มวยไทย (2) : ไม่มีมิตรภาพที่แท้จริงในซีเกมส์สำหรับมวยไทย จริงหรือไม่ โปรดพิจารณา

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

ข้อตกลง ในการเขียนนี้คือ คำว่ามวยไทย คือ กีฬามวยไทยสมัครเล่น ซึ่งถือเป็นกีฬาเพื่อมุ่งนำไปสู่ความเป็นเลิศ เฉพาะเจาะจงเกมแข่งที่มีอนาคตและความหมายในการต่อยอด คือ ซีเกมส์ เอเชี่ยนเกมส์ และ โอลิมปิกเกมส์ ดังที่กล่าวไว้แล้วในตอนที่ 1…ไม่เกี่ยวกับมวยไทยที่อนุรักษ์กันหรือมวยไทยอาชีพ

แล้วทำไมถึงกล้าเอ่ยว่า “มวยไทยไม่มีมิตรภาพที่แท้จริงในซีเกมส์”...วันนี้มาหาคำตอบกัน ง่าย ๆ ครับ

มวยไทย ถูกผลักดันเข้าซีเกมส์ โดยไทยที่แหละครับตั้งแต่ช่วง 2540 เป็นต้นมา ที่พยายามเสนอ แต่ก็โดนค้านหนักจากชาติเพื่อนบ้านติดกัน 3-4 ชาติ ด้วยชื่อ “มวยไทย” ที่เป็นของไทยและเป็นกติกาที่ไทยเป็นผู้นำ ที่เขาค้านว่า ทำไมต้องเป็นมวยไทย ในเมื่อ “มวยเขาก็มี” จนมาถึงถ้าใช้กติกามวยไทย ไทยก็ได้เปรียบสิ เหรียญทองก็เป็นของไทย แล้วเขาจะหนุนทำไม...

แต่สุดท้ายด้วยความพยายามก็มีการตกลง ที่จะปรับและปรุงแต่งข้อตกลง จนกระทั่งมวยไทย ได้เข้าแข่งขันเป็นทางการเริ่มตั้งแต่ซีเกมส์ 2005 ที่ฟิลิปปินส์ จากนั้นก็มีจัดมาเรื่อย โดยชื่อที่ระบุ เป็นมวย หรือมวยลาว (เมื่อครั้งสปป.ลาวจัดแข่ง) หรือชื่อมวยไทยเป๊ะๆ เมื่อไทยจัดแข่ง

ทำไมเจ้าภาพจึงจัดแข่งหรือไม่จัดแข่ง

จากปี 2005 จนมาถึงล่าสุดซีเกมส์ครั้งที่ 31 ปี 2022 ที่เวียดนาม มี 2 ครั้งที่เจ้าภาพไม่จัดคือที่ อินโดนีเซียปี 2011 และสิงคโปร์ 2015 ด้วยเหตุผลก็คือเจ้าภาพเขาไม่มีที่ว่างจะยัดมวยไทยลงให้

และนอกจากการไม่มีทั้ง 2 ครั้งนั้นแล้วอีก 8 ครั้งของซีเกมส์ มีการจัดการแข่งขัน ซึ่งก็แล้วแต่ว่าครั้งไหนจะจัดชิงกี่เหรียญ และ ประเภทไหนบ้าง แล้วแต่การตกลง

และต้องยอมรับกันว่าสิ่งที่อยู่คู่กับ “มวยหรือมวยไทย” กับซีเกมส์มาโดยตลอดคือ การเจรจาต่อรอง เรื่องของการเข้าร่วมโดยเฉพาะการจัดแบ่งประโยชน์ที่เจ้าภาพจะได้จากการจัดการแข่งขัน ที่เชื่อว่าใครก็คงพอเดาออกว่าหมายถึงอะไร เพราะหากเจ้าภาพไม่ได้อะไรบ้าง เขาก็ไม่จัดก็เท่านั้น

