สถานีการศึกษา

กระทรวงแรงงาน เปิดแพลตฟอร์มออนไลน์ “ไทยมีงานทำ” ช่วยคนไทยหางาน พร้อมตำแหน่งงานว่างกว่า 2 แสน 5 หมื่นอัตรา

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงาน เตรียมตำแหน่งงานว่าง จำนวน 255,885 อัตรา รองรับผู้ว่างงาน ผู้จบการศึกษาใหม่ ผู้สูงอายุ กลุ่มผู้เปราะบาง และทุกคนที่ต้องการมีงานทำ โดยพร้อมให้บริการประชาชนผ่านระบบออนไลน์ แพลตฟอร์ม “ไทยมีงานทำ” ทั้ง Web Application และ Mobile Application ประชาชนสามารถหางานเข้าถึงตำแหน่งงานที่ตนสนใจได้ และสามารถสมัครหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะและเพิ่มโอกาสการมีงานทำได้อีกด้วย สำหรับตำแหน่งงาน 5 อันดับแรก ที่มีความต้องการมากที่สุด ได้แก่ แรงงานด้านการประกอบ แรงงานบรรจุผลิตภัณฑ์ พนักงานขายของหน้าร้านและสาธิตสินค้า พนักงานขายโฆษณาและตัวแทนนายหน้าขาย และ ตัวแทนฝ่ายขายด้านเทคนิคและการค้า ด้าน นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวต่อว่า แพลตฟอร์ม “ไทยมีงานทำ” เป็นเว็บไซต์สำหรับคนหางานที่รวบรวมตำแหน่งงานภาครัฐ เชื่อมโยงข้อมูลจาก สำนักงาน ก.พ. ซึ่งมีตำแหน่งงานจากหน่วยงานราชการกว่า 300 หน่วยงาน รวมถึงตำแหน่งภาคเอกชน จากนายจ้าง สถานประกอบการที่แจ้งตำแหน่งงานว่างไว้ รวมถึงตำแหน่งงานจากบริษัทจัดหางานชั้นนำที่เป็นพันธมิตร เช่น …

กระทรวงแรงงาน เปิดแพลตฟอร์มออนไลน์ “ไทยมีงานทำ” ช่วยคนไทยหางาน พร้อมตำแหน่งงานว่างกว่า 2 แสน 5 หมื่นอัตรา Read More »

ปลัด ศธ. หารือ นิวซีแลนด์ เตรียมลุยงานด้านการศึกษาร่วมกัน หลังหยุดชะงักช่วงโควิดแพร่ระบาด

เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา ดร.อรรถพล สังขวาสี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เดินหน้าหารือความร่วมมือด้านการศึกษากับ Mr. Grant McPherson, Chief Executive of Education New Zealand พร้อมกล่าวต้อนรับคณะผู้แทนนิวซีแลนด์ และขอบคุณฝ่ายนิวซีแลนด์ที่ได้ให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการและกิจกรรมในทุกระดับการศึกษาให้แก่ประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการร่วมพัฒนาและยกระดับอาชีวศึกษาของไทยให้เทียบเท่ามาตรฐานของนิวซีแลนด์ โดยได้รับความร่วมมือจาก Waikato Institute of Technology หรือ Wintec นิวซีแลนด์ จัดฝึกอบรมครูวิชาชีพของอาชีวศึกษา แต่ได้หยุดชะงักไป เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ซึ่งในปัจจุบันสถานการณ์ได้เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว กระทรวงศึกษาธิการยินดีและพร้อมเดินหน้าความร่วมมือดังกล่าวอีกครั้ง จากการหารือในครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องร่วมกันที่จะขยายการดำเนินโครงการและกิจกรรมในสาขาอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ อาทิ การจัดฝึกอบรมครูและนักเรียนในสาขาการโรงแรม และการเกษตร จัดส่งนักเรียนอาชีวศึกษาไปฝึกทักษะภาษาอังกฤษ และฝึกประสบการณ์ทำงานที่ประเทศนิวซีแลนด์ ตลอดจนการรับครูอาสาสมัครชาวนิวซีแลนด์เดินทางมาสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียน และสถาบันอาชีวศึกษา เป็นต้น โดยจะร่วมหารือในรายละเอียดที่เกี่ยวข้องในโอกาสต่อไป

