สถานีการศึกษา

อาชีวะ ติวเข้ม “รองผู้อำนวยการสถานศึกษา” ก่อนเข้าบริหารงานวิทยาลัย

ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นประธานในพิธีโครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในการพัฒนาสมรรถนะรองผู้อำนวยการสถานศึกษา ระหว่างวันที่ 18 – 23 เมษายน 2565 ณ โรงแรมภูสักธาร อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า การพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา ที่ได้รับการคัดเลือกซึ่งขึ้นบัญชีตามประกาศ คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 199 คน เป็นการเตรียมความพร้อมในหลาย ๆ ด้าน ให้แก่ผู้บริหารสถานศึกษาใหม่ เพื่อให้ได้มีการพัฒนาเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ เจตคติที่ดี คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพที่เหมาะสม เป็นผู้มีอุดมการณ์ วิสัยทัศน์ บุคลิกภาพ ความเป็นผู้นำ ผู้ใต้บังคับบัญชา และมีพฤติกรรมที่เหมาะสมกับการดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ซึ่งจะทำให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความก้าวหน้าแก่ราชการ โดยแบ่งเป็น 3 กิจกรรมหลัก ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 …

อาชีวะ ติวเข้ม “รองผู้อำนวยการสถานศึกษา” ก่อนเข้าบริหารงานวิทยาลัย Read More »

ม.เกษมบัณฑิต ผุดหลักสูตรปั้นบัณฑิตพันธ์ุใหม่ตอบโจทย์การพัฒนาคนสู่โลกแห่งอนาคต

            ดร.เสนีย์ สุวรรณดี รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เปิดเผยว่า จาการที่สังคมและโลกมีการเปลี่ยนแปลงและเกิดการแข่งขันในมิติต่างๆมากขึ้นตามลำดับจำเป็นอยู่เองที่สถาบันอุดมศึกษาจะต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับการพัฒนาและยกระดับทุนมนุษย์ภายใต้การจัดการศึกษาให้เหมาะและตอบโจทย์กับบริบทของปรากฎการณ์ทางสังคม และด้วยความสำคัญดังกล่าวมหาวิทยาลัย เกษมบัณฑิตจึงจับมือกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เร่งผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ที่มีสมรรถนะสูงตอบโจทย์ความต้องการภาคการผลิต ตามนโยบายรัฐบาล โดยเน้นหลักสูตร ระยะสั้น (Non-Degree) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับยกระดับทักษะความสามารถที่เชื่อมโยงกับโลกแห่งอนาคตสร้างโอกาสในความก้าวหน้าของอาชีพ ซึ่งผู้ที่จบหลักสูตรสามารถทำงานได้จริง ที่สำคัญหลักสูตรเหล่านี้จะเป็นสะพานเชื่อมในการพัฒนาและยกระดับทักษะการทำงานในอุตสาหกรรมสำหรับอนาคต และอยู่ในกระแสโลกยุคดิสรัปชั่น ดร.เสนีย์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับหลักสูตรที่น่าสนใจ ประกอบด้วย  หลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุเพื่อการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นหลักสูตรที่สอดคล้องกับกระแสสังคมผู้สูงอายุพร้อมที่จะเชื่อมโยงกับวัย นำไปสู่การพัฒนาทักษะให้กับมัคคุเทศก์อาชีพ บุคลากรในธุรกิจท่องเที่ยว รวมถึงบุคคลทั่วไปที่มีญาติผู้ใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่มีรสนิยมหรือชอบเดินทางท่องเที่ยว ให้มีทักษะในการดูแลผู้สูงอายุระหว่างการท่องเที่ยว รวมทั้งสามารถให้การพยาบาล ดูแลอาการเจ็บป่วยเฉพาะหน้าเบื้องต้นและพร้อมที่จะติดต่อสื่อสารกับแพทย์ได้ในระหว่างการเดินทาง อีกด้วย และในขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยยังสร้างหลักสูตรเทคโนโลยีการพัฒนาแอปพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน สำหรับผู้สนใจในด้านไอทียุค 4.0  เพื่อพัฒนาทักษะการออกแบบแอปพลิเคชั่นบนมือถือ สามารถนำความรู้และทักษะไปประกอบอาชีพทางด้าน application developer:ซึ่งจะเห็นได้ว่าในยุคดิจิทัลหรือในยุคข้อมูลข่าวสารอย่างปัจจุบันนั้นอาชีพนี้เป็นหนึ่งในอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการได้ พร้อมกันนั้นเพื่อให้ตอบโจทย์ของบัณฑิตจบใหม่ที่มีพื้นฐานด้านวิศวกรรมและต้องการเรียนรู้แบบเน้นปฏิบัติการเฉพาะทาง เพื่อให้มีทักษะทำงานได้จริงมหาวิทยาลัยก็ยังเสริมความแข็งแกร่งทางด้านวิศวกรรมเฉพาะให้กับผู้ที่สนใจอีกด้วย ซึ่งจากการมุ่งเน้นสำหรับการพัฒนาบัณฑิตหรือคนให้พร้อมกับสภาวการณ์ทางสังคในปัจจุบันจึงเชื่อมั่นว่าทั้ง 3 หลักสูตรที่ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมจะเป็นหนึ่งในการรังสรรค์นวัตกรรมใหม่สำหรับการขับเคลื่อนการพัฒนาสังคมและประเทศที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีและนโยบายของรัฐบาลได้อีกทางหนึ่งด้วยซึ่งผู้สนใจสามารถติดต่อลงทะเบียนเพื่อรับทุนการศึกษาผ่านช่องทางการสื่อสารหรือโชเชียลมีเดียของมหาวิทยาลัย หรือจะสแกนQR Code จากแบนเนอร์ประชาสัมพันธ์ก็ได้เช่นเดียวกัน

