Day: September 2, 2022

คีย์แมนกีฬาไทย ตอบรับร่วมงานคณะกรรมการสหพันธ์สมาคมกีฬาชาติ หรือ ฟอนซ่า ที่มี “เสธ.ยอด” พลตรีอินทรัตน์ ยอดบางเตย เป็นประธาน สมัย 3 พร้อมหน้า โดย นาวาตรีศรายุทธ พัฒนศักดิ์ นายกสมาคมกีฬายิมนาสติกฯ ทำหน้าที่เลขาธิการ

 ภายหลังจาก “เสธ.ยอด” พลตรีอินทรัตน์ ยอดบางเตย นายกกิตติมศักดิ์สมาคมกีฬายกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย และประธานกิตติมศักดิ์สหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ ได้รับความไว้วางใจจากสมาชิกต่อเนื่อง ให้ทำหน้าที่เป็นประธานสหพันธ์สมาคมกีฬาชาติ หรือ ฟอนซ่า สมัยที่ 3 (พ.ศ.2565-2569) ไปเมื่อเดือนกรกฎาคม 2565 ล่าสุด ในส่วนของคณะกรรมการบริหาร และที่ปรึกษา ฟอนซ่า ปรากฏว่า มีคีย์แมนกีฬาไทย ตอบรับร่วมงานกันพร้อมหน้า โดย นาวาตรีศรายุทธ พัฒนศักดิ์ นายกสมาคมกีฬายิมนาสติกแห่งประเทศไทย ทำหน้าที่เลขาธิการและนายทะเบียน ส่วน คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล กรรมการคณะกรรมการโอลิมปิกสากล หรือ ไอโอซีเมมเบอร์ และนายกสมาคมกีฬาแบดมินตันแห่งประเทศไทยฯ นั่งประธานที่ปรึกษา รวมทั้งยังมีผู้แทนจากหลายสมาคมกีฬา นำโดย ผศ.พิมล ศรีวิกรม์ นายกสมาคมกีฬาเทควันโดแห่งประเทศไทย และ พลเอกเดชา เหมกระศรี นายกสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทยฯ ทำหน้าที่ที่ปรึกษา สำหรับรายชื่อประธาน รองประธาน และคณะกรรมการ รวม 19 คน มีดังนี้ ประธาน ได้แก่ พลตรีอินทรัตน์ …

คีย์แมนกีฬาไทย ตอบรับร่วมงานคณะกรรมการสหพันธ์สมาคมกีฬาชาติ หรือ ฟอนซ่า ที่มี “เสธ.ยอด” พลตรีอินทรัตน์ ยอดบางเตย เป็นประธาน สมัย 3 พร้อมหน้า โดย นาวาตรีศรายุทธ พัฒนศักดิ์ นายกสมาคมกีฬายิมนาสติกฯ ทำหน้าที่เลขาธิการ Read More »

สพฐ. พอใจ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ Coding โดดเด่น ชูอัตลักษณ์ท้องถิ่น บูรณาการสร้างนักเรียนคุณภาพ

กระทรวงศึกษาธิการได้ขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ Coding ตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อให้นักเรียนมีทักษะคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล ซึ่ง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ส่งเสริมให้โรงเรียนต่าง ๆ จัดการเรียนรู้ Coding เป็นรายวิชาพื้นฐานในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ฉบับปรับปรุง 2560 นอกจากนี้ สถานศึกษาจำนวนมากได้ส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนด้วยการจัดรายวิชาเพิ่มเติมตามความสนใจของผู้เรียนในตลอดช่วงเวลา 4 ปี ที่มีการประกาศใช้หลักสูตร โดยเฉพาะตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา ซึ่งการจัดการเรียนการสอน Coding เป็นกระบวนการ Active Learning ที่นักเรียนได้คิด ลงมือปฏิบัติ ออกแบบ หรือนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน หรือเขียนโปรแกรมเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงาน พร้อมทั้งนำเสนอสิ่งที่ตนเองได้ดำเนินการ และเมื่อเจอสถานการณ์ นักเรียนแสดงให้เห็นถึงการคิดอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน เป็นเหตุเป็นผล ภายใต้เงื่อนไข และเป้าหมายความสำเร็จที่ตั้งกติกาไว้ ทำให้สามารถนำไปใช้ในการอยู่ร่วมกันในสังคมภายใต้กรอบกติกา แต่มีอิสระในการคิดถึงเป้าหมายความสำเร็จได้ ถือว่าเป็นการจำลองสถานการณ์ของสังคม ซึ่งสามารถไปถึงสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรชาติได้อย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม รวมทั้งนักเรียนมีความสุขในการเรียนรู้ อยากเรียนรู้ เรียนแบบเล่น …

สพฐ. พอใจ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ Coding โดดเด่น ชูอัตลักษณ์ท้องถิ่น บูรณาการสร้างนักเรียนคุณภาพ Read More »

