ม.วลัยลักษณ์ จับมือ 4 มหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ ปั้นงานวิจัยระดับ Q1 ร่วมกัน พร้อมเดินหน้าพัฒนาหลักสูตร หนุนนศ.สหกิจต่างประเทศ

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

รองศาสตราจารย์ ดร.พูลพงษ์ บุญพราหมณ์ รักษาการแทนคณบดีสำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์ (มวล.) ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัย (MOA in Research Collaboration) ในหัวข้อ “Platform and Cultural Production in Asia” ร่วมกับ 4 มหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ ได้แก่ 1. University of Amsterdam (UvA) ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยในอันดับ 62 ของ Time Higher Education 2. University 17 Agustus 1945 Surabaya (UNTAG Surabaya) ประเทศอินโดนีเซีย 3. Xavier University-Ateneo De Cagayan ประเทศฟิลิปปินส์ 4. Tunku Abdul Rahman University of Management And Technology (TAR UMT) ประเทศมาเลเซีย

การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ จัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัย UNTAG Surabaya ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการทำวิจัยร่วมกันในด้านการสื่อสารมวลชน และการจัดการเทคโนโลยีที่มีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาคมโลกในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดินหน้าพัฒนาและตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ในฐานข้อมูล Scopus Q1 ร่วมกันอย่างน้อย 4 ผลงาน ภายในระยะเวลา 2 ปี

รองศาสตราจารย์ ดร.พูลพงษ์ กล่าวว่า หลังจากที่ ม.วลัยลักษณ์ ได้รับการจัดอันดับโลก โดย Times Higher Education ให้อยู่ในอันดับที่ 1501+ ของโลก จากมหาวิทยาลัยทั้งหมด 26,000 แห่งทั่วโลก และเป็นอันดับที่ 11 ของประเทศไทย จากมหาวิทยาลัย 18 แห่ง ที่ผ่านเงื่อนไข และ ม.วลัยลักษณ์ได้เข้าไปอยู่ในกลุ่มมหาวิทยาลัยวิจัยแนวหน้าของโลก (Frontier Research University) ตามนโยบายของกระทรวง อว. คณาจารย์ทุกคนได้ร่วมกันขับเคลื่อนการวิจัยอย่างเข้มข้น ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีจำนวนผลงานวิจัยมากขึ้นแบบก้าวกระโดด และเป็นผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ Scopus Q1,Q2 กว่า 92.1% อยู่ในอันดับ 2 ของประเทศ สะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพของอาจารย์ผู้สอน และนักวิจัยของม.วลัยลักษณ์

ในส่วนของ สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ ได้ดำเนินการขับเคลื่อนงานวิจัยตามนโยบายของมหาวิทยาลัย มีการเตรียมการที่จะสร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยที่อยู่ในอันดับโลก ทั้งในทวีปยุโรปและเอเชีย เช่น Grenoble INP ประเทศฝรั่งเศส Universiti Utara (UUM) , Universiti Pendidikan Sultan Idris (UPSI) ประเทศมาเลเซีย Murdoch University, University of Tasmania ประเทศออสเตรเลีย Harbin Engineering University ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และ National Dong Hwa University ไต้หวัน เป็นต้น โดยนอกเหนือจากการวิจัย จะเน้นความร่วมมือด้านอื่น ๆ อาทิ ด้านการเรียนการสอน การวิจัย การพัฒนาหลักสูตร การแลกเปลี่ยนนักศึกษาและการส่งนักศึกษาไปฝึกปฏิบัติสหกิจศึกษา ฯลฯ

ทั้งนี้ คาดว่าความร่วมมือที่เกิดขึ้นในครั้งนี้จะสำเร็จเป็นรูปธรรม เพื่อเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองขับเคลื่อนการก้าวสู่อันดับโลกที่ดีขึ้นของมหาวิทยาลัย เชื่อว่าในอนาคตผลงานวิจัยของ ม.วลัยลักษณ์ จะมีจำนวนมากขึ้น มีคุณภาพสูงขึ้น และมีการอ้างอิงที่สูงขึ้นตามไปด้วย

RANDOM

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ขยายเวลาการรับสมัคร ‘โครงการประกวดสื่อประชาสัมพันธ์ด้านยาเสพติด’ ประเภทคลิปสั้น TikTok และ คลิปวิดีโอ ชิงเงินรางวัลรวม 289,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร และโล่รางวัล หมดเขต 31 มี.ค.นี้

NEWS

สำนักงาน ป.ป.ช. เชิญชวนผู้สนใจส่งผลงานเข้าร่วมประกวดบทความวิชาการด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ประจำปีงบประมาณ 2567 ชิงเงินรางวัลรวม 185,000 บาท ส่งบทความได้ ตั้งแต่บัดนี้ ถึง 14 พ.ค. 2567

error: Content is protected !!