Day: April 26, 2023

กลุ่มทรู มอบ “ซิมโรมมิ่งทรูมูฟ เอช” โทรฟรี เน็ตฟรี! อันลิมิตให้ทัพนักข่าวไทยรายงานสดเกาะติดทุกสถานการณ์นักกีฬาไทยแบบเรียลไทม์ พร้อมดูแลสุขภาพผ่านแอปหมอดี ตลอดศึกซีเกมส์ และอาเซียน พาราเกมส์ ที่กัมพูชา

เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2566 – สมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย โดย นายวรวุฒิ พงษ์ธีระพล นายกสมาคม รับมอบ “ซิมโรมมิ่งทรูมูฟ เอช” จาก กลุ่มทรู โดย นางณัฏฐา พสุพัฒน์ หัวหน้าสายงานโมบายล์โพสต์เพย์ ในฐานะผู้สนับสนุนหลักด้านการสื่อสารอย่างเป็นทางการ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่สื่อมวลชนไทย ที่ร่วมเดินทางไปทำข่าวการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 32 และอาเซียน พาราเกมส์ ครั้งที่ 12 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา สามารถรายงานผลทุกประเภทกีฬาแบบเรียลไทม์ ตลอดการแข่งขันได้ทุกที่ ทุกเวลา ราบรื่นไม่สะดุด กลับมาให้แฟนกีฬาชาวไทยได้รับรู้อย่างทันท่วงที รวมทั้งสามารถโทรออก รับสาย ส่งข้อความ และใช้ดาต้าโรมมิ่งได้อย่างไม่จำกัด นอกจากนี้ หากมีปัญหาสุขภาพยังใช้เน็ตฟรีปรึกษาหมอออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน MorDee (หมอดี) ที่เปรียบเสมือนมีหมอประจำบ้านในมือถือ สบายใจพูดคุยกับแพทย์คนไทยได้ทุกที่ ทุกเวลา ครอบคลุมกว่า  20 สาขา ทั้งสุขภาพและสุขภาพใจ สะดวกสบาย ประหยัดค่าใช้จ่าย และปลอดภัย ไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาล …

กลุ่มทรู มอบ “ซิมโรมมิ่งทรูมูฟ เอช” โทรฟรี เน็ตฟรี! อันลิมิตให้ทัพนักข่าวไทยรายงานสดเกาะติดทุกสถานการณ์นักกีฬาไทยแบบเรียลไทม์ พร้อมดูแลสุขภาพผ่านแอปหมอดี ตลอดศึกซีเกมส์ และอาเซียน พาราเกมส์ ที่กัมพูชา Read More »

ทำความรู้จัก…ไซยาไนด์ (Cyanide) สารเคมีอันตรายถึงชีวิต อาการ และวิธีรับมือเบื้องต้น

Cyanide หรือ ไซยาไนด์ คือ สารเคมีอันตรายที่ออกฤทธิ์ได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะเข้าไปยับยั้งการทำงานของเซลล์จนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ไซยาไนด์เป็นสารเคมีที่มีพันธะคาร์บอนไนโตรเจน (CN) มักนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตกระดาษ สิ่งทอ และพลาสติก สามารถปนเปื้อนได้ทั้งในอากาศ ดิน น้ำ และ อาหาร Cyanide สามารถเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยพบในพืชบางชนิด อย่าง อัลมอนด์ แอปเปิ้ล และยังเกิดได้จากกระบวนการเผาผลาญภายในร่างกายมนุษย์ อย่างไรก็ตาม Cyanide ปริมาณเพียงเล็กน้อยที่พบในพืช และกระบวนการเผาผลาญนั้น ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต Cyanide สารเคมีอันตรายชนิดนี้ มีรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งในรูปแบบของแข็ง ของเหลว และแก๊ส โดยแต่ละชนิดมีแหล่งที่มา และคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป ดังนี้ – Sodium cyanide (NaCN) เป็นของแข็งสีขาว อาจอยู่ในรูปแบบผลึก แท่ง หรือ ผง พบได้ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ใช้ในการเคลือบเงา หรือ เคลือบสีเหล็ก และเป็นส่วนประกอบในยาฆ่าแมลง สามารถเข้าสู่ร่างกายจากการสัมผัสบริเวณปากแผล การสูดดม หากรับประทานอาจเป็นพิษถึงตายได้ – …

