สถานีการศึกษา

นักวิจัย จุฬาฯ คิดค้น ทรายแมวจากมันสำปะหลัง ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างรายได้ให้เกษตรกร

ดร.ลัญจกร อมรกิจบำรุง นักวิจัยหลังปริญญาเอก C2F ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยถึงจุดเริ่มต้นในการพัฒนาทรายแมวจากมันสำปะหลัง ว่า ด้วยความที่เป็นคนชอบเลี้ยงแมวและใช้ผลิตภัณฑ์ทรายแมวมากว่า 10 ปี สังเกตเห็นว่าทรายแมวในท้องตลาดเกือบ 100 % นำเข้าจากต่างประเทศ จึงสงสัยว่าเพราะเหตุใดบ้านเราถึงไม่มีการผลิตทรายแมวใช้เอง เราจึงเริ่มมองหาวัตถุดิบที่เป็นผลิตผลทางการเกษตรของไทยว่ามีอะไรบ้างที่น่าจะนำมาทำเป็นทรายแมวได้ เช่น แกลบ ชานอ้อย จนมาลงตัวที่มันสำปะหลัง “มันสำปะหลัง มีคุณสมบัติด้านความเหนียวเมื่อโดนน้ำ ซึ่งตรงกับลักษณะการใช้งานของทรายแมว ที่ต้องมีคุณสมบัติในการดูดซับของเหลว และจับตัวเป็นก้อนได้เร็ว นอกจากนี้ ทรายแมวจากมันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบธรรมชาติที่สามารถกำจัดโดยทิ้งลงชักโครกได้เลย” ดร.ลัญจกร อมรกิจบำรุง นวัตกรรมนี้ตอบโจทย์ในการสร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง แถมยังให้ความมั่นใจกับบรรดาทาสแมวทั้งหลายที่ต้องการผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย ประสิทธิภาพสูง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จึงไม่แปลกใจที่ นวัตกรรมทรายแมวผลิตจากมันสำปะหลัง ได้รับรางวัลการันตีความสำเร็จมากมาย อาทิ รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นประจำปีงบประมาณ 2565 รางวัลระดับดี สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) รางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ของมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีปี 2564 และรางวัล The Prime Minister’s Export Award ปี 2564 …

นักวิจัย จุฬาฯ คิดค้น ทรายแมวจากมันสำปะหลัง ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างรายได้ให้เกษตรกร Read More »

สพฐ. รุดลงพื้นที่จ.อยุธยา ตรวจเยี่ยมโรงเรียนที่ประสบอุทกภัย พร้อมมอบถุงยังชีพ เตรียมหนุนงบซ่อมแซมความเสียหายหลังน้ำลด

นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) มีความห่วงใยต่อสถานการณ์การเกิดอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีโรงเรียนในสังกัด สพฐ. หลายแห่งได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะเขตพื้นที่ สพป.อยุธยา เขต 2 ได้รับรายงานว่าเป็นพื้นที่ที่เกิดความเสียหายมากที่สุด อีกทั้ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นางสาวตรีนุช เทียนทอง ได้กำชับในเรื่องการดูแลความปลอดภัยในสถานศึกษา รวมถึงภัยพิบัติต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา เลขาธิการ กพฐ. จึงได้มอบหมายให้ นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการ กพฐ. ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์อุทกภัย มอบสิ่งของช่วยเหลือพร้อมทั้งพบปะพูดคุย สร้างขวัญกำลังใจให้คณะครูและนักเรียน ณ โรงเรียน บ้าน และวัด จากการลงพื้นที่ สพป.อยุธยา เขต 2 (ข้อมูล ณ วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2565) มีโรงเรียนที่ได้รับความเสียหายจำนวน 16 โรงเรียน มีนักเรียนที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 378 …

สพฐ. รุดลงพื้นที่จ.อยุธยา ตรวจเยี่ยมโรงเรียนที่ประสบอุทกภัย พร้อมมอบถุงยังชีพ เตรียมหนุนงบซ่อมแซมความเสียหายหลังน้ำลด Read More »

