วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA) ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ เตรียมความพร้อมบัณฑิต ธุรกิจระหว่างประเทศ เน้นพัฒนาทักษะวิเคราะห์และแก้ปัญหาธุรกิจข้ามแดน ตอบโจทย์ตลาดแรงงานยุคใหม่

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) พัฒนาหลักสูตรปริญญาตรี ธุรกิจระหว่างประเทศ ตอบโจทย์ตลาดแรงงานยุคใหม่ เน้นพัฒนาทักษะวิเคราะห์และแก้ปัญหาธุรกิจข้ามพรมแดน พร้อมเสริมประสบการณ์จริงจากการฝึกงานในองค์กรชั้นนำ และทัศนศึกษาในต่างประเทศ

อาจารย์สุรชัย สวนทับทิม รองคณบดีและหัวหน้าหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ และสาขาวิชาการจัดการ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) เปิดเผยว่า ปัจจุบันธุรกิจระหว่างประเทศกําลังมาแรง อาทิ ธุรกิจนําเข้า-ส่งออก ที่มาจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภค ธุรกิจ E-commerce ที่เติบโตขึ้นอย่างมาก โดย ตลาด E-Commerce ของไทย มีมูลค่า 6.2 แสนล้านบาท ในปี 2565 และมีแนวโน้มจะเติบโตต่อเนื่อง ปีละ 6% ขึ้นไปอยู่ที่ 6.34-6.94 แสนล้านบาท ในระหว่างปี 2566-2567 รวมถึงการค้าระหว่างประเทศของประเทศไทยที่มีศักยภาพ และมีแนวโน้มมูลค่าการค้าเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี ทั้งนี้ ธุรกิจจะดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องมีการขยายศักยภาพของธุรกิจให้เติบโตในระดับอินเตอร์ ต้องอาศัยผู้ที่มีแนวคิดการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศอย่างเป็นระบบ ดังนั้น นักบริหารจัดการธุรกิจรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจระหว่างประเทศ จึงเป็นที่ต้องการของตลาด และยังสามารถต่อยอดความรู้สู่การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจระหว่างประเทศได้

สำหรับหลักสูตรปริญญาตรี ธุรกิจระหว่างประเทศ CIBA DPU ได้รับการออกแบบให้ทันสมัย ตอบโจทย์การทำธุรกิจในยุคที่พรมแดนทางการค้าเปิดกว้าง เราเน้นการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาในทุกมิติของการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการนำเข้า-ส่งออก การตลาดระหว่างประเทศ และการเข้าใจบริบทที่แตกต่างของแต่ละประเทศ ปัจจุบัน ธุรกิจระหว่างประเทศมีความสำคัญอย่างยิ่งในตลาดโลกที่มีการเชื่อมโยงกัน การซื้อขายสินค้าออนไลน์ข้ามประเทศเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน โดยการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล ทำให้การทำธุรกิจระหว่างประเทศเป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน

อาจารย์สุรชัย กล่าวต่อว่า เราสอนให้นักศึกษาเข้าใจตั้งแต่พื้นฐานธุรกิจ ไปจนถึงการขยายกิจการระดับโลก โดยนักศึกษาสามารถวิเคราะห์การเข้าตลาดต่างประเทศได้ โดยการใช้เครื่องมือ PESTEL ซึ่งครอบคลุมปัจจัยทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม และ กฎหมาย ช่วยให้ผู้ประกอบการมองเห็นโอกาสและอุปสรรคได้ชัดเจน ประกอบด้วย P (Political Factors) คือ ปัจจัยจากทางการเมือง E (Economic Factors) คือ ปัจจัยทางเศรษฐกิจ S (Social Factors) คือ ปัจจัยทางสังคม T (Technological Factors) คือ ปัจจัยทางเทคโนโลยี E (Environmental Factors) คือ ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม และ L (Legal Factors) คือ ปัจจัยทางด้านกฎหมาย สำหรับจุดเด่นของหลักสูตรนี้ คือ การได้เรียนรู้กฎเกณฑ์การค้าระหว่างประเทศ หรือ Incoterms ที่กำหนดโดย สภาหอการค้านานาชาติ ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ใช้ทั่วโลก นักศึกษาจะได้เรียนรู้เงื่อนไขทั้ง 11 รูปแบบ ที่ใช้ในการซื้อขายระหว่างประเทศ นอกจากความรู้ทางวิชาการแล้ว ยังให้ความสำคัญกับทักษะจำเป็นอื่น ๆ เช่น ทักษะการเจรจาต่อรองข้ามวัฒนธรรม การสื่อสารภาษาอังกฤษ และการนำเสนอที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นหัวใจของความสำเร็จในการทำธุรกิจระหว่างประเทศ