ทำความรู้จัก…ไซยาไนด์ (Cyanide) สารเคมีอันตรายถึงชีวิต อาการ และวิธีรับมือเบื้องต้น Read More »

กกพ. เปิดช่องทางรับเรื่องร้องเรียน กรณีบิลค่าไฟแพงผิดปกติ คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค

นายวัลลภ จิวหลง ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการมีส่วนร่วมและคุ้มครองสิทธิประโยชน์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) เปิดเผยว่า หากประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาค่าไฟฟ้าแพง รวมถึงบิลค่าไฟฟ้ามีการเรียกเก็บผิดปกติ สามารถรองเรียนปัญหาดังกล่าวต่อ สำนักงาน กกพ. ได้ทุกแห่ง ทั้งนี้ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในฐานะหน่วยงานคุ้มครองสิทธิผู้ใช้ไฟฟ้า ได้แต่งตั้งคณะกรรมการผู้ใช้พลังงานประจำเขต (คพข.) ทั้ง 13 เขตพื้นที่สำนักงาน กกพ. ประจำเขต ครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ ทำหน้าที่ในการคุ้มครองผู้ใช้พลังงาน ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้พลังงาน ประชาชนที่ประสบปัญหาการไฟฟ้าเรียกเก็บค่าไฟฟ้าไม่ถูกต้อง หรือ คิดค่าไฟฟ้าแพงเกินกว่าอัตราที่ กกพ. กำหนด สามารถยื่นร้องเรียนได้ทางอีเมล sarabun@erc.or.th และเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. https://www.erc.or.th/th/contact หรือติดต่อที่ สำนักงานคณะกรรมการประจำเขต ทั้ง 13 เขต ในเวลาทำการ (วันจันทร์-วันศุกร์) เวลา 08.30 – 17.00 น. เข้าไปดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์สำนักงาน อ้างอิงจาก https://bit.ly/3Hdj8WN

กรุงเทพธนาคม จับมือ มจธ. วิจัยเพิ่มประสิทธิภาพและสมรรถนะเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้าในคลองผดุงกรุงเกษม หลังกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง

ตามที่ กรุงเทพมหานครมีนโยบายกลับมาเปิดให้บริการเดินเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้า (EV) ในคลองผดุงกรุงเกษมอีกครั้ง เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา หลังจากเปิดให้บริการครั้งแรก เมื่อกลางปี 2563 และได้หยุดให้บริการไป เมื่อช่วงปลายปี 2565 โดยมอบหมายให้ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด เป็นผู้ดำเนินการ เมื่อมีนโยบายให้บริการเรือไฟฟ้าในคลองผดุงกรุงเกษมอีกครั้ง บริษัทจึงได้ทำการสำรวจเรือเพื่อเตรียมความพร้อมในการให้บริการ พร้อมทั้งทำการซ่อมบำรุงให้เรืออยู่ในสภาพสมบูรณ์ และพร้อมให้บริการ โดยเบื้องต้นได้ขอรับคำปรึกษาจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) พบว่า ระบบกักเก็บพลังงาน หรือ แบตเตอรี่ของเรือนั้นเสื่อมสภาพ ไม่สามารถอัดประจุ และจ่ายพลังงานไฟฟ้า เพื่อขับเคลื่อนเรือได้ และจำเป็นต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ชุดใหม่เข้ามาทดแทน ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความรอบคอบ คุ้มค่า และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและสมรรถนะให้แก่เรือ จึงจำเป็นจะต้องทำการศึกษาค้นคว้า และวิจัยทางวิศวกรรม เพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมในการใช้งาน ดูแลรักษาซ่อมบำรุงเรือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระบบขับเคลื่อน และระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้า (แบตเตอรี่) ของเรือ รวมทั้ง แนวทางในการลดค่าใช้จ่ายในการเดินเรือ เพื่อการให้บริการประชาชนอย่างยั่งยืนต่อไป จึงเป็นที่มาของพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือว่าด้วยการศึกษา ค้นคว้า และวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสมรรถนะของเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้า ระหว่าง …

กรุงเทพธนาคม จับมือ มจธ. วิจัยเพิ่มประสิทธิภาพและสมรรถนะเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้าในคลองผดุงกรุงเกษม หลังกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง Read More »

