รายงานผลการสำรวจความคิดเห็น เรื่อง มหกรรมกีฬาเยาวชนแห่งชาติกับมิติการพัฒนาและความคาดหวังศึกษากรณี พัทลุงเกมส์

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

จากการที่จังหวัดพัทลุงภายใต้การสนับสนุนของการกีฬาแห่งประเทศไทยกำหนดเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันมหกรรมกีฬาเยาวชนแห่งชาติ (พัทลุงเกมส์) ครั้งที่ 37 ระหว่างวันที่ 29 กรกฎาคม 2565-10 สิงหาคม 2565 นั้นเพื่อเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมและสะท้อนมุมมองของแฟนกีฬาตลอดจนประชาชนทั่วไปที่เกี่ยวกับมิติของการจัดการแข่งขันในมหกรรมกีฬาดังกล่าวKBUSPORTPOLLโดยศูนย์นวัตกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตจึงได้สำรวจความคิดเห็นเรื่อง“มหกรรมกีฬาเยาวชนแห่งชาติกับมิติการพัฒนาและความคาดหวัง ศึกษากรณีพัทลุงเกมส์”

สำหรับการสำรวจดังกล่าวดำเนินการผ่านระบบออนไลน์ระหว่างวันที่ 21-24 กรกฎาคม 2565โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นแฟนกีฬาและประชาชนทั่วประเทศจำนวน1,407คนโดยแบ่งเป็นเพศชายจำนวน 916  คน คิดเป็นร้อยละ 65.10  เพศหญิง จำนวน 491 คน คิดเป็นร้อยละ 34.90 ซึ่งผลการวิเคราะห์ในภาพรวมพบว่า

ความสนใจที่จะติดตามการแข่งขัน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 39.66 สนใจ รองลงมา ร้อยละ 32.11 ยังไม่ตัดสินใจ และร้อยละ 28.23ไม่สนใจ

สื่อหรือช่องทางที่จะติดตามและชมการแข่งขัน ส่วนใหญ่ร้อยละ 26.04 โชเชียลมีเดีย รองลงมาร้อยละ23.81 วิทยุโทรทัศน์ ร้อยละ 18.05 สนามการแข่งขัน ร้อยละ 14.13หนังสือพิมพ์ ร้อยละ วิทยุกระจายเสียง และอื่นๆร้อยละ 6.31

 ความคาดหวังที่มีต่อการพัฒนาและยกระดับการจัดการแข่งขัน อันดับ 1 ร้อยละ 96.00 ยกระดับการจัดการแข่งขันสู่มาตรฐานสากล อันดับ 2 ร้อยละ 94.88 พัฒนาและต่อยอดนักกีฬาดาวรุ่งสู่ทีมชาติ อันดับ 3 ร้อยละ 91.04 ยกระดับมาตรฐานด้านความพร้อมของสถานที่สนามและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง อันดับ 4 ร้อยละ87.02ใช้งบประมาณอย่างประหยัดและคุ้มค่า อันดับ 5 ร้อยละ 85.60 กำหนดหรือบูรณาการชนิดกีฬาให้สอดคล้องกับมหกรรมกีฬาระดับนานาชาติ  อันดับ 6 ร้อยละ 83.28 นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่มาประยุกต์ใช้ในการจัดการแข่งขัน อันดับ 7 ร้อยละ 79.08 สร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน อันดับ 8 ร้อยละ 76.00 สื่อสารและประชาสัมพันธ์เผยแพร่สาธารณชนอย่างทั่วถึง อันดับ 9 ร้อยละ74.88 ผู้รับผิดชอบของจังหวัดเจ้าภาพเข้าใจเข้าถึงในบริบทสำหรับการจัดการแข่งขัน อันดับ 10 ร้อยละ73.01 สร้างการมีส่วนร่วมในการชมและเชียร์

ความคาดหวังและประโยชน์จากการจัดการแข่งขัน อันดับ 1ร้อยละ 89.05 สร้างแรงจูงใจในการเล่นกีฬาและออกกำลังกายของประชาชน อันดับ 2  ร้อยละ 86.06 สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคมให้กับพื้นที่และชุมชน  อันดับ 3 ร้อยละ 85.00 สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดเจ้าภาพ อันดับ 4 ร้อยละ 83.96 สร้างการมีส่วนร่วมของภาครัฐ/เอกชนและภาคประชาชน อันดับ 5 ร้อยละ 81.28 เผยแพร่แหล่งท่องเที่ยวและศิลปะวัฒนธรรม

ด้านผศ.ดร.รัฐพงศ์ บุญญานุวัตร ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต กล่าวเพิ่มเติมว่า จากผลการสำรวจดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าประเด็นหลักๆที่ประชากรกลุ่มตัวอย่างสะท้อนความคิดเห็นส่วนใหญ่ต่างมีความต้องการและคาดหวังที่จะให้การจัดการแข่งขันมหกรรมกีฬาเยาวชนแห่งชาติได้รับการพัฒนาและยกระดับไปสู่มาตรฐานสากล และเหนืออื่นใดซึ่งถือว่าเป็นหัวใจหลักของการจัดการแข่งขันที่สำคัญคือการพัฒนาและต่อยอดนักกีฬาในระดับดาวรุ่งป้อนเข้าสู่ทีมชาติ ในขณะที่ผลประโยชน์จากการจัดการแข่งขันจะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคมให้กับพื้นที่และชุมชนตลอดจนสร้างแรงจูงใจในการเล่นกีฬาและออกกำลังกายของประชาชนตามลำดับ

อย่างไรก็ตามจากผลการสำรวจดังกล่าวหากการกีฬาแห่งประเทศไทยหรือจังหวัดต่างๆที่จะเป็นเจ้าภาพจัดมหกรรมกีฬาระดับชาติในอนาคตไม่ว่าจะเป็นรายการใดก็ตามจะได้นำผลดังกล่าวไปเป็นฐานข้อมูลสำหรับการบริหารจัดการก็จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและยกระดับวงการกีฬาไทยได้ในระดับหนึ่ง

RANDOM

กลุ่มทรู มอบ “ซิมโรมมิ่งทรูมูฟ เอช” โทรฟรี เน็ตฟรี! อันลิมิตให้ทัพนักข่าวไทยรายงานสดเกาะติดทุกสถานการณ์นักกีฬาไทยแบบเรียลไทม์ พร้อมดูแลสุขภาพผ่านแอปหมอดี ตลอดศึกซีเกมส์ และอาเซียน พาราเกมส์ ที่กัมพูชา

NEWS

คณะการสร้างเจ้าของธุรกิจ ม.ศรีปทุม เชิญชวนน้อง ๆ เยาวชน ร่วมประกวดไอเดียนวัตกรรมทางธุรกิจ ในหัวข้อ “WellTech Entrepreneur : Good Health and Well-being” ชิงทุนการศึกษา ส่ง Concept Idea เข้าประกวดได้ ตั้งแต่บัดนี้ – 10 พ.ค. 67

error: Content is protected !!