สถานีการศึกษา

ประกวดนวนิยาย รางวัลชมนาด Chommanard Book Prize (Novel) ครั้งที่ 13 ชิงเงินรางวัลพร้อมค่าลิขสิทธิ์ในการจัดพิมพ์ รวมมูลค่ากว่า 200,000 บาท ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดได้ถึง 30 เม.ย. นี้

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ บริษัท สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น จำกัด ขอเชิญนักเขียนสตรีไทย ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดรางวัลชมนาด ประเภทนวนิยาย : Chommanard Book Prize (Novel) ครั้งที่ 13 ชิงเงินรางวัล พร้อมค่าลิขสิทธิ์ในการจัดพิมพ์ รวมมูลค่ากว่า 200,000 บาท โครงการ Chommanard Book Prize ครั้งที่ 13 (Novel) หลักการและเหตุผล รางวัลชมนาด (Chommanard Book Prize) คือ รางวัลแห่งความสำเร็จของสตรีที่มีใจรักในงานประพันธ์ เป็นโครงการที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง จนก้าวเข้าสู่ครั้งที่ 13 ในปีนี้ ตลอดหลายปีที่ผ่านมา โครงการรางวัลชมนาดได้ส่งเสริมนักเขียนทั้งมืออาชีพและมือใหม่ ซึ่งแต่ละท่านได้ฝากผลงานคุณภาพที่สร้างสรรค์จากมุมมองของผู้หญิง ในรูปแบบสารคดี (Non-Fiction) ที่ประพันธ์จากชีวิตจริง และถูกนำมาตีพิมพ์เพื่อเผยแพร่สู่สายตานักอ่านทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ ฉันคือเอรี่ กับประสบการณ์ข้ามแดน, พฤกษามาตา, ก่อนสิ้นรุ่งอรุณแห่งฝัน, เขาตราหน้าว่าหมอฆ่าคน และ ขังหญิง …

ประกวดนวนิยาย รางวัลชมนาด Chommanard Book Prize (Novel) ครั้งที่ 13 ชิงเงินรางวัลพร้อมค่าลิขสิทธิ์ในการจัดพิมพ์ รวมมูลค่ากว่า 200,000 บาท ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดได้ถึง 30 เม.ย. นี้ Read More »

เปิดตัว “กดปุ่ม” อุปกรณ์เพิ่มประสิทธิภาพบริการรถพยาบาลเชิงกลไก ไม่ง้อแอปฯ ผลงานนักศึกษา ปี 2 FIBO

การจะทำให้รถพยาบาลฉุกเฉินสามารถนำส่งผู้ป่วยหรือผู้ประสบอุบัติเหตุไปถึงสถานพยาบาลได้เร็วที่สุด โดยเฉพาะกับสถานพยาบาลที่มีเครือข่ายโรงพยาบาลหลาย ๆ แห่ง และมีจุดให้บริการรถพยาบาลกระจายในหลายพื้นที่ จำเป็นต้องมีการนำข้อมูลการปฏิบัติงานของรถพยาบาลที่เกิดขึ้นทั้งในอดีตและปัจจุบัน มาวิเคราะห์เพื่อกำหนดพื้นที่ให้บริการของรถพยาบาลแต่ละจุดให้ครอบคลุม และมีประสิทธิภาพ นี่จึงเป็นที่มาของ “Kod Poum” หรือ “กดปุ่ม” นวัตกรรมส่งสถานะและเก็บข้อมูลของรถพยาบาลฉุกเฉิน ผลงานของทีมนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) จำนวน 4 คน คือ ธฤต นามนิราศภัย, พรวลัย เฉลิมวัฒนไตร, อสมา ว่านกระ และ อิทธิกฤต กฤตเจริญนนท์ โดยมี ดร.อาบทิพย์ ธีรวงศ์กิจ และ ดร.บุญฑริกา เกษมสันติธรรม เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ธฤต กล่าวว่า จากการที่ได้ไปพูดคุยเก็บข้อมูลกับบุคลากร ของ ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) ในส่วนของการให้บริการรถพยาบาลที่จะนำผู้ประสบอุบัติเหตุหรือผู้ป่วยไปส่งยังโรงพยาบาลเครือข่ายของศูนย์ฯทั้ง 12 แห่งทั่วกรุงเทพฯ นั้น พบว่า มีการกำหนดให้มีการส่งข้อมูลต่าง ๆ ขณะปฏิบัติงานของรถพยาบาล ทั้ง …

เปิดตัว “กดปุ่ม” อุปกรณ์เพิ่มประสิทธิภาพบริการรถพยาบาลเชิงกลไก ไม่ง้อแอปฯ ผลงานนักศึกษา ปี 2 FIBO Read More »

สอศ. จัดประกวดสิ่งประดิษฐ์คนรุ่นใหม่ 2567 เริ่มแล้ว…ที่ภาคเหนือ พุ่งเป้า นักศึกษาคิดได้ ขายเป็น เรียนดี มีความสุข ต่อยอดธุรกิจในอนาคต

นายประพัทธ์ รัตนอรุณ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นประธานพิธีเปิดการประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ ระดับภาค (ภาคเหนือ) ประจำปีการศึกษา 2566 ซึ่งจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 9 – 11 มกราคม 2567 ณ ข่วงวัฒนธรรมจังหวัดน่าน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายประพัทธ์ รัตนอรุณ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จัดการประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ ระดับภาค 5 ภาค ประจำปีการศึกษา 2566 ซึ่งในครั้งนึ้ จัดขึ้นที่ภาคเหนือ ตามนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ “เรียนดีมีความสุข” มุ่งหวังให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยได้รับการพัฒนาทุกมิติ พัฒนาผู้เรียนไปสู่เป้าหมายของการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ โดยคำนึงถึง ชาติ ศาสนา ศิลปะ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม กีฬา ความปลอดภัย ความมีโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา รวมทั้งมีสมรรถนะที่สำคัญจำเป็นสำหรับโลกยุคใหม่ รองเลขาธิการ กอศ. กล่าวต่อว่า การประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ …

สอศ. จัดประกวดสิ่งประดิษฐ์คนรุ่นใหม่ 2567 เริ่มแล้ว…ที่ภาคเหนือ พุ่งเป้า นักศึกษาคิดได้ ขายเป็น เรียนดี มีความสุข ต่อยอดธุรกิจในอนาคต Read More »

จุฬาฯ พัฒนา “นวัตกรรมเพื่อยกระดับความมั่นคงทางอาชีพและรายได้ ให้กับแรงงานนอกระบบที่เป็นผู้สูงอายุสำรองและสูงอายุ” ผลงานวิจัยระดับดี สาขาสังคมวิทยา จาก วช.

“นวัตกรรมเพื่อยกระดับความมั่นคงทางอาชีพและรายได้ให้กับแรงงานนอกระบบที่เป็นผู้สูงอายุสำรองและสูงอายุ โดยการส่งเสริมเศรษฐกิจสมานฉันท์ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล” ผลงาน ของ รศ.ดร.รัตติยา ภูละออ วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาฯ หัวหน้าโครงการวิจัยร่วมกับ สถาบันเอเชีย และคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งได้รับรางวัลผลงานวิจัยระดับดี (สาขาสังคมวิทยา) ประจำปี 2567 จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นผลงานวิจัยที่มีความโดดเด่นเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้สูงอายุในปัจจุบัน และผู้ที่กำลังเข้าสู่วัยสูงอายุที่ทำงานนอกระบบ ให้สามารถใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลในการหารายได้เพิ่มเติมสำหรับผู้ที่ยังต้องการทำงานและหารายได้ . . รศ.ดร.รัตติยา ภูละออ เผยถึงวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ว่า เพื่อวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาทักษะความเข้าใจการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการสร้างอาชีพและรายได้ให้กับผู้สูงอายุสำรองและผู้สูงอายุ รวมถึงการสร้างนวัตกรรมส่งเสริมการเข้าถึงแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยเน้นการมีส่วนร่วมและเสริมสร้างเศรษฐกิจสมานฉันท์ ตลอดจนวิเคราะห์ข้อเสนอแนะแนวทางและนโยบายที่สามารถส่งเสริมการทำงานของผู้สูงอายุผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล . กระบวนการทำงานวิจัยเป็นการวิเคราะห์และสังเคราะห์สภาพปัจจุบัน ทบทวนสถานการณ์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จากการสำรวจเอกสารแล้ว จึงใช้วิธีการวิจัยแบบผสมเชิงคู่ขนาน โดยการวิเคราะห์เชิงปริมาณกับผู้สูงอายุสำรองและผู้สูงอายุจำนวน 1,605 คน ในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดปัดตานี และการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์และจัดระดมความเห็น จากนั้น นำมาออกแบบ สร้าง ประเมิน และทำการทดลองใช้นวัตกรรมต้นแบบ ตามผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณและคุณภาพ แล้วจึงปรับปรุงนวัตกรรมระหว่างการใช้งาน สุดท้ายจึงทำการวิเคราะห์ข้อเสนอแนะ เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล และสังเคราะห์แนวทางต่อยอดการนำไปใช้ ทั้งเชิงวิชาการ …

จุฬาฯ พัฒนา “นวัตกรรมเพื่อยกระดับความมั่นคงทางอาชีพและรายได้ ให้กับแรงงานนอกระบบที่เป็นผู้สูงอายุสำรองและสูงอายุ” ผลงานวิจัยระดับดี สาขาสังคมวิทยา จาก วช. Read More »

วธ. เปิดสนามเด็กเล่นวัฒนธรรมไทย หนุนพลังสร้างสรรค์ ต้อนรับวันเด็กแห่งชาติ ปี 2567 ทั่วประเทศ

วธ. เปิดสนามเด็กเล่นวัฒนธรรมไทย ต้อนรับวันเด็กแห่งชาติ ปี 2567 ทั่วประเทศ แวะทำเนียบพบปะนายก ชมคอสเพลย์ ฟังดนตรี การแสดงศิลปวัฒนธรรม พิเศษเปิดฉายภาพยนตร์-พิพิธภัณฑ์เคลื่อนที่ เล่นสีทีแปรงที่หอศิลป์ร่วมสมัยฯ ส่งเสริมการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมไทย สร้างสรรค์ Soft Power ผ่านเกมมากมาย นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2567 กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) และ หน่วยงานในสังกัด ได้ร่วมจัดงานกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2567 ที่ให้สาระ ความรู้ ความบันเทิง ด้วยมิติวัฒนธรรมแก่เด็กและเยาวชน ในวันเสาร์ที่ 13 มกราคม 2567 โดยร่วมกับภาครัฐและเอกชน ดังต่อไปนี้ ที่ทำเนียบรัฐบาล วธ. ร่วมจัดกิจกรรมการเล่นเกมเชิงสร้างสรรค์ การแสดงสวมบทบาทตัวละครจากเกม (คอสเพลย์) การแสดงวงดุริยางค์เครื่องลมเยาวชนไทย (TYW) การแสดงคณะนักร้องประสานเสียงเยาวชนไทย (TYC) กิจกรรมการสาธิตมารยาทไทย การแสดงหุ่นละครเล็กโจหลุยส์ การมอบรางวัลวัฒนธรรมวินิต กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ จัดฉายการ์ตูนคุณธรรม …

วธ. เปิดสนามเด็กเล่นวัฒนธรรมไทย หนุนพลังสร้างสรรค์ ต้อนรับวันเด็กแห่งชาติ ปี 2567 ทั่วประเทศ Read More »

ม.มหิดล เชิญชวนน้อง ๆ นักเรียน นักศึกษา ประชันไอเดียส่งผลงานเข้าร่วมประกวด ในโครงการ MU (x) Gamification Hackathon หัวข้อ Improving MUx Learning Engagement Via Gamification ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 100,000 บาท

มหาวิทยาลัยมหิดล กำหนดแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2563-2566) ไว้ 4 ด้าน โดยยุทธศาสตร์ที่ 2 Innovation Education and Authentic Learning การส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งแก่ผู้สอนและผู้เรียน โดยเป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งหวังให้เกิด Innovation Pedagogy และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง สร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน เพื่อให้สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มความสามารถ ทั้งนี้ จากยุทธศาสตร์ดังกล่าว เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ที่ทันสมัย และเป็นแนวทางในการสร้างนวัตกรรมสนับสนุนการจัดการเรียนการสอยในรูปแบบออนไลน์ให้กับผู้สอนและผู้เรียน ในปัจจุบัน ระบบการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ (E-learning) ได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากเป็นการเรียนรู้ที่สะดวก ผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้ง่าย แต่การเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์ยังมีข้อจำกัด เช่น อัตราการมีส่วนร่วมของผู้เรียนที่ค่อนข้างต่ำ การเรียนรู้แบบ E-learning จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และดึงดูดผู้เรียนมากยิ่งขึ้น ซึ่ง Gamification เป็นการนำแนวคิดของเกมมาประยุกต์ใช้กับงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจและกระตุ้นการเรียนรู้ การนำ Gamification มาพัฒนาร่วมกับระบบ E-learning นั้น จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนมากขึ้น รวมถึงสร้างเสริมประสิทธิภาพและความสนุกสนานในการเรียนออนไลน์ ในการนี้ งานเทคโนโลยีการศึกษา กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล จึงจัดโครงการประกวดแนวคิดเพื่อพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของมหาวิทยาลัยมหิดล …

ม.มหิดล เชิญชวนน้อง ๆ นักเรียน นักศึกษา ประชันไอเดียส่งผลงานเข้าร่วมประกวด ในโครงการ MU (x) Gamification Hackathon หัวข้อ Improving MUx Learning Engagement Via Gamification ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 100,000 บาท Read More »

เตรียมรับมือ “ปรากฏการณ์เอลนีโญ” คาด ปี 2567 ไทยแห้งแล้งหนัก

ที่ผ่านมา ข่าวพยากรณ์อากาศที่มีการเตือนให้เฝ้าระวังและเตรียมรับมือกับ “ปรากฏการณ์เอลนีโญ” ที่ในตอนนี้ได้ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยและอีกหลายประเทศทั่วโลก โดยคาดการณ์ว่าในปี 2567 จะมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ก่อให้เกิด “ภาวะแห้งแล้ง ปริมาณน้ำฝนต่ำ และอุณหภูมิอากาศสูงขึ้นกว่าปกติ” หลายภาคส่วนต้องเตรียมรับมืออย่างใกล้ชิด อาทิ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การอุปโภคบริโภค การท่องเที่ยว เป็นต้น เอลนีโญ (El Nino) เกิดเมื่อลมค้าบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกอ่อนกำลังลง ทำให้น้ำอุ่นบริเวณผิวหน้ามหาสมุทรพัดมายังชายฝั่งด้านทิศตะวันตกได้น้อยลง ดังนั้น น้ำผิวหน้ามหาสมุทรบริเวณนี้ จึงมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ ส่งผลให้ประเทศไทยรวมถึงบริเวณพื้นที่ชายฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเกิดภาวะแห้งแล้งหนัก มีฝนตกน้อยกว่าปกติ อาจเกิดไฟป่า หรือ ภัยพิบัติอื่น ๆ ตามมา ในขณะเดียวกัน พื้นที่ชายฝั่งด้านทิศตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก น้ำบริเวณผิวหน้ามหาสมุทรมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ เป็นผลให้บริเวณพื้นที่ชายฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกต้องเจอกับฝนตกหนัก และน้ำท่วมอย่างรุนแรง แต่เมื่อการหมุนเวียนของอากาศ และการหมุนเวียนของน้ำผิวหน้ามหาสมุทรแปซิฟิกเปลี่ยนแปลงไป ปรากฏการณ์เอลนีโญดังกล่าว ก็อาจเกิดการสลับขั้วกลายเป็นปรากฏการณ์ “ลานีญา” (La Nina) ขึ้นได้ ส่งผลให้ประเทศไทยรวมถึงพื้นที่ชายฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเกิดฝนตก และน้ำท่วมอย่างหนัก ส่วนพื้นที่ชายฝั่งทางด้านทิศตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกเกิดความแห้งแล้ง เนื่องจากฝนน้อยแทน ปรากฏการณ์ เอลนีโญ และ ลานีญา ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมโดยรอบมหาสมุทรแปซิฟิก …

เตรียมรับมือ “ปรากฏการณ์เอลนีโญ” คาด ปี 2567 ไทยแห้งแล้งหนัก Read More »

สสวท. ประกาศ 100 ทุน ระดับปริญญาโท โครงการ สควค. ระยะที่ 4 ประเภท 2 ประจำปีการศึกษา 2567 เปิดรับสมัคร 10 ม.ค. ถึง 21 ก.พ. 67

