Day: May 26, 2022

มทร.พระนคร สอนอาชีพอิสระด้านสิ่งทอให้ผู้สูงวัย ขยายโอกาสมีงานทำให้ผู้สูงอายุ

คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ร่วมกับ สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 8 และ สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ จัดกิจกรรมส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระให้ผู้สูงอายุ ประจำปี 2565 ภายใต้โครงการขยายโอกาสการมีงานทำให้ผู้สูงอายุ เพื่อการส่งเสริมการมีงานทำ และพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ โดยการฝึกปฏิบัติการทำอาชีพอิสระเพื่อนำไปประกอบอาชีพ สร้างรายได้ และยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต ณ คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น มทร.พระนคร ศูนย์พณิชยการพระนคร ทั้งนี้ มี ผศ.ดร.รัตนพล มงคลรัตนาสิทธิ์ อาจารย์ประจำสาขานวัตกรรมและเทคโนโลยีสิ่งทอ พร้อมทีมคณาจารย์ และนักศึกษา คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น ประกอบด้วย อาจารย์จารุวรรณ ดิศวัฒน์ , ผศ.วาสนา ช้างม่วง และ ดร.เกษม มานะรุ่งวิทย์ บรรยายให้ความรู้ในหัวข้อ “การมัดย้อมผลิตภัณฑ์สิ่งทอด้วยสีครามธรรมชาติ และสีสังเคราะห์” และหัวข้อ “การพิมพ์ถุงผ้ารักษ์โลกด้วยบล็อกผักผลไม้” ซึ่งผู้สูงอายุจะได้รับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพิมพ์ผ้าด้วยสีพิมพ์ผ้า เทคนิคการแกะสลักผักผลไม้ เพื่อใช้เป็นแม่พิมพ์ และเทคนิคการทำให้สีติดทนทาน ตลอดจนเรียนรู้เทคนิคการมัดย้อมผลิตภัณฑ์สิ่งทอด้วยสีครามธรรมชาติ และสีสะท้อนแสงแบบพาณิชย์ นอกจากนี้ ยังมีการบรรยายเรื่อง “การส่งเสริมการมีงานทำกับการรับงานไปทำที่บ้าน” โดย วิทยากรฝ่ายส่งเสริมการมีงานทำในประเทศ สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานคร …

มทร.พระนคร สอนอาชีพอิสระด้านสิ่งทอให้ผู้สูงวัย ขยายโอกาสมีงานทำให้ผู้สูงอายุ Read More »

“โคมัตสุ” ร่วมยกระดับคนอาชีวะ สอนทวิภาคีเครื่องจักรกลหนัก นำร่องแห่งแรก ที่วิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราช

เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2565 เรืออากาศโท สมพร ปานดำ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ นายศรัณย์ ชินประหัษฐ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอกโคมัตสุเซลส์ จำกัด ลงนามความร่วมมือ เพื่อร่วมกันพัฒนาหลักสูตรและจัดการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พ.ศ. 2563 ในสาขาวิชาเทคนิคเครื่องกล สาขางานเทคนิค เครื่องจักรกลหนัก โดยจัดการเรียนการสอนในรูปแบบอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี นำร่องที่ “วิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราช” เป็นแห่งแรก เรืออากาศโท สมพร ปานดำ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า สอศ. เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการผลิตและพัฒนากำลังคนให้สามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งถือเป็นนโยบายหลักของภาครัฐบาล และ กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งความร่วมกับภาคเอกชน อย่าง บริษัท บางกอกโคมัตสุเซลส์ จำกัด ในครั้งนี้ ถือเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียน นักศึกษา ในสาขาวิชาเทคนิคเครื่องกล สาขางานเทคนิค เครื่องจักรกลหนัก ทั้งรูปแบบการเรียนการสอนปกติ และระบบทวิภาคี โดยนำร่องจัดการเรียนการสอนในระบบทวิภาคีรุ่นแรก จำนวน 11 คน ที่ …

“โคมัตสุ” ร่วมยกระดับคนอาชีวะ สอนทวิภาคีเครื่องจักรกลหนัก นำร่องแห่งแรก ที่วิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราช Read More »