ซินโครตรอนไทย เจ๋ง ไขความลับ “กระเทียม” เมืองจิงโจ้ วิเคราะห์ปัจจัยเพิ่มสารออกฤทธิ์ทางยาก่อนแปรรูปอัดเม็ด ส่งขายในอุตสาหกรรมเภสัชโภชนศาสตร์

นักวิทยาศาสตร์ต่างชาตินำกระเทียมจากออสเตรเลียมาวิเคราะห์ด้วยแสงซินโครตรอนที่ประเทศไทย เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีบทบาทต่อความเข้มข้นของ “อัลลิซิน” ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ทางยาในกระเทียม เพื่อเป้าหมายการผลิตกระเทียมที่ให้สารดังกล่าวในปริมาณสูง เป็นประโยชน์ต่อการแปรรูปเป็นกระเทียมอัดเม็ดหรือแคปซูล ในอุตสาหกรรมเภสัชโภชนศาสตร์ รศ.สตีเฟน ฮาร์เปอร์ (Assoc. Prof. Stephen Harper) นักวิจัยจากวิทยาลัยการเกษตรและอาหาร (School of Agriculture and Food Sciences) มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ (The University of Queensland) ออสเตรเลีย และ ดร.บินห์ เหงียน (Dr.Binh Nguyen) นักวิจัยชาวเวียดนาม ซึ่งจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ออสเตรเลีย เดินทางมาใช้บริการแสงซินโครตรอน ณ ระบบลำเลียงแสงที่ 8 สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) จ.นครราชสีมา รศ.สตีเฟน ฮาร์เปอร์ กล่าวว่า เราใช้แสงซินโครตรอนด้วยเทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์ (XAS) เก็บข้อมูลรูปแบบของธาตุซัลเฟอร์ ในกระเทียมหลากหลายสายพันธุ์ และกระเทียมที่ปลูกด้วยกรรมวิธีที่แตกต่างกัน เพื่อวิเคราะห์ว่ารูปแบบของธาตุซัลเฟอร์ตั้งต้นมีผลต่อปริมาณสาร “อัลลิซิน” (Allicin) ในกระเทียมหรือไม่ ซึ่งอัลลิซินเป็นสารที่สำคัญต่ออุตสาหกรรมเภสัชโภชนศาสตร์ มีการแปรรูปกระเทียมเป็นอัลลิซินอัดเม็ดหรือบรรจุแคปซูล …

ซินโครตรอนไทย เจ๋ง ไขความลับ “กระเทียม” เมืองจิงโจ้ วิเคราะห์ปัจจัยเพิ่มสารออกฤทธิ์ทางยาก่อนแปรรูปอัดเม็ด ส่งขายในอุตสาหกรรมเภสัชโภชนศาสตร์ Read More »

ชาวไทยในสหรัฐอเมริกา ส่งมอบโบราณวัตถุ “บ้านเชียง” คืนสู่ประเทศไทย เพื่อเก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ

เมื่อวันอังคารที่ 25 เมษายน 2566 ที่ผ่านมา ณ ห้องรับรอง 2 กระทรวงการต่างประเทศ นายณัฐพล ขันธหิรัญ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และคณะ ประกอบด้วย นางกาญจนา ภัทรโชค อธิบดีกรมสารนิเทศ และ นายณัฐพล ณ สงขลา ผู้อำนวยการกองทูตวัฒนธรรม เป็นผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ทำพิธีมอบโบราณวัตถุบ้านเชียง จำนวน 13 รายการ ที่ชาวไทยในสหรัฐอเมริกาประสงค์ส่งมอบคืนให้กับประเทศไทย ผ่านกระทรวงการต่างประเทศให้แก่กรมศิลปากร เพื่อเก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ โดยมี นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร พร้อมด้วย นางสาวนิตยา กนกมงคล ผู้อำนวยการสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เป็นผู้แทนกรมศิลปากร รับมอบ การส่งคืนโบราณวัตถุในครั้งนี้ เกิดจาก นายมะลิ นงเยาว์ ชาวไทยในสหรัฐอเมริกา ประสานมายังสถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส ว่า มีความประสงค์จะมอบโบราณวัตถุกลับคืนสู่ประเทศไทย เพื่อเป็นสมบัติของชาติ ประกอบไปด้วย ภาชนะดินเผา จำนวน 5 …

ชาวไทยในสหรัฐอเมริกา ส่งมอบโบราณวัตถุ “บ้านเชียง” คืนสู่ประเทศไทย เพื่อเก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ Read More »

error: Content is protected !!