มรภ.สงขลา เปิดหลักสูตรใหม่ อินโดนีเซีย-มาเลเซียศึกษา เพื่องานระหว่างประเทศ

มรภ.สงขลา หารือความร่วมมือ สถานทูตอินโดนีเซีย ประจำประเทศไทย เดินหน้า หลักสูตรอินโดนีเซีย-มาเลเซียศึกษา เพื่องานระหว่างประเทศ หลักสูตรน้องใหม่คณะมนุษยศาสตร์ฯ เตรียมผนึกกำลังแลกเปลี่ยนนักศึกษา คณาจารย์ พร้อมจัดตั้งศูนย์อินโดนีเซียศึกษา ประสานงานด้านวิชาการและศิลปวัฒนธรรมร่วมกัน รศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) ผศ.นาถนเรศ อาคาสุวรรณ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพการศึกษา และ ดร.รัชชพงษ์ ชัชวาลย์ คณบดีคณมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณาจารย์ประจำหลักสูตรอินโดนีเซีย-มาเลเซีย เพื่องานระหว่างประเทศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ให้การต้อนรับ Mr.Sukmo Yuwono ท่านทูตจากสถานทูตอินโดนีเซีย ประจำประเทศไทย (Deputy Chief of Mission, Indonesian Embassy Bangkok) พร้อมด้วย Mrs.Nur Rokhmah Hidayah : Minister Counsellor, Information, Social and Cultural Affairs, Indonesian Embassy Bangkok. Prof.Dr.Achmad …

มรภ.สงขลา เปิดหลักสูตรใหม่ อินโดนีเซีย-มาเลเซียศึกษา เพื่องานระหว่างประเทศ Read More »