และต่อมาก็คือเรื่องของความยุติธรรม ในการตัดสินกีฬานี้ ซึ่งแทบไม่มีครั้งไหนเลย ที่จะไม่มีเสียงสะท้อนถึงความล้มเหลวในเรื่องนี้ ที่เป็นมุมอับของความน่าเชื่อถือ ที่อาจจะเหมือนๆกับกีฬาที่ดิ้นรนเข้าสู่การแข่งขันในระดับนี้อีกหลายชนิดกีฬา ที่ต้อง “ส่งส่วย” สมาชิกให้มีส่วนได้เสียอย่างน่าพอใจ ไม่ว่าจะเอียงในการตัดสิน การเพิ่มประเภท เช่นมวยไทยก็มีเพิ่ม “ไหว้ครู” มาให้มีชิงเหรียญทอง….ซึ่งครั้งล่าสุด ฟิลิปปินส์ ได้เหรียญทองไหว้ครู ที่หากคนไทยนั่งดูลีลาแล้วนึกถึงความเหมาะสม “คงอ๊วกแตก” ที่จะศรัทธาว่าได้มาแบบฝีมือจริงๆ

นี่คือมุมที่มองได้ว่าจริงๆ “มวยไทย” ไม่ได้มีมาตรฐาน จนมีการยอมรับจากสมาชิกที่แท้จริงกับ “ซีเกมส์” เพราะการได้จัดในเกือบทุกครั้ง “ยกเว้นที่ไทย” มักจะมีเรื่องของการต่อรอง การตกลงเอื้อต่อเจ้าภาพ (ไปดูอ้างอิงจากจำนวนเหรียญทองจากกีฬามวยที่เจ้าภาพได้ จำนวนเหรียญรวมจากกีฬานี้ รวมแล้วจำนวนที่ได้จะขึ้นมาใกล้เคียงกับไทยหรือบางครั้งก็มากกว่าไทยด้วยซ้ำ และเมื่อชาตินี้ไม่ได้เป็นเจ้าภาพก็จะไม่ได้เหรียญในระดับใกล้เคียงของเดิมในครั้งต่อๆมา) ซึ่งทำให้ยืนยันมุมมองที่ว่าหากเจ้าภาพไม่มีโอกาสได้เขาก็จะไม่จัด

นี่คือสิ่งที่ปรากฏชัดเจน ไปพร้อม ๆ กับเรื่องการดูหมิ่นว่า มักจะมีความยุติธรรมที่ผิดพลาดเสมอในการตัดสิน ที่ถ้านับเป็นเรื่องของการพัฒนากีฬาที่ คณะกรรมการโอลิมปิกสากล หรือ ไอโอซี หวังให้เกิดขึ้นแล้ว “ความอยุติธรรมในการตัดสิน”...คือสิ่งที่น่ารังเกียจอย่างยิ่ง (ไปดูกรณีศึกษาระหว่าง ไอโอซี กับมวยสากลสมัครเล่นได้)

และแล้วก็มาถึง ซีเกมส์ครั้งที่ 32 ที่กัมพูชา ณ วันที่เขียนอยู่นี้ กัมพูชา ยืนยันจะจัดกีฬาที่เจ้าภาพเลือกอยู่ในกลุ่มกีฬาในภูมิภาค (กลุ่มที่3) คือ มวยขะแมร์ วงเล็บว่ามวย  ซึ่งเรื่องนี้คงไม่เท่าไหร่ เพราะ สปป.ลาวก็เคยใช้มวยลาว (มวย) แต่ที่กัมพูชายืนยันต่อ ที่ถูก (ไทย) มองว่ามันหนักมากกว่าคือปฏิเสธการจัดภายใต้การดูแลของสหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ (อิฟมา-IFMA) และนั่นหมายถึงการคุมงานเอง รวมทั้งการตั้งกติกาเอง….ประเทศไทยที่เป็นผู้ริเริ่มดันมวยไทยเข้าซีเกมส์ และเป็นผู้ดันให้เกิด อิฟมา เมื่อโดนเจ้าภาพหักอย่างนี้…จึงประกาศไม่ส่งนักกีฬาเข้าร่วม

นี่คือตัวอย่างที่อธิบายถึงเรื่อง “มวยไทย:ไม่มีมิตรแท้จริงในซีเกมส์”..จริงไม่จริงลองพิจารณาขอรับ.

RANDOM

NEWS

คณะการสร้างเจ้าของธุรกิจ ม.ศรีปทุม เชิญชวนน้อง ๆ เยาวชน ร่วมประกวดไอเดียนวัตกรรมทางธุรกิจ ในหัวข้อ “WellTech Entrepreneur : Good Health and Well-being” ชิงทุนการศึกษา ส่ง Concept Idea เข้าประกวดได้ ตั้งแต่บัดนี้ – 10 พ.ค. 67

error: Content is protected !!