สถานีความคิด StationTHAI : ตามหลักทฤษฎีการดำรงอยู่ (Existence theory) ที่เป็นการจัดการกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นทุกข์

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

มนุษย์ค้นหาหนทางที่จะทำให้ตนเองมีความสุขในทุกวินาที ชั่วโมง วัน สัปดาห์ และตลอดไป แต่ละคนมีแนวทางการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขที่แตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตามยังมีคนอีกจำนวนมากที่หาหนทางนั้นไม่เจอ วันนี้ผู้เขียนขอเสนอแนะการใช้ชีวิตตามหลักทฤษฎีการดำรงอยู่ (Existence theory) ที่เป็นการจัดการกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นทุกข์ ในที่นี้ขอเรียกว่า “จุดดำในใจ” (black spot) เช่น รูปลักษณ์ ความสามารถ ที่อยู่อาศัย ครอบครัว เพื่อน ผู้ร่วมงาน และสังคมรอบๆ ตัวเรา เป็นต้น เทคนิคการกำจัดความทุกข์ คือ ให้ยึดหลักเหตุและผล (cause and effect) ที่ทำให้ตัวเรามีความสุข ไม่ทำให้คนอื่นเป็นทุกข์ และไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งเทคนิคดังกล่าวมีสูตร ดังนี้

สูตร

รูปลักษณ์ (ไม่เด่น) + ความสามารถ (เด่น) = ความสุข

ความสามารถ1 (ไม่เด่น) + ความสามารถ2 (เด่น) = ความสุข

ที่อยู่อาศัย (ไม่เด่น) + ปรับแต่ง (ตามความชอบ) = ความสุข

ครอบครัว (ไม่ดี) + ปรับแต่งใจ (ตามเหตุและผล) = ความสุข

เพื่อน (ไม่ดี) + ปรับแต่งใจ (ตามเหตุและผล) = ความสุข

ผู้ร่วมงาน (ไม่ดี) + ปรับแต่งใจ (ตามเหตุและผล) = ความสุข

สังคม (ไม่ดี) + ปรับแต่งใจ (ตามเหตุและผล) = ความสุข

การปรับแต่งใจ (ตามเหตุและผล) หมายถึง การปรับทัศนคติหรืออาจจะวางเฉยไม่รับรู้ เช่น เมื่อมีคนพูดไม่ดีกับเรา ให้เราทำการพิจารณา “สาเหตุ” ที่เขากระทำไม่ดีกับเรา เช่น เขาถูกกดดันหรืออาจมีปัญหาบางอย่าง แล้วระบายกับใครไม่ได้ ดังนั้น “ผล” คือ เขาเลยเอาแรงกดดันต่างๆที่ได้รับมา มาแสดงออกกับเรา เป็นต้น ในที่นี้ขอเรียกว่า การเอา “จุดดำในใจ” (black spot) หรือความทุกข์มาให้เรา

การทำให้มีความสุขแบบง่ายๆ และมีประสิทธิภาพดีมี 2 เทคนิค ได้แก่

             เทคนิค 1 การกำจัด “จุดดำในใจ” ด้วยการไม่รับข้อมูลภายนอกอย่าง สีหน้า ท่าทาง คำพูด และการกระทำที่ทำร้ายจิตใจเรา เช่น ก) การไม่แปลความหมายของ “คำพูด” โดยให้คิดว่า “เรากำลังฟังภาษาต่างประเทศอยู่” และ ข) “ไม่มอง” หรือ “มองผ่าน” ท่าทางและการกระทำที่ทำร้ายจิตใจเรา เป็นต้น ถ้าเราทำได้เช่นนี้ทุกขณะจิต เราจะไม่มี “จุดดำในใจ” เกิดขึ้นในทุกวินาที ชั่วโมง วัน สัปดาห์ และตลอดไป

             เทคนิค 2 การพิจารณาเหตุและผล ก่อนที่เราจะกระทำหรือแสดงสิ่งใดออกไป ให้เราพิจารณาว่าสิ่งที่เรากำลังจะทำผิดหรือไม่ ถ้า ”ผิด” เราจะยอมรับกับความผิดที่เราทำได้ไหม ถ้ายอมรับได้ก็ “ทำ” แต่ถ้ายอมรับไม่ได้ก็ “ไม่ทำ” เช่น เราอยากจะชนะการแข่งขัน เราจึงคิดที่จะขโมยอุปกรณ์กีฬาของฝ่ายตรงข้าม ถ้าเราพิจารณาแล้วว่า “ถ้าถูกจับได้ เรายอมที่จะเสียชื่อเสียง/หมดอนาคต/โดนปรับเงินรางวัล/ติดคุก” ได้ก็ “ทำ” แต่ถ้าพิจารณาแล้วว่า “ยอมรับกับผลที่จะตามมา” ไม่ได้ก็ “ไม่ทำ” เป็นต้น

ในยุคปัจจุบัน ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านแนวความคิด สังคมและวัฒนธรรม โดยได้อิทธิพลมาจากต่างประเทศ ด้วยประสบการณ์การให้คำปรึกษาทางด้านจิตวิทยาในนักกีฬาเยาวชนไทย ผู้เขียนจึงเลือกทฤษฎีที่เหมาะสมกับยุคนี้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งกับนักกีฬาและบุคคลทั่วไป

รศ. ดร.ธิรตา ภาสะวณิช

ภาควิชาพลานามัย คณะศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

 

 

RANDOM

error: Content is protected !!