Day: March 8, 2023

เครือข่ายงดเหล้า สสส. หนุนกลุ่มชาติพันธุ์ทั่วประเทศ ขยายผลงานบุญประเพณีปลอดเหล้า ชู จ. แม่ฮ่องสอน ต้นแบบความสำเร็จ

สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า(สคล.) สสส. ร่วมกับ จังหวัดแม่ฮ่องสอน สภาวัฒนธรรมจังหวัดฯ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน และภาคีเครือข่ายภาครัฐและเอกชนจังหวัดแม่ฮ่องสอน จัดเวทีแลกเปลี่ยนนโยบายสาธารณะชาติพันธุ์ ด้านงานบุญประเพณีเทศกาล และการลด ละ เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ โดยมีผู้ร่วมกิจกรรมกว่า 100 คน จาก 20 ชาติพันธุ์ 27 กลุ่มพื้นที่ ทั้งนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนการดำเนินงานงดเหล้าและส่งเสริมสุขภาวะในกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์มีบริบท มีการออกแบบกิจกรรมและความสำเร็จที่แตกต่างกัน พร้อมกันนี้ ได้มีการประกาศเจตนารมณ์ร่วมกัน เพื่อยกระดับเป็น “สมาพันธุ์เครือข่ายชาติพันธุ์สร้างสุข งดเหล้า ลดปัจจัยเสี่ยง” เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงรูปธรรม โดยมี นายศรัณยู มีทองคำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม ณ โรงแรมอิมพีเรียล อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน นายศรัณยู มีทองคำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นจังหวัดใหญ่อันดับ 8 ของประเทศไทย มีกลุ่มชาติพันธุ์มากถึง 9 ชาติพันธุ์ 13 กลุ่ม โดยจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดที่มีกลุ่มชาติพันธ์มากที่สุด …

เครือข่ายงดเหล้า สสส. หนุนกลุ่มชาติพันธุ์ทั่วประเทศ ขยายผลงานบุญประเพณีปลอดเหล้า ชู จ. แม่ฮ่องสอน ต้นแบบความสำเร็จ Read More »

สุนทร ซ้ายขวัญ เซ็นแต่งตั้ง 20 รองอธิการบดีของมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติชุดใหม่แล้ว ทั้งในวิทยาเขตและส่วนกลาง

เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ.2566 ที่ผ่านมา ในการประชุมครั้งที่ 1/2566 ของคณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่แทนสภามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ โดยคำแนะนำของผู้ปฏิบัติหน้าที่อธิการบดีมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ โดยมีพลตำรวจเอกสุนทร ซ้ายขวัญ เป็นประธานกรรมการปฏิบัติหน้าที่แทนสภามหาวิทยาลัย ได้มี คำสั่งแต่งตั้งรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติชุดใหม่ จำนวน  20 คน โดย 3 คน คือ ผศ.นิกร สีแล นายบรรณกิจบรรจง ทองจำปา และ ผศ.ฉัตร์ชัย แสงสุรีลักษณ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองอธิการบดีส่วนกลาง และ ยังมีคำสั่งอีก 17 คน เพื่อเป็นรองอธิการบดี ประจำวิทยาเขตต่าง ๆ ทั้ง 17 แห่งทั่วประเทศ ตามภาพด้านล่างนี้

“ธนาคารน้ำใต้ดิน” ไอเดียสู้ภัยแล้ง คืนชีวิตให้ผืนป่า แก้ปัญหาสังคมแบบองค์รวม

“วิสูตร์ ยังพลขันธ์” กรรมการสมาคมพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย คือ หนึ่งในผู้นำการเปลี่ยนแปลง อดีตพนักงานกิจการเพื่อสังคม บมจ.ปตท. เล่าถึง “โครงการธนาคารน้ำใต้ดิน” แก้ปัญหาภัยแล้งว่า ใช้วิธีนำน้ำอาบ น้ำใช้ น้ำทิ้งที่มีกลิ่นเน่าเหม็น อัดลงดินแทนปล่อยทิ้ง โดยขุดหลุมลึกปากกว้าง จากนั้นนำเศษวัสดุ เช่น หิน ใส่ลงไปในหลุมที่ขุดไว้ เพื่อใช้เป็นตัวกรองน้ำทิ้งให้กลับมาสะอาดอีกครั้ง เมื่อน้ำทิ้งผ่านลงดินจะแผ่ความชื้นไปในดินโดยรอบ ทำให้ต้นไม้รอบข้างได้รับน้ำ โดยไม่จำเป็นต้องรดน้ำ ทั้งไม่ทำให้เกิดน้ำเน่าเสีย ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ผลความเปลี่ยนแปลง คือ ผืนดินกลับมาปลูกพืชได้ดี และจากความสำเร็จดังกล่าวทำให้เขาและเครือข่ายนำโครงการธนาคารน้ำใต้ดิน ขยายผลไปยังหลายหมู่บ้าน และตำบลใกล้เคียง วิสูตร์ เล่าต่อว่า ขณะนี้ คนที่บ้านกระทม ต.นาบัว อ.เมือง จ.สุรินทร์ กว่า 200 หลังคาเรือน ทำธนาคารน้ำใต้ดินได้เอง แก้ปัญหาภัยแล้งได้เองแล้ว เดิมที่นี่ช่วงเดือน ก.พ.-พ.ค. จะขาดแคลนน้ำใช้ เพราะน้ำแห้ง ขณะที่ช่วงที่มีน้ำก็ไม่เก็บน้ำ ไล่น้ำออกจากบ้าน ไม่ให้น้ำท่วมขัง ทำให้มีน้ำเติมลงในดินน้อย เหมือนคนมีเงินแล้วใช้เงินให้หมดในคืนเดียว วันรุ่งขึ้นก็ไม่เหลือเงินแล้ว เครือข่ายของพวกเราก็มาช่วยกันทำโครงการนี้ เมื่อดินชุ่มชื้น เพาะปลูกได้ …

