ซินโครตรอน ร่วมโครงการ “ธัชวิทย์” พัฒนาหลักสูตรสร้างบัณฑิตวิทย์สมรรถนะสูง ตั้งเป้าขับเคลื่อนประเทศด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เข้าร่วมโครงการ “ธัชวิทย์” พัฒนาหลักสูตรสร้างบัณฑิตวิทย์สมรรถนะสูง ด้วยความร่วมมือของสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัย และภาคเอกชน เน้นให้นักศึกษาทำงานที่สถาบันวิจัย หรือ ภาคเอกชน อย่างน้อย 70% เป้าหมายสู่การเปลี่ยนประเทศด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม

เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ศ. (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) แถลงนโยบาย “ธัชวิทย์” วิทยสถานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (Thailand Academy of Sciences : TAS) เพื่อพัฒนากำลังคน และวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายในพิธีเปิดตัว และพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “ธัชวิทย์” วิทยสถานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ระหว่าง สถาบันวิจัยแห่งชาติ สถาบันอุดมศึกษา และ ภาคเอกชน ณ ห้องแถลงข่าว อาคารพระจอมเกล้า กระทรวง อว. โดยมี รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ประธานกรรมการบริหาร บพค. และ ประธานกรรมการบริหารสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ร่วมบรรยายพิเศษใน หัวข้อ “ธัชวิทย์ เพื่อประเทศไทย”

โอกาสนี้ รศ.ดร.สาโรช รุจิรวรรธน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “ธัชวิทย์” วิทยสถานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ ตัวแทนจากสถาบันวิจัยแห่งชาติ สถาบันอุดมศึกษา และภาคเอกชนทั้งหมด 26 หน่วยงาน ซึ่งจะร่วมกันพัฒนาหลักสูตรบัณฑิตวิทย์สมรรถนะสูง เพื่อผลิตกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีทักษะ หรือ ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง โดยมีหัวข้อวิจัยจากสถาบันวิจัย และนักศึกษาต้องทำงานวิจัยที่สถาบันวิจัย หรือ ภาคเอกชนอย่างน้อย 70% ของระยะเวลาหลักสูตร อีก 30% เรียนภาคทฤษฎี และ soft skill ซึ่งบัณฑิตธัชวิทย์จะสำเร็จการศึกษา โดยมีทั้ง Degree certificate และ Skill (non-degree) certificate และจะได้รับเข้าทำงานในสถาบันวิจัย และ ภาคเอกชน ในส่วนของ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน จะร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) พัฒนาหลักสูตร High Energy Physics Innovation

สำหรับ โครงการ “ธัชวิทย์” ดำเนินการโดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และ ทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) เพื่อเปลี่ยนประเทศด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม โดยมีกลไกขับเคลื่อนใน 3 มิติ ได้แก่ 1. คลังความคิดนักวิทย์ เพื่อเป็นศูนย์กลางของผู้เชี่ยวชาญ 2. การทำวิจัยขั้นแนวหน้า ที่ส่งผลกระทบสูงต่อเศรษฐกิจ และสังคม และรองรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ และ 3. การสร้างและพัฒนาบัณฑิตวิทย์สมรรถนะสูง

RANDOM

error: Content is protected !!