Day: April 18, 2023

สมาคมกรีฑา ของบกองทุน 108 ล้าน จัด 2 งานใหญ่ในไทย เป็นครั้งแรกในรอบ 50 ปี พร้อมได้ชมการลุ้นโควตาลุยโอลิมปิกเกมส์ 2024 ที่“น้องบิว” และทีมผลัด จะได้สานฝันต่อหน้าคนไทย

   นายประชุม บุญเทียม รองผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ฝ่ายกีฬาเป็นเลิศและวิทยาศาสตร์การกีฬา ได้เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 18 เม.ย.2566 ทาง พลตำรวจตรี สุรพงษ์ อาริยะมงคล เลขาธิการสมาคมกีฬากรีฑาแห่งประเทศไทย ได้เดินทางเข้าร่วมหารือกับทาง กกท.และ ดร.สุปราณี คุปตาสา ผู้จัดการกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ เพื่อชี้แจงการของบจากกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ เพื่อจัดการประชุมสภากรีฑาแห่งเอเชีย และการจัดการแข่งขันกรีฑาชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ครั้งที่ 25 ในช่วงเดือนกรกฏาคม 2566 ตามที่ประเทศไทยได้รับการเห็นชอบจากประเทศสมาชิกทั้ง 45 ประเทศทั้งเอเชีย ให้เป็นเจ้าภาพทั้ง 2 งาน ซึ่งนับเป็นเกียรติ และ เป็นครั้งแรกในรอบ 50 ปีที่ไทยได้รับมอบหมายให้จัดงานทั้งสองพร้อมกัน ที่จะมีคนที่เกี่ยวข้องในทวีปเอเชียมาร่วมเกิน 2,000 คน โดยส่วนที่สำคัญ นอกเหนือจากการได้รับเกียรติของประเทศไทยแล้วนั้น ในการแข่งขันกรีฑาชิงชนะเลิศแห่งเอเชียที่จะจัดนี้ ยังเป็นส่วนหนึ่งของสนามที่เป็นรอบคัดเลือกเพื่อเข้าร่วมโอลิมปิกเกมส์ 2024 อีกด้วย ซึ่งนับเป็นโอกาสที่ดี ที่นักกรีฑาไทยจะได้ใช้ความคุ้นชิน และแสดงความสามารถเพื่อผ่านเข้าแข่งโอลิมปิกเกมส์ที่กรุงปารีส โดยเฉพาะนักกรีฑาระยะสั้น อย่างเช่น “บิว” ภูริพล บุญสอน และ …

สมาคมกรีฑา ของบกองทุน 108 ล้าน จัด 2 งานใหญ่ในไทย เป็นครั้งแรกในรอบ 50 ปี พร้อมได้ชมการลุ้นโควตาลุยโอลิมปิกเกมส์ 2024 ที่“น้องบิว” และทีมผลัด จะได้สานฝันต่อหน้าคนไทย Read More »

มูลนิธิเอเชีย ชี้ปฏิรูปการศึกษา พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน คือ ทางออกกับดักรายได้ปานกลางของไทย

