สพฐ. เดินหน้าแก้ปัญหาเด็กหลุดจากระบบการศึกษา ด้วยนวัตกรรมการศึกษาแบบยืดหยุ่น 1 โรงเรียน 3 รูปแบบ เพิ่มโอกาสเข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียม

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

นายพัฒนะ พัฒนทวีดล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการเส้นทางสู่การจัดการศึกษาที่ยืดหยุ่นด้วย 1 โรงเรียน 3 รูปแบบ (ครั้งที่ 1) ผ่านระบบ Online กล่าวว่า เพื่อป้องกันปัญหาเด็กหลุดจากระบบการศึกษา ในช่วงเปิดภาคเรียน ปี 2568 นี้ ผ่านการจัดการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น สอดคล้องกับเงื่อนไขชีวิตของเด็กทุกคน และสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่ง สพฐ. มีทิศทางและนโยบายสนับสนุนการจัดการศึกษาที่ยืดหยุ่น ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 15 ที่ได้กำหนดให้สถานศึกษาสามารถจัดการศึกษาได้ 3 รูปแบบ คือ 1. การจัดการศึกษาในระบบ เหมือนหลักสูตรทั่วไปตามโรงเรียน 2. การศึกษานอกระบบ สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการของผู้เรียนแต่ละกลุ่ม และ 3. การศึกษาตามอัธยาศัย เรียนรู้ตามศักยภาพและความสนใจ

การดำเนินงาน 1 โรงเรียน 3 รูปแบบ มีความก้าวหน้าที่สำคัญ คือ ได้ประกาศใช้คู่มือแนวทางการจัดการศึกษาที่ยืดหยุ่น 1 โรงเรียน 3 รูปแบบ สำหรับสถานศึกษา ในสังกัด สพฐ. ปัจจุบันมี 54 โรงเรียนต้นแบบฯ เพื่อแก้ปัญหาเด็กหลุดจากระบบการศึกษา โดยความร่วมมือระหว่าง กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ที่ได้เริ่มต้นจุดประกายการจัดการศึกษาดังกล่าว และการขยายนวัตกรรม 1 โรงเรียน 3 รูปแบบ ให้ครอบคลุมอย่างน้อย 1 อำเภอ 1 สถานศึกษาที่ยืดหยุ่น ซึ่งหัวใจสำคัญของ 1 โรงเรียน 3 รูปแบบ คือ การจัดการศึกษาที่ยืดหยุ่น โดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียนแต่ละคน ตามความถนัดอย่างเต็มศักยภาพ

พร้อมกันนี้ สพฐ. ยังได้ดำเนินโครงการ “พาน้องกลับมาเรียน นำการเรียนไปให้น้อง” (OBEC Zero Dropout) ร่วมขับเคลื่อนประเทศไทย เพื่อแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาให้กลายเป็นศูนย์ ในการทำงานร่วมกับ กสศ. โดยมีแนวทาง ดังนี้ 1. มาตรการค้นหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา ผ่านการบูรณาการและเชื่อมโยงข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีเป้าหมายเพื่อนำไปสู่การค้นพบเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา 2. มาตรการติดตาม ช่วยเหลือ ส่งต่อ และดูแลเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา โดยบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนแต่ละราย ทั้งด้านการศึกษา สุขภาวะ พัฒนาการ สภาพความเป็นอยู่ และ สภาพสังคม 3. มาตรการจัดการศึกษาและเรียนรู้แบบยืดหยุ่นมีคุณภาพ เหมาะสมกับศักยภาพของเด็กและเยาวชนแต่ละราย มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาและพัฒนาเต็มศักยภาพของตนเอง และ 4. มาตรการส่งเสริมผู้ประกอบการภาคเอกชนให้เข้ามาร่วมจัดการศึกษา หรือ เรียนรู้ มีเป้าหมาย เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาหรือการเรียนรู้ ในลักษณะ Learn to Earn ให้เด็กและเยาวชน อายุ 15-18 ปี ได้พัฒนาทักษะการทำงานที่สอดคล้องกับตลาดแรงงาน เหมาะสมตามศักยภาพ และมีรายได้เสริมระหว่างการศึกษา ซึ่งเป็นแนวทางที่รัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ ได้เร่งดำเนินการร่วมกับ กสศ.

ขอบคุณข้อมูลจาก สพฐ.

RANDOM

สมาคมผู้สื่อข่าวกีฬา ออกแถลงวอนสมาชิกโอลิมปิกไทย เลือกประธานคนใหม่ อย่าให้ได้คนมีผลประโยชน์ทับซ้อน หรือได้คนที่ไร้ความรู้ ความสามารถทางการกีฬาที่ประจักษ์ เพื่อการพัฒนาองค์กรอย่างแท้จริง

NEWS

ไทยพีบีเอส ร่วมกับ วช. และ มูลนิธิอาจารย์สุกรี เจริญสุข เชิญชวนคนดนตรีรุ่นใหม่ประชันฝีมือ บนเวที “ประลองยอดฝีมือเยาวชนดนตรี ครั้งที่ 3 ประจำปี 2569” ชิงรางวัลรวม 200,000 บาท สมัครและส่งผลงานรอบคัดเลือกทางออนไลน์ ตั้งแต่บัดนี้ – 26 พ.ค.

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!