กองทุน ววน. มุ่งพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการไทย พลิกฟื้นการท่องเที่ยวไทยสู่การท่องเที่ยวคุณภาพ สร้างรายได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

สกสว. บพข. จับมือ ผู้ประกอบการ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ลงนาม MOU ขับเคลื่อนและพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ด้วยงานวิจัยท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มุ่งสร้างศักยภาพผู้ประกอบการไทยสู่มาตรฐานสากล หนุนเพิ่มรายได้อย่างมั่นคง และยั่งยืน

 

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ผศ.สุภาวดี โพธิยะราช ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และ ประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บพข. ในฐานะผู้แทนผู้อำนวยการ สกสว. ร่วมกับ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สมาพันธ์สมาคมสปาแอนด์เวลเนสไทย สมาคมสปาไทย และ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ลงนามในพิธีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การพัฒนาและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ด้านอุตสาหกรรมบริการสปาไทย ด้วยงานวิจัยการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์” ณ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

ศ.ดร.วิภาดา คุณาวิกติกุล รองอธิการบดีฝ่ายวิทยาศาสตร์สุขภาพและรักษาการคณบดี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ กล่าวว่า MOU ในครั้งนี้จัดทำขึ้น เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ด้านอุตสาหกรรมบริการสปาไทย ด้วยงานวิจัยการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนากรอบแนวคิดการวิจัยให้สอดคล้องกับความต้องการด้านอุตสากรรมการท่องเที่ยวของประเทศ รวมถึงสนับสนุนด้านการพัฒนาระบบการจัดการงานวิจัย และสร้างความสามารถในการแข่งขันในอุตสากรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการบริการสปาอย่างเป็นระบบ และนำผลจากการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในมิติต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเกิดจากการความร่วมมือระหว่าง ผู้ประกอบการ สมาคม สมาพันธ์ ชมรม และนักวิชาการภายใต้การสนับสนุนจากแหล่งทุน ภายใต้ธีม Working together to foster wellness for All

ด้าน รศ. ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ มีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะช่วยให้เกิดการสนับสนุนการพัฒนาและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเที่ยวสุขภาพ ซึ่ง Wellness economy ประกอบไปด้วยหลายภาคส่วน อันดับแรก คือ การท่องเที่ยว ที่เชื่อมโยงร่วมกับสุขภาพ รวมทั้งด้านของกีฬา ความบันเทิง การพักผ่อนหย่อนใจ อาหาร ซึ่งประเทศไทยมีความโดดเด่น ทั้งหมดนี้ล้วนมาจากภูมิปัญญาของคนไทยทั้งสิ้น ฉะนั้น การพัฒนาเพื่อก้าวไปสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ จึงมีความสำคัญอย่างมาก และด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจะทำให้สามารถพัฒนาไปสู่การเป็น เป็น Service base economy หรือ การมุ่งสู่การเป็นภาคบริการ ที่เข้ามาช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย นั่นเอง พร้อมทั้งตั้งเป้าไปสู่ระดับ Innovation economy ในอนาคตอีกด้วย

ขณะที่ ผศ.สุภาวดี โพธิยะราช ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กล่าวว่า สกสว. ตระหนักถึงความสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศ ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) จึงได้บรรจุแผน “การพัฒนาและยกระดับการท่องเที่ยวโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่เน้นคุณค่าสร้างความยั่งยืนและสร้างรายได้ของประเทศ” ให้เป็นแผนงานสำคัญของแผนด้าน ววน. มุ่งเน้นให้เกิดการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว รวมถึงจำนวนนักท่องเที่ยวคุณภาพเพิ่มสูงขึ้น ใช้ผลงานวิจัยองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการสร้างมูลค่าเศรษฐกิจจากท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเป็นหนึ่งในผลสัมฤทธิ์สำคัญที่ถูกระบุไว้ในแผนด้าน ววน.

ทางด้าน รศ. ดร.สิรี ชัยเสรี ผู้อำนวยการ บพข. กล่าวเสริมว่า บพข. ไม่ได้มีหน้าที่เพียงสนับสนุนทุนวิจัยเท่านั้น แต่ให้ทุนอย่างมีจุดมุ่งหมาย จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา ทำให้แผนการสนับสนุนทุนวิจัยเปลี่ยนไป โดยหันมาให้ความสำคัญด้านการวิจัยท่องเที่ยวมูลค่าสูง และท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมากขึ้น ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเติบโตสูงขึ้น โดยเชื่อว่า เมื่อภาครัฐและภาคเอกชนร่วมมือกัน จะทำให้อุตสาหกรรมเกิดขึ้นไปในทิศทางเดียวกัน จะสามารถช่วยให้การประกอบการด้านนี้มีมูลค่าสูงขึ้น และช่วยเพิ่มรายได้ให้กับผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวได้อย่างแน่นอน

ด้านผู้ประกอบการ คุณสุนัย วชิรวราการ นายกสมาคมสปาไทย เปิดเผยว่า พันธกิจของสมาคมมุ่งเน้นพัฒนาสปาไทยที่สามารถแข่งขันถึงระดับโลก โดยเน้นความสร้างสรรค์และความยั่งยืน ได้มีการผสมผสานทั้ง 4 เรื่อง เข้ากับความเป็นไทย คือ 1. เทคโนโลยี 2. สมุนไพร 3. โหราศาสตร์ และ 4. การดูแลสุขภาพจากภายใน เพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน โดยขอเป็นส่วนหนึ่งของผู้ประกอบการในการเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการไทยให้สามารถแข่งขันในระดับโลกได้

คุณชวนัสต์ สินธุเขียว ประธานสมาพันธ์สมาคมสปาแอนด์เวลเนสไทย กล่าวต่อว่า ด้วยงานวิจัยและองค์ความรู้จากนักวิจัยต่าง ๆ ทำให้คนเข้าใจเรื่องของ Wellness มากขึ้น และจากโรคระบาด โควิด-19 ทำให้เกิดการตระหนักถึง Wellness tourism มากขึ้น และเกิดเป็นความร่วมมือบูรณาการให้เกิดโปรแกรมการท่องเที่ยวใหม่ ๆ และในอีก 3 ปีข้างหน้านี้ จะมีการจัดงาน Expo Osaka Kansai โดยสิ่งที่ประเทศไทยจะนำไปเสนอ ก็คือ Soft power ภายใต้ สปาไทย การแพทย์แผนไทย และสมุนไพรไทย นั่นเอง

RANDOM

FTA Academy จัดอบรมฟรี! หลักสูตร Carbon Neutrality and Net Zero Emissions (หลักการของความเป็นกลางทางคาร์บอน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ตามมาตรฐานสากล) เรียนจบหลักสูตรพร้อมรับประกาศนียบัตร ผู้สนใจสมัครด่วน

error: Content is protected !!