สถานีการศึกษา

บ. เอเอ็มอาร์ เอเซีย ร่วมมือ สอศ. มอบทุน ปวส. ระบบขนส่งทางราง ในโครงการ “ปั้นช่าง สร้างชาติ”

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ บริษัท เอเอ็มอาร์ เอเซีย จำกัด (มหาชน) จัดพิธีมอบทุนการศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเทคนิคควบคุมและซ่อมบำรุงระบบขนส่งทางราง จำนวน 15 ทุน ในโครงการ “ปั้นช่าง สร้างชาติ” ณ ห้องประชุม 5 สอศ. นายยศพล เวณุโกเศศ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ บริษัท เอเอ็มอาร์ เอเชีย จำกัด (มหาชน) เพื่อพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาตอบสนองความต้องการด้านอุตสาหกรรมระบบรางของประเทศ ภายใต้การขับเคลื่อนศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา สาขาวิชาเทคนิคควบคุมและซ่อมบำรุงระบบขนส่งทางราง เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2564 ซึ่ง บริษัท เอเอ็มอาร์ เอเซีย จำกัด (มหาชน) จึงได้ร่วมมือกับ วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี ดำเนินการโครงการ “ปั้นช่าง สร้างชาติ” เพื่อให้ทุนการศึกษา จำนวน 15 ทุน แก่นักเรียนที่มีฐานะยากจน …

บ. เอเอ็มอาร์ เอเซีย ร่วมมือ สอศ. มอบทุน ปวส. ระบบขนส่งทางราง ในโครงการ “ปั้นช่าง สร้างชาติ” Read More »

จุฬาฯ ขึ้นแท่น มหาวิทยาลัย อันดับ 1 ของประเทศ 3 ปีติดต่อกัน คว้าท็อป 16 ของโลก สร้างผลกระทบต่อสังคมสูงสุด

ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่สร้างผลกระทบต่อสังคมสูง (SDGs Impact) โดย THE Impact Ranking ปี 2022 ที่ประกาศผล เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2565 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างความภาคภูมิใจให้มหาวิทยาลัยไทยอีกครั้ง ด้วยการครองอันดับ 1 มหาวิทยาลัยในประเทศไทยเป็นปีที่สามติดต่อกัน และอันดับที่ 16 ของโลก จากมหาวิทยาลัย 1,524 แห่งทั่วโลก จาก 110 ประเทศ ซึ่งถือเป็นอันดับที่สูงที่สุดที่มหาวิทยาลัยไทยเคยได้รับ ทั้งนี้ ผลงานที่โดดเด่น ของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ติดอันดับตามเป้าหมายของ SDG มีดังนี้ SDG 3 – Good Health and Well-being (สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี) ได้อันดับที่ 16 จาก 1,101 มหาวิทยาลัย เพิ่มขึ้น 1 อันดับ SDG 9 – …

จุฬาฯ ขึ้นแท่น มหาวิทยาลัย อันดับ 1 ของประเทศ 3 ปีติดต่อกัน คว้าท็อป 16 ของโลก สร้างผลกระทบต่อสังคมสูงสุด Read More »

ศธ. แถลงผลงาน 1 ปี ขับเคลื่อนการศึกษาทุกมิติ

วันที่ 27 เมษายน 2565 นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) แถลงผลการดำเนินงานในรอบ 1 ปี ของ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) พร้อมขับเคลื่อนการศึกษาในทุกมิติ โดยมีผู้บริหารหน่วยงานหลักของกระทรวงศึกษาธิการร่วมรับฟัง อาทิ นางสาวอรพินทร์ เพชรทัต ผู้ช่วย รมว.ศธ. นายสุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นายสุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา นายวัลลพ สงวนนาม เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย นายเทอดชาติ ชัยพงษ์ ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. เป็นต้น ณ สวนวันครู 65 บริเวณหน้าอาคาร สพฐ. 1 กระทรวงศึกษาธิการ นางสาวตรีนุช เทียนทอง รมว.ศธ. กล่าวว่า 1 ปีที่ผ่านมา ตนได้น้อมนำพระราโชบายด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ …

ศธ. แถลงผลงาน 1 ปี ขับเคลื่อนการศึกษาทุกมิติ Read More »

สพฐ. ชี้แจง กรณีครูคลังสมอง ไม่ได้เลิกจ้าง หมดสัญญาตามกำหนด ขณะนี้ตั้งงบรองรับแล้ว

วันที่ 27 เมษายน 2565 นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีตัวแทนบุคลากรวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ หรือ “ครูคลังสมอง” อ้างว่า สพฐ. จะเลิกจ้างครูคลังสมองทั้งหมด ในวันที่ 30 กันยายน 2565 เนื่องจากไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ พร้อมทั้งเรียกร้องให้ สพฐ. พิจารณาทบทวนการจ้างครูคลังสมองต่อไป นั้น นายอัมพร ได้ชี้แจงกรณีดังกล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา กิจกรรมครูคลังสมอง เพื่อช่วยเหลือโรงเรียนที่ประสบปัญหาการขาดแคลนครูวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยโครงการนี้เริ่มในปีงบประมาณ 2553 ใช้เงินงบประมาณภายใต้โครงการลงทุนด้านการศึกษาและการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ระยะที่ 2 : 2553 – 2555 สนับสนุนการจ้างบุคลากรวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้กับโรงเรียนแกนนำ ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สิ้นสุดโครงการและสิ้นสุดการจัดสรรงบประมาณ ในวันที่ 30 กันยายน 2555 ต่อมา ในปีงบประมาณ 2556 มีการจัดสรรงบประมาณงบดำเนินงาน การจ้างบุคลากรวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้โรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย …

สพฐ. ชี้แจง กรณีครูคลังสมอง ไม่ได้เลิกจ้าง หมดสัญญาตามกำหนด ขณะนี้ตั้งงบรองรับแล้ว Read More »

สำนักงาน คปภ. ให้ทุนบุคคลภายนอก ระดับปริญญาโทขึ้นไป เพื่อศึกษาต่อต่างประเทศ รับสมัครถึง 31 พ.ค.นี้

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ให้ทุนการศึกษาสำหรับบุคคลภายนอกเพื่อศึกษาต่อในระดับปริญญาโทขึ้นไป ทุนที่รับสมัคร ทุนในต่างประเทศ ระดับปริญญาโทขึ้นไป จำนวน 1 ทุน โดยมหาวิทยาลัยในต่างประเทศจะต้อง ได้รับการจัดอันดับจากสถาบันจัดอันดับที่น่าเชื่อถือของต่างประเทศ ไม่เกิน 25 อันดับแรก ในสาขาวิชานั้น ๆ โดยสาขาวิชาของทุนที่รับสมัครสอบ มีดังนี้ กลุ่มสาขาวิชา คอมพิวเตอร์/เทคโนโลยีสารสนเทศ/เทคโนโลยีดิจิทัล/AI/Innovation/DataAnalytics และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง วิชาเอก Big Data/ Data Analytic/ Data Science/ Data Architecture/Network Security/Cyber Security/ Artificial Intelligence/Machine Learning/ นวัตกรรมสื่อสารสังคมนวัตกรรมดิจิทัล/Digital Marketing/ Strategic Marketing/Business Innovation ประเทศที่เลือกไปศึกษาต่อ สหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น เครือออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐสิงคโปร์ สาธารณรัฐเกาหลี ประเทศในภูมิภาคยุโรป (สาธารณรัฐ เอสโตเนีย สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี …

สำนักงาน คปภ. ให้ทุนบุคคลภายนอก ระดับปริญญาโทขึ้นไป เพื่อศึกษาต่อต่างประเทศ รับสมัครถึง 31 พ.ค.นี้ Read More »

วช. ร่วมกับ สวทช. ให้ “ทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัยศักยภาพสูง” ประจำปี 2565 รับสมัครถึง 10 พ.ค.นี้