รร.บ้านห้วยต้มชัยยะวงศาอุปถัมภ์ จ.ลำพูน ต้นแบบ “โรงเรียนดีมีทุกที่” ของภาคเหนือ

“โครงการโรงเรียนดีมีทุกที่” เกิดขึ้นจากความร่วมมือของ มูลนิธิเอเชียประจำประเทศไทย ร่วมกับ สถานทูตออสเตรเลีย, มูลนิธิอานันทมหิดล, สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อสมท., กรุงเทพมหานคร และสำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้เกิดพลังบวกในสังคม และผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน “โรงเรียนบ้านห้วยต้มชัยยะวงศาอุปถัมภ์” อ.ลี้ จ.ลำพูน หนึ่งในโรงเรียนดีของทางโครงการฯ ได้ใช้หลักบวร นำบ้าน, วัด และโรงเรียน มาจัดการด้านการศึกษาให้กับเยาวชนจนประสบความสำเร็จ ผ่านเกณฑ์การคัดเลือก สามารถนำมาเป็นต้นแบบในโครงการโรงเรียนดีมีทุกที่ของภาคเหนือ ดร.ธราดร ตันวิพงษ์ตระกูล ผู้อำนวยการ โรงเรียนบ้านห้วยต้มชัยยะวงศาอุปถัมภ์ อ.ลี้ จ.ลำพูน กล่าวว่า “โรงเรียนบ้านห้วยต้มฯ ตั้งอยู่ในชุมชนพระพุทธบาทห้วยต้ม ซึ่งเป็นหมู่บ้านของชาวปกาเกอะญอ หรือกะเหรี่ยง โดยมีครูบาชัยยะวงศาพัฒนา (ครูบาวงศ์) เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน และเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนขึ้นมา สิ่งที่โดดเด่น คือ ทางโรงเรียนได้ใช้หลักบวร นำบ้าน วัด โรงเรียน มาผสานสัมพันธ์ในการพัฒนาเด็ก เกิดเป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ที่มีการพัฒนาทั้งด้านวิชาการ วิชาชีพ และวิชาชีวิต โดย “บ้าน” คือ ทรัพยากรบุคคลในชุมชน ที่ได้มาร่วมมือกันพัฒนาสิ่งมีประโยชน์ต่อลูกหลาน …

รร.บ้านห้วยต้มชัยยะวงศาอุปถัมภ์ จ.ลำพูน ต้นแบบ “โรงเรียนดีมีทุกที่” ของภาคเหนือ Read More »

ทำความรู้จัก “โครงการโรงเรียนคุณภาพ” ยกระดับมาตรฐานในทุกมิติ

“โครงการโรงเรียนคุณภาพ” เป็นนโยบายสำคัญของการกระทรวงศึกษาธิการ ที่มุ่งหวังให้โรงเรียนได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพเเละปลอดภัย โดยหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ คือ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่ได้ดำเนินการโดยพัฒนาต่อยอดจากโครงการเดิมคือ โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล โรงเรียนคุณภาพของชุมชน โรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง และโรงเรียนที่สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ (Stand Alone) โดยได้กำหนดทิศทางขับเคลื่อนโครงการ ภายใต้จุดเน้น 7 ด้าน ดังนี้ 1.ความปลอดภัยของผู้เรียน 2.ระบบประกันคุณภาพ 3.การพัฒนาครู 4.การเรียนการสอน 5.การวัดและประเมินผล 6.การนิเทศกำกับและติดตาม 7.Big Data หากกล่าวถึงทิศทางการพัฒนา สำหรับ โรงเรียนคุณภาพระดับประถมศึกษา คือ โรงเรียนประถมศึกษา หรือโรงเรียนขยายโอกาส ที่มีความพร้อมและเหมาะสม มีโรงเรียนเครือข่ายโดยรอบ สามารถนำนักเรียนมาเรียนรวม เพื่อยกระดับคุณภาพให้เกิดความมั่นใจต่อชุมชน และผู้ปกครอง เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และแชร์ทรัพยากรร่วมกัน โรงเรียนคุณภาพระดับมัธยมศึกษา คือ โรงเรียนที่เปิดสอน ม.1-6 มีความพร้อมรองรับโรงเรียนประถมศึกษาที่จะมาเรียน และรับนักเรียนขยายโอกาสที่จะมาศึกษาต่อ หรือมาเรียนรวม เป็นการแบ่งเบาภาระในการรับนักเรียนโรงเรียนแข่งขันสูงกลับสู่ชุมชน และ โรงเรียนคุณภาพเเบบ Stand Alone คือ โรงเรียนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร พื้นที่สูง บนเกาะ …

ทำความรู้จัก “โครงการโรงเรียนคุณภาพ” ยกระดับมาตรฐานในทุกมิติ Read More »

error: Content is protected !!