“ธนาคารน้ำใต้ดิน” ไอเดียสู้ภัยแล้ง คืนชีวิตให้ผืนป่า แก้ปัญหาสังคมแบบองค์รวม Read More »

วิศวะ จุฬาฯ ร่วมกับ กสทช. สาธิตการทำงาน โครงการทดลองการสื่อสารด้วยระบบ 5G สำหรับรถไร้คนขับ

เมื่อวันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ห้องประชุมสายลม สำนักงาน กสทช. คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) และ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) จัดแสดงการสาธิตการทำงาน โครงการ “การทดลองการสื่อสารด้วยระบบ 5G สำหรับรถไร้คนขับ” (Demo Day) เพื่อทดสอบรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ ในระดับที่ 3 (Autonomous shuttle – Level 3) การสื่อสารข้อมูลระหว่างรถอัตโนมัติกับระบบต่าง ๆ ภายใต้โครงข่ายการสื่อสาร 5G C-V2X และ การทดสอบประสิทธิภาพ (Connectivity) การวิเคราะข้อมูลด้วย AI (Use Cases) หรือ การใช้งานเพื่อเก็บข้อมูลพฤติกรรมผู้โดยสารและผู้ขับขี่ โดยมี คุณสุทธิศักดิ์ …

วิศวะ จุฬาฯ ร่วมกับ กสทช. สาธิตการทำงาน โครงการทดลองการสื่อสารด้วยระบบ 5G สำหรับรถไร้คนขับ Read More »

ศธ. ปลื้ม เด็กไทยโชว์ผลงานยอดเยี่ยม คว้ารางวัลคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เวทีนานาชาติ ยกย่องเป็นทรัพยากรบุคคลอันมีค่า และเป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคต

เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2566 ผู้สื่อข่าว รายงานว่า นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลการแข่งขันวิชาการด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2566 และการแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์ ภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ สู่การต่อยอดระดับสากล (STEAMs Co-Creation Project) โดยมี นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นายประพัทธ์ รัตนอรุณ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาเอกชน และคณะผู้บริหาร ครู นักเรียน เข้าร่วม ณ ห้องประชุมหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ชั้น 3 อาคารรัชมังคลาภิเษก กระทรวงศึกษาธิการ นางสาวตรีนุช เทียนทอง รมว.ศธ. กล่าวว่า พิธีมอบรางวัลฯ ในวันนี้ เปรียบเสมือนการรวมตัวของนักเรียนผู้มีความรู้ ความสามารถในระดับชั้นนำของประเทศ ซึ่งกำลังจะได้รับการพัฒนาให้เติบโตไปเป็นทรัพยากรบุคคลอันมีค่า และเป็นกำลังสำคัญของประเทศในอนาคต ตนขอแสดงความชื่นชมต่อนักเรียนทุกคน รวมถึงผู้บริหารและคณะครูทุกท่านที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในครั้งนี้ อีกทั้งคณะทำงานผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่มุ่งมั่นตั้งใจจนทำให้เกิดความสำเร็จอย่างในวันนี้ ด้าน …

ศธ. ปลื้ม เด็กไทยโชว์ผลงานยอดเยี่ยม คว้ารางวัลคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เวทีนานาชาติ ยกย่องเป็นทรัพยากรบุคคลอันมีค่า และเป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคต Read More »

ครม. เห็นชอบ โครงการทุนอุดมศึกษาพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เฟส 4 ลดเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เพิ่มโอกาสเรียนต่อป.ตรี

จากผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566 ครม. เห็นชอบโครงการสนับสนุนทุนการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในประเทศให้แก่เยาวชนที่มีภูมิลำเนาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปีการศึกษา 2566 – 2570 วงเงิน 419.5 ล้านบาท สำหรับใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการทุนอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระยะที่ 4 ให้มีความต่อเนื่อง และเพิ่มโอกาสให้เยาวชนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส จังหวัดสตูล และจังหวัดสงขลา 4 อำเภอ (จะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย) ได้เข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาในสาขาวิชาที่ขาดแคลนตามความต้องการของพื้นที่ เพื่อนำความรู้ไปพัฒนาท้องถิ่นภูมิลำเนาของตนเองในอนาคต โครงการทุนอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระยะที่ 4 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เปิดโอกาสและลดความเลื่อมล้ำทางการศึกษาให้แก่นักเรียนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2. สนับสนุนทุนการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาขาดแคลนตามความต้องการของพื้นที่ 3. ส่งเสริมให้ผู้รับทุนมีจิตอาสาและจิตสาธารณะ สร้างประโยชน์แก่สถาบันที่ตนเองศึกษา ท้องถิ่น และประเทศชาติ ระยะเวลาโครงการตั้งแต่ปีการศึกษา 2566 – 2570 …

ครม. เห็นชอบ โครงการทุนอุดมศึกษาพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เฟส 4 ลดเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เพิ่มโอกาสเรียนต่อป.ตรี Read More »

error: Content is protected !!