สพม.กรุงเทพฯ จัดประกวดรำเดี่ยว “เอกัตนาฏยวิจิตร” หนุน soft power นาฏศิลป์ไทย

นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานเปิดกิจกรรม “เอกัตนาฏยวิจิตร” ประกวดแข่งขันทักษะทางด้านนาฏศิลป์ไทย : รำเดี่ยว ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ณ หอประชุมยูงทอง โรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม มีผู้เข้าร่วมแข่งขันทั้งประเภทชายเดี่ยว และหญิงเดี่ยว รวม 79 คน จาก 39 โรงเรียน ทั้งเขตพื้นที่มัธยมศึกษาและประถมศึกษาอื่น รวมถึงจังหวัดใกล้เคียง นางเกศทิพย์ ศุภวานิช กล่าวว่า กิจกรรม “เอกัตนาฏยวิจิตร” นับเป็นต้นแบบของการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมศักยภาพและพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้อย่างเป็นรูปธรรมแล้ว ยังเป็นการปลูกฝังทัศนคติที่ดีให้กับนักเรียนอีกด้วย ซึ่ง การรำไทย ถือเป็นศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ บ่งบอกถึงวัฒนธรรมของประเทศที่มีการบ่มเพาะมาจากบรรพบุรุษ และมีการสืบทอดรุ่นต่อรุ่น เป็นพลัง soft power ของไทยที่ควรค่าแก่การรักษาและสืบต่อไปให้กับคนรุ่นหลังได้เรียนรู้ ให้ได้ซึมซับความเป็นชาติไทยผ่านงานศิลปะแขนงนาฏศิลป์ไทย ความงดงามของท่ารำที่เกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นต่อยอดจากนาฏศิลป์ไทยโบราณ และยังสามารถนำไปสู่นาฏศิลป์ไทยประยุกต์ แสดงให้เห็นถึงความสร้างสรรค์ในการเรียนรู้ บูรณาการความเป็นไทยและสมัยใหม่ รวมถึงดนตรีที่ใช้ หรือเพลงประกอบที่มาจากวรรณคดี จากประวัติศาสตร์ของไทย ผสมกลมกลืนได้อย่างลงตัว การจัดการประกวดในครั้งนี้ของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 …

สพม.กรุงเทพฯ จัดประกวดรำเดี่ยว “เอกัตนาฏยวิจิตร” หนุน soft power นาฏศิลป์ไทย Read More »

ฟอร์ด จับมือ องค์กรพันธมิตร จัดประกวดนวัตกรรมพลังบวกลดโลกรวน “Ford+ Innovator Scholarship 2022”

ฟอร์ด ประเทศไทย จับมือ สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) เปิดเวทีนำเสนอนวัตกรรมสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนนักศึกษาระดับอาชีวศึกษา ในการแข่งขันค้นหาสุดยอดไอเดียพลังบวกในโครงการ “Ford+ Innovator Scholarship 2022” ชิงทุนการศึกษารวม 840,000 บาท ในหัวข้อการแข่งขันออกแบบนวัตกรรมพลังบวก : การแข่งขันออกแบบนวัตกรรมพลังบวกเพื่อรับมือกับสภาวะโลกรวน เชื่อมโยงชุมชนเพื่อโลกที่น่าอยู่ อ่านรายละเอียดโครงการได้ที่ https://bit.ly/3wYF96K การสมัครเข้าร่วมแข่งขัน มี 2 วิธี 1. สามารถสมัครและอัปโหลดโครงงานนวัตกรรม ได้ที่ : https://bit.ly/3Bh0FpH 2. สามารถสมัครและส่งโครงงานนวัตกรรม ทางไปรษณีย์ ได้ที่ https://bit.ly/3BgH3lx เปิดรับสมัคร ตั้งแต่บัดนี้ – 30 ก.ย. 65 ผู้สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 063-469-6195 (คุณก้ามปู) / 089-818-3072 (คุณผึ้ง) อ้างอิงจาก https://fb.watch/fmGu_DoIjy/  

สสวท. เปิดรับสมัครคัดเลือกรับทุน สควค. ปี 2566 ทุนเรียนฟรี ป.ตรี – โท จบแล้วบรรจุรับราชการครู

ประกาศสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง การคัดเลือกผู้รับทุนโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (ทุนโครงการ สควค.) ระยะที่ 4 ระดับปริญญาตรี-โท ประจำปี 2566 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยชั้นนำของรัฐ 10 แห่ง รับสมัครคัดเลือกนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพื่อรับทุนเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี – โท ในสถาบันการศึกษาที่กำหนด “ทุนโครงการ สควค.” หรือ “ทุนโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์” ประจำปีการศึกษา 2566 ระดับปริญญาตรีต่อเนื่องปริญญาโท หลักสูตรปกติในประเทศไทย โดยให้ทุนการศึกษาระดับปริญญาตรี 4 ปี ต่อเนื่องปริญญาโท 2 ปี รวม 6 ปี ผู้สนใจสมัครรับการคัดเลือก เพื่อรับทุน สควค. ผ่านระบบ TCAS 2566 ตามรายละเอียดที่ระบุในประกาศของ คณะวิทยาศาสตร์ / สำนักวิทยาศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยที่เป็นสถาบันผลิตโครงการ สควค. ทั้ง 10 แห่งทั่วประเทศ ได้แก่ …

สสวท. เปิดรับสมัครคัดเลือกรับทุน สควค. ปี 2566 ทุนเรียนฟรี ป.ตรี – โท จบแล้วบรรจุรับราชการครู Read More »

มูลนิธิสัมมาชีพ เดินหน้าจัดงานใหญ่มอบรางวัลต้นแบบสัมมาชีพ ชูแนวคิด “เศรษฐกิจท้องถิ่น ร่วมเสริมสร้างเศรษฐกิจไทย”

มูลนิธิสัมมาชีพ เตรียมจัดงานมอบรางวัลต้นแบบสัมมาชีพ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2565 ชูแนวคิดฟื้นเศรษฐกิจประเทศไทยหลังโควิด “เศรษฐกิจท้องถิ่น ร่วมเสริมสร้างเศรษฐกิจไทย” ประกาศเกียรติคุณบุคคลสัมมาชีพ เพิ่มรางวัลปราชญ์ชาวบ้านต้นแบบสัมมาชีพเป็นครั้งแรก ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะองค์ความรู้ในชุมชนจะเป็นแรงเสริมช่วยสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็ง นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานกรรมการมูลนิธิสัมมาชีพ กล่าวว่า มูลนิธิสัมมาชีพเตรียมจัดงานมอบรางวัล “ต้นแบบสัมมาชีพ” ครั้งที่ 8 ประจำปี 2565 เพื่อประกาศเกียรติคุณและยกย่องเชิดชูบุคคล-วิสาหกิจชุมชน และปราชญ์ชาวบ้านต้นแบบสัมมาชีพที่ได้รับการยอมรับจากสังคมในการประกอบอาชีพโดยสุจริต และดำเนินธุรกิจตามหลักสัมมาชีพ โดยงานนี้จะจัดขึ้นในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 ณ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ โรงแรมรามา การ์เด้นส์ กรุงเทพฯ ถือเป็นการจัดขึ้นหลังจากว่างเว้นมา 2 ปี สำหรับรางวัล “ต้นแบบสัมมาชีพ” ในปี 2565 นี้จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1) รางวัลบุคคลต้นแบบสัมมาชีพ ซึ่งคณะกรรมการมูลนิธิมีมติคัดเลือกให้ “นายเจริญ รุจิราโสภณ” ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ส. …

มูลนิธิสัมมาชีพ เดินหน้าจัดงานใหญ่มอบรางวัลต้นแบบสัมมาชีพ ชูแนวคิด “เศรษฐกิจท้องถิ่น ร่วมเสริมสร้างเศรษฐกิจไทย” Read More »

นักวิจัย ม.อ. โชว์กึ๋นแปรรูปผักตบชวาเป็นปุ๋ยอินทรีย์ภายใน 24 ชม. เพิ่มผลผลิตและรายได้เกษตรกร

นักวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) โชว์ความสำเร็จ โครงการ “แปรรูปผักตบชวาเป็นปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงภายใน 24 ชั่วโมง” ผนึกความร่วมมือ Bioaxel ในการคัดแยกจุลินทรีย์ Super BACT ในการย่อยผักตบชวาเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ได้ค่าจุลินทรีย์ที่ผ่านมาตรฐานทุกตัวรับรองจาก กรมวิชาการเกษตร วางเป้าหมายลดวัชพืชจากผักตบชวากว่า 302,854.27 ตันต่อเดือน เตรียมขยายผลขับเคลื่อนภาคการเกษตรประเทศไทยให้เติบโตยั่งยืน รศ.ดร.จุฑารัตน์ เอี้ยวกฤตยากร สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เปิดเผยว่า นักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. นำโดย ผศ.ดร.จุฑารัตน์ เอี้ยวกฤตยากร สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ และ รศ.ดร.วิไลวรรณ โชติเกียรติ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์ จับมือร่วมกับ บริษัท ไบโอแอ็กซ์เซล จำกัด ดำเนินโครงการ “แปรรูปผักตบชวาเป็นปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงภายใน 24 ชั่วโมง” เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาผักตบชวาที่แพร่พันธุ์จำนวนมาก และกลายเป็นวัชพืชในแม่น้ำ ลำคลอง และแหล่งน้ำสาธารณะต่าง ๆ มาสู่การแปรรูปเป็นปุ๋ยอินทรีย์ …

นักวิจัย ม.อ. โชว์กึ๋นแปรรูปผักตบชวาเป็นปุ๋ยอินทรีย์ภายใน 24 ชม. เพิ่มผลผลิตและรายได้เกษตรกร Read More »

มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคเเอล จัดแข่งขัน “AI Innovator Award 2022 Pitch Competitions” เฟ้นหาไอเดียพัฒนานวัตกรรม AI แห่งอนาคต

หลักสูตรวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์และคอมพิวเตอร์ (AiCE) แห่งมหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล จัดตั้งขึ้นภายใต้ความร่วมมือของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) และ มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน (Carnegie Mellon University) ขอเชิญชวนน้อง ๆ มัธยมปลาย และนักศึกษามหาวิทยาลัย ทั้งแบบเดี่ยวและแบบทีม เข้าร่วมแข่งขันในโครงการ AI Innovator Award 2022 Pitch Competitions เพื่อเฟ้นหาเเนวคิดเเละนวัตกรรมแห่งอนาคตที่จะช่วยขับเคลื่อนเทคโนโลยี AI ยุคใหม่ โดยผู้สมัครเข้าเเข่งขันจะต้องนำเสนอแนวคิดนวัตกรรมด้าน AI และเทคโนโลยีจะสามารถพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในอนาคตให้ดียิ่งขึ้นได้อย่างไร โดยการเเข่งขันจะจัดขึ้นทั้งหมด 3 รอบ ได้เเก่ รอบที่ 1 : The Video Pitch ผู้เข้าเเข่งขันจะต้องส่งวิดิโอที่นำเสนอเเนวคิดสร้างสรรค์ AI เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์ โดยเลือก 1 หัวข้อ จากหัวข้อหลักดังต่อไปนี้ -Business, Retail, E-Commerce & Finance -Gaming, Entertainment and Creative Economy …

มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคเเอล จัดแข่งขัน “AI Innovator Award 2022 Pitch Competitions” เฟ้นหาไอเดียพัฒนานวัตกรรม AI แห่งอนาคต Read More »

สพฐ. พอใจ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ Coding โดดเด่น ชูอัตลักษณ์ท้องถิ่น บูรณาการสร้างนักเรียนคุณภาพ