ม.มหาสารคาม โชว์ผลงานยอดเยี่ยม คว้าอันดับ 1 ของไทย ในการจัดอันดับ EduRank 2023 ด้าน INTERIOR DESIGN

รองศาสตราจารย์ ดร.ประยุกต์ ศรีวิไล อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดเผยว่า EduRank.org ได้ทำการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลก จำนวน 14,131 แห่ง โดยมีมหาวิทยาลัยในเอเชีย จำนวน 5,830 แห่ง จาก 183 ประเทศ ทั้งนี้ การจัดอันดับใช้ฐานข้อมูลที่มี scientific publications กว่า 44,909,300 รายการ และ Citations กว่า 1,237,541,960 รายการ เพื่อจัดอันดับจาก 246 หัวข้อการวิจัย ซึ่ง ผลการจัดอันดับ EduRank 2023 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส) คว้าอันดับที่ 1 ของประเทศ ด้าน Interior Design ได้อันดับที่ 2 ด้าน Performing arts และ Publishing ได้อันดับที่ 3 ด้าน Animation …

ม.มหาสารคาม โชว์ผลงานยอดเยี่ยม คว้าอันดับ 1 ของไทย ในการจัดอันดับ EduRank 2023 ด้าน INTERIOR DESIGN Read More »

NIA เดินหน้าจัดประกวด “รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2566” เฟ้นหาสุดยอดนวัตกรแห่งวงการนวัตกรรมไทย

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA​ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เปิดเวทีประกวด “รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติประจำปี 2566” (National Innovation Awards 2023) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดอย่างต่อเนื่องเป็น​ปีที่ 19 แล้ว เพื่อเชิดชูเกียรติคนไทยผู้สร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมที่มีความโดดเด่น และก่อประโยชน์ต่อประเทศในหลากหลายมิติ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างให้เกิดความภาคภูมิใจในศักยภาพของคนไทย และเผยแพร่ต้นแบบการพัฒนานวัตกรรมด้านต่าง ๆ สู่สาธารณชนในวงกว้าง รวมถึงกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวด้านนวัตกรรมในทุกภาคส่วนของสังคม เพื่อผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นชาติแห่งนวัตกรรม โดยรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ แบ่งเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการ ด้านสื่อและการสื่อสาร และ ด้านองค์กรนวัตกรรมดีเด่น ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เปิดเผยว่า รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติถือเป็นรางวัลนวัตกรรมอันทรงเกียรติสูงสุดของวงการนวัตกรรมไทย ซึ่งจัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงพระอัจฉริยภาพด้านนวัตกรรมจากโครงการแกล้งดิน ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ในฐานะ “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย” …

NIA เดินหน้าจัดประกวด “รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2566” เฟ้นหาสุดยอดนวัตกรแห่งวงการนวัตกรรมไทย Read More »

กรมพลศึกษา เชิญชวนประกวดนวัตกรรมวิทยาศาสตร์การกีฬา ปี 2566 ชิงเงินรางวัลรวม 95,000 บาท รับสมัครถึง 15 พ.ค. นี้

