สสส. ชวนคนไทยร่วมสร้างวินัยจราจร ปลูกฝังวัฒนธรรมขับขี่ปลอดภัยแก่เด็กและเยาวชน ผ่านโครงการขับขี่ศึกษา (Safe Education) “ร่วมสร้างอนาคต…ถนนปลอดภัย สังคมปลอดภัย”

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

สสส. ชวนคนไทย ร่วมสร้างวินัยการจราจร เดินหน้าปลูกฝังวัฒนธรรมขับขี่ปลอดภัยแก่เด็กและเยาวชน ผ่านโครงการขับขี่ศึกษา (Safe Education) “ร่วมสร้างอนาคต…ถนนปลอดภัย สังคมปลอดภัย” สนับสนุนเป้าหมายชาติ ลดการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุให้เหลือ 12 คนต่อแสนประชากร ในปี 2570

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. มีความตั้งใจมุ่งสร้างความตระหนักรู้ ปลูกฝังวัฒนธรรมขับขี่ปลอดภัย สร้างความปลอดภัยทางถนน รวมถึงการสร้างวินัยการขับขี่ การใช้รถใช้ถนนให้ปลอดภัย ให้กับประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มเด็กและเยาวชน ซึ่งจากสถิติการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในแต่ละปี กว่า 17,000 ราย พบว่า ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชน และมาจากการขับขี่รถจักรยานยนต์สูงที่สุด

เพื่อให้ทุกคนเข้าใจและตระหนักถึงความปลอดภัยทางถนน สสส.จึงนำเรื่องความรอบรู้ด้านสุขภาพ หรือ Health Literacy เข้ามาช่วยสร้างความตระหนักรู้ภัยจากอุบัติเหตุที่ส่งผลต่อ GDP ของประเทศ ต่อสังคม หน่วยงาน ตนเอง และคนในครอบครัว รวมถึงยังเป็นการสร้างให้ทุกคนมีทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่มีอายุ 15-19 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มที่เกิดอุบัติเหตุทางถนนสูงสุด และทุกกลุ่มเป้าหมาย ภายใต้หลักการ Road Safety Health Vitality ผ่านโครงการขับขี่ศึกษา (Safe Education) “ร่วมสร้างอนาคต…ถนนปลอดภัย สังคมปลอดภัย” ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการส่งเสริมวัฒนธรรมจราจรปลอดภัย ประกอบด้วย หลักการสำคัญ 4 ข้อ ได้แก่ 1. สื่อสารรณรงค์ให้คนเข้าใจ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 2. ประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐและเอกชน 3. สร้างการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง และ 4. พัฒนาช่องทางการสื่อสารในทุกแพลตฟอร์มให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

หากทุกคนในสังคมสามารถเข้าถึงและเข้าใจข้อมูลในบริบทเรื่องสุขภาพ และนำไปสู่ความรอบรู้ทางสุขภาพด้านความปลอดภัยทางถนน พร้อมกับทุกคนตระหนักถึงความรุนแรงของอุบัติเหตุทางถนนที่อาจจะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ผู้ขับขี่รถ ผู้ใช้รถขนส่งสาธารณะ หรือ คนเดินเท้า ก็จะสามารถช่วยลดอุบัติเหตุ และช่วยให้ทุกคนสามารถใช้เส้นทางจราจรร่วมกันได้อย่างปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ เรายังได้วางเป้าหมายการทำงานที่มุ่งสนับสนุนแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน ฉบับที่ 5 เพื่อลดความสูญเสีย ลดการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของคนไทยให้เหลือ 12 คน ต่อแสนประชากร ในปี 2570 และลดการสูญเสียจากอุบัติเหตุในกลุ่มผู้ใช้รถจักรยานยนต์ รวมถึงกลุ่มเยาวชนที่เป็นเป้าหมายสำคัญ และเพื่อให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จ ยังมีการดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายภาคีที่เกี่ยวข้อง ผ่านโครงการขับขี่ศึกษา (Safe Education) เพื่อสื่อสารรอบด้านอย่างครอบคลุมไปสู่ทุกกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ถนน และมุ่งหวังให้เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสร้างวัฒนธรรมขับขี่ปลอดภัย อันจะนำไปสู่การลดอุบัติเหตุต่อไป

ศ.ดร.กัณวีร์ กนิษฐ์พงศ์ ผู้จัดการศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย สถาบันเทคโนโลยีเอเชีย กล่าวเพิ่มเติมว่า จากรายงานขององค์การอนามัยโลก ปี 2558 พบว่า จำนวนผู้เสียชีวิตทางถนนทั้งโลกคิดเป็น 93% โดยมาจากประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง สถิติล่าสุดจำนวนผู้เสียชีวิตทางถนนของไทย อยู่อันดับที่ 9 ของโลก มีจำนวนผู้เสียชีวิตทางถนนเฉลี่ย 32.7 คน ต่อแสนประชากร และถือเป็นสถิติที่สูงในอาเซียนอีกด้วย 75% เป็นกลุ่มผู้ใช้รถจักรยานยนต์ นอกจากการให้ความรู้ สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องทำควบคู่กันไป คือ การมีวินัยในการขับขี่ ใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวัง เช่น สวมหมวกกันน็อก และคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ใช้ความเร็วสูง หรือ เกินกำหนด เป็นต้น สำหรับประเทศไทยเสนอให้มีการสอนทฤษฎีการคาดการณ์อุบัติเหตุในผู้ขับขี่ คือ 1. คาดการณ์เป็น 2. ประเมินสถานการณ์เป็น 3. ตัดสินใจเป็น และ 4.ควบคุมรถเป็น เพิ่มในการสอบใบขับขี่ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนมากยิ่งขึ้น

โครงการขับขี่ศึกษา เกิดขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักรู้ และเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพด้านความปลอดภัยทางถนน (Road Safety Literacy) ในกลุ่มเด็กและเยาวชน โดยพัฒนาเป็นช่องทางการสื่อสารกับวัยรุ่นในเรื่องการขับขี่ปลอดภัย และมีชุดความรู้ให้แก่ครู เพื่อให้สามารถส่งต่อความรู้ความเข้าใจ และทำกิจกรรมร่วมกับนักเรียนในโรงเรียน ผ่าน 3 ช่องทาง ได้แก่ เว็บไซต์ https://safeeducationthai.com/ เฟซบุ๊กเพจ “ขับขี่ศึกษา” และ ติ๊กต๊อก “ขับขี่ศึกษา”

RANDOM

NEWS

อาจารย์วิศวฯ จุฬา เผย ‘โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์’ ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด เป็นพลังงานสะอาด ช่วยโลกลดการปลดปล่อยก๊าซ CO2 จากกระบวนการผลิตไฟฟ้า เพื่อก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality) ของประเทศ

error: Content is protected !!