จุฬาฯ พัฒนา “นวัตกรรมเพื่อยกระดับความมั่นคงทางอาชีพและรายได้ ให้กับแรงงานนอกระบบที่เป็นผู้สูงอายุสำรองและสูงอายุ” ผลงานวิจัยระดับดี สาขาสังคมวิทยา จาก วช.
“นวัตกรรมเพื่อยกระดับความมั่นคงทางอาชีพและรายได้ให้กับแรงงานนอกระบบที่เป็นผู้สูงอายุสำรองและสูงอายุ โดยการส่งเสริมเศรษฐกิจสมานฉันท์ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล” ผลงาน ของ รศ.ดร.รัตติยา ภูละออ วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาฯ หัวหน้าโครงการวิจัยร่วมกับ สถาบันเอเชีย และคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งได้รับรางวัลผลงานวิจัยระดับดี (สาขาสังคมวิทยา) ประจำปี 2567 จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นผลงานวิจัยที่มีความโดดเด่นเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้สูงอายุในปัจจุบัน และผู้ที่กำลังเข้าสู่วัยสูงอายุที่ทำงานนอกระบบ ให้สามารถใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลในการหารายได้เพิ่มเติมสำหรับผู้ที่ยังต้องการทำงานและหารายได้ . . รศ.ดร.รัตติยา ภูละออ เผยถึงวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ว่า เพื่อวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาทักษะความเข้าใจการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการสร้างอาชีพและรายได้ให้กับผู้สูงอายุสำรองและผู้สูงอายุ รวมถึงการสร้างนวัตกรรมส่งเสริมการเข้าถึงแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยเน้นการมีส่วนร่วมและเสริมสร้างเศรษฐกิจสมานฉันท์ ตลอดจนวิเคราะห์ข้อเสนอแนะแนวทางและนโยบายที่สามารถส่งเสริมการทำงานของผู้สูงอายุผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล . กระบวนการทำงานวิจัยเป็นการวิเคราะห์และสังเคราะห์สภาพปัจจุบัน ทบทวนสถานการณ์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จากการสำรวจเอกสารแล้ว จึงใช้วิธีการวิจัยแบบผสมเชิงคู่ขนาน โดยการวิเคราะห์เชิงปริมาณกับผู้สูงอายุสำรองและผู้สูงอายุจำนวน 1,605 คน ในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดปัดตานี และการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์และจัดระดมความเห็น จากนั้น นำมาออกแบบ สร้าง ประเมิน และทำการทดลองใช้นวัตกรรมต้นแบบ ตามผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณและคุณภาพ แล้วจึงปรับปรุงนวัตกรรมระหว่างการใช้งาน สุดท้ายจึงทำการวิเคราะห์ข้อเสนอแนะ เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล และสังเคราะห์แนวทางต่อยอดการนำไปใช้ ทั้งเชิงวิชาการ …