เครื่องตรวจจับความเร็วแบบเลเซอร์ ฝีมือคนไทย ราคาถูกกว่านำเข้า 5 เท่า

จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกในปี 2564 พบว่า ประเทศไทยยังคงเป็นประเทศที่มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุสูงเป็นอันดับ 9 ของโลก และสูงที่สุดเป็นอันดับ 1 ในทวีปเอเชีย และภูมิภาคอาเซียน คิดเป็นอัตราส่วน 32.1 รายต่อแสนประชากร ซึ่งส่งผลอย่างมากต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมต่อไปในระยะยาว เนื่องจากต้องสูญเสียบุคลากรที่เป็นแรงงานเพื่อพัฒนาประเทศ ทำให้เรื่องของอุบัติเหตุบนท้องถนนต้องมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้ามาร่วมรณรงค์และกวดขันกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับจราจร โดยเฉพาะความเร็วในการขับขี่ยานพาหนะ ที่ถือเป็นปัจจัยหลักของการสร้างวินัยด้านการจราจรของคนไทย อย่างไรก็ตาม เครื่องมือการตรวจจับความเร็วของยานพาหนะที่ใช้อยู่ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้ามาจากต่างประเทศ และมีราคาสูง ทำให้ “พ.ต.ท.ภูริตพัชร์ นันทสิทธิ์อังกูร” สารวัตรกลุ่มงานวิจัยประเมินผล 3 กองวิจัย สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พร้อมด้วยคณะ เริ่มต้น “โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องตรวจจับความเร็วของรถยนต์ด้วยแสงเลเซอร์” โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) เพื่อสร้างนวัตกรรมของคนไทยที่เป็นมาตรฐานสากลนำมาสู่การลดอัตราความสูญเสียลงได้ พ.ต.ท.ภูริตพัชร์ นันทสิทธิ์อังกูร เล่าถึงที่มาของโครงการวิจัยว่า มาจากกระแสข่าวของสื่อมวลชน ที่รายงานถึงการจัดซื้อจัดจ้างเครื่องตรวจวัดความเร็วของหน่วยงานราชการบางแห่งที่สูงมาก ประกอบกับ การใช้งานเครื่องตรวจวัดความเร็วของเจ้าหน้าที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ก็ต้องใช้เป็นประจำทั้งในส่วนของระดับนครบาลและภูมิภาค จึงได้ร่วมมือกับหน่วยงานทั้งในภาครัฐและเอกชน เสนอโครงการวิจัยชิ้นนี้ขึ้นมา เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้งานจริง ซึ่งได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากทุกฝ่าย โครงการวิจัยนี้เริ่มต้นจากการประกอบชิ้นส่วน มีตัวปล่อยรังสี หัววัดตรวจจับความเร็ว และจุดกำเนิดแสงเลเซอร์ …

เครื่องตรวจจับความเร็วแบบเลเซอร์ ฝีมือคนไทย ราคาถูกกว่านำเข้า 5 เท่า Read More »

รพ.ศูนย์การแพทย์ มวล. เตรียมเปิดหอผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 150 เตียง เริ่ม 15 เม.ย.นี้

โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เตรียมพร้อมเปิดให้บริการหอผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 150 เตียง รองรับผู้ป่วยโควิดที่อาจเพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เริ่ม 15 เมษายน 2565 เป็นต้นไป ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพ.อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว รักษาการแทน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (รพ.ศูนย์การแพทย์ มวล.) เปิดเผยว่า รพ.ศูนย์การแพทย์ มวล.​ เตรียมเปิดให้บริการหอผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 150 เตียง บริเวณชั้น 5 อาคาร B และ C ในวันที่ 15 เมษายน 2565 นี้ เพื่อรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยเน้นให้บริการผู้ป่วยกลุ่มสีเหลืองตามแนวทางการรักษาของกรมการแพทย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพ.อุดมศักดิ์ กล่าวต่อว่า​ รพ.ศูนย์การแพทย์ มวล.​ เริ่มเปิดให้บริการผู้ป่วยใน (IPD) เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา โดยในระยะแรกได้เปิดให้บริการผู้ป่วยโควิด-19 เฉพาะกลุ่มนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยในกลุ่มสีเขียว และการดูแลผู้ป่วยระบบ Home …

รพ.ศูนย์การแพทย์ มวล. เตรียมเปิดหอผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 150 เตียง เริ่ม 15 เม.ย.นี้ Read More »

จุฬาฯ วิจัย พบสาร THC ในเครื่องดื่มกัญชาเกินกำหนด เตือนผู้บริโภคระวัง จี้รัฐออกมาตรการควบคุม

หลังจากที่กัญชาและกัญชงถูกถอดออกจากบัญชียาเสพติด เปิดทางสู่การเป็นพืชเศรษฐกิจ ตลาดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกัญชาคึกคักและขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีทั้งชากัญชา กาแฟกัญชา ตลอดจนตู้ขายเครื่องดื่มอัตโนมัติที่จำหน่ายเครื่องดื่มที่มีกัญชาผสม ปัจจุบันกัญชาจึงกลายเป็นเครื่องดื่มที่เข้าถึงง่าย และกระจายสู่ผู้บริโภคทุกกลุ่ม ข้อมูลจากการประชุมวิชาการศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด (ศศก.) เพื่อการพัฒนาศักยภาพการวิจัย และนักวิชาการการเสพติด ครั้งที่ 9 ที่ผ่านมา เผยว่า คนไทยที่ใช้กัญชามีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเกือบเท่าตัว โดยผลสำรวจล่าสุด (ปี 2564) มีคนไทยอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่ใช้กัญชาจำนวนถึง 1.89 ล้านคน หรือคิดเป็น 4.3% เทียบกับผลสำรวจเมื่อปี 2563 ที่มีผู้ใช้กัญชาอยู่ที่ประมาณ 1 ล้านคน เทรนด์การบริโภคเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกัญชา ทำให้แพทย์และนักวิจัยด้านสารเสพติดหลายท่านรู้สึกกังวลถึงผลกระทบของสาร THC ในกัญชา ที่หากผู้บริโภคได้รับในปริมาณที่สูงและต่อเนื่อง ก็อาจจะส่งผลต่อพัฒนาการของสมอง เสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า จิตเภท หลอดเลือดหัวใจ และมะเร็งอัณฑะ เป็นต้น รองศาสตราจารย์ ดร.เกื้อการุณย์ ครูส่ง อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำร่องศึกษาวิจัยหาปริมาณสาร ∆9-THC หรือ delta9-tetrahydrocannabidol ในเครื่องดื่มกัญชาที่จำหน่ายในร้านขายเครื่องดื่มทั่วไป …

จุฬาฯ วิจัย พบสาร THC ในเครื่องดื่มกัญชาเกินกำหนด เตือนผู้บริโภคระวัง จี้รัฐออกมาตรการควบคุม Read More »

ทำความรู้จัก Home School คืออย่างไร เรียนแบบไหน ? (2)

วันนี้ Station Thai จะมาพูดคุยกันต่อถึงการเรียนการสอน แบบ Home School ว่ามีรูปแบบการจัดการเรียนการสอน หลักสูตร และการประเมินผล อย่างไรบ้าง การเรียนการสอน แบบ Home School เป็นการจัดการศึกษาโดยครอบครัว มีการจัดการเกี่ยวกับการเรียนการสอน อันได้แก่ รูปแบบการจัดการศึกษา หลักสูตร และการประเมินผล ดังนี้ 1. รูปแบบการจัดการศึกษา การจัดการศึกษาโดยครอบครัว ได้มีการจัดการศึกษาทั้ง 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งมีทั้งที่เป็นการจัดการศึกษารูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง หรือทั้งสามรูปแบบผสมผสานกัน ในสังคมส่วนใหญ่มีลักษณะผสมผสาน ค่อนไปในการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ทั้งนี้ เป็นไปตามรูปแบบการจัดการศึกษาที่แต่ละครอบครัวเลือก กล่าวคือ 1.1 ครอบครัวที่เลือกจัดการศึกษาแบบการศึกษาในระบบ จะมีการกำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาการศึกษา การวัดประเมินผลตามเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน 1.2 ครอบครัวที่เลือกจัดการศึกษาแบบนอกระบบ มีการกำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลา การวัดประเมินผล อย่างยืดหยุ่น …

ทำความรู้จัก Home School คืออย่างไร เรียนแบบไหน ? (2) Read More »

สภานโยบายฯ เคาะมาตรการยกเว้นภาษีสนับสนุนการวิจัย 300% ต่ออีก 5 ปี

รศ. ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) เปิดเผย ภายหลังเข้าร่วมการประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 1/2565 ณ ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล โดยมี นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน สรุปวาระสำคัญ คือ ที่ประชุมเห็นชอบให้ต่อเวลาและปรับปรุงมาตรการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม 300% ต่อไปอีก 5 ปี (2566-2570) หลังจากที่การสนับสนุนสิ้นสุดลงในปี 2562 ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2563-2564 มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะเอกชนยังคงคาดหมายว่า มาตรการดังกล่าวจะได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง เฉพาะในปี 2562 มีมูลค่าของโครงการที่ได้รับการรับรอง 1,855.35 ล้านบาท คิดเป็น 1.24% ของการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของภาคเอกชนทั้งหมด ซึ่งภาคเอกชนต้องยื่นขอการรับรองโครงการการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมจาก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 2 รูปแบบ คือ Pre-Approval ต้องได้รับการตรวจสอบและรับรองโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม และ …

สภานโยบายฯ เคาะมาตรการยกเว้นภาษีสนับสนุนการวิจัย 300% ต่ออีก 5 ปี Read More »

ศธ. ดึง ยูเนสโก ร่วมพัฒนาการศึกษาไทย

นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมคณะ ประกอบด้วย นายสุภัทร จำปาทอง ปลัด ศธ., นายวีระ แข็งกสิการ รองปลัด ศธ., นางสาวดุริยา อมตวิวัฒน์ ที่ปรึกษา สป.ศธ., นายปราโมทย์ ด้วงอิ่ม รองผู้แทนถาวรไทยประจำยูเนสโก และ นางสาวสุปราณี คำยวง ผู้เชี่ยวชาญสำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สป. ได้เข้าพบและหารือความร่วมมือกับนาง Stefania Giannini ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโก ด้านการศึกษา ที่ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส เมื่อเร็ว ๆ นี้ รมว.ศธ. ได้กล่าวถึงนโยบายสำคัญนโยบายหนึ่งที่รัฐบาลไทยได้ดำเนินการอย่างเต็มที่ในการนำเด็กตกหล่นที่หลุดออกจากระบบการศึกษาที่มีมากกว่า 2 แสนคน กลับเข้าเรียน โดยทุกหน่วยงานได้ช่วยกันทุกวิถีทาง สร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กเหล่านี้อย่างเท่าเทียม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง พร้อมทั้ง สร้างอนาคตที่ดีให้กับเด็กเพื่อแก้ปัญหาระยะยาวให้ประเทศ โดยในปีที่ผ่านมา ได้เร่งนำเด็กเข้าสู่ระบบการศึกษาได้ระดับหนึ่ง แต่ยังคงมีเด็กที่ยังหลุดจากระบบ และรอโอกาสในการเข้าเรียนอีกจำนวนหนึ่ง ทั้งนี้ นโยบายดังกล่าวได้ขยายผลไปยังนักเรียนอาชีวศึกษาด้วย โดยได้จัดให้มี โครงการอาชีวะ …

ศธ. ดึง ยูเนสโก ร่วมพัฒนาการศึกษาไทย Read More »

Home School คืออย่างไร เรียนแบบไหน มาไขข้อสงสัยกัน ? (1)

วันนี้ Station Thai จะมาพูดคุยกันเรื่อง Home School หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินเรื่องของ Home School กันมาบ้าง รู้แค่ว่า เขาเรียนกันที่บ้าน แต่จะเรียนแบบไหน เรียนอย่างไร ใครเรียนได้บ้าง ตามมาทำความรู้จักกันครับ นับตั้งแต่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ประกาศใช้ การจัดการศึกษาโดยครอบครัว เป็นสิทธิโดยถูกต้องตามมาตรา 12 ที่ให้ครอบครัวจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ เป็นทางเลือกของครอบครัว ที่ประสงค์จะจัดการศึกษาให้กับบุตรเอง หากไม่ประสงค์จะส่งลูกเข้าโรงเรียน โดยสภาพความเป็นจริงการจัดการศึกษาโดยครอบครัว ได้มีการดำเนินงานมาบ้างแล้ว ก่อนประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฯ แต่ยังมีจำนวนไม่มากนัก หลังจาก พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฯ ประกาศใช้ การดำเนินงานในเรื่องนี้ได้มีการศึกษาองค์ความรู้จากต่างประเทศ เพื่อนำไปสู่การดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมสอดคล้องกับประเทศไทย พร้อมทั้งได้มีครอบครัวที่ตัดสินใจดำเนินการจัดการศึกษาให้ลูก ตามสิทธิที่ครอบครัวได้รับโดยถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฯ มาตรา 12 สิทธิการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัวนี้ จะต้องเป็นไปตามกฎกระทรวง ว่าด้วยสิทธิการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยครอบครัวอยู่ระหว่างดำเนินการ โดยกระทรวงศึกษาธิการ ความหมายของการศึกษาโดยครอบครัว หมายถึง การศึกษาขั้นพื้นฐานที่ครอบครัวจัดขึ้น โดยสิทธิคุ้มครองตามกฎหมาย ซึ่งมีรูปแบบการจัดการศึกษาแบบใดแบบหนึ่งหรือทั้งสามรูปแบบ ของการศึกษาในระบบ …

Home School คืออย่างไร เรียนแบบไหน มาไขข้อสงสัยกัน ? (1) Read More »

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!