กระทรวงศึกษาธิการได้ขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ Coding ตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อให้นักเรียนมีทักษะคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล ซึ่ง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ส่งเสริมให้โรงเรียนต่าง ๆ จัดการเรียนรู้ Coding เป็นรายวิชาพื้นฐานในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ฉบับปรับปรุง 2560 นอกจากนี้ สถานศึกษาจำนวนมากได้ส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนด้วยการจัดรายวิชาเพิ่มเติมตามความสนใจของผู้เรียนในตลอดช่วงเวลา 4 ปี ที่มีการประกาศใช้หลักสูตร โดยเฉพาะตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา ซึ่งการจัดการเรียนการสอน Coding เป็นกระบวนการ Active Learning ที่นักเรียนได้คิด ลงมือปฏิบัติ ออกแบบ หรือนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน หรือเขียนโปรแกรมเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงาน พร้อมทั้งนำเสนอสิ่งที่ตนเองได้ดำเนินการ และเมื่อเจอสถานการณ์ นักเรียนแสดงให้เห็นถึงการคิดอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน เป็นเหตุเป็นผล ภายใต้เงื่อนไข และเป้าหมายความสำเร็จที่ตั้งกติกาไว้ ทำให้สามารถนำไปใช้ในการอยู่ร่วมกันในสังคมภายใต้กรอบกติกา แต่มีอิสระในการคิดถึงเป้าหมายความสำเร็จได้ ถือว่าเป็นการจำลองสถานการณ์ของสังคม ซึ่งสามารถไปถึงสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรชาติได้อย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม รวมทั้งนักเรียนมีความสุขในการเรียนรู้ อยากเรียนรู้ เรียนแบบเล่น …

สพฐ. พอใจ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ Coding โดดเด่น ชูอัตลักษณ์ท้องถิ่น บูรณาการสร้างนักเรียนคุณภาพ Read More »

รัฐประศาสนศาสตร์ มธบ. พัฒนาหลักสูตร ผลิตผู้นำและนักบริหารมืออาชีพในยุคดิจิทัล

ผศ.ดร.วลัยพร รัตนเศรษฐ คณบดีคณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดเผยว่า โลกได้ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาไปไกล มีองค์ความรู้ใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิต และการเรียนรู้ของผู้คน ดังนั้นการเตรียมคนให้พร้อมสำหรับโลกอนาคตจึงเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการเรียนการสอนของคณะฯ ซึ่งสอดรับกับวิสัยทัศน์ของ DPU ที่ได้ประกาศเปิด Metaverse Campus บนแพลตฟอร์ม The Sandbox เพื่อให้นักศึกษาได้ทดลองใช้ภายในปีการศึกษา 2565 นี้ “Web3 Technology เป็นเรื่องใหม่ที่มาคู่กับ Metaverse ซึ่งมีบทบาทสำคัญในโลกอนาคต ปัจจุบันภาคธุรกิจทั่วโลกได้ปรับตัวนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้กับธุรกิจกันแล้ว สำหรับ DPU นักศึกษาทุกคนของเรา รวมถึงนักศึกษาในคณะฯ ได้เริ่มทำความเข้าใจ เรียนรู้ และสร้างความคุ้นเคยกับโลกใหม่ใบนี้กันแล้ว ซึ่งเป็นประสบการณ์เรียนรู้ใหม่ ๆ ที่จะกลายเป็นทักษะสำคัญติดตัวนักศึกษาที่เรียนจบออกไป มีความพร้อมและมีโอกาสมากกว่าคนอื่นในโลกของการทำงานและการใช้ชีวิต”  ด้าน กระบวนการพัฒนานักศึกษาและสร้างผู้นำรุ่นใหม่ในระดับคณะฯ​ มุ่งเน้นออกแบบการเรียนการสอนในแนวทางที่แตกต่าง ด้วย “ความรู้+ทักษะโลกอนาคต” เพื่อสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงองค์การภาครัฐ ภาคเอกชน และท้องถิ่นในยุคดิจิทัล “ความรู้+โซเชียล และแล็ปสังคม+ทักษะโลกอนาคต” เป็นการเตรียมผู้เรียนให้มีความรู้เท่าทันเทคโนโลยี และการใช้ชีวิตทั้งในโลกเสมือนและโลกจริง โดยที่ให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงหลักคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ ความคิดสร้างสรรค์ในการจัดการปัญหาที่ปรับเปลี่ยนไปตามบริบทของสังคม วิชาการพัฒนาเมือง เป็นอีกหนึ่งการเรียนที่สามารถออกแบบได้ทั้งในโลกเสมือน …

รัฐประศาสนศาสตร์ มธบ. พัฒนาหลักสูตร ผลิตผู้นำและนักบริหารมืออาชีพในยุคดิจิทัล Read More »

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!