ตอนที่ 41 : ธรรมนูญปฏิรูปการกีฬา : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

ธรรมนูญปฏิรูปการกีฬา

                วันที่ 13 กันยายน ค..1930 คูเบอร์แต็ง ในฐานะผู้แทนทางการของรัฐบาลกรีซ ได้กล่าวสุนทรพจน์เพื่อนำเสนอและอธิบายธรรมนูญปฏิรูปการกีฬาของตนเองแก่สมาคมแห่งชาติในกรุงเจนีวา

                ท่านได้รับการสนับสนุนในเรื่องนี้จากสหายชาวกรีกคือ โจอานิส คริสซาฟิส ผู้อำนวยการการพลศึกษา กระทรวงวัฒนธรรมกรีซ และเป็นหนึ่งในสมาชิกขันแข็งจำนวนน้อยของสำนักการพลศึกษาและสหภาพการสอนนานาชาติที่ริเริ่มโดยคูเบอร์แต็งใน ค..1926

                คูเบอร์แต็งอธิบายว่า วันนี้คือช่วงสำคัญของประวัติศาสตร์การกีฬา การจัดพิมพ์ฉบับพิเศษได้รับการเผยแพร่ในภาษาเยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส สเปนและอิตาลี เพื่อทำให้ธรรมนูญการกีฬาเป็นที่แพร่หลายทั่วโลก นอกจากนี้ ยังมีการจัดพิมพ์รูปแบบโปสเตอร์ไว้ที่สถานที่จัดแสดงในเมืองบอนน์ภายหลังจากนั้นไม่นาน เป็นต้น

                คำคัดค้านต่อต้านการกีฬาอาจแบ่งเป็นสามกลุ่ม ดังนี้

                การกีฬา บังคับและทรมานร่างกายมากเกินควร

                การกีฬา บั่นทอนสติปัญญา

                การกีฬา เผยแพร่จิตวิญญาณการค้าและบ่มเพาะความรักต่อเงินตรา

                เป็นไปไม่ได้ที่จะปฏิเสธการดำรงอยู่ของภูติผีปีศาจเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม ความรับผิดชอบไม่ได้ตกอยู่ที่การกีฬาแต่ประการใด ผู้กระทำผิดคือ พ่อแม่ ครูใหญ่ พนักงานรัฐ ผู้อำนวยการสหพันธ์กีฬา และสื่อมวลชน

                มาตรการตอบโต้รวมถึงสิ่งเหล่านี้

                การจัดทำเส้นแบ่งชัดเจนระหว่างวัฒนธรรมทางกายและการกีฬาศึกษาในทางหนึ่ง และระหว่างการกีฬาศึกษาและการแข่งขันจริงจังในอีกทางหนึ่ง

                การจัดทำ “คุณวุฒิการกีฬา” ตามเกณฑ์ของสวีเดนด้วยแบบทดสอบที่หลากหลายความยากตามอายุและเพศ

                การจัดแข่งขันชิงแชมป์นานาชาติในทุกสองปีเท่านั้นกล่าวคือ ปีแรกและปีที่สามของรอบปีโอลิมปิก

                การระงับการแข่งขันทุกชนิดที่จัดโดยคาสิโนและโรงแรม รวมทั้งการแข่งขันทั้งหมดที่เกิดขึ้นระหว่างการแสดงสินค้าและวันหยุดสาธารณะ

                การระงับเกมส์การแข่งขันทั่วโลกที่เป็นแต่เพียงการทำซ้ำของโอลิมปิกเกมส์และที่เป็นในลักษณะเชิงชาติพันธุ์ การเมืองหรือศาสนา

                การระงับการแข่งขันชกมวยที่เกี่ยวข้องกับเงินตรา

                การนำเสนอยิมนาสติกชนิดบุคคลให้มีความเสมอภาคในระดับเต็มที่เช่นเดียวกับกีฬาชนิดบุคคลอื่น

                การควบรวมสมาคมกีฬายิมนาสติกและกรีฑา

                การยอมรับในความแตกต่างระหว่างครูกีฬาและมืออาชีพ กลุ่มแรกคือการยอมรับว่าเป็นมือสมัครเล่นในทุกชนิดกีฬาที่ตนไม่ได้สอน

                การนำเสนอคำปฎิญาณตนเป็นลายลักษณ์แก่ทุกคน คำปฏิญาณตนที่จะแจกแจงแนวทางหลากชนิดของการสร้างรายได้

                การปฏิเสธให้สตรีเพศเข้าร่วมการแข่งขันเดียวกับบุรุษเพศ

                เมืองทุกแห่งต้องหลีกเว้นการก่อสร้างสถานกีฬาขนาดใหญ่เพื่อเป้าประสงค์เฉพาะการจัดแข่งขันกีฬาที่น่าตื่นตาตื่นใจและต้องทดแทนอาคารทั้งหลายของพวกเขาด้วยสไตล์โรงยิมกรีกโบราณรูปแบบทันสมัย

                เด็กอายุต่ำกว่าสิบหกทั้งหมดต้องถูกห้ามเข้าร่วมการแข่งขันต่อหน้าผู้ชม

                การจัดตั้งสมาคมกีฬาโรงเรียนซึ่งเฉพาะกลุ่มสีตนเองเท่านั้นที่จะได้รับอนุญาตให้เข้าร่วม

                ระดับอายุการสมัครเป็นลูกเสือต้องสูงขึ้น

                การพัฒนาเวชศาสตร์การกีฬาตามเกณฑ์ “สุขภาวะ” ไม่ใช่ “กรณีผิดปรกติ” และการให้ความใส่ใจเป็นพิเศษต่อการตรวจคุณลักษณะทางจิตเป็นรายบุคคล

                 การสนับสนุนผู้ใหญ่ต่อการออกกำลังกายด้วยทุกวิธีการในสิ่งตรงข้ามกับเยาวชนซึ่งอาจถูกจำกัดบ้างในทางกลับกัน

                การส่งเสริมสติปัญญาของการลูกเสือด้วยการศึกษาดาราศาสตร์ ประวัติศาสตร์ทั่วไปและภูมิศาสตร์

                ยกระดับสีสันของสื่อกีฬาด้วยการนำเสนอบทความที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศและเหตุการณ์ทั่วโลกที่น่าสนใจ

RANDOM

NEWS

คณะการสร้างเจ้าของธุรกิจ ม.ศรีปทุม เชิญชวนน้อง ๆ เยาวชน ร่วมประกวดไอเดียนวัตกรรมทางธุรกิจ ในหัวข้อ “WellTech Entrepreneur : Good Health and Well-being” ชิงทุนการศึกษา ส่ง Concept Idea เข้าประกวดได้ ตั้งแต่บัดนี้ – 10 พ.ค. 67

error: Content is protected !!