วช. ประกาศรับข้อเสนอโครงการต้นแบบนักประดิษฐ์ไทย นักประดิษฐ์โลก ประจำปีงบประมาณ 2567 เพื่อพัฒนาสิ่งประดิษฐ์หรือนวัตกรรมพร้อมใช้หรือพร้อมออกสู่ตลาดในเชิงพาณิชย์ โครงการละไม่เกิน 2 ล้านบาท เปิดรับข้อเสนอโครงการ ตั้งแต่บัดนี้ – 28 ธ.ค. 66

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นส่วนราชการที่มีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับการให้ทุนวิจัยและนวัตกรรมหลักของประเทศ ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรม ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพนักประดิษฐ์ ที่มีความสามารถ มีจริยธรรม มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ ออกสู่วงการนักประดิษฐ์ผ่านการถ่ายทอดองค์ความรู้ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญ จากการเรียนรู้ การร่วมสร้างสรรค์ และพัฒนาผลงานสิ่งประดิษฐ์คิดค้นจากนักประดิษฐ์มืออาชีพสู่การเป็นนวัตกรรมและใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ หรือ เชิงสาธารณะทั้งในระดับชาติและนานาชาติต่อไป

1. ลักษณะทุน โครงการที่สมัครขอรับทุนจะต้องประกอบด้วย 2 ลักษณะ ดังนี้
1.1 เป็นทุนเพื่อพัฒนาสิ่งประดิษฐ์หรือนวัตกรรมที่พร้อมใช้หรือพร้อมออกสู่ตลาดในเชิงพาณิชย์หรือเชิงสาธารณะ โดยเป็นผลงานที่ได้รับรางวัลในระดับชาติหรือระดับนานาชาติที่มีต้นแบบอยู่แล้ว มิใช่ การเริ่มต้นทำวิจัยใหม่ และ มิใช่ การขอทุนเพื่อทำมาตรฐานสิ่งประดิษฐ์ โดยสิ่งประดิษฐ์หรือนวัตกรรมดังกล่าว ถือเป็นเครื่องมือหรือกลไกแห่งการเรียนรู้ ถ่ายทอด เพื่อก่อให้เกิดการสร้าง (ทีม) นักประดิษฐ์
1.2 เป็นทุนเพื่อสร้างให้เกิด (ทีม) นักประดิษฐ์ หรือ พัฒนาศักยภาพนักประดิษฐ์ใน 2 รุ่น ดังนี้
1.2.1 นักประดิษฐ์รุ่นกลาง : เป็นโครงการที่ต้องการพัฒนานักประดิษฐ์ไทยในระดับอาชีวศึกษา หรือ อุดมศึกษา
1.2.2 นักประดิษฐ์รุ่นเยาว์ : เป็นโครงการที่ต้องการพัฒนานักประดิษฐ์ไทยในระดับมัธยมศึกษา
1.3 เป็นทุนที่มีกำหนดระยะเวลาทุนละ 12 เดือน

2. คุณสมบัติของผู้สมัครขอรับทุน
2.1 มีสัญชาติไทย มีถิ่นพำนักถาวรในประเทศ และมีหลักฐานการทำงานมั่นคง
2.2 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป
2.3 เป็นบุคลากรในสังกัดสถาบันการศึกษา สถาบันอุดมศึกษา หน่วยงาน หรือ สถาบันวิจัยในภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ ภาคเอกชน
2.4 เป็นผู้ได้รับรางวัลการประกวดสิ่งประดิษฐ์หรือนวัตกรรมที่เป็นรางวัลอันสูงสุด ระดับดีเด่น ระดับดีมาก จากเวทีที่ วช. จัดขึ้น หรือ จากเวทีระดับนานาชาติที่เป็นที่ยอมรับ หรือ เป็นผู้ที่ได้รับรางวัลการประกวดสิ่งประดิษฐ์หรือนวัตกรรมในระดับเหรียญทองขึ้นไปจากเวทีระดับนานาชาติ หรือ จากเวทีที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล
2.5 มีความรู้และประสบการณ์การวิจัยหรือประดิษฐ์คิดค้นในสาขาวิชาการและขอบข่ายการวิจัยที่จะสมัครขอรับทุน ซึ่งจะสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้มาถ่ายทอดหรือเผยแพร่ให้แก่นักประดิษฐ์ต่อไปได้
2.6 มีศักยภาพในการบริหารจัดการโครงการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดอย่างมีคุณภาพ
2.7 เป็นผู้มีจรรยาบรรณนักวิจัยตามแนวทางปฏิบัติจรรยาบรรณนักวิจัยของ วช.
2.8 ไม่เป็นผู้ค้างส่งรายงานการวิจัยตามกำหนดสัญญารับทุนของ วช.
2.9 ได้รับการรับรองโครงการจากหัวหน้าหน่วยงานต้นสังกัดระดับอธิบดีหรือเทียบเท่าขึ้นไปเท่านั้น
2.10 กรณีอยู่นอกเหนือจากคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้น ให้อยู่ในดุลพินิจของ วช.

3. สาขาวิชาการที่รับสมัคร
3.1 วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
3.2 วิทยาศาสตร์การแพทย์และสุขภาพ
3.3 วิศวกรรมและเทคโนโลยี
3.4 เกษตรศาสตร์
3.5 สังคมศาสตร์
3.6 มนุษยศาสตร์

4. การสมัครขอรับทุน
ผู้ประสงค์จะสมัครขอรับทุนสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มการสมัครขอรับทุนและส่งข้อเสนอโครงการผ่านระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ที่เว็บไซต์ https://nriis.go.th เลือกหัวข้อ “ข่าวทุนวิจัย : ทุนวิจัยที่เปิดรับ” เลือก วช. ดาวน์โหลดไฟล์ที่เกี่ยวข้องหรือสแกน QR Code และเข้าสู่ขั้นตอนการสมัครขอรับทุนตามคู่มือนักวิจัยที่แนบในระบบ

5. งบประมาณ
โครงการละไม่เกิน 2,000,000 บาท/ปี (ตามมูลค่าของสิ่งประดิษฐ์หรือนวัตกรรม ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของ วช.)

6. การเปิดรับสมัครข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรม
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เปิดรับข้อเสนอโครงการ ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน – 28 ธันวาคม 2566 ภายในเวลา 18.00 น.

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://shorturl.asia/thEiu

อ้างอิงจาก https://shorturl.asia/nYsvt

RANDOM

NEWS

สอศ. ร่วมกับ ศูนย์ CLEC เปิด ‘ห้องปฏิบัติการภาษาจีนระดับอาชีวศึกษาแห่งแรกของโลก’ ที่วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี หนุนสร้างแรงงานคุณภาพสมรรถนะสูง รองรับการเติบโตของเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย-จีน

กระทรวงพาณิชย์ เชิญชวนนักออกแบบ ผู้ประกอบการ สมัครเข้าร่วมโครงการรางวัลการออกแบบยอดเยี่ยม ปี 2567 ‘Design Excellence Award 2024’ (DEmark) จุดพลัง สร้างสรรค์งานดีไซน์ อย่างยั่งยืน เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ – 3 มิถุนายน 2567

error: Content is protected !!