คิวเอส ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกตามสาขาวิชา ประจำปี 2565

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

คิวเอส ควัคควาเรลลี ซีมอนด์ส (QS Quacquarelli Symonds) สถาบันคลังสมองชั้นนำในแวดวงอุดมศึกษาระดับโลก เปิดเผย ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกตามสาขาวิชา หรือ QS World University Rankings by Subject ครั้งที่ 12 โดยเป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลงานของหลักสูตรระดับมหาวิทยาลัยจำนวน  15,200 หลักสูตร จากมหาวิทยาลัย 1,543 แห่ง ใน 88 ประเทศและดินแดนทั่วโลก ซึ่งครอบคลุม 51 สาขาวิชา

การจัดอันดับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกของคิวเอส หรือ QS World University Rankings ซึ่งถูกค้นหาข้อมูลกว่า 147 ล้านครั้งในปี 2564 บนเว็บไซต์ TopUniversities.com และถูกกล่าวถึงโดยสื่อและสถาบันต่าง ๆ มากถึง 96,000 ครั้ง

ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกตามสาขาวิชาของคิวเอส ประจำปี 2565

จำนวนหลักสูตรที่ติด 10 อันดับแรก

  1. สหรัฐอเมริกา 239 หลักสูตร
  2. สหราชอาณาจักร 131 หลักสูตร
  3. สวิตเซอร์แลนด์ 31 หลักสูตร
  4. สิงคโปร์ 23 หลักสูตร
  5. แคนาดา 19 หลักสูตร
  6. เนเธอร์แลนด์ 15 หลักสูตร
  7. ออสเตรเลีย 13 หลักสูตร
  8. เขตบริหารพิเศษฮ่องกง 7 หลักสูตร
  9. ฝรั่งเศส 6 หลักสูตร / อิตาลี 6 หลักสูตร
  10. จีน 4 หลักสูตร

ไฮไลท์ทั่วโลก 

– มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาติดอันดับหนึ่งมากที่สุดถึง 28 สาขาวิชา จากทั้งหมด 51 สาขาวิชาที่ได้รับการจัดอันดับ โดยมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) และเอ็มไอที (MIT) ยังคงเป็นสถาบันที่ทำผลงานได้แข็งแกร่งที่สุด โดยครองอันดับหนึ่งใน 12 สาขาวิชา

– มหาวิทยาลัยของสหราชอาณาจักรติดอันดับหนึ่ง 15 สาขาวิชา โดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด (University of Oxford) นำมาด้วยจำนวน 6 สาขาวิชา

– อีทีเอช ซูริก (ETH Zurich) เป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของทวีปยุโรป ครองอันดับหนึ่งใน 3 สาขาวิชา นอกจากนี้ สวิตเซอร์แลนด์ยังเป็นประเทศที่มีภาคการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ดีที่สุดเป็นอันดับสามของโลก เมื่อพิจารณาจากสัดส่วนใน 10 อันดับแรก

– ออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีจำนวนหลักสูตรติดอันดับมากที่สุดเป็นอันดับสี่ของโลก

– จีน (แผ่นดินใหญ่) อยู่ในอันดับห้าของโลกในแง่ของจำนวนหลักสูตร (100) ที่ติด 50 อันดับแรก

– มหาวิทยาลัยโทรอนโต (University of Toronto) ของแคนาดา (46) มีหลักสูตรที่ติด 50 อันดับแรกมากที่สุด

– มหาวิทยาลัยแห่งชาติของสิงคโปร์ (National University of Singapore) เป็นมหาวิทยาลัยที่ทำผลงานดีที่สุดในเอเชีย และเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลกสำหรับสาขาวิชาวิศวกรรมปิโตรเลียม นอกจากนั้น ยังติดหนึ่งใน 10 อันดับแรก ถึง 16 สาขาวิชา

– สถาบันอุดมศึกษาของญี่ปุ่นมีอันดับลดลง หลังนักศึกษาวิจัยและนักศึกษาระดับปริญญาเอกไม่ได้รับทุนสนับสนุนมากเท่าที่ควรเป็นเวลาหลายทศวรรษ

– มหาวิทยาลัยชิลี (Universidad de Chile) ติดอันดับสูงสุดในภูมิภาคลาตินอเมริกา โดยอยู่ที่ 8 ของโลกในสาขาวิชาวิศวกรรม – แร่และเหมืองแร่ รองลงมา คือ มหาวิทยาลัยอูนาม (UNAM) จากเม็กซิโก ที่อันดับ 13 ในสาขาวิชาภาษาสมัยใหม่ และมหาวิทยาลัยเซาเปาโล (Universidade de Sao Paulo) ที่ติดอันดับ 15 ในสาขาวิชาทันตกรรม

– มหาวิทยาลัยเคปทาวน์ (University of Cape Town) ยังคงเป็นสถาบันที่ทำผลงานดีที่สุดในแอฟริกา โดยติดอันดับ 9 ของโลกในสาขาวิชาพัฒนศึกษา

– มหาวิทยาลัยปิโตรเลียมและแร่คิงฟาฮัด (King Fahd University of Petroleum & Minerals) ติดอันดับที่ 6 ของโลก ในสาขาวิศวกรรมปิโตรเลียม ซึ่งเป็นการครองอันดับสูงสุดในภูมิภาคอาหรับ

ด้าน เบน โซวเทอร์ (Ben Sowter) ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของคิวเอส กล่าวว่า “การสังเกตแนวโน้มผลการดำเนินงานของภาควิชาในมหาวิทยาลัยกว่า 15,000 ภาควิชา ทำให้เราได้เห็นว่า ปัจจัยใดบ้างที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จ ประการแรก คือ มุมมองระดับสากล ทั้งในแง่ของคณาจารย์และความสัมพันธ์ด้านการวิจัย ซึ่งมีส่วนอย่างมากต่อผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น ประการที่สอง คือ  มหาวิทยาลัยที่มีอันดับสูงขึ้น ล้วนได้รับเงินลงทุนเจาะจงจากรัฐบาลมาเป็นเวลากว่าทศวรรษ ประการที่สาม คือ การกระชับความร่วมมือกับอุตสาหกรรมมีความสัมพันธ์กับการจ้างงาน การวิจัย และผลลัพธ์ด้านนวัตกรรมที่ดีขึ้น”

 

RANDOM

สมาคมกีฬาเพาะกายและฟิตเนสแห่งประเทศไทย เดินหน้าจับมือร่วมกับ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ เตรียมเปิดหลักสูตรระยะสั้น ให้ผู้สนใจจากต่างประเทศ เข้ามารับการอบรมในประเทศไทย

NEWS

คณะการสร้างเจ้าของธุรกิจ ม.ศรีปทุม เชิญชวนน้อง ๆ เยาวชน ร่วมประกวดไอเดียนวัตกรรมทางธุรกิจ ในหัวข้อ “WellTech Entrepreneur : Good Health and Well-being” ชิงทุนการศึกษา ส่ง Concept Idea เข้าประกวดได้ ตั้งแต่บัดนี้ – 10 พ.ค. 67

error: Content is protected !!