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ชี้แจง “ทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัยศักยภาพสูง” ประจำปี 2565 โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานกล่าวเปิด และกล่าวถึงเป้าหมายการสนับสนุนทุนวิจัย และได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ศาสตราจารย์ กิตติคุณ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัย และนวัตกรรม (กสว.) ร่วมปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “บทบาทที่คาดหวังจากนักวิจัยศักยภาพสูงในการขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาของประเทศ” และ ดร.สิริกัญจณ์ เนาวพันธ์ ฝ่ายบริหารโครงการความร่วมมือวิจัยขนาดใหญ่ (สวทช.) ให้ข้อมูลแนวทางการขอรับทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัยศักยภาพสูงประจำปี 2565 ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรและสถาบันความรู้ ซึ่งเป็นพันธกิจและกลไกสำคัญประการหนึ่งในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาวอย่างยั่งยืน โดยการพัฒนากำลังคนให้มีความรู้และทักษะที่สอดคล้องกับการทำงานและการดำรงชีวิต ตลอดจนการสร้างความรู้จากการวิจัยในสาขาที่ประเทศไทยมีศักยภาพ เพื่อผลิตผลงานวิจัยที่มีประโยชน์ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และวงวิชาการของประเทศ รวมถึงการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีนักวิจัยระดับปริญญาโท …

วช. ร่วมกับ สวทช. ให้ “ทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัยศักยภาพสูง” ประจำปี 2565 รับสมัครถึง 10 พ.ค.นี้ Read More »

อุทยานวิทยาศาสตร์ มข. เปิดตัว Vallaris Maps Platform จัดการข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ ตอบโจทย์ขับเคลื่อนองค์กรด้วยนวัตกรรม

รศ.ดร.ธีรวัฒน์ เหล่านภากุล รองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่า อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ บริษัท ไอบิทซ์ จำกัด จัดกิจกรรม “NESP Unbox EP.3 เปิดตัว Vallaris Maps Platform” เครื่องมือสำหรับบริหารจัดการข้อมูลทางด้านภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้การขับเคลื่อนให้เกิดระบบนิเวศนวัตกรรม (Eco-System) ทั้งนี้ ได้จัดให้มีการเสวนาในประเด็นเรื่อง ความสำคัญและการขับเคลื่อนหน่วยงานด้วยข้อมูลทางด้านภูมิศาสตร์ โดยได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ที่มีบทบาทในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งการรับมือต่อปัญหาแพร่ขยายของโรคระบาด การบุกรุกทำลายธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ ข้อมูลเหล่านี้เมื่อปรากฏบนแผนที่ ทำให้สามารถแปลความ สื่อความหมาย และนำไปใช้งานได้ง่าย และแก้ไขสถานการณ์ได้ทันท่วงที สำหรับ Vallaris เป็นแพลตฟอร์มทางด้านภูมิศาสตร์ ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดการข้อมูลด้านภูมิศาสตร์แก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งกระจายกันอยู่หลายหลากที่ ไม่ว่าจะเป็น ไฟล์ หรือ ฐานข้อมูล ทำให้เมื่อต้องการใช้งานข้อมูลร่วมกันเป็นไปด้วยความยากลำบาก โดย Vallaris จะมีเครื่องมือสำหรับนำเข้าข้อมูล ทำให้ข้อมูลถูกจัดเก็บอย่างมีระเบียบ เมื่อข้อมูลถูกจัดเก็บอย่างมีระเบียบแล้ว ทำให้สามารถนำข้อมูลทั้งที่เก็บอยู่ใน Vallaris เอง และจากแหล่งข้อมูลภายนอกมาวิเคราะห์ร่วมกันได้ …

อุทยานวิทยาศาสตร์ มข. เปิดตัว Vallaris Maps Platform จัดการข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ ตอบโจทย์ขับเคลื่อนองค์กรด้วยนวัตกรรม Read More »

สพฐ. จัดงาน MOE Mini Hackathon 2022 แก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ จากการเรียนออนไลน์ ช่วงโควิด 19

