มรภ.สงขลา แทคทีมลงพื้นที่ ต.แค อ.จะนะ หนุนชมุชน ยกระดับ “ส้มจุก” เชิงพาณิชย์ ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เสริมรายได้เกษตรกร

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา ลงพื้นที่ ต.แค อ.จะนะ เดินหน้ายกระดับส้มจุกเชิงพาณิชย์ ให้ได้ผลผลิตมีคุณภาพใกล้เคียงสายพันธุ์ดั้งเดิม พร้อมพัฒนาผลิตภัณฑ์ส้มจุกดองเค็ม และส้มจุกกวนแบบหยี ควบคู่ ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้ในชุมชน หนุนช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต เสริมรายได้เกษตรกร

ผศ.ดร.อมรรัตน์ ชุมทอง พร้อมด้วย ดร.กมลทิพย์ นิคมรัตน์ ผศ.ดร.ศุภัครชา อภิรติกร และ อ.สันติ หมัดหมัน คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) ลงพื้นที่บริการวิชาการ ภายใต้ โครงการการพัฒนานวัตกรรมทางสังคมเชิงพื้นที่ในด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต กิจกรรมที่ 2.1 ยกระดับการผลิตส้มจุกเชิงพาณิชย์ และผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เสริมรายได้ของเกษตรกร (เกษตรพหุวัฒนธรรม ต.แค อ.จะนะ)

ผศ.ดร.อมรรัตน์ เปิดเผยว่า โครงการที่จัดขึ้นในครั้งนี้ เป็นโครงการต่อเนื่องจากปีก่อน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้คนในชุมชนสร้างความสมดุลและมีผลิตภัณฑ์ที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่ สามารถดํารงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นําไปสู่การพึ่งตนเอง และช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชนได้อย่างยั่งยืน ทั้งในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการจัดการการผลิตส้มจุกเป็นสินค้าอัตลักษณ์ของชุมชน รวมถึงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากวัสดุเศษเหลือทิ้งในชุมชน เพื่อใช้เองและจําหน่ายได้ โดยที่ผ่านมา เกษตรกรสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากวัสดุเศษเหลือทิ้งได้เองในชุมชน จากการลงพื้นที่ในปีก่อนสามารถนำปุ๋ยที่ผลิตไปใช้ในแปลงปลูกพืชของตนเองได้ ช่วยลดต้นทุนการซื้อปุ๋ยจากภายนอก เป็นการสร้างรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ซึ่งแสดงถึงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

ลักษณะของการลงพื้นที่ในครั้งนี้ ยังคงมีเป้าหมายชัดเจนในการส่งเสริมและสนับสนุนชุมชน ซึ่งทางคณะฯ ความคาดหวังว่า ชุมชนจะสามารถมีนวัตกรรมการใช้ประโยชน์จากการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากวัสดุเศษเหลือทิ้งในชุมชน จํานวน 1 นวัตกรรม และมีแปลงสาธิตการผลิตส้มจุกที่ผ่านการวางแผนและการจัดการที่ดี จํานวนไม่น้อยกว่า 3 แปลง นอกจากนั้น ยังมุ่งหวังถึงความร่วมมือของเกษตรกร หรือ ผู้นําในชุมชน จํานวน 40 คน ซึ่งโครงการนี้ มีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมกว่า 20 คน ส่วนสำคัญของการทำโครงการต่อเนื่องในครั้งนี้ ส่งผลให้คณะเทคโนโลยีการเกษตรมีเครือข่ายความร่วมมือเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การผลิตร่วมกันระหว่างพื้นที่ในการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีเครือข่ายให้ความสนใจแล้ว 1 เครือข่าย

โดยในส่วนของคุณภาพผลผลิตส้มจุกนั้น จากการพูดคุยกับเกษตรกรทั้ง 20 กว่าราย พบว่า ปัญหาของผลผลิตส่วนใหญ่มาจากลักษณะผลที่ไม่ตรงตามตามสายพันธุ์ดั้งเดิม ลักษณะเนื้อ ความฉ่ำน้ำ ผิวผล เส้นใย ความหนาของเปลือก ความหวาน ขนาดผล สีเปลือกผล หรือ การเป็นจุกชัดเจน การให้ผลผลิตที่สม่ำเสมอ รวมถึงลักษณะอื่น ๆ ที่เป็นพันธุ์แท้ 100% มักจะแตกต่างจากพันธุ์ลูกผสม ครั้งนี้จึงได้เก็บผลผลิตบางส่วนมา เพื่อวัดคุณภาพผลผลิต และในส่วนของผลผลิตที่เป็นลูกเล็กจากการตัดแต่งช่อผล จากการทดลองปีก่อนได้ทดลองพัฒนาผลิตภัณฑ์ส้มจุกดองเค็ม และส้มจุกกวนแบบหยี แต่ยังไม่ได้ตรงตามลักษณะที่ต้องการ เนื่องจากยังมีรสขมอยู่ ยังต้องมีการทดลองต่อไปว่า จะสามารถเพิ่มรายได้จากผลผลิตที่มีการตัดแต่งทิ้งนี้ โดยวิธีใดได้บ้าง

RANDOM

error: Content is protected !!