สถานีการศึกษา

จุฬาฯ ผนึกกำลัง นักวิจัยพัฒนา AI รับมือ “โอมิครอน” ดูแลผู้ป่วยโควิด แบบ Home Isolation

จุฬาฯ รับมือ “โอมิครอน” ดูแลผู้ป่วยแบบ Home Isolation ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ใช้ AI ทำนายระดับความรุนแรงโรคได้แม่นยำ ช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตผู้ป่วยได้ ลดภาระบุคลากรทางการแพทย์ ด้วยโมเดล Pylon และแพลตฟอร์ม We Safe โดย นักวิจัยจุฬาฯ และพันธมิตรด้านวิชาการทั้งในและต่างประเทศ Chulalongkorn University Technology Center หน่วยงานด้านการพัฒนาเทคโนโลยี Deep Tech ด้าน  AI และ MedTech จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำความรู้ความเชี่ยวชาญทั้งด้านการแพทย์ และด้าน AI  จากหลายหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็น คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ศูนย์ AI Learning Center คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ผู้พัฒนาแพลตฟอร์ม กิน อยู่ ดี และ We  Safe ศูนย์ …

จุฬาฯ ผนึกกำลัง นักวิจัยพัฒนา AI รับมือ “โอมิครอน” ดูแลผู้ป่วยโควิด แบบ Home Isolation Read More »

ธรรมศาสตร์ คิดค้น ต้นแบบชุดตรวจ สแกนหาแอนติบอดีโควิดในเลือด ช่วยคัดกรองผู้ติดเชื้อ ไม่แสดงอาการ

  นักวิชาการธรรมศาสตร์ เปิดตัว “ต้นแบบชุดตรวจแอนติบอดีต่อเชื้อโควิด” แบบเจาะเลือดปลายนิ้ว หวังช่วยคัดกรองผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ หลังโควิดกลายเป็นโรคประจำถิ่น-คนฉีดวัคซีนครอบคลุม คาดอีก 1-2 ปี พัฒนาสมบูรณ์ ผศ.ดร.จีระพงษ์ ทะนงศักดิ์ศรีกุล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริหาร คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ในฐานะหัวหน้าห้องปฏิบัติการศูนย์ตรวจวินิจฉัยระดับโมเลกุล เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้พัฒนา “ต้นแบบชุดตรวจแอนติบอดีต่อเชื้อโควิด 19 แบบเจาะเลือดปลายนิ้ว” ขึ้นมา ภายใต้ การสนับสนุนงบประมาณจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยคาดว่า ชุดตรวจดังกล่าวจะได้รับการพัฒนาให้สมบูรณ์ได้ ภายใน 1-2  ปี ต้นทุนปัจจุบันอยู่ที่ไม่เกินชุดละ 100 บาท สำหรับชุดตรวจแอนติบอดีต่อเชื้อโควิด 19 แบบเจาะเลือดปลายนิ้ว จะเป็นชุดตรวจที่จะเข้ามาสนับสนุนการทำงานของการตรวจแบบ RT-PCR และ Antigen Test Kit (ATK) แต่จะมีความแตกต่างอยู่ที่ การตรวจด้วยชุดตรวจแอนติบอดีฯ จะสามารถหาเชื้อในผู้ติดโควิด 19 แบบไม่แสดงอาการได้ ผศ.ดร.จีระพงษ์ กล่าวต่อว่า แอนติบอดีของผู้ที่ติดเชื้อโควิด 19 …

ธรรมศาสตร์ คิดค้น ต้นแบบชุดตรวจ สแกนหาแอนติบอดีโควิดในเลือด ช่วยคัดกรองผู้ติดเชื้อ ไม่แสดงอาการ Read More »

มรภ.สงขลา คว้าชนะเลิศออกแบบลายผ้าพื้นถิ่น “เฟื่องฟ้ารุ่งเรืองเมืองสงขลา”

