Day: May 25, 2022

สภาสมาคมธรรมาภิบาล และมูลนิธิธรรมาภิบาลและต่อต้านทุจริต มอบทุนพัฒนาการศึกษาด้านหลักธรรมาภิบาล ที่ รร.ฤทธิยะวรรณาลัย

สภาสมาคมธรรมาภิบาล และมูลนิธิธรรมาภิบาลและต่อต้านทุจริต มอบทุนธรรมาภิบาลทางการศึกษา จำนวน 50,000 บาท ให้กับโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย เพื่อนำไปพัฒนาการศึกษาด้านหลักธรรมาภิบาล ณ โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย โดยมี ดร.เลอภพ โสรัตน์ เลขาธิการสภาสมาคมธรรมาภิบาล และเลขาธิการมูลนิธิธรรมาภิบาลและต่อต้านทุจริต เป็นตัวแทนมอบทุนธรรมาภิบาลทางการศึกษา ประจำปี 2565 จำนวน 50,000 บาท ให้กับโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย โดยมี ดร.สุมนา ธิกุลวงษ์ ผู้อำนวยการโรงเรียน เป็นผู้รับมอบ เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 65 ดร.เลอภพ โสรัตน์ กล่าวว่า นับเป็นเกียรติ ที่ได้รับมอบหมายให้มามอบทุนทุนธรรมาภิบาลทางการศึกษา สำหรับนักเรียนในครั้งนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ซึ่งทั้งสภาสมาคมธรรมาภิบาล และมูลนิธิธรรมาภิบาลและต่อต้านทุจริต มองเห็นความสำคัญของผู้ที่ขาดโอกาสในระดับเยาวชนที่อยู่ในสถานศึกษา ที่เราพบว่า ยังมีความต้องการแรงสนับสนุนอีกมาก และสิ่งที่น่ายินดีในครั้งนี้ พบว่า มีการนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในโรงเรียนเพิ่มมากขึ้น โดย ดร.สุมนา ธิกุลวงษ์ ผู้อำนวยการ โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ได้ยืนยันว่าหลักการเหล่านี้ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในโรงเรียนได้ดี ซึ่งได้นำมาปฏิบัติที่โรงเรียนมาระยะหนึ่งแล้ว เพื่อใช้เป็นหลักคิดให้กับนักเรียนในการที่จะเติบโตเป็นคนดีของสังคมในอนาคต …

สภาสมาคมธรรมาภิบาล และมูลนิธิธรรมาภิบาลและต่อต้านทุจริต มอบทุนพัฒนาการศึกษาด้านหลักธรรมาภิบาล ที่ รร.ฤทธิยะวรรณาลัย Read More »

ไทยยืนหนึ่งเจ้าภาพจัดศึกกอล์ฟสมัครเล่นหญิงชิงแชมป์เอเชีย-แปซิฟิก ครั้งแรก ที่สยามคันทรีคลับ พัทยา

การแข่งขันกอล์ฟสมัครเล่นหญิงชิงแชมป์เอเชีย-แปซิฟิก รายการ “วีเมนส์ อเมเจอร์ เอเชีย-แปซิฟิก” หรือ “ดับเบิลยูเอเอพี” เป็นเวทีสำหรับนักกอล์ฟสมัครเล่นหญิงชั้นนำในภูมิภาค ที่จะได้พัฒนาฝีมือก้าวสู่เวทีระดับโลก โดยแชมป์จะได้รับเชิญเข้าร่วมแข่งขันแมตช์ใหญ่ระดับเมเจอร์ 3 รายการ ได้แก่ เอไอจี วีเมนส์ โอเพ่น, อามังดี เอวิยอง แชมเปียนชิพ และเป็นครั้งแรกที่จะได้ร่วมชิงชัยใน รายการ เซฟรอน แชมเปียนชิพ 2023 ที่เท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ ยังจะได้สิทธิ์ร่วมแข่งขันกอล์ฟสมัครเล่นสตรีรายการ ออสกัสต้า เนชันแนล วีเมนส์ อเมเจอร์ และกอล์ฟรายการใหญ่ของเคแอลพีจีเอทัวร์ รายการ ฮานา ไฟแนนเชียล กรุ๊ป แชมเปียนชิพ อีกด้วย มาร์ติน สลัมเบอร์ส ประธานบริหารของเดอะ อาร์แอนด์เอ กล่าวว่า “กอล์ฟวีเมนส์ อเมเจอร์ เอเชีย-แปซิฟิก เป็นการแข่งขันกอล์ฟสมัครเล่นสตรีรายการใหญ่ของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งในครั้งนี้ได้จัดการแข่งขันกันที่สยามคันทรีคลับ พัทยา เพื่อมอบโอกาสให้กับนักกอล์ฟสมัครเล่นของภูมิภาคได้โชว์ศักยภาพและพัฒนาฝีมือเพื่อก้าวสู่การเป็นนักกอล์ฟอาชีพระดับโลก ซึ่งเราประสบความสำเร็จบรรลุตามวัตถุประสงค์ เมื่อดูจากผลงานความสำเร็จของ ยูกะ ซาโซ่, …