วันที่ 25 เมษายน 2565 ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานเปิดการแข่งขัน MOE Mini Hackathon 2022 ณ โรงแรมรอยัล ริเวอร์ กรุงเทพมหานคร โดยมี ดร.นิพนธ์ ก้องเวหา ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. พร้อมด้วย ผู้บริหาร สพฐ. เข้าร่วมงานในครั้งนี้ ดร.อัมพร พินะสา ได้กล่าวถึงที่มาและความสำคัญของการจัดแข่งขันครั้งนี้ว่า น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีความห่วงใยนักเรียนที่เกิดปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ หรือ Learning Loss จากการเรียนออนไลน์ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 จึงมีนโยบายให้กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จับมือกับ เครือข่ายครูรุ่นใหม่ และภาคเอกชน ที่ให้ความ สำคัญเรื่องการศึกษา รวมถึงสตาร์ทอัพด้านการศึกษา (EdTech) จัดงาน MOE Mini Hackathon 2022 ขึ้น ระหว่างวันที่ 25 – 27 …

สพฐ. จัดงาน MOE Mini Hackathon 2022 แก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ จากการเรียนออนไลน์ ช่วงโควิด 19 Read More »

กรมส่งเสริมการเกษตร ชูแนวคิดการจัดการดิน ปุ๋ย และน้ำ เพื่อลดผลกระทบจากภัยแล้ง

จากสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ได้ส่งผลกระทบโดยตรงกับเกษตรกร และแหล่งน้ำ ทั้งปัญหาดินขาดความชุ่มชื้น พืชขาดน้ำ พืชไม่เจริญเติบโอย่างเหมาะสม ปริมาณผลผลิตลดลง คุณภาพต่ำ หรือ พืชยืนต้นตาย สูญเสียผลผลิต ครอบคลุมในพืชเศรษฐกิจหลัก ทั้งพืชไร่ พืชผัก และผลไม้ ที่ต้องการน้ำมาก หรืออาศัยน้ำ ในช่วงเวลาการออกดอกและติดผล ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของเกษตรกร และกำลังขยายผลมาสู่ความเสี่ยงต่อการบริโภคของประเทศด้วย ในการนี้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) ได้จัดสรรงบประมาณผ่านกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อการบริหารจัดการผลผลิตด้านการเกษตร ในกรณีภัยแล้ง เพื่อให้ได้โมเดลที่จะแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ผ่านโครงการศึกษาการจัดการดิน ปุ๋ย และน้ำ อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นางสาวกรกัญญา อักษรเนียม นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ กลุ่มส่งเสริมการจัดการดินปุ๋ย กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงที่มาและวัตถุประสงค์ของการศึกษาการจัดการดิน ปุ๋ย และน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ที่มีประสิทธิภาพ ว่า สิ่งที่ต้องดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนน้ำในช่วงหน้าแล้ง และลดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม จำเป็นต้องจัดการปัจจัยพื้นฐานในการผลิตพืช นั่นคือ “ดิน” เพราะดิน คือ ปัจจัยหลักในการเป็นแหล่งให้น้ำ …

กรมส่งเสริมการเกษตร ชูแนวคิดการจัดการดิน ปุ๋ย และน้ำ เพื่อลดผลกระทบจากภัยแล้ง Read More »

สพฐ. MOU ศาลปกครอง เสริมความรู้หลักกฎหมายปกครอง ให้ครู นักเรียน และบุคลากรทางการศึกษา

วันที่ 26 เมษายน 2565 นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กับ สำนักงานศาลปกครอง โดยมี นางสมฤดี ธัญญสิริ เลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง นายยุทธนา ศรีตระกูล รองเลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง นายเทอดชาติ ชัยพงษ์ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ.) และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ ห้องประชุม สพฐ. 1 อาคาร สพฐ. 4 ชั้น 2 กระทรวงศึกษาธิการ นายอัมพร พินะสา (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ดำเนินกิจกรรมความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง สำนักงานศาลปกครอง กับ สพฐ. ในการที่จะดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของศาลปกครอง หลักกฎหมายปกครอง และแนวทางการปฏิบัติราชการตามคำวินิจฉัยของศาลปกครอง ให้แก่ ครู บุคลากรของ สพฐ. …

สพฐ. MOU ศาลปกครอง เสริมความรู้หลักกฎหมายปกครอง ให้ครู นักเรียน และบุคลากรทางการศึกษา Read More »

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!