ปัจจุบันประเทศไทยถูกจัดอันดับจากธนาคารโลกว่า เป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางมานานกว่า 20 ปี การที่ประเทศไทยจะเติบโตเป็นประเทศที่มีรายได้สูงได้นั้น ทางภาครัฐและเอกชนต่างมีความเห็นว่า จะต้องมีการพัฒนาทั้งในด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม เทคโนโลยี ฯลฯ โดยมีการศึกษาเป็นกลไกขับเคลื่อนสำคัญ จากเรื่องดังกล่าว มูลนิธิเอเชีย ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาระหว่างประเทศ ให้ความเห็นและมุมมองที่สามารถนำไปปรับใช้และต่อยอดได้อย่างน่าสนใจ นายโทมัส พาร์ค ผู้แทนมูลนิธิเอเชียประจำประเทศไทย กล่าวว่า ประเทศไทยประสบกับปัญหากับดักรายได้ปานกลางมานานกว่า 20 ปีแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องของเศรษฐกิจที่มีต้นทุนการทำธุรกิจและแรงงานที่เพิ่มมากขึ้น เป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นในประเทศที่กำลังพัฒนา นอกจากด้านเศรษฐกิจแล้ว ยังมีเรื่องของการศึกษาที่เป็นปัจจัยสำคัญ หลาย ๆ ธุรกิจบอกว่า กำลังประสบปัญหาในการหาบัณฑิตจบใหม่ที่มีคุณสมบัติสูงด้านแรงงาน ดังนั้นการศึกษาจึงเป็นสิ่งท้าทายที่สำคัญในการก้าวออกจากกับดักรายได้ปานกลางของประเทศไทย ถ้าต้องการหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางต้องปฏิรูปการศึกษา โดยจะต้องทำให้อันดับความสามารถในการแข่งขันด้านการศึกษาในระดับนานาชาติอยู่ในอันดับที่ดีขึ้น มีการผลิตนักเรียนที่มีทักษะด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย และสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ ก็จะดึงดูดให้ภาคธุรกิจมีแรงงานที่มีความสามารถและสามารถแข่งขันในระดับสากลได้ สิ่งสำคัญ คือ จะทำให้ระบบการศึกษาดีขึ้นได้อย่างไร ต้องทำให้ทั้งระบบสามารถดูแลนักเรียนได้เป็นจำนวนมาก หรือ ทำให้ประเทศไทยโดยรวมก้าวไปสู่ขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูงอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งในด้านการศึกษาทางมูลนิธิเอเชียได้มุ่งเน้นในการแก้ไขปัญหา 2 ประการ คือ 1. การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและประสิทธิภาพโดยรวมของระบบการศึกษาไทย ซึ่งเป็นเรื่องโครงสร้างทั้งระบบ ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมาก 2. ลดความไม่เท่าเทียมกันในระบบการศึกษา ซึ่งมีความแตกต่างกันมาก ทั้งในโรงเรียนขนาดเล็กและขนาดใหญ่ รวมถึงโรงเรียนในพื้นที่ชนบทและในเมือง …

มูลนิธิเอเชีย ชี้ปฏิรูปการศึกษา พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน คือ ทางออกกับดักรายได้ปานกลางของไทย Read More »

สจล. ลุยจัดงาน KMITL Innovation Expo 2023 มหกรรมแสดงนวัตกรรมและผลงานวิจัย พร้อมมอบสิทธิ์ KMITL Master Class เรียนฟรี 11 วิชา เรียนจบรับประกาศนียบัตรทันที

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ลุยจัดงาน KMITL Innovation Expo 2023 มหกรรมแสดงนวัตกรรมและผลงานวิจัย 1,111 ชิ้น ที่จัดขึ้นวันที่ 27 – 29 เม.ย. 66 ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ถนนฉลองกรุง พร้อมมอบสิทธิ์ KMITL Master Class เรียนฟรี 11 วิชา แก่ผู้มาร่วมงานและเข้าร่วมเวิร์กชอป โดยจะได้รับ E-Certificate เพื่อยืนยันการรับสิทธิ์เรียนออนไลน์ได้ทันที สามารถเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านโปรแกรม KLIX : KMITL Learning Intelligence X เมื่อเรียนจบได้รับใบ Certificate อีกด้วย ซึ่งทั้ง 11 วิชา มีดังต่อไปนี้ 1. YouTuber เรียนรู้และทำความเข้าใจการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างสร้างสรรค์ ประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการสร้างงาน โดยการเป็น YouTuber ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็น YouTuber วิธีการใช้งาน …

สจล. ลุยจัดงาน KMITL Innovation Expo 2023 มหกรรมแสดงนวัตกรรมและผลงานวิจัย พร้อมมอบสิทธิ์ KMITL Master Class เรียนฟรี 11 วิชา เรียนจบรับประกาศนียบัตรทันที Read More »

นักวิจัยจุฬาฯ ค้นพบ “แอนติบอดี้ประสิทธิภาพสูงต้านเชื้อโควิด-19” ต่อยอดสู่นวัตกรรม “สเปรย์พ่นจมูกโควิแทรป” สกัดโรคที่ต้นทาง