ไทยยืนหนึ่งเจ้าภาพจัดศึกกอล์ฟสมัครเล่นหญิงชิงแชมป์เอเชีย-แปซิฟิก ครั้งแรก ที่สยามคันทรีคลับ พัทยา Read More »

5 องค์กรสำคัญ ผนึกกำลังแก้ปัญหาอุบัติเหตุทางถนน ตั้งเป้าปี 68 ยอดผู้เสียชีวิตลดลง 50%

“อุบัติเหตุบนท้องถนน” ถือเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าประเทศไทยมีสถิติการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงเป็นอันดับ 9 ของโลก (คิดเป็น 32.7 คนต่อประชากร 1 แสนคน) มีประชากรในช่วงอายุ 15 – 19 ปี ได้รับบาดเจ็บจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ เฉลี่ยวันละ 59 คน การเสียชีวิตจากการใช้ความเร็วมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 4 ผู้เสียชีวิตจากการดื่มแล้วขับในช่วงเทศกาลพุ่งสูงกว่าปกติร้อยละ 25 ล่าสุด องค์กรพันธมิตรสำคัญ 5 องค์กร ประกอบด้วย 3 กองทุน 2 หน่วยงาน คือ 1.กองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน (กปถ.) 2.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 3.กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม โดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) 4.สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และ 5.หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ร่วมกันลงนามสร้างความร่วมมือแก้ปัญหาความปลอดภัยทางถนน โดยใช้ฐานความรู้จากงานวิจัยไปสู่การแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรม โดยได้รับเกียรติจาก พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา …

5 องค์กรสำคัญ ผนึกกำลังแก้ปัญหาอุบัติเหตุทางถนน ตั้งเป้าปี 68 ยอดผู้เสียชีวิตลดลง 50% Read More »

นักชีววิทยา มช. ประสบความสำเร็จ ประยุกต์ใช้ eDNA สำรวจสิ่งมีชีวิตหายากในแม่น้ำสายหลักของไทย

แม่น้ำเปรียบเสมือนเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงชีวิตทั้งคนและสัตว์ในแต่ละภูมิภาค แต่เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์มีความแตกต่างกัน จึงเกิดเป็นระบบนิเวศที่มีความหลากหลายของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์นานาชนิด เป็นเหตุผลที่ทำให้ประเทศไทยติดอันดับการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ที่สำคัญของโลกในหลายปีที่ผ่านมา สะท้อนถึงความมหัศจรรย์แห่งระบบนิเวศในประเทศที่รอการค้นพบอีกมาก ด้วยเหตุนี้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยทีมนักวิจัยภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จึงผลักดันการประยุกต์ใช้ environmental DNA หรือ eDNA ในการสำรวจสิ่งมีชีวิตหายากในแม่น้ำสายหลักของไทย จนประสบความสำเร็จ เพื่อให้การสำรวจประชากรของสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำง่ายขึ้น สามารถนำมาช่วยในการวางแผนการอนุรักษ์สิ่งมีชีวิตที่ใกล้สูญพันธุ์ได้ในอนาคต การศึกษาสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำเป็นสิ่งสำคัญในการอนุรักษ์ ทั้งการประเมินความอุดมสมบูรณ์ และการเฝ้าระวังสิ่งมีชีวิตรุกรานต่างถิ่น โดยวิธีการทั่วไปนั้นจะอาศัยการจับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการศึกษาจากแหล่งน้ำด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ตาข่ายสวิง อวน เบ็ด หรือแม้กระทั้งการใช้กระแสไฟฟ้า ซึ่งการใช้อุปกรณ์เหล่านี้ มีข้อจำกัดตามสภาพแหล่งน้ำ จึงไม่สามารถสำรวจสิ่งมีชีวิตได้ครบทุกชนิด ทั้งยังเป็นการรบกวนการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำอีกด้วย ทีมนักวิจัยภาควิชาชีววิทยา นำโดย รศ.ดร.มัสลิน โอสถานันต์กุล อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา ได้ใช้ Environmental DNA (eDNA) ซึ่งเป็นชิ้นส่วน DNA สายสั้น ๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ถูกปล่อยออกมาสู่สิ่งแวดล้อม ทดแทนวิธีการใช้อุปกรณ์แบบดั้งเดิม พบว่า สามารถช่วยให้สำรวจสิ่งมีชีวิตในสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีความแม่นยำสูง ตรวจหาสิ่งมีชีวิตได้แม้จะมีจำนวนน้อย และไม่ทำลายระบบนิเวศที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต ทั้งนี้ …

นักชีววิทยา มช. ประสบความสำเร็จ ประยุกต์ใช้ eDNA สำรวจสิ่งมีชีวิตหายากในแม่น้ำสายหลักของไทย Read More »

วิศวะ จุฬาฯ สร้างโลกเสมือนจริงในเมตาเวิร์ส อยู่ที่ไหนก็เที่ยวจุฬาฯ ได้

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดสร้างหอประวัติจุฬาฯ บนโลกเสมือนจริงสามมิติขึ้น เพื่อให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าเยี่ยมชมศึกษาเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยได้ ผ่านอุปกรณ์วีอาร์ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางมาสถานที่จริง อีกทั้งต่อยอดความรู้ในการสร้างโลกเสมือนจริงที่ช่วยในการดำเนินกิจการในภาครัฐวิสาหกิจ และด้านสุขภาพในยุคเมตาเวิร์ส รองศาสตราจารย์ ดร. ลัญฉกร วุฒิสิทธิกุลกิจ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การสร้างโลกเสมือนจริงของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นความร่วมมือระหว่าง คณะวิศวกรรมศาสตร์ กับ สถาบันไทยศึกษา จัดสร้างหอประวัติจุฬาฯ บนโลกเสมือนจริงสามมิติขึ้น เพื่อบอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์เกี่ยวกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผ่านเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน เป็นการบูรณาการข้ามศาสตร์ระหว่างองค์ความรู้ด้านมนุษยศาสตร์ และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เพื่อดำรงคุณค่าและเพิ่มมูลค่าด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ นอกจากนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ยังได้มีการต่อยอดนำความรู้ในการสร้างโลกเสมือนจริงช่วยในการดำเนินกิจการในภาครัฐวิสาหกิจ ด้วยการพัฒนาระบบฝาแฝดดิจิทัลของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ณ เขื่อนท่าทุ่งนา ให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของบุคลากรในเขื่อนตามนโยบายเข้าพัฒนาสู่ยุคดิจิทัลของหน่วยงาน ในโครงการนี้ได้สร้างแบบจำลองสามมิติของโรงไฟฟ้าครบถ้วน ทั้งพื้นที่ภายในและอาคารภายนอก รวมถึงชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่มีในโรงไฟฟ้าทั้งหมด ผลลัพธ์ของโครงงานเป็นประโยชน์เพื่อเตรียมความพร้อมในการนำหุ่นยนต์อัตโนมัติเข้ามาประยุกต์ใช้ในการดูแลโรงไฟฟ้า สามารถใช้ในการฝึกฝนบุคลากรให้มีทักษะในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังใช้สำหรับให้ความรู้กับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับวิศวกรรมเขื่อน และการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของเขื่อน โครงการนี้จึงเป็นตัวอย่างของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเมตาเวิร์สในภาคอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ นอกจากนี้ ในมิติของสุขภาพในยุคเมตาเวิร์ส คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับ ศูนย์ดูแลสภาวะสมองเสื่อม (Dementia Day Center) โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ …

วิศวะ จุฬาฯ สร้างโลกเสมือนจริงในเมตาเวิร์ส อยู่ที่ไหนก็เที่ยวจุฬาฯ ได้ Read More »

ว.บริหารธุรกิจและการบัญชี มธบ. เสริมเทคโนโลยี สร้างนักบัญชีดิจิทัล รองรับธุรกิจยุคใหม่

ผศ.ดร.ศิริเดช คำสุพรหม คณบดีวิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) หรือ DPU เปิดเผยว่า CIBA DPU ได้ลงนามความร่วมมือกับ บริษัท โฟลว์แอคเคาท์ จำกัด และ บริษัท เน็กซ์ทู ซิสเท็ม จํากัด โดยในการร่วมมือครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1.) สนับสนุนให้นักศึกษาเรียนรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ผ่านโปรแกรมบัญชีออนไลน์ 2.) สนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการ ผ่านการจัดอบรมสัมมนาร่วมกัน และ 3.) เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ร่วมฝึกประสบการณ์ผ่านโครงการสหกิจศึกษา โดยนักศึกษาจะได้เรียนรู้เทคนิคการวางระบบบัญชีออนไลน์ เพื่อตอบสนองต่อการทำธุรกิจในปัจจุบัน นักศึกษาจะได้เรียนรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่ สามารถนำไปต่อยอดการทำงานในอนาคตได้ “CIBA DPU ตั้งเป้าหมายให้นักศึกษามีศักยภาพเหนือกว่า AI (Artificial Intelligence) ดังนั้น การเสริมทักษะทางด้านเทคโนโลยีให้กับสายอาชีพบัญชี ถือเป็นทักษะสำคัญของนักบัญชีที่ต้องมีในอนาคต สำหรับนักศึกษาหลักสูตรบัญชีที่เรียนจบออกไป จะต้องเป็นนักบัญชีดิจิทัลที่มีความรู้ มีทักษะ และประสบการณ์หลายด้าน เพื่อเสริมโอกาสในวิชาชีพมากขึ้น ที่สำคัญสามารถตอบโจทย์ความต้องการของแรงงานในอนาคตได้” ผศ.ดร.ศิริเดช กล่าว ด้าน ดร.อรัญญา …

ว.บริหารธุรกิจและการบัญชี มธบ. เสริมเทคโนโลยี สร้างนักบัญชีดิจิทัล รองรับธุรกิจยุคใหม่ Read More »

อาชีวะ ผุดศูนย์ Fix it Center ถาวร ทั่วประเทศ ปลุกสำนึกจิตอาสา พัฒนาคุณภาพแรงงาน

ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จัดการประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานของ ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix it Center) แบบถาวร เพื่อเตรียมความพร้อมในการประเมินศูนย์ฯ ผลการดำเนินงาน ปี 2564 จำนวน 100 ศูนย์ ซึ่งผลจากการประเมิน 3 ปีที่ผ่านมา ได้รับข้อมูลว่าศูนย์ฯ ได้ดำเนินการเป็นไปอย่างโปร่งใส และยุติธรรม มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากประชาชน หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ดังนั้น เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานการดำเนินงานของศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix it Center) แบบถาวร สอศ. ได้นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการให้บริการประชาชน และได้มีการพัฒนาแอปพลิเคชั่น ช่างอาชีวะ (ช่างพันธุ์ R ช่างอาชีวะซ่อมทั่วไทย) เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการให้บริการได้สะดวก รวดเร็ว และช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน เลขาธิการ สอศ. กล่าวต่อไปว่า ในการดำเนินงานทุกขั้นตอนของศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix it Center) แบบถาวร สอศ. ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะผู้เรียนให้สอดคล้องกับทิศทางของโลกในศตวรรษที่ 21 …

อาชีวะ ผุดศูนย์ Fix it Center ถาวร ทั่วประเทศ ปลุกสำนึกจิตอาสา พัฒนาคุณภาพแรงงาน Read More »

error: Content is protected !!