  “อันวา บาเหะ” นักศึกษาหลักสูตรการออกแบบ คณะศิลปกรรมฯ มรภ.สงขลา โชว์ฝีมือสุดเจ๋ง ชนะเลิศประกวดออกแบบลายผ้าพื้นถิ่นสงขลา คว้าเงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมโล่จากพ่อเมืองสงขลา นายอันวา บาเหะ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรการออกแบบ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เจ้าของผลงานออกแบบลายผ้า “เฟื่องฟ้ารุ่งเรืองเมืองสงขลา” ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวดออกแบบลายผ้าพื้นถิ่นสงขลา ภายใต้โครงการ “สืบสานอัตลักษณ์ผ้าพื้นถิ่นสงขลา” ประจำปี 2565 ที่จัดโดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทยอันเป็นอัตลักษณ์พื้นถิ่นของจังหวัดสงขลา ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทอผ้าให้มีรายได้เพิ่มขึ้น  ซึ่งผู้ชนะเลิศจะได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมโล่จากผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา โดยจะมีการมอบรางวัลในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ห้องประชุม ศาลากลางจังหวัดสงขลา นายอันวา กล่าวว่า ผลงานลายผ้า “เฟื่องฟ้ารุ่งเรืองเมืองสงขลา” ได้รับแรงบันดาลใจจากดอกเฟื่องฟ้า  ดอกไม้ประจำจังหวัดสงขลา ที่มีกลีบดอกบานสวยสง่า และอดทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ ผสมผสานเอกลักษณ์ย่านที่พักอาศัยเมืองเก่าสงขลา ที่ประดับตกแต่งด้วยช่องลมระบายอากาศร้อนของลมทะเล และเหล็กดัดที่ปกป้องภัยให้แก่ผู้พักอาศัย เปรียบเสมือนชื่อเสียงและความเจริญรุ่งเรืองของจังหวัดสงขลา  แข็งแกร่งด้วยความสามัคคีของพี่น้องชาวสงขลาต่างศาสนาที่หลอมรวมเป็นหนึ่ง …

มรภ.สงขลา คว้าชนะเลิศออกแบบลายผ้าพื้นถิ่น “เฟื่องฟ้ารุ่งเรืองเมืองสงขลา” Read More »

อาชีวศึกษา จัดแข่งขันทักษะวิชาชีพระดับชาติ ครั้งที่ 30 สร้างคนคุณภาพออกสู่ตลาดงานในอนาคต

             เมื่อเร็ว ๆ นี้ ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า  สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จัดแข่งขันทักษะวิชาชีพ และทักษะวิชาพื้นฐาน ระดับชาติ ครั้งที่ 30 ประจำปีการศึกษา 2564 ระหว่างวันที่ 20-24 กุมภาพันธ์ 2565 ณ จังหวัดน่าน และจังหวัดแพร่          โดยการจัดงานแข่งขันทักษะวิชาชีพระดับชาติ เป็นกิจกรรมเวทีใหญ่ของนักเรียน นักศึกษา อาชีวศึกษา สมาชิกองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย (อวท.) เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ด้านวิชาการ และทักษะวิชาชีพ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกทั่วประเทศ รวมถึงโชว์ผลงานซึ่งเกิดจากการเรียนการสอน และนิทรรศการด้านวิชาการต่อสาธารณชน อีกทั้ง ร่วมเชิดชูเกียรติสมาชิกหรือหน่วยองค์การที่ประสบความสำเร็จ ในการดำเนินกิจกรรม ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดี และเกิดการกระตุ้นให้ผู้เรียนหรือสมาชิกได้พัฒนาทักษะ และความสามารถของตนเอง         …

อาชีวศึกษา จัดแข่งขันทักษะวิชาชีพระดับชาติ ครั้งที่ 30 สร้างคนคุณภาพออกสู่ตลาดงานในอนาคต Read More »

รัฐบาล เตรียมผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ผ่านสื่อบันเทิง หนุนมาตรการลดหย่อนภาษีจูงใจเอกชนร่วมขับเคลื่อน

นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะประธานอนุกรรมการส่งเสริมภาพลักษณ์ประเทศผ่านสื่อบันเทิงในลักษณะอำนาจละมุน (soft power) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ ได้ประชุมคณะอนุกรรมการฯ ครั้งที่ 1/2565 ณ ศูนย์ประชุมกระทรวงวัฒนธรรม ชั้น 8 กระทรวงวัฒนธรรม และระบบประชุมทางไกลออนไลน์ (Zoom Meeting)  โดยที่ประชุมรับทราบข้อสั่งการ ของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่มอบหมายให้ กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) และ คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ  บูรณาการความร่วมมือกับ คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจและสร้างสรรค์ ดำเนินงานส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศสู่สากลผ่านงานศิลปวัฒนธรรม การท่องเที่ยว ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม สินค้าและบริการผ่านสื่อบันเทิงในลักษณะอำนาจละมุน (soft power) เพื่อก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดี และสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ รวมทั้งสร้างความภาคภูมิใจ ความรักและความสามัคคีของคนในชาติ สอดคล้องกับแผนปฏิรูปประเทศและยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง และด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน โดยรัฐบาลเตรียมปรับวิสัยทัศน์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาติ ส่งเสริมการใช้ soft power จากผู้สนับสนุนมาเป็นผู้ลงทุน และส่งเสริมการค้าการลงทุนในอุตสาหกรรมต่างๆของประเทศในระยะยาว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวอีกว่า ที่ประชุม มีมติเห็นชอบในหลักการร่างกรอบแนวทางการส่งเสริมภาพลักษณ์ประเทศผ่านสื่อบันเทิงในลักษณะอำนาจละมุน (soft power) …

รัฐบาล เตรียมผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ผ่านสื่อบันเทิง หนุนมาตรการลดหย่อนภาษีจูงใจเอกชนร่วมขับเคลื่อน Read More »

นักวิจัย มรภ.เพชรบูรณ์ สร้างนวัตกรรมคัดกรองผู้ป่วยเบาหวานผ่านระบบออนไลน์

  อาจารย์เอ็ม สายคำหน่อ อาจารย์ประจำสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ได้เริ่มต้นคิดค้นงานวิจัยการพัฒนาระบบสํารวจคัดกรองบุคคลที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ด้วยระบบดิจิทัลผ่านเว็บแอปพลิเคชัน โดยได้รับทุนสนับสนุน จาก กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) อาจารย์เอ็ม เล่าถึงที่มาของงานวิจัยชิ้นนี้ว่า จากการจัดกลุ่มมหาวิทยาลัยใหม่นั้น มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ได้จัดอยู่ในกลุ่มมหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน ทำให้นักวิจัยต้องไปร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัด เข้าไปแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจริง โดยใช้งานวิจัยเป็นฐานเปรียบเสมือนกับนำงานวิจัย “จากหิ้งไปสู่ห้าง” โดยเน้นการแก้ไขปัญหาด้วยหลักวิศวกรรม และการจัดการเทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหา ประกอบกับโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ ได้เป็นหนึ่งในพื้นที่นำร่องการทำงานการแพทย์เชิงรุก ที่ต้องมีแพทย์ประจำบ้าน ลงพื้นที่ชุมชนต่าง ๆ คอยให้คำปรึกษา เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อแบบเรื้อรัง หรือ NCDs โดยเหตุผลที่เลือกโรคเบาหวานนั้น เนื่องจากเป็นโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง และเกี่ยวข้องการสร้างความรู้ความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต ต้องใช้เวลาในการปรับตัวและวางแผน จึงต้องการข้อมูลที่แม่นยำ เพื่อให้การวางแผนทางสุขภาพของประชาชนเป็นไปด้วยดี การทำงานวิจัยชิ้นนี้ เริ่มต้นการออกแบบ โดยนำแบบสอบถามจากในกระดาษให้เป็นฐานข้อมูลออนไลน์ เพื่อคัดกรองโรคเบาหวาน ลงในระบบเว็บเพจในลักษณะ Web Responsive คือ รูปแบบการพัฒนาหน้าต่างสำหรับป้อนข้อมูลให้สามารถแสดงผล รองรับทุกอุปกรณ์สื่อสารทั้งในสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือแม้กระทั่งในคอมพิวเตอร์ สามารถปรับขนาดและรูปแบบให้เข้ากับขนาดของจอภาพแสดงผลในอุปกรณ์ได้ พร้อมรับส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย 4 จี  …

นักวิจัย มรภ.เพชรบูรณ์ สร้างนวัตกรรมคัดกรองผู้ป่วยเบาหวานผ่านระบบออนไลน์ Read More »

อบรมครูคณิตศาสตร์มุ่งสู่โอลิมปิกวิชาการ รับสมัคร วันนี้ – 1 มี.ค. 65

         มูลนิธิศักดิ์พรทรัพย์ จัด “โครงการอบรมครูคณิตศาสตร์ผู้สามารถจัดการเรียนรู้มุ่งสู่คณิตศาสตร์โอลิมปิก” โดย ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนเนื้อหาคณิตศาสตร์ขั้นสูงตามแนวทางโอลิมปิกวิชาการ เปิดรับสมัคร ตั้งแต่วันนี้ – 1 มี.ค. 65 ฟรี !! ไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น          โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อให้คุณครูสามารถจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในเนื้อหาที่แตกต่างจากโรงเรียนในรูปแบบออนไลน์ให้กับนักเรียนที่มีความถนัดหรือชอบคณิตศาสตร์ โดยตั้งเป้าครอบคลุมนักเรียนทุกระดับชั้น ตั้งแต่ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ผ่านการอบรมในระบบออนไลน์          เนื้อหาการอบรม ประกอบไปด้วย 5 หลักสูตร ได้แก่ – หลักสูตร H1 (6 ชั่วโมง) ตรรกศาสตร์ และการพิสูจน์ (Logic and proofs) – หลักสูตร H2 (6 ชั่วโมง) …

อบรมครูคณิตศาสตร์มุ่งสู่โอลิมปิกวิชาการ รับสมัคร วันนี้ – 1 มี.ค. 65 Read More »

10 ผลงานสุดเจ๋งฝีมือคนไทย สร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชน

         วธ.โชว์ 10 สุดยอดผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย ร่วมจัดแสดงในงาน “CCPOT GRAND EXPOSITION งานแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย” กว่า 5,๐๐๐ รายการ เน้นการต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมสู่การสร้างคุณค่าและมูลค่าทางสังคมและเศรษฐกิจ          นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า จากการที่กระทรวงวัฒนธรรม ได้จัดงาน “CCPOT GRAND EXPOSITION งานแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย” ณ  รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 และพาร์ค พารากอน ชั้น M ศูนย์การค้าสยามพารากอน กรุงเทพมหานคร เพื่อขับเคลื่อนตามนโยบาย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการส่งเสริม “Soft Power” ความเป็นไทยเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์  และเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ ช่วยเหลือชุมชนและผู้ประกอบการทางวัฒนธรรมที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19        …

10 ผลงานสุดเจ๋งฝีมือคนไทย สร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชน Read More »

มข. จับมือ CIMA เปิดหลักสูตรบัญชีอินเตอร์

         รศ.ดร.เพ็ญศรี เจริญวานิช คณบดีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่า คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ลงนามความร่วมมือกับ Chartered Institute of Management Accountants (CIMA) เพื่อกำหนดแนวทางร่วมกัน ในการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเรียนการสอน สนับสนุนให้นักศึกษาได้ร่วมกิจกรรมการอบรมหรือการสอบ เพื่อให้ได้ใบประกอบวิชาชีพที่ออก โดยองค์กร CIMA ตลอดจนร่วมกันดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาทักษะทางด้านธุรกิจและการบัญชีให้กับนักศึกษาในคณะ โดยได้รับเกียรติจาก รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานในพิธีฯ โดยมี Mr Venkkat Ramanan, FCMA, CGMA, Regional Vice President, Asia Pacific Ms GinnyLim, ACMA, CGMA, Senior Regional Manager, South East Asia และตน ร่วมลงนามในครั้งนี้ …

มข. จับมือ CIMA เปิดหลักสูตรบัญชีอินเตอร์ Read More »

ม.วลัยลักษณ์ จับมือ รพ.สิชล MOU ความร่วมมือทางการแพทย์

         มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ลงนามความร่วมมือ MOU กับ โรงพยาบาลสิชล จ.นครศรีฯ เพื่อประสานความร่วมมือด้านการแพทย์และสาธารณสุขอย่างครบวงจร พร้อมดูแลนักศึกษาแพทย์แลกเปลี่ยนชาวต่างชาติ               ศาสตราจารย์ ดร. สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ รักษาการแทน อธิการบดี ม.วลัยลักษณ์ (มวล.) ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ นายแพทย์อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิชล (รพ.สิชล) โดยมี นายแพทย์เอกรัฐ จันทร์วันเพ็ญ รองผู้อำนวยการ รพ.สิชล รองศาสตราจารย์ ดร. จรัญ บุญกาญจน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และรักษาการแทน คณบดีสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มวล. พร้อมด้วย คณะผู้บริหารและบุคลากรทางการแพทย์ทั้งสองสถาบันเข้าร่วมในพิธี ณ อาคารสหกิจศึกษา มวล.           …

ม.วลัยลักษณ์ จับมือ รพ.สิชล MOU ความร่วมมือทางการแพทย์ Read More »

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!