ทีมนักวิจัยศูนย์ชีววิทยาเชิงระบบ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ค้นพบ “แอนติบอดี้ประสิทธิภาพสูงต้านเชื้อโควิด-19” จากร่างกายมนุษย์ ต่อยอดเป็นนวัตกรรม “โควิแทรป” สเปรย์พ่นจมูกดักจับและยับยั้งเชื้อโควิด-19 ด้วยแอนติบอดี้ที่ผ่านการรับรองเป็นเครื่องมือแพทย์ครั้งแรกในโลก มั่นใจช่วยรับมือการแพร่เชื้อโควิดร่วมกับมาตรการการป้องกันอื่น ๆ ปัจจุบันมาตรการการป้องกันโรคโควิด-19 ได้รับการผ่อนปรนขึ้นมาก จนสามารถถอดหน้ากากอนามัยในที่สาธารณะบางพื้นที่ได้ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า เชื้อโควิด-19 หายไปจากโลกนี้แล้ว อันที่จริง ยังคงมีผู้ป่วยและการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 อยู่ การเฝ้าระวังและป้องกันไม่ให้ติดเชื้อจึงยังเป็นเรื่องจำเป็น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรักษาสุขภาพ การฉีดวัคซีน รวมถึงการสวมใส่หน้ากากอนามัย แต่จะดีแค่ไหน หากเรามีตัวช่วยที่สามาถยับยั้งเชื้อโควิด-19 ได้ตั้งแต่โพรงจมูก ก่อนที่เชื้อจะเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจในร่างกาย อ.นพ.ไตรรักษ์ พิสิษฐ์กุล หัวหน้าศูนย์ชีววิทยาเชิงระบบ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของการทำงานวิจัยและการค้นพบ “แอนติบอดี้ประสิทธิภาพสูงต้านเชื้อโควิด-19” ซึ่งต่อมาได้ถูกนำมาพัฒนาเป็นสเปรย์พ่นจมูกดักจับและยับยั้งเชื้อโควิด-19 ด้วยแอนติบอดี้ ว่า ช่วงการระบาดโรคโควิด-19 ระลอกแรก เดือนเมษายน 2563 เรากังวลกันว่าจะรับมือการระบาดไหวไหม มีคนไข้ที่อาการรุนแรงและเสียชีวิตด้วย ก็เลยหารือกัน ขณะนั้นทางทีมวิจัยของศูนย์ฯ กำลังศึกษาและทำยารักษามะเร็งอยู่ เราจึงเห็นว่า องค์ความรู้และความสามารถที่เรามีในการพัฒนายาจากแอนติบอดี้ น่าจะช่วยรับมือโรคโควิดได้ และด้วยความร่วมมือทั้งจากภาครัฐและเอกชน ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ …

นักวิจัยจุฬาฯ ค้นพบ “แอนติบอดี้ประสิทธิภาพสูงต้านเชื้อโควิด-19” ต่อยอดสู่นวัตกรรม “สเปรย์พ่นจมูกโควิแทรป” สกัดโรคที่ต้นทาง Read More »

นักศึกษา มทร.ธัญบุรี โชว์กึ๋น ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี LoRa ร่วมกับเซ็นเซอร์ สร้างนวัตกรรมสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงวัว

นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี นำเทคโนโลยี LoRa มาประยุกต์ใช้ร่วมกับเซ็นเซอร์ บันทึกค่าผ่าน google sheet  โดยนวัตกรรมชิ้นแรก ได้แก่ ปลอกคอวัวสำหรับตรวจหาสัญญาณการติดสัดของวัว COW COLLAR FOR SIGNS DETECTION OF COWS IN HEAT ผลงานของ นายจิรพงษ์ วิทยา และ นายธณาวุฒิ อุตอามาต และนวัตกรรมชิ้นที่สอง ได้แก่ ปลอกคอวัวอัจฉริยะสำหรับเก็บค่าก๊าซมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ SMART COW COLLAR FOR COLLECTING METHANE AND CABORN DIOXIDE ผลงานของ นายชินภัทร ชนะบุญ และ นายภาณุวัฒน์ บุญมาแลบ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญฤทธิ์ คุ้มเขต เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา นายจิรพงษ์ วิทยา ตัวแทนเจ้าของผลงาน ปลอกคอวัวสำหรับตรวจหาสัญญาณการติดสัดของวัว เล่าว่า ได้นำเทคโนโลยี …

นักศึกษา มทร.ธัญบุรี โชว์กึ๋น ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี LoRa ร่วมกับเซ็นเซอร์ สร้างนวัตกรรมสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงวัว Read More »

กกต. เชิญชวนประชาชนดาวน์โหลด 3 แอป “SMART ECT” สะดวก ครบ จบทุกเรื่องเลือกตั้ง

สำนักงาน กกต. เชิญชวนประชาชนดาวน์โหลด 3 แอปพลิเคชัน เกี่ยวกับการเลือกตั้ง “SMART ECT” