ตอนที่ 20 : จดหมายโอลิมปิก ฉบับที่สิบสอง : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

จดหมายโอลิมปิก ฉบับที่สิบสอง: ธีโอดอร์ รูซเวลต์

            งานเขียนชิ้นนี้ของคูเบอร์แต็งเป็นคำไว้อาลัยส่วนตัวแก่อดีตประธานาธิบดี  ธีโอดอร์ รูซเวลต์ แห่งสหรัฐอเมริกา ผู้มีความสัมพันธ์ทั้งด้านส่วนตัวและด้านวิชาการที่แนบแน่นกับคูเบอร์แต็งมาก โดยรูซเวลต์มีความเกี่ยวเนื่องกับยุทธศาสตร์โอลิมปิกไม่เพียงในฐานะประธานกิตติมศักดิ์ของโอลิมปิกเกมส์ที่เมืองเซนต์หลุยส์ ค..1904 แต่คูเบอร์แต็งยังได้เชิดชูท่านให้เป็นบุคคลแห่งศตวรรษที่ยี่สิบด้านการพัฒนารอบด้านและแบบฉบับความเป็นนักกีฬาของโอลิมปิกด้วย โดยทั้งสองท่านได้ติดต่อสื่อสารกันฉันมิตรและคูเบอร์แต็งได้แสดงความชื่นชมแก่รูซเวลต์โดยการอุทิศส่วนแรกของหนังสือไตรภาค “Education des adolescents au XXs siecle: La Gymnastique utilitaire” แก่ท่าน ในจดหมายฉบับที่สิบสองนี้ คูเบอร์แต็งได้อ้างถึงอัตชีวประวัติที่รูซเวลต์ได้มอบให้แก่สภาโอลิมปิก ค..1913

            วีรบุรุษที่เพิ่งถึงแก่อสัญกรรมด้วยความเคารพจากนานาชาติที่หลุมฝังศพ ยังคงเป็นผู้อุทิศตนแก่การกีฬาตราบจนวาระสุดท้ายของบุรุษชน แต่สิ่งที่ตรงข้ามกับความคิดเห็นทั่วไปคือ แบบอย่างของ ธีโอดอร์ รูซเวลต์ ไม่ได้มาจากสายเลือดหรืออารมณ์ความรู้สึก จงอ่านทบทวนเอกสารที่ท่านส่งถึงที่ประชุมสภาของจิตวิทยาการกีฬาที่จัดขึ้น ณ ที่แห่งนี้เมื่อ ค.ศ.1913 ซึ่งมีเนื้อหาขนาดยาวที่ประกอบไปด้วยผลงานและการอภิปรายของสภาแห่งนี้และท่านจะพบว่า รูซเวลต์ไม่เหมือนกับบุรุษที่ได้รับการประชาสัมพันธ์ผ่านรูปภาพและคำพรรณนาอย่างสิ้นเชิง ชายผู้ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพลังอำนาจทุกรูปแบบในปัจจุบันนั้น คือ วัยรุ่นขี้อายและอ่อนไหวซึ่งดูราวประหนึ่งขี้โรค ไม่กล้าตัดสินใจและทรหดอดทน จึงช่างเป็นเรื่องราวของเหตุการณ์ระหว่างการเดินทางที่ความอ่อนแอของเขาได้ปรากฎแก่ตนเองจากการไม่สามารถที่จะต่อสู้กับความเย้ยหยันและผลการแก้ไขอย่างตั้งใจที่หล่อหลอมตนเองให้เข้มแข็งได้ต่อกรกับความหลากหลายของชีวิต ปฏิบัติการนี้เริ่มต้นจากภายในสนามมวยขนาดย่อมและไปสิ้นสุด ณ ทุ่งหญ้าฟาร์เวสต์ที่เขาต้องการมีส่วนร่วมกับความเหนื่อยล้าและอันตรายของคนเลี้ยงวัว หนังสือชีวประวัติชอบที่จะบรรยายวีรบุรุษแห่งทุ่งหญ้าที่รายล้อมด้วย “คนขี่ม้าบึกบึน” ซึ่งกลายเป็นมิตรสหายในยามสงครามของเขา สิ่งที่คนทั่วไปไม่ใคร่จะรู้คือ หลังจากการเล่นกีฬาขี่ม้าอย่างหนักหน่วงตลอดวันนั้น รูซเวลต์จะจมดิ่งอยู่กับการอ่านหนังสือคลาสิกที่จะขัดเกลาจิตใจหลังการฝึกฝนกล้ามเนื้อ โดยเหตุนี้ เมื่อปรากฏการณ์ในอาชีพการเมืองได้นำท่านสู่แนวหน้าของโลก จึงยังความตื่นตะลึงที่ได้พบเห็นบูรณาการขององค์ประกอบความเข้มแข็งของร่างกายและจิตใจที่ไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อน มีการกล่าวถึงความประหลาดของประมุขรัฐที่มีภารกิจรัดตัวจะใช้เวลาพักผ่อนด้วยการขี่ม้าทุกวันและการเล่นมวยปล้ำ ต้องใช้เวลานานหลายปีกว่าจะทราบว่า คนประหลาดนี้คือนักปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่ จากนั้น ผู้คนก็เริ่มที่จะฟังความคิดเห็นของท่านมากขึ้น

            อันที่จริงแล้ว หากคำจารึกบนป้ายหลุมศพจะต้องการข้อความที่กระชับและสมบูรณ์แล้ว ข้าพเจ้าขอเสนอแก่มิตรสหายในภารกิจของพวกเราที่เคารพยิ่งด้วยถ้อยคำที่ใช้เป็นคำขวัญของสถาบันโอลิมปิกโลซานน์กล่าวคือ “Mens fervida in corpore lacertoso” (จิตแกล้วกล้าในกายเคี่ยวเข็ญ) และนี่คงเป็นคำไว้อาลัยที่ รูซเวลต์ จะชื่นชอบเหนือสิ่งอื่นใด

RANDOM

error: Content is protected !!