรมการอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (ทปอ.มทร.) เปิดเผยว่า เครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล หมายรวมถึง มทร. ทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศ ได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกับอธิการบดี ทั้ง 9 แห่ง คือ มทร.ธัญบุรี , มทร.กรุงเทพ , มทร.ตะวันออก , มทร.พระนคร ,  มทร.รัตนโกสินทร์ , มทร.ล้านนา , มทร.ศรีวิชัย , มทร.สุวรรณภูมิ และ มทร.อีสาน …

9 ราชมงคล ผนึกกำลัง ขานรับ อว. เรียนข้ามมหาวิทยาลัย พร้อมเดินหน้าธนาคารหน่วยกิตดิจิทัล Read More »

รัฐบาลเตรียมตำแหน่งงานกว่า 2 แสนอัตรา ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รองรับนักศึกษาจบใหม่ และผู้หางานทุกระดับการศึกษา

กระทรวงแรงงาน เตรียมตำแหน่งงานรองรับนักศึกษาจบใหม่ และคนหางาน รวม 272,977 อัตรา เป็นงานในประเทศ 158,503 อัตรา ต่างประเทศ 114,474 อัตรา รับตั้งแต่ ไม่ระบุวุฒิการศึกษา 197,326 อัตรา / ปวช.-ปวส. 36,771 อัตรา / ป.ตรี 35,593 อัตรา / ป.โท – เอก 3,287 อัตรา โดยความต้องการแรงงานในประเทศมากที่สุด 5 จังหวัดแรก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ และระยอง นอกจากนี้ ยังมีตำแหน่งงานในอุตสาหกรรม S-curve อีกกว่า 40,000 อัตรา ที่มีความต้องการแรงงานใน 5 อันดับแรก คือ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และ อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ …

รัฐบาลเตรียมตำแหน่งงานกว่า 2 แสนอัตรา ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รองรับนักศึกษาจบใหม่ และผู้หางานทุกระดับการศึกษา Read More »

คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา แนะรัฐเร่งปรับปรุง “นโยบายเรียนฟรี” เพิ่มโอกาสเรียนฟรีช่วงอนุบาลและมัธยมปลาย ลดจำนวนนักเรียนหลุดจากระบบ

เมื่อเร็ว ๆ นี้ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จัดเสวนาในหัวข้อ ถึงเวลาแล้วหรือยัง “ปฏิรูปนโยบายเรียนฟรี” โดย รศ.ดร.ชัยยุทธ ปัญญสวัสดิ์สุทธิ์ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้นำเสนอผลการศึกษานโยบายเรียนฟรี 15 ปี ระบุว่า ตลอดเวลาการดำเนินนโยบายประมาณ 13-14 ปีที่ผ่านมาพบว่า การสนับสนุนงบประมาณให้โรงเรียนอาจจะยังไม่เพียงพอ เนื่องจากนโยบายเรียนฟรี 15 ปี โรงเรียนจะได้รับเงินอุดหนุนค่ารายหัว เพื่อดำเนินการทั้งในเรื่องค่าอุปกรณ์การเรียนการสอน ค่าจัดการเรียนการสอน และค่ากิจกรรม “เมื่องบประมาณจัดสรรตามรายหัวนักเรียน ทำให้โรงเรียนต้องหานักเรียนเข้ามาเรียน เพื่อให้ได้เงินอุดหนุนหล่อเลี้ยงโรงเรียน จึงเป็นเรื่องน่าเศร้าเมื่อเห็นข่าวคุณครูโดดตึก เพราะไม่สามารถดึงนักเรียนเข้ามาเรียนได้ตามเป้าหมายได้” รศ.ดร.ชัยยุทธ กล่าวว่า ผลการศึกษาของสภาการศึกษา พบว่า การจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอ แม้งบประมาณที่สนับสนุนในปี 2564 จะมากถึง 7.6 หมื่นล้านบาท โดยกระจายให้ทั้งโรงเรียนรัฐและเอกชน แต่พบว่า งบสนับสนุนการดำเนินการของโรงเรียนก็ไม่เพียงพอ เช่น ค่าจัดการเรียนการสอน ค่ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เนื่องจากค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ปรับเพิ่มตามภาวะเศรษฐกิจ ทำให้พบว่า ผู้ปกครองยังต้องแบกรับค่าใช้จ่ายทั้ง ค่าอุปกรณ์ ค่าเครื่องแบบ นอกจากนี้ ยังพบว่า …

คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา แนะรัฐเร่งปรับปรุง “นโยบายเรียนฟรี” เพิ่มโอกาสเรียนฟรีช่วงอนุบาลและมัธยมปลาย ลดจำนวนนักเรียนหลุดจากระบบ Read More »

รร.ชุมชนดอยช้าง โชว์กึ๋น ผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนผสมกากกาแฟ แก้ปัญหาดินในพื้นที่ สร้างผลผลิตงอกงาม

ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย นายรณภพ ปัทมะดิษ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายโชติ โสภณพนิช ประธานมูลนิธินโยบายสาธารณะไทย ดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นำผู้บริหารการศึกษาในจังหวัดเชียงราย ตรวจติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการอัจฉริยะเกษตรประณีตในโรงเรียน (Science Technology Innovation (STI) : Smart Intensive Farming) ณ โรงเรียนชุมชนดอยช้าง อำเภอแม่สรวย สังกัด สพป.เชียงราย เขต 2 นายเกรียงไกร ฟูธรรม ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนดอยช้าง กล่าวว่า ปีที่ผ่านมา โรงเรียนชุมชนดอยช้าง ได้ดำเนินโครงการตามแนวทางของ โครงการอัจฉริยะเกษตรประณีต ระยะที่ 4 คือ ระยะรวบรวมพัฒนา จากการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาโครงการอัจฉริยะเกษตรประณีตของโรงเรียน เห็นถึงพัฒนาการของนักเรียนได้ชัดเจน คือ นักเรียนสามารถวางแผนการทำเป็นขั้นตอน มีทักษะในการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุมีผลขึ้น รู้จักการทำงานเป็นทีม มีทักษะและสมรรถนะที่เหมาะสมกับนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ทั้งนี้ โรงเรียนจะพัฒนาโครงการอัจฉริยะเกษตรประณีตของโรงเรียน นำไปสู่ขั้นตอนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขยายผลต่อชุมชน …

รร.ชุมชนดอยช้าง โชว์กึ๋น ผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนผสมกากกาแฟ แก้ปัญหาดินในพื้นที่ สร้างผลผลิตงอกงาม Read More »

สมาคมศิษย์เก่า สจล. เดินหน้าหนุนเกษตรอินทรีย์ และร่วมเปิดไร่ปันยา สวนน้อยหน่าออแกนิกแห่งแรกของโลก ที่มวกเหล็ก สระบุรี

เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2565  ที่ไร่ปันยา ต.หนองเสือ อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี นายบุญศักดิ์ เกียรติจรูญเลิศ นายกสมาคมศิษย์เก่าสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล) ร่วมกับเจ้าอาวาส วัดปฐมวิเวก พระนิวัฒน์ จักกวโร และดร.เรืองศักดิ์ กมขุนทด  พร้อมด้วย นายณัฏฐ์ ธีรณัฐสุภานนท์ ประธานมูลนิธิธรรมาภิบาลและต่อต้านทุจริต ทำพิธีเปิด ไร่ปันยา สวนน้อยหน่า Organic นายบุญศักดิ์ เกียรติจรูญเลิศ นายกสมาคมศิษย์เก่าสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า โครงการนี้เป็นการต่อยอดมาจาก โครงการเศรษฐกิจชุมชน ซึ่งริเริ่มโดยสมาคมช่างเหมาและเครื่องกลไทย ร่วมมือกับ สมาคมศิษย์เก่าสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งได้รับความเมตตาตาก พระอาจารย์นิวัฒน์ จักกวโร เจ้าอาวาส วัดปฐมวิเวก ได้มอบพื้นที่ ประมาณ 10 ไร่ เพื่อทำศูนย์การเรียนรู้ โครงการต้นแบบเกษตรอิทรีย์ และขยายผลให้ความรู้แก่ชาวบ้าน และไร่ปันยาก็เป็นหนึ่งในโครงการนี้ “จากวันแรกที่เริ่มโครงการชาวเกษตรกรมักจะพูดว่าเป็นเรื่องที่ยากหรือ ชาติหน้าตอนบ่ายๆ ถึงจะเห็นผล ณ วันนี้เราทำให้เห็นแล้ว ว่าไม่ใช่แค่ผัก แต่ผลไม้ก็ปลอดสารพิษได้ …