ด้านประสบการณ์จริง นักศึกษาจะได้ศึกษาดูงานในบริษัทชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ และฝึกงานในองค์กรธุรกิจจริง โดยมีตัวอย่างความสำเร็จที่น่าประทับใจ อาทิ นักศึกษาที่ไปฝึกงานกับ บริษัท ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เจ้าของ “ตู้เต่าบิน” ได้รับโอกาสให้วิเคราะห์ตลาดต่างประเทศของ “ตู้เต่าบิน” จากข้อมูลดังกล่าว ทำให้บริษัทตัดสินใจขยายธุรกิจไปยังสิงคโปร์ในที่สุด จากการที่นักศึกษาของเราได้นำความรู้จากการศึกษาเล่าเรียนไปปฏิบัติงานได้จริง และมีผลสัมฤทธิ์ที่ดี ทำให้ ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่นฯ มีความสนใจที่จะรับนักศึกษาฝึกงานจากทางเรา และนำมาสู่การทำ MOU ส่งนักศึกษาไปฝึกงานเป็นประจำทุกปี โดยนักศึกษาของเราได้รับคำชื่นชมจากสถานประกอบการว่า มีทักษะด้านนวัตกรรม ใช้เทคโนโลยีทันสมัย มีความคิดสร้างสรรค์ และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานจริงได้ดี และมีนักศึกษาหลายคนได้รับการเสนองานต่อเนื่องหลังจบการฝึกงาน

นอกจากนี้ยังมี บริษัท เบิร์ด เอ็กซ์เพรส ลอจิสติคส์ จำกัด ได้แสดงความประทับใจต่อศักยภาพของนักศึกษาเราที่ได้นำเสนอแนวทางการตลาดเชิงนวัตกรรมและกลยุทธ์ทางการตลาดรูปแบบใหม่ที่สร้างความพึงพอใจให้กับองค์กร จนนำไปสู่การว่าจ้างให้ปฏิบัติงาน นักศึกษาแสดงให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญในการดำเนินโครงการ มีทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และมีความเข้าใจในเทคโนโลยีอย่างลึกซึ้ง อีกทั้งยังมีความคิดสร้างสรรค์ที่โดดเด่น สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากการศึกษาเข้ากับบริบทการทำงานจริงในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“ผู้จบการศึกษาจากหลักสูตรนี้ มีโอกาสประกอบอาชีพหลากหลาย ทั้งด้านการนำเข้า-ส่งออก โลจิสติกส์ระหว่างประเทศ การตลาดระหว่างประเทศ การจัดซื้อระหว่างประเทศ หรือ การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจส่วนตัว อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการในปัจจุบันต้องการบุคลากรที่เข้าใจบริบทต่างประเทศอย่างลึกซึ้ง เข้าใจวัฒนธรรม เข้าใจกฎหมาย และสามารถสื่อสารและเจรจาข้ามพรมแดนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นทักษะที่หาได้ยาก หลักสูตรของเราจึงมุ่งเน้นสร้างบัณฑิตที่มีศักยภาพตรงตามความต้องการนี้ อาจารย์สุรชัย กล่าวในตอนท้าย

ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ https://shorturl.asia/C8Dtl

RANDOM

ทิพยประกันภัย เชิญครู อาจารย์ และผู้สนใจทั่วประเทศ ตามรอยศาสตร์พระราชา “รู้…รักสามัคคี” เยือนลุ่มน้ำปากพนัง อู่ข้าว อู่น้ำแห่งภาคใต้ ในโครงการ “ทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 45” วันที่ 26 – 27 ตุลาคม นี้

ม.ธรรมศาสตร์ จับมือ ธ.ไทยพาณิชย์ และ กูเกิ้ล พัฒนาหลักสูตรออนไลน์ “เศรษฐกิจดิจิทัล” สำหรับนักศึกษาและบุคคลทั่วไป เสริมทักษะจำเป็น ปั้นกำลังคนคุณภาพ รองรับการทำงานยุคดิจิทัล

NEWS

คณะพยาบาลศาสตร์ ม.บูรพา รับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อรับทุนอุดหนุนการศึกษา “โครงการพัฒนาผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษเป็นอาจารย์ในคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปี 2568” (ต้นกล้าอาจารย์) จำนวน 5 ทุน เปิดรับสมัครถึง 18 มิถุนายน นี้

วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA) ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ เตรียมความพร้อมบัณฑิต ธุรกิจระหว่างประเทศ เน้นพัฒนาทักษะวิเคราะห์และแก้ปัญหาธุรกิจข้ามแดน ตอบโจทย์ตลาดแรงงานยุคใหม่

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!