กรมพลศึกษา เชิญชวนประกวดนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา ประจำปี 2566 ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 95,000 บาท สมัครได้ตั้งเเต่บัดนี้ ถึง วันที่ 15 พ.ค. 2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ได้มีโอกาสแสดงความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่สิ่งประดิษฐ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการกีฬาให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายยิ่งขึ้น คำนิยาม “นวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา” หมายถึง ผลงานสิ่งประดิษฐ์ด้านวิทยาศาสตร์ เช่น อุปกรณ์ หรือ เครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกาย หรือ การพัฒนาสุขภาพและสมรรถภาพทางกาย หรือ ทดสองสมรรถภาพทางกาย คุณสมบัติของผลงานสิ่งประดิษฐ์ – ผลงานสิ่งประดิษฐ์ต้องสร้างสรรค์ขึ้นจากแนวคิดของผู้สมัครเท่านั้น – ผลงานสิ่งประดิษฐ์ต้องมีความแปลกใหม่ ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการคิดค้นขึ้นใหม่ทั้งหมด หรือ พัฒนาระบบการทำงานจากผลงานสิ่งประดิษฐ์เดิม โดยผู้เป็นเจ้าของผลงานจะต้องนำเสนอแนวคิดที่ส่งผลให้เกิดความแปลกใหม่นั้นขึ้นได้ – ผลงานสิ่งประดิษฐ์ต้องใช้งานได้จริง และสามารถแสดงวิธีการใช้งานได้จริง ตามวัตถุประสงค์ของการผลิต – ผลงานสิ่งประดิษฐ์ต้องก่อให้เกิดประโยชน์ตามหลักวิทยาศาสตร์การกีฬา – ผลงานสิ่งประดิษฐ์ต้องไม่ก่อให้เกิดอันตราย หรือ ความเสียหายกับสิ่งแวดล้อม ชีวิต ร่างกาย อนามัย หรือ …

กรมพลศึกษา เชิญชวนประกวดนวัตกรรมวิทยาศาสตร์การกีฬา ปี 2566 ชิงเงินรางวัลรวม 95,000 บาท รับสมัครถึง 15 พ.ค. นี้ Read More »

มทร.ธัญบุรี อัปเกรดหลักสูตรใช้หุ่นยนต์เป็นสื่อการเรียนการสอน มุ่งสร้างแรงงานคุณภาพ รองรับภาคอุตสาหกรรมขยายตัว

ในช่วงระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้เริ่มดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรให้มีความทันสมัย และตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงาน  รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) เปิดเผยว่า ปัจจุบัน มทร.ธัญบุรี ได้มีการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น อาทิ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มีการนำหุ่นยนต์เข้ามาเป็นสื่อการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น เพื่อให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะ เรียนรู้การใช้เทคโนโลยี และเป็นการเตรียมความพร้อมที่จะออกสู่ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งหุ่นยนต์ที่นำมาใช้ประกอบด้วย 1. ROBOT FOR ARC WELDING เป็นการนำหุ่นยนต์ไปใช้ในงานเชื่อมจุด 2. AGV (Automated Guided Vehicle) Robot หรือ รถลำเลียงสินค้าอัตโนมัติ สำหรับการขนย้ายสินค้าภายในคลังสินค้าได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และปลอดภัย 3. DOBOT MAGICIAN เป็นแขนหุ่นยนต์ หรือ Robotic Arms ที่ถูกออกแบบมาสำหรับผู้ที่สนใจ และอยากเรียนรู้การควบคุมแขนหุ่นยนต์ 4. METAL LATHE เป็นเครื่องกลึงความเร็วรอบสูง 5. MACHINING CENTER หรือ …

มทร.ธัญบุรี อัปเกรดหลักสูตรใช้หุ่นยนต์เป็นสื่อการเรียนการสอน มุ่งสร้างแรงงานคุณภาพ รองรับภาคอุตสาหกรรมขยายตัว Read More »

รมว.ศธ. เปิดโครงการ “กระทรวงศึกษา เพื่อประชาชน” นำพลังคนอาชีวะถ่ายทอดทักษะอาชีพแก่ชุมชนวังน้ำเย็น สร้างงาน สร้างรายได้ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

เมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2566 ที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงพื้นที่จ.สระแก้ว เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ “กระทรวงศึกษา เพื่อประชาชน” โดยมี ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา นายธนาธิป โคกมณี ปลัดจังหวัดสระแก้ว พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ คณะครูและนักเรียนนักศึกษา เข้าร่วมงาน ณ วิทยาลัยเทคนิควังน้ำเย็น อำเภอวังน้ำเย็น นางสาวตรีนุช เทียนทอง กล่าวว่า กิจกรรมโครงการ “กระทรวงศึกษา เพื่อประชาชน” ที่อำเภอวังน้ำเย็น เป็นการขับเคลื่อนและยกระดับการศึกษา พัฒนาทักษะฝีมือให้กับชาวอำเภอวังน้ำเย็น ตามนโยบายของรัฐบาล และกระทรวงศึกษาธิการ ที่ให้ความสำคัญต่อการถ่ายทอดความรู้ และการพัฒนาทักษะอาชีพแก่นักเรียนและพี่น้องประชาชนในพื้นที่ การที่วิทยาลัยนำคณะครู นักเรียน นักศึกษา ออกฝึกอบรมช่างชุมชนให้กับกลุ่มประชาชนในพื้นที่อำเภอวังน้ำเย็น ถือเป็นการตอกย้ำฝีมือคนอาชีวะในการนำความรู้มามีส่วนร่วมพัฒนาชุมชน ซึ่งเป็นการแสดงถึงคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาด้านอาชีวะ สู่การยกระดับฝีมือช่างชุมชน ทั้งการ Up skill และ Reskill อาทิ การจัดทำมุ้งลวด ช่างเดินสายไฟ …

รมว.ศธ. เปิดโครงการ “กระทรวงศึกษา เพื่อประชาชน” นำพลังคนอาชีวะถ่ายทอดทักษะอาชีพแก่ชุมชนวังน้ำเย็น สร้างงาน สร้างรายได้ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น Read More »

สสวท. ชวนเยาวชนส่งแนวคิดแก้วิกฤตน้ำในชุมชน เนื่องใน “วันน้ำโลก 2023”

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) โดย ฝ่ายโลกศึกษาเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อม (GLOBE) ชวนเยาวชนและผู้สนใจมาช่วยกันแก้ไขวิกฤติน้ำและสุขอนามัยเพื่อโลกของเรา เนื่องใน วันน้ำโลก 2023 (World Water Day 2023) โดยเรียนรู้การตรวจวัดข้อมูลเรื่อง “น้ำ” ด้วยหลักวิธีดำเนินการตรวจวัดของโครงการ GLOBE ผ่านเว็บไซต์ GLOBE ที่ https://globefamily.ipst.ac.th/globe-protocols/hydrosphere จากนั้นส่งผลงานแนวคิดแก้ปัญหาแหล่งน้ำในชุมชน โดยระบุปัญหาของแหล่งน้ำในชุมชนของท่าน หลักวิธีดำเนินการตรวจวัดเรื่องน้ำที่เลือกใช้ แนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสม ที่คิดว่าจะนำไปตรวจวัดและแก้ปัญหาแหล่งน้ำในชุมชนของท่านได้ แล้วนำเสนอในรูปแบบที่สวยงาม เช่น อินโฟกราฟิก Mind Map หรือ การบรรยายพร้อมภาพประกอบ ลงในกระดาษ A4 จำนวน 1 หน้า สมัครและส่งผลงานได้ที่ https://bit.ly/409B0cg หมดเขต 27 มีนาคม 2566 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ เฟซบุ๊กโครงการ GLOBE https://www.facebook.com/globethailand2015/