สมาคมศิษย์เก่า สจล. เดินหน้าหนุนเกษตรอินทรีย์ และร่วมเปิดไร่ปันยา สวนน้อยหน่าออแกนิกแห่งแรกของโลก ที่มวกเหล็ก สระบุรี Read More »

โรงเรียนห้วยสักวิทยาคม จ.เชียงราย บูรณาการองค์ความรู้ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ภายในโรงเรียน

ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย นายโชติ โสภณพนิช ประธานมูลนิธินโยบายสาธารณะไทย , นายรณภพ ปัทมะดิษ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี , ดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ลงพื้นที่ตรวจติดตามความก้าวหน้า โครงการอัจฉริยะเกษตรประณีตในโรงเรียน Science Technology Innovation (STI) : Smart Intensive Farm ณ โรงเรียนห้วยสักวิทยาคม จังหวัดเชียงราย ดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช กล่าวรายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ดำเนินโครงการอัจฉริยะเกษตรประณีตในโรงเรียน โดยเน้นการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ STEAM Education ที่บูรณาการรายวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ Coding กับการทำเกษตรแบบประณีตในโรงเรียน “โดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะ สามารถนำองค์ความรู้มาสู่การปฏิบัติและต่อยอดในการประกอบอาชีพ ก่อให้เกิดรายได้ภายในโรงเรียน นำไปสู่การผลักดันให้เกิดการยกระดับกระบวนการผลิต และคุณภาพสินค้าภาคเกษตร ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน สู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ” เมื่อปี 2564 ที่ผ่านมา …

โรงเรียนห้วยสักวิทยาคม จ.เชียงราย บูรณาการองค์ความรู้ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ภายในโรงเรียน Read More »

สช. เร่งสำรวจค่าใช้จ่ายการศึกษาเอกชน เตรียมปรับเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัว ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน

เมื่อวันที่ 27 พ.ค. 65 นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ รมช.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า จากลงพื้นที่ในจังหวัดต่าง ๆ ต้องยอมรับว่า เงินอุดหนุนรายหัวที่โรงเรียนเอกชนได้รับ ไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และไม่ได้ปรับเพิ่มมานานกว่า 10 ปี โรงเรียนเอกชนบางแห่งต้องไปเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มกับผู้ปกครอง ทำให้นักเรียน และผู้ปกครองได้รับความเดือดร้อน จึงได้มอบหมายให้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ร่วมกับ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ดำเนินการศึกษาค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต่อการศึกษาของโรงเรียนเอกชน พร้อมทั้งจัดทำแบบสำรวจเพื่อจัดเก็บข้อมูลค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดการศึกษาเอกชน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเภทสามัญศึกษา เพื่อให้ได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ส่งให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์จัดสรรเงินอุดหนุนรายหัว สวัดิการ และความช่วยเหลือต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับโรงเรียนเอกชนทั้งในและนอกระบบ โดยคาดว่าภายใน 3 เดือน จะสามารถรวบรวมความคิดเห็น เพื่อเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณา ปรับเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวต่อไป

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!