สถานีการศึกษา

จุฬาฯ เปิดตัว แอปพลิเคชัน PDPlus ติดตามอาการผู้ป่วยพาร์กินสันแบบเรียลไทม์ เพิ่มคุณภาพชีวิต

ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันฯ โรงพยาบาลจุฬาฯ เปิดตัว แอปพลิเคชัน PDPlus ช่วยผู้ป่วยพาร์กินสันบันทึกอาการแบบ​ Real time พร้อมระบบเตือนทานยา เกมทดสอบประเมินการเคลื่อนไหว และระบบรายงานผลให้แพทย์ติดตามอาการอย่างใกล้ชิด โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease) เป็นโรคความเสื่อมของระบบประสาทที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป สถิติปี 2553 ระบุว่า ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคพาร์กินสันราว 60,000 คน ซึ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ตัวเลขนี้ดูจะสูงขึ้นตามจำนวนประชากรสูงวัยในสังคมที่เพิ่มขึ้น โดยสถิติล่าสุด เผยว่า 3 % ของประชากรสูงวัยในประเทศมีอาการของโรคพาร์กินสัน (ราว 360,000 คน จากจำนวนประชากรสูงวัยราว 12 ล้านคนในปัจจุบัน) โรคพาร์กินสันเป็นโรคที่รักษาได้ โดยการรักษาหลักจะเป็นการรักษาด้วยยาเพื่อควบคุมอาการของโรค เช่น อาการสั่น อาการเคลื่อนไหวช้า อาการแข็งเกร็ง การทรงตัวผิดปกติ อาการเดินติดก้าวไม่ออก หากโรคดำเนินไปมากขึ้น จะมีการตอบสนองต่อยาไม่สม่ำเสมอ มีช่วงเวลาที่ตอบสนองต่อยาลดลง และมีระยะเวลาที่อาการดีลดลง หรือมีอาการหมดฤทธิ์ยาก่อนมื้อยาถัดไป มีอาการยุกยิกหรืออาการเคลื่อนไหวมากกว่าปกติ “อาการของผู้ป่วยพาร์กินสัน จะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในแต่ละวัน แพทย์จึงแนะนำให้ผู้ป่วยบันทึกอาการและการรับประทานยาอย่างละเอียด …

จุฬาฯ เปิดตัว แอปพลิเคชัน PDPlus ติดตามอาการผู้ป่วยพาร์กินสันแบบเรียลไทม์ เพิ่มคุณภาพชีวิต Read More »

อ.นิติศาสตร์ จุฬาฯ ชี้ “Sex Creator” อาชีพชายขอบในช่องทางใหม่ รัฐควรทำความเข้าใจ ไม่ใช่ป้องปราบ

อาชีพชายขอบ “Sex Creator” อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ชี้ทุกฝ่ายควรทำความเข้าใจบริบทสังคมที่เปลี่ยนไป เน้นรัฐกำกับดูแลมากกว่าป้องปราบ ให้ความคุ้มครองสิทธิด้านเพศกับทุกคน พร้อมทั้งส่งเสริมสุขภาวะทางเพศ และเสรีภาพการแสดงออกทางเพศตามกฎหมาย ใครที่ติดตามข่าวสารบ้านเมืองในช่วงที่ผ่านมา คงพอจะได้รับทราบข่าวเกี่ยวกับการบุกจับกุมและดำเนินคดีผู้ผลิตสื่อลามกอนาจาร หรือที่เรียกกันติดปากว่า Sex Creator บนแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ชื่อว่า Onlyfans ข่าวนี้สร้างกระแสการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในเรื่องความเหมาะสมของเนื้อหาทางเพศ บุคคลที่เป็น sex creator กฎหมายเสรีภาพการแสดงออก และการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ อาจารย์ ดร.พัชร์ นิยมศิลป อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชวนสังคมตั้งคำถามและพินิจปรากฏการณ์นี้อย่างรอบด้าน ทั้งมิติทางสังคมวัฒนธรรม กฎหมาย เพื่อความเข้าใจและมีท่าทีที่เหมาะสมในการอยู่ร่วมกันในสังคม Sex Creator คืออะไร? อาชีพดั้งเดิมในช่องทางใหม่ หากลองค้นใน search engine อย่างเว็บไซต์ Google ก็อาจจะได้ความหมายของ Sex Creator โดยคร่าวๆ ว่าหมายถึงผู้ที่ผลิตเนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่ โดยผลิตเนื้อหาเกี่ยวกับเพศในลักษณะที่อาจเข้าข่ายลามกอนาจาร เพื่อหารายได้จากช่องทางการรับชมออนไลน์ “สื่อลามกอนาจารหรือสื่อโป๊ ไม่ใช่ของใหม่ มีมาตั้งแต่เกิดอารยธรรมมนุษย์แล้ว ทั้งโสเภณีหรือนางบำเรอ ก็น่าจะเป็นอาชีพที่เก่าแก่ที่สุดอาชีพหนึ่ง อย่างน้อยที่สุดก็เท่าที่มีการบันทึกเอาไว้ และด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน …

อ.นิติศาสตร์ จุฬาฯ ชี้ “Sex Creator” อาชีพชายขอบในช่องทางใหม่ รัฐควรทำความเข้าใจ ไม่ใช่ป้องปราบ Read More »

วิทยาลัยการอาชีพพุทธมณฑล จับมือ ร.ร.โสตศึกษา จัดหลักสูตรสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน

นางณชนกพรหมพร บุญชูศรี ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพพุทธมณฑล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในการจัดการศึกษาทวิภาคีแบบเรียนรวม ร่วมกับ ผู้อำนวยการโรงเรียนโสตศึกษา สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อยกระดับความร่วมมือในการจัดการเรียนการสอนในระดับอาชีวศึกษาให้กับผู้เรียนผู้พิการ โดยเฉพาะผู้มีความบกพร่องทางการได้ยิน นางณชนกพรหมพร บุญชูศรี ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพพุทธมณฑล ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับ นายอภิรัฐ จันทรักษ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสงขลา และนางนวพร รอดคุ้ม ผู้อำนวยการโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อจัดการเรียนการสอนร่วมกันและส่งต่อผู้เรียนผู้พิการได้มีโอกาสเรียนต่อในสายอาชีพอย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง ยังมีโครงการที่จะลงนามความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับ โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดชลบุรี โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช และโรงเรียนโสตศึกษาทั่วประเทศในโอกาสต่อไป ทั้งนี้ นางณชนกพรหมพร บุญชูศรี ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพพุทธมณฑล ได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามข้อมูลของนักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ที่รับทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง (กสศ.) ในปี 2564 และพิจารณาผู้ที่จะรับทุนประจำปี 2565 โดยได้ประชุมร่วมกับผู้ปกครอง ผู้บริหาร และครูผู้สอนของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสงขลา และ โรเรียนโสตศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือผู้เรียนผู้พิการที่มีความต้องการที่จะเรียนต่อในสายอาชีพ แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์และมีความต้องการพิเศษเนื่องจากความพิการ อีกทั้งและยังได้หารือกับผู้ปกครองในเรื่องพฤติกรรมทางการเรียน พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน …

วิทยาลัยการอาชีพพุทธมณฑล จับมือ ร.ร.โสตศึกษา จัดหลักสูตรสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน Read More »

“นวัตกรรมการออกแบบ” อินเตอร์ มจธ. ส่งนศ.ร่วมงานบริษัทออกแบบชั้นนำระดับโลก เรียนรู้จากประสบการณ์จริงรายแรกของไทย

โปรแกรม DIPS หรือ Design Innovation Practice School” หลักสูตรนานาชาติ สาขานวัตกรรมการออกแบบ ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกสาขาวิชาที่สนใจอยากเรียนการออกแบบ หรืออยากเป็นนักออกแบบมืออาชีพ โดยไม่เน้นว่านักศึกษาจะต้องวาดรูปเก่ง แค่มีความคิดสร้างสรรค์ มีความพร้อมในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และมีทักษะด้านภาษาอยู่บ้าง ก็สามารถมาเรียนได้ ที่สำคัญเป็นหลักสูตรที่ “ไม่มีสอบ” วัดผลจากผลงานเพียงเท่านั้น แถมได้ไปทำงานจริงรับโจทย์จริงกับบริษัทออกแบบชั้นนำระดับโลกเป็นระยะเวลากว่า 30 เดือน หรือ 2 ปีครึ่ง หลังเปิดการเรียนการสอนมากว่า 1 ปี ปัจจุบันมีนักศึกษารุ่นแรกทั้งสิ้นจำนวน 24 คน (นักศึกษาไทย 20 คน, ฟิลิปปินส์ 1 คน กัมพูชา 2 คน และอินเดีย 1 คน) เพราะ DIPS เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนการสอนแบบ Experiential Learning Platform การเรียนเสมือนการทำงานในชีวิตจริงที่แรกในประเทศไทย ล่าสุด นักศึกษารุ่นแรกของหลักสูตร …