รัฐประศาสนศาสตร์ มธบ. พัฒนาหลักสูตร ผลิตผู้นำและนักบริหารมืออาชีพในยุคดิจิทัล

ผศ.ดร.วลัยพร รัตนเศรษฐ คณบดีคณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดเผยว่า โลกได้ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาไปไกล มีองค์ความรู้ใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิต และการเรียนรู้ของผู้คน ดังนั้นการเตรียมคนให้พร้อมสำหรับโลกอนาคตจึงเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการเรียนการสอนของคณะฯ ซึ่งสอดรับกับวิสัยทัศน์ของ DPU ที่ได้ประกาศเปิด Metaverse Campus บนแพลตฟอร์ม The Sandbox เพื่อให้นักศึกษาได้ทดลองใช้ภายในปีการศึกษา 2565 นี้ “Web3 Technology เป็นเรื่องใหม่ที่มาคู่กับ Metaverse ซึ่งมีบทบาทสำคัญในโลกอนาคต ปัจจุบันภาคธุรกิจทั่วโลกได้ปรับตัวนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้กับธุรกิจกันแล้ว สำหรับ DPU นักศึกษาทุกคนของเรา รวมถึงนักศึกษาในคณะฯ ได้เริ่มทำความเข้าใจ เรียนรู้ และสร้างความคุ้นเคยกับโลกใหม่ใบนี้กันแล้ว ซึ่งเป็นประสบการณ์เรียนรู้ใหม่ ๆ ที่จะกลายเป็นทักษะสำคัญติดตัวนักศึกษาที่เรียนจบออกไป มีความพร้อมและมีโอกาสมากกว่าคนอื่นในโลกของการทำงานและการใช้ชีวิต”  ด้าน กระบวนการพัฒนานักศึกษาและสร้างผู้นำรุ่นใหม่ในระดับคณะฯ​ มุ่งเน้นออกแบบการเรียนการสอนในแนวทางที่แตกต่าง ด้วย “ความรู้+ทักษะโลกอนาคต” เพื่อสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงองค์การภาครัฐ ภาคเอกชน และท้องถิ่นในยุคดิจิทัล “ความรู้+โซเชียล และแล็ปสังคม+ทักษะโลกอนาคต” เป็นการเตรียมผู้เรียนให้มีความรู้เท่าทันเทคโนโลยี และการใช้ชีวิตทั้งในโลกเสมือนและโลกจริง โดยที่ให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงหลักคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ ความคิดสร้างสรรค์ในการจัดการปัญหาที่ปรับเปลี่ยนไปตามบริบทของสังคม วิชาการพัฒนาเมือง เป็นอีกหนึ่งการเรียนที่สามารถออกแบบได้ทั้งในโลกเสมือน …

รัฐประศาสนศาสตร์ มธบ. พัฒนาหลักสูตร ผลิตผู้นำและนักบริหารมืออาชีพในยุคดิจิทัล Read More »

มหาวิทยาลัยบูรพา ร่วมกับ มูลนิธิเสนาะ อูนากูล และ EEC เชิญประกวดภาพถ่าย “วิถีชีวิตกับสายน้ำ และการพัฒนาพื้นที่ EEC” ประจำปี 2565

มูลนิธิเสนาะ อูนากูล ร่วมกับ มหาวิทยาลัยบูรพา และ EEC เชิญผู้สนใจเข้าร่วมประกวดภาพถ่าย ภายใต้คอนเซ็ปต์ “วิถีชีวิตกับสายน้ำ และการพัฒนาในพื้นที่ EEC” ประจำปี 2565 ชิงรางวัลรวมกว่า 75,000 บาท ส่งผลงาน ได้ตั้งแต่บัดนี้ – 15 กันยายน 2565 การประกวดแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1. ช่างภาพมืออาชีพ 2. ประชาชนผู้สนใจทั่วไป และกลุ่มภาคประชาสังคมในท้องถิ่น 3. นักเรียน นักศึกษา แนวคิด นำเสนอแนวคิดผ่านภาพถ่ายที่สะท้อนวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชน วิถีชีวิตในเขตลุ่มน้ำ ที่ดำเนินไปควบคู่กับการพัฒนาใน 3 จังหวัดในพื้นที่เขต EEC (ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา) การเปลี่ยนแปลงในมิติต่าง ๆ ทั้งวิถีชุมชน อุตสาหกรรม ประมง เกษตร น้ำบริโภค หรือ มุมมองที่ต้องการเน้นย้ำความสำคัญ การสมัครเข้าร่วมโครงการ 1. …

มหาวิทยาลัยบูรพา ร่วมกับ มูลนิธิเสนาะ อูนากูล และ EEC เชิญประกวดภาพถ่าย “วิถีชีวิตกับสายน้ำ และการพัฒนาพื้นที่ EEC” ประจำปี 2565 Read More »

error: Content is protected !!