สพฐ. ถอดบทเรียน เดินหน้าลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาสทางการศึกษา

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) ร่วมลงพื้นที่กับ นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เพื่อเยี่ยมให้กำลังใจครอบครัว 3 นักเรียนชั้น ม.6 ที่ประสบเหตุคนร้ายยิงเสียชีวิต รวมถึงได้ติดตามการจัดการเรียนการสอน ณ โรงเรียนบ้านห้วยเสียด และโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 37 ณ จังหวัดกระบี่ เมื่อเร็ว ๆ นี้

และจากการลงพื้นที่ดังกล่าว นายอัมพร กล่าวว่า ที่ผ่านมา ศธ. ให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยมาโดยตลอด จากเหตุการณ์ที่นักเรียนถูกยิง 3 คน รมว.ศธ. ได้มีความห่วงใยจึงรีบลงมาดูว่าสาเหตุคืออะไร แล้วจะถอดบทเรียนนี้เพื่อใช้ในการป้องกันแก้ไขปัญหาให้นักเรียนได้อย่างไร พบว่า เหตุการณ์ครั้งนี้เกิดจากปัจจัยภายนอก คือ เรื่องของยาเสพติด และการเดินทางในช่วงเวลากลางคืนของนักเรียน ที่อาจจะส่งผลให้เกิดเหตุร้ายได้ จึงถอดบทเรียนตรงนี้ได้ว่า เราจะร่วมมือกับหน่วยงานท้องถิ่นหรือหน่วยงานอื่น ๆ อย่างไร ในการเฝ้าระวังไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้กับนักเรียนคนอื่นอีก พร้อมเร่งดำเนินการช่วยเหลือครอบครัวนักเรียนที่เสียชีวิต โดยมอบหมายให้ ผอ.สพท. ประสานโรงเรียน ดูแลเรื่องทุนการศึกษาแก่ครอบครัวผู้เสียชีวิต ซึ่งมีพี่น้องที่ยังคงเรียนอยู่ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และมองหาโรงเรียนที่จะสามารถแบ่งเบาภาระของครอบครัวนักเรียนได้

นอกจากนี้ ยังได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมที่โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 37 ซึ่งโรงเรียนราชประชานุเคราะห์เกิดขึ้น เพื่อตอบโจทย์ที่ว่า ทำอย่างไรให้เด็กด้อยโอกาส หรือเด็กยากจน ได้รับโอกาสและมีความเท่าเทียมกันทางการศึกษา ทางโรงเรียนมีวิธีการในการออกแบบการบริหารจัดการอย่างไร ที่ทำให้นักเรียนลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งได้เห็นในเรื่องของมิติด้านโอกาส ที่โรงเรียนได้มอบโอกาสให้เด็กที่อยู่ในเขตบริการ ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา จนถึง ชั้นมัธยมปลาย ได้มีโอกาสรับการศึกษาที่มีคุณภาพ รวมถึงเด็กนักเรียนที่เคยต้องโทษและได้โอกาสกลับเข้ามาเปลี่ยนแปลงชีวิตตัวเอง ส่วนในเรื่องการจัดการศึกษา โรงเรียนจะมุ่งไปที่เรื่องของทักษะชีวิตและทักษะอาชีพเป็นเรื่องใหญ่กว่าทักษะวิชาการ เพื่อตอบโจทย์ในเรื่องของการมีอาชีพมีงานทำ นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของการปรับสภาพแวดล้อมให้โรงเรียนเป็นโรงเรียนแห่งความสุข ทั้งในเรื่องของการออกแบบบ้านพัก อาหารกลางวัน และชีวิตความเป็นอยู่ของนักเรียนที่ดูแลกันแบบพี่กับน้อง มีความใกล้ชิดระหว่างนักเรียนกับครู และระหว่างครูกับผู้บริหาร ทำให้เป็นโรงเรียนแห่งความสุข

ซึ่งตอนนี้ก็มีหลายโรงเรียนที่ทำในลักษณะนี้อยู่แล้ว เราไม่ต้องการให้นักเรียนนั่งเรียนอยู่ในห้องอย่างเดียว โดยในห้องเรียนจะเรียนแค่ทฤษฎีพื้นฐาน แล้วจากนั้นให้เด็กลงภาคสนามไปปฏิบัติ ซึ่งจะตอบโจทย์การเรียนการสอนที่เป็น Active Learning ได้อย่างแท้จริงและเป็นรูปธรรม อีกทั้งตอบโจทย์เรื่องการลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาสทางการศึกษา และพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็ก ให้มีทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ เพื่อให้เด็กเป็นต้นแบบในการหลุดพ้นจากความยากจน นี่คือสิ่งที่ ศธ. ต้องการให้เกิดขึ้นโดยเร็ว

“เรื่องต่อไปที่ต้องทำ คือ การสร้างสะพานเชื่อมระหว่าง สพฐ. กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อาชีวะศึกษา ต้องไม่มีพรมแดน ทั้งในเรื่องการทำ MOU หรือการใช้ทรัพยากรร่วมกัน จะเป็นมิติใหม่ของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพราะจริง ๆ แล้วการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่ได้อยู่ที่ สพฐ. อย่างเดียว แต่ไปถึงอาชีวะด้วย ในวันนี้ก็ได้คุยกับเลขาธิการ สอศ. ว่า หากสามารถเชื่อมโยงกันได้จริง ต่อไปเมื่อ สพฐ. เตรียมคนให้มีต้นทุนที่เพียงพอในเรื่องของการเรียนรู้ อาชีวะก็จะเข้ามาต่อยอดให้เขามีอาชีพ มีงานทำ มีรายได้ เพราะถ้าคนเราสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ บวกกับมีอาชีพ มีงานทำ มีรายได้ เขาก็จะเป็นประชากรที่มีคุณภาพ พร้อมพัฒนาประเทศต่อไป” เลขาธิการ กพฐ. กล่าว

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3eRhH4M

RANDOM

NEWS

“ครูมวยไทย” เนื้อหอม เตรียมเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่เผยแพร่กิจกรรมส่งเสริมกีฬามวยไทย ที่ซาอุดีอาระเบีย ระหว่าง 7-9 พ.ค.นี้ หลังได้ใบประกาศนียบัตร ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาผู้ฝึกสอนมวยไทย ระดับ 1

คณะการสร้างเจ้าของธุรกิจ ม.ศรีปทุม เชิญชวนน้อง ๆ เยาวชน ร่วมประกวดไอเดียนวัตกรรมทางธุรกิจ ในหัวข้อ “WellTech Entrepreneur : Good Health and Well-being” ชิงทุนการศึกษา ส่ง Concept Idea เข้าประกวดได้ ตั้งแต่บัดนี้ – 10 พ.ค. 67

error: Content is protected !!