“นวัตกรรมการออกแบบ” อินเตอร์ มจธ. ส่งนศ.ร่วมงานบริษัทออกแบบชั้นนำระดับโลก เรียนรู้จากประสบการณ์จริงรายแรกของไทย Read More »

มจธ. วางมาตรการเข้ม เดินหน้าลดการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ ภายในปี 2583

การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ เป็นหนึ่งในโมเดลการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในปัจจุบันที่มีความรุนแรงมากขึ้น หลายหน่วยงานในหลายประเทศตระหนักและตื่นตัวในเรื่องนี้อย่างมาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เป็นสถาบันการศึกษาที่มีหน้าที่ในการผลักดันองค์ความรู้ใหม่ ๆ ออกสู่สังคม และมีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนนโยบายของประเทศ จึงได้เตรียมความพร้อมในการร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนนโยบายการแก้ไขปัญหาสภาพอากาศของโลก ทั้งยังเป็นอีกหนึ่งในเป้าหมายสำคัญที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างยั่งยืนของ มจธ. นับเป็นการมีส่วนร่วมที่สำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 คือ การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ของ มจธ. ภายในปี พ.ศ. 2583 (KMUTT Carbon Neutrality 2040) ตามประกาศเจตนารมณ์ของ มจธ. เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ผลจากการศึกษาและเก็บข้อมูล พบว่า มจธ. ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (เทียบเท่า) 16,720 ตัน จากการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ของทั้ง 4 พื้นที่การศึกษา ได้แก่ บางมด บางขุนเทียน ราชบุรี และอาคารเคเอกซ์ (KX) โดยสัดส่วนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุด มาจากการใช้ไฟฟ้าหรือเท่ากับ 94% …

มจธ. วางมาตรการเข้ม เดินหน้าลดการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ ภายในปี 2583 Read More »

ซีพี ออลล์ ขยายเครือข่าย รร. “ต้นกล้าไร้ถัง” 245 โรงเรียนภาคอีสาน บูรณาการองค์ความรู้การจัดการขยะเต็มรูปแบบ

ซีพี ออลล์ยกทัพพันธมิตรขยายเครือข่าย รร. “ต้นกล้าไร้ถัง” 245 โรงเรียนในภาคอีสาน หนึ่งในโครงการที่ซีพี ออลล์-เซเว่น อีเลฟเว่น ให้การสนับสนุนและร่วมขับเคลื่อนผ่านโครงการสานอนาคตการศึกษา CONNEXT ED และร่วมยกระดับการศึกษาเพื่อชีวิตที่ดีกว่า (Education for better life) มาอย่างต่อเนื่อง จากความสำเร็จของการบูรณาการหลักสูตรการศึกษาให้เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมลดปริมาณขยะภายในโรงเรียน ผ่านโครงการ “ต้นกล้าไร้ถัง” ของโรงเรียนอนุบาลทับสะแก อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ หนึ่งในโรงเรียนที่ได้รับการยกให้เป็นโรงเรียนต้นแบบ (School Model) ภายใต้ โครงการสานอนาคตการศึกษา CONNEXT ED โดยการสนับสนุนของ ซีพี ออลล์ ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่ นำทัพพันธมิตรวิทยากรด้านการจัดการขยะ มอบองค์ความรู้สู่การขยายเครือข่ายในพื้นที่ภาคอีสานผ่านการจัดงานสัมมนาแบบคู่ขนาน (Hybrid) “การบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมภายใต้แนวคิดต้นกล้าไร้ถัง ประจำปี 2565” ให้กับ 245 โรงเรียน สังกัด สพป.กาฬสินธุ์ เขต 1 เขต 2 เขต 3 …

ซีพี ออลล์ ขยายเครือข่าย รร. “ต้นกล้าไร้ถัง” 245 โรงเรียนภาคอีสาน บูรณาการองค์ความรู้การจัดการขยะเต็มรูปแบบ Read More »

เอกอัครราชทูตอิสราเอล ประจำประเทศไทย เยือน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ต่อยอดความร่วมมือทางวิชาการ

รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นกับประเทศอิสราเอล มีความร่วมมือโครงการวิจัยที่พัฒนาร่วมกันเป็นระยะเวลานาน โดยเฉพาะความร่วมมือร่วมกับคณะเกษตรศาสตร์ อาทิ Thai–Israel Techno-Demonstration unit for irrigating high-value crops และ the Agricultural Demonstration Farm (แปลงทดลองสาธิตทางการเกษตร) อันนำไปสู่การลงนามความร่วมมือทางวิชาการ MOU ระหว่าง มหาวิทยาลัยขอนแก่น และประเทศอิสราเอล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ยังมีกิจกรรมความร่วมมืออื่น ๆ ร่วมกับ ประเทศอิสราเอล เช่น เมื่อปี พ.ศ. 2558 อดีตเอกอัครราชทูตอิสราเอล ประจำประเทศไทย ได้มีโอกาสเยือน มข. เนื่องในพิธีเปิด “Small Irrigation International Training Course” เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการแหล่งน้ำในพื้นที่แห้งแล้ง แถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย และ …

เอกอัครราชทูตอิสราเอล ประจำประเทศไทย เยือน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ต่อยอดความร่วมมือทางวิชาการ Read More »

ศธ. ประชุม รร.เอกชนนอกระบบ กลุ่มโรงเรียนบริบาล เตรียมพัฒนาบุคลากร รองรับสังคมสูงวัย

รมว.ศธ. “ตรีนุช เทียนทอง” เปิดการประชุมขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา โรงเรียนเอกชนนอกระบบ กลุ่มโรงเรียนบริบาล เตรียมบุคลากรดูแลผู้สูงอายุ รับสังคมไทยที่ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย (Aged Society) เมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2565 นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธานเปิดการประชุมพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนเอกชนนอกระบบ กลุ่มโรงเรียนบริบาล (การดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ดูแลผู้สูงอายุ) โดย นายพีรศักดิ์ รัตนะ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (เลขาธิการ กช.), นายประยูร หรั่งทรัพย์ รองเลขาธิการ กช., นางสุมิตรา ทองแสง ผอ.กลุ่มงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ, นายพรชัย พิศาลสิษฐ์กุล นายกสมาคมการศึกษาเอกชนนอกระบบ (ประเทศไทย), ดร.สุภาวดี ดวงศิริ นายกสมาคมโรงเรียนบริบาล พร้อมด้วย ผู้รับใบอนุญาต ผู้บริหาร ครูผู้สอนโรงเรียนเอกชนนอกระบบ กลุ่มโรงเรียนบริบาล เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมปิ่นเกล้า 2 ชั้น 9 โรงแรมรอยัลซิตี้ กรุงเทพฯ ถ่ายทอดสดผ่าน …

ศธ. ประชุม รร.เอกชนนอกระบบ กลุ่มโรงเรียนบริบาล เตรียมพัฒนาบุคลากร รองรับสังคมสูงวัย Read More »

คณะท่องเที่ยวฯ มธบ. พา นศ.สัมผัสการท่องเที่ยวแบบรักษ์โลก เทรนด์การเรียนรู้นอกห้องเรียนยุคโควิค

นางสาวพรทิพย์ บุญเที่ยงธรรม อาจารย์ประจำสาขาการท่องเที่ยวและธุรกิจอีเวนต์ คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) เปิดเผยว่า จากการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ได้กลายเป็นปัญหาใหญ่ต่อกลไกการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของประเทศ ที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นและการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวให้ลดน้อยลง แต่หากมองในมุมของสิ่งแวดล้อมแล้วนั้น ถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีที่ธรรมชาติจะได้ฟื้นตัวอีกครั้ง หลังจากถูกการท่องเที่ยวรบกวนมาเป็นระยะเวลานาน และจากสาเหตุดังกล่าว ส่งผลให้พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเปลี่ยนแปลงไป โดยการเริ่มมองหาสถานที่ท่องเที่ยวที่อยู่ห่างไกลผู้คน แต่อยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ สถานที่ที่ได้รับความสนุกสนานกับกิจกรรมการท่องเที่ยว แต่สัมผัสได้ถึงความปลอดภัย หรือสถานที่ที่ได้ดื่มด่ำกับธรรมชาติ ละเมียดละไมกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรม แต่ได้มีโอกาสทำประโยชน์กลับคืนสู่สิ่งแวดล้อมและสังคม Low Carbon Tourism หรือ การท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ เป็นอีกหนึ่งรูปแบบการท่องเที่ยวที่ผสมผสานแนวคิดของการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และการท่องเที่ยวที่มีความรับผิดชอบ เข้าไว้ด้วยกัน โดยมีใจความสำคัญที่ว่า “เที่ยวอย่างไรจึงจะปล่อยก๊าซคาร์บอนให้น้อยที่สุด” หากพิจารณาแล้วจะพบว่า ทุกย่างก้าวของการออกเดินทางท่องเที่ยว ล้วนก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศ เป็นส่วนหนึ่งที่เร่งให้เกิดผลกระทบที่ร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมและโลกใบนี้ ดังนั้น จุดเริ่มต้นของการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำจึงเกิดขึ้น เมื่อนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการการท่องเที่ยวเริ่มให้ความสำคัญกับการจัดการการท่องเที่ยวที่ช่วยลดปัญหาการเกิดภาวะโลกร้อน โดยพยายามออกแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด และในขณะเดียวกันก็ต้องส่งเสริมการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับประสบการณ์ที่แปลกใหม่ เกิดความตระหนักรู้และใส่ใจในสิ่งแวดล้อมได้ไปพร้อม ๆ กัน อาจารย์พรทิพย์ กล่าวต่อว่า จากเทรนด์การท่องเที่ยวกลายเป็นสิ่งที่จับต้องได้ จึงได้หยิบยก “ชุมชนท่องเที่ยวบ้านถ้ำเสือ” อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี …

คณะท่องเที่ยวฯ มธบ. พา นศ.สัมผัสการท่องเที่ยวแบบรักษ์โลก เทรนด์การเรียนรู้นอกห้องเรียนยุคโควิค Read More »

สารสกัดจากทุเรียนอ่อน ต่อต้านอนุมูลอิสระ ใช้ผลิตเครื่องสำอางได้ สร้างมูลค่าเพิ่มของเหลือการเกษตร

รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภอรรจ ศิริกันทรมาศ ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยถึงที่มาของการวิจัยสารสกัดจากทุเรียนอ่อนสำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ว่า เนื่องจากชาวสวนต้องตัดผลทุเรียนอ่อนทิ้งโดยเฉลี่ยแล้วราว 200-300 ผลต่อหนึ่งต้น เนื่องจากทุเรียนหนึ่งต้นจะออกดอกจำนวนมาก ถ้าทุกดอกกลายเป็นผลทั้งหมด ต้นทุเรียนจะรับน้ำหนักไม่ไหว ทำให้กิ่งหักได้ ชาวสวนจึงต้องเลือกผลที่จะเจริญเติบโตได้จริง และมีรูปร่างสวยงาม เพื่อขายได้ราคาดี “ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกทุเรียนหลายแสนไร่ ผลผลิตที่ออกมาในแต่ละปีมีจำนวนมาก แต่วัตถุดิบที่เป็นของเหลือใช้ทางการเกษตรที่สูญเปล่า ไม่มีคนสนใจ และไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ ก็มีอยู่เป็นจำนวนมากเช่นกัน เราจึงคิดสร้างมูลค่าเพิ่มให้ทุเรียนอ่อนในสวน โดยการหาส่วนประกอบทางชีวภาพในทุเรียนอ่อนว่าจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับอะไรได้บ้าง” รศ.ดร.ศุภอรรจ อธิบายว่า ทุเรียนอ่อน คือ ผลของทุเรียน (Durio zibethinus L.) ระยะตัดแต่งผล ที่ยังไม่มีการเจริญของเนื้อผลที่สมบูรณ์ และยังไม่มีการสร้างกลิ่นของสารระเหย ที่มีซัลเฟอร์เป็นองค์ประกอบ ซึ่งเป็นกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของทุเรียน ผลทุเรียนอ่อนมีความยาว 6-12 เซนติเมตร และมีเมือกใสคล้ายเมือกหอยทากอยู่ภายใน เมื่อนำไปแช่น้ำ “ทีมวิจัยได้นำผลทุเรียนอ่อนไปวิเคราะห์เมแทโบโลม (เมแทบอไลต์ทั้งหมด) เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางเคมี และศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพควบคู่ไปด้วย จึงพบสารกลุ่มโพลีฟีนอล (Polyphenols) ที่มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่สูงมาก และพบสารประกอบฟีนอลิก (Phenolics) ที่มีฤทธิ์ยับยั้งหรือชะลอการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation) …

สารสกัดจากทุเรียนอ่อน ต่อต้านอนุมูลอิสระ ใช้ผลิตเครื่องสำอางได้ สร้างมูลค่าเพิ่มของเหลือการเกษตร Read More »

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!