ตอนที่ 3 ระบบการศึกษาอังกฤษในฝรั่งเศส : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

ระบบการศึกษาอังกฤษในฝรั่งเศส

            บุคคลสามารถเลียนแบบเฉพาะสิ่งที่ตนเตรียมตัวเท่านั้น! ส่วนดีสุดของระบบการศึกษาอังกฤษจะสามารถปรับให้เหมาะต่อ “รูปแบบ เป้าหมาย และคุณลักษณะ” ของระบบการศึกษาฝรั่งเศสได้หรือไม่? คูเบอร์แต็งเพียรร่วมมือกับผู้นำทรงภูมิของสถาบันและผู้อำนวยการมหาวิทยาลัยต่างๆต่อภารกิจนี้

            ช่วงต้น ค.ศ.1889 คูเบอร์แต็งตีพิมพ์หนังสือ “ระบบการศึกษาอังกฤษในฝรั่งเศส” ความยาว 206 หน้าซึ่งแต่งในเมืองเมียร์วิลล์ที่เงียบสงบและแล้วเสร็จในเดือนกันยายน ค.ศ.1888 โดยสรุปภารกิจใหม่ซึ่งเขาริเริ่มที่โรงเรียนบางแห่งในกรุงปารีสและนำเสนอ “แผนงานและความหวังของเขา” จากประสบการณ์ห้าปี สมาคมกีฬาของโรงเรียนมัธยมศึกษารัฐคือ เลคานา เข้าร่วมสมาคมที่กำลังก่อตั้งและเจริญเติบโต อย่างไรก็ตาม ความอุตสาหะต่อเนื่องเพื่อบูรณาการกิจกรรมกีฬากับการพัฒนามนุษย์ภายในสาขาวิชาต่างๆและการเสริมแต่งบรรยากาศให้เกิดผลนั้น กลับถูกบิดเบือนบ่อยครั้งและเชื่องช้าในบางคราว รวมทั้งขัดแย้งกับแผนการศึกษาของคูเบอร์แต็งอยู่หลายครั้ง 

            หนังสือเล่มนี้แสดงแก่พวกเราถึงความบากบั่นนี้และคำวิพากษ์ต่อระบบการศึกษา

            หนังสือฉบับนี้แบ่งเป็นสองส่วนๆแรกชื่อว่า “โรงเรียนมองจ์” ซึ่งประกอบด้วยสี่หัวข้อคือ การลดการเรียนหนัก คณะกรรมการเยาวชนและวิวัฒน์พลเมือง โรงเรียนมองจ์ที่อีตัน กีฬา เสรีภาพและความเป็นชนชั้น ส่วนสองชื่อ “แผนงานและความหวัง” ประกอบด้วยแปดหัวข้อคือ ข้อใคร่รู้ต่อโรงเรียนกลางวัน ใต้เงาต้นจูอีลี นักเรียนของพวกเรา เรือพาย แผนกลยุทธ์ของพวกเรา จากที่ไกลโพ้น! ทางเลือกงานอาชีพ และสุนทรพจน์ของพอลเบิร์ต หนังสือเล่มนี้ปิดท้ายด้วยภาคผนวกจำนวนสิบหน้าซึ่งกล่าวถึงความบากบั่นของคูเบอร์แต็งต่อการดำเนินงานให้เกิดผลซึ่งประกอบด้วย รายชื่อคณะกรรมการรณรงค์พลศึกษาในระบบการศึกษา จดหมายถึงสมาชิกสมาคมเศรษฐกิจและสังคมและสหภาพสังคมสันติภาพ จดหมายถึงประธานสมาคมเรือพายกรุงปารีสและจังหวัด สมาคมวิชาชีพพลศึกษาแห่งชาติ หนังสือเริ่มต้นด้วยคำนำโดยจูเลส์ ซิมอง รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ ค.ศ.1870-1879 ซึ่งกล่าวเปิดเล่มว่า “ข้าพเจ้าเสียดายอยู่ประการหนึ่งคือ อายุข้าพเจ้าไม่ใช่สิบห้าและข้าพเจ้าไม่ใช่นักเรียนโรงเรียนมองจ์!” (หน้า V)

            คูเบอร์แต็งต้องการถ่ายทอดศิลปะการใช้ชีวิตแก่ทุกคน ความรื่นรมย์ในขณะฝึกซ้อมซึ่งเป็นจิตวิญญาณแห่งคุณค่า การเคลื่อนไหวคือความเบิกบานของมนุษยชาติ โดยเหตุดังนั้น กีฬาจึงเป็นวิถีหลักสู่เป้าหมายข้างต้น

            บทคัดย่อในที่นี้ทำให้เข้าใจคุณลักษณะของความเพียรที่คูเบอร์แต็งมีต่อการศึกษาเพื่อให้แผนงานประสบผลต่อการสร้างบุคลิกภาพที่สมดุล

 

RANDOM

รมต.ท่องเที่ยวและกีฬา เซ็นคำสั่งล้างบาง ม.การกีฬาแห่งชาติ พร้อมตั้ง “สุนทร ซ้ายขวัญ”คุมสภา และมอบ “วิษณุ ไล่ชะพิษ” นั่งเก้าอี้อธิการ เพื่อเคลียร์ปัญหาตามการใช้คำสั่งหัวหน้า คสช.

NEWS

error: Content is protected !!