นักวิทย์ซินโครตรอน ปลูกฟ้าทะลายโจรด้วย LED ตั้งเป้าเพิ่มสารออกฤทธิ์ทางยา

นักวิทยาศาสตร์ระบบลำเลียงแสง ของ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ศึกษาการปลูกฟ้าทะลายโจรด้วยแสง LED ตั้งเป้าช่วยเกษตรกรปรับปรุงการปลูก เพื่อเพิ่มสารออกฤทธิ์ทางยา พร้อมใช้แสงซินโครตรอนวิเคราะห์ ผลการปลูกด้วยแสงสีแดงให้สารสำคัญมากกว่าการปลูกด้วยแสงแดดประมาณ 2 เท่า ดร.นิชาดา เจียรนัยกูร นักวิทยาศาสตร์ระบบลำเลียงแสง สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน เปิดเผยว่า ได้ลงพื้นที่ร่วมกับคณะกรรมาธิการกระทรวง อว. ไปยัง อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร เมื่อเดือนกันยายน ปี 2564 ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าว มีการส่งเสริมการปลูกฟ้าทะลายโจรอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีการระบาดของโรคโควิด-19 จึงมีความพยายามปรับปรุงการปลูกให้ฟ้าทะลายโจรผลิตสารสำคัญได้เพิ่มขึ้น เพื่อนำไปผลิตเป็นยา โดยฟ้าทะลายโจรมีสารแอนโดรกราโฟไลด์ ที่มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ลดไข้ ลดอาการหวัด ไอ และ เจ็บคอ “เกษตรกรในพื้นที่พยายามปรับปรุงการปลูกฟ้าทะลายโจร ทั้งเรื่องดินและน้ำ แต่ยังไม่มีใครทำเรื่องแสง ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งในการเจริญเติบโตของพืช ตนจึงได้นำเสนอแก่คณะกรรมาธิการกระทรวง อว. เรื่องการทดลองใช้แสง LED ปลูกฟ้าทะลายโจร เนื่องจากสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนเคยมีงานวิจัยที่ทำการทดลองปลูกผักสลัดและพืชสมุนไพร ด้วยหลอด LED และได้ผลดีมาก โดยสามารถเพิ่มน้ำหนักของผักสลัดและได้สมุนไพรที่มีกลิ่นหอมมากกว่าการปลูกด้วยแสงธรรมดา …

นักวิทย์ซินโครตรอน ปลูกฟ้าทะลายโจรด้วย LED ตั้งเป้าเพิ่มสารออกฤทธิ์ทางยา Read More »

นักธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ พบ “หลักฐานใหม่บนเขาพนมรุ้ง” ยืนยัน พื้นที่เขาพนมรุ้งมีสิ่งปลูกสร้างโบราณซ่อนอยู่

อาจารย์ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ สำรวจพบวัสดุแปลกปลอม คาดว่าน่าจะเป็น “อิฐเผา” กลางป่าเขาพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญที่ยืนยันว่า “บนเขาพนมรุ้งไม่ได้มีแค่ปราสาทหินพนมรุ้งเพียงอย่างเดียว แต่มีสิ่งปลูกสร้างโบราณซ่อนอยู่” จากการค้นพบวัสดุใหม่ดังกล่าว เกิดจากการลงพื้นที่สำรวจเขาพนมรุ้ง โดย ศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้ อาจารย์ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และคณะนักวิจัย ผู้สนใจศึกษาด้านโบราณคดีผ่านข้อมูลโทรสัมผัส (Remote Sensing) และภูมิสารสนเทศ (GIS) ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ค้นพบ ร่องรอยสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่เขาพนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์ของไทยที่มีอายุเก่าแก่นับพันปี ศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้ ให้ข้อมูลว่า ในทางธรณีวิทยา เขาพนมรุ้งเป็นภูเขาไฟยุคใหม่ (ยุคควอเทอร์นารี) ที่เกิดจากลาวาประทุเมื่อประมาณ 1 ล้านปีก่อน ซึ่งจากการสำรวจชนิดหินของนักธรณีวิทยาได้ข้อสรุปว่า เขาพนมรุ้งเกิดขึ้นเนื่องมาจากการไหลหลากทับถมกันของลาวาที่มาจากแมกมาสีเข้ม (mafic magma) ซึ่งเมื่อลาวาเย็นตัวลง หินที่เป็นไปได้บนเขาลูกนี้จึงควรมีแค่ชนิดเดียว คือ หินบะซอลต์ (basalt) เมื่อเร็ว ๆ นี้ ศ.ดร.สันติ และ ทีมนักวิจัย ได้เดินสำรวจป่าบนเขาพนมรุ้ง และพบว่า นอกจากจะพบหินบะซอลต์จำนวนมากแล้ว …

นักธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ พบ “หลักฐานใหม่บนเขาพนมรุ้ง” ยืนยัน พื้นที่เขาพนมรุ้งมีสิ่งปลูกสร้างโบราณซ่อนอยู่ Read More »

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!