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เปิดรับสมัครคัดเลือกผู้รับทุนโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) ระยะที่ 4 ประเภท 2 ระดับปริญญาโท ประจำปีการศึกษา 2567 โดยมีรายละเอียดดังนี้ ข้อผูกพันทุน 1. ต้องศึกษาระดับปริญญาโท ในสาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา คณิตศาสตร์ศึกษา หรือ คอมพิวเตอร์ศึกษา ของ คณะศึกษาศาสตร์หรือครุศาสตร์ ตามที่อนุกรรมการบริหารการผลิตครูในโครงการ สควค. กำหนด 2. เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ต้องบรรจุเข้าปฏิบัติงานชดใช้ทุนในสถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งสำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดทำแผนอัตรากำลังไว้ หรือ สถานศึกษาที่คณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาวิชาชีพครูในโครงการ สควค. หรือ คณะกรรมการกำหนดนโยบายผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เห็นชอบกำหนดให้เป็นสถานที่ปฏิบัติงานเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 เท่าของระยะเวลาที่ได้รับทุนการศึกษา 3. กรณีผู้รับทุนกระทำผิดเงื่อนไขสัญญาการให้ทุนการศึกษา หรือ ขอลาออกจากทุนขณะศึกษา หรือเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วไม่เข้าปฏิบัติงานในสถานศึกษาที่กำหนด ตามข้อ 2 หรือ ลาออก หรือถูกลงโทษให้ออก หรือย้ายไปปฏิบัติงานในสถานศึกษาอื่นก่อนครบกำหนดระยะเวลาที่ต้องชดใช้ทุนการศึกษา ผู้รับทุนต้องชดใช้เงินทุนการศึกษาคืนเป็นจำนวน 2 เท่าของเงินทุนและหรือเงินอื่นใดที่ได้รับจากผู้ให้ทุน คุณสมบัติผู้สมัคร …

สสวท. ประกาศ 100 ทุน ระดับปริญญาโท โครงการ สควค. ระยะที่ 4 ประเภท 2 ประจำปีการศึกษา 2567 เปิดรับสมัคร 10 ม.ค. ถึง 21 ก.พ. 67 Read More »

“เมฆ หมอก น้ำค้าง เกิดขึ้นได้อย่างไร” สสวท. ไขข้อข้องใจด้วยสื่อการเรียนรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ชวนสร้างความเข้าใจให้ชั้นเรียนกับสื่อการเรียนรู้วิดีทัศน์ตัวอย่างการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ “เมฆ หมอก น้ำค้าง เกิดขึ้นได้อย่างไร” เพื่อช่วยจัดการเรียนการสอนของคุณครูประถมศึกษา ส่งเสริมการคิด พร้อมตัวอย่างการจัดกิจกรรม โดยสร้างแบบจำลอง และอธิบายการเกิด เมฆ หมอก น้ำค้าง เพิ่มความเข้าใจให้ผู้เรียน คุณครูใช้เตรียมการสอนได้สะดวก ใช้งานฟรีได้ที่ คลังความรู้ SciMath สสวท. https://www.scimath.org/video-science/item/9465-2018-11-21-03-45-05

รัฐบาลญี่ปุ่น มอบทุนฝึกอบรมวิชาชีพครู (Teacher Training Students) ประจำปี 2567 ผู้สนใจยื่นใบสมัครขอรับทุนได้ ถึง 1 ก.พ. 67

ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น ประจำปี 2567 ประเภทฝึกอบรมวิชาชีพครู (Teacher Training Students) ทุนนี้เปิดสำหรับครูประจำที่สอนอยู่ในโรงเรียนประถมศึกษา หรือ มัธยมศึกษา ที่มีประสบการณ์สอนอย่างน้อย 5 ปี อายุไม่เกิน 35 ปี (ในวันที่ 1 เมษายน 2567) และต้องการไปศึกษาวิจัยด้านการสอนที่ประเทศญี่ปุ่น ระยะเวลารับทุน 1 ปี 6 เดือน (รวมเรียนภาษาญี่ปุ่น) ผู้สนใจสมัครรับทุนการศึกษาดังกล่าว กรุณาศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขทุน รวมทั้งกำหนดการและข้อมูลการรับสมัครในประเทศไทย ในเอกสาร ANNEX ประกอบกับ Application Guidelines อย่างละเอียด หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการยื่นเอกสารสมัคร สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มความร่วมมือทวิภาคี สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ โทร. 02-281-6370 ต่อ 118 ในจันทร์-ศุกร์ ระหว่างเวลา 9.00 – 12.00 น. และ 13.00 – 16.30 …

รัฐบาลญี่ปุ่น มอบทุนฝึกอบรมวิชาชีพครู (Teacher Training Students) ประจำปี 2567 ผู้สนใจยื่นใบสมัครขอรับทุนได้ ถึง 1 ก.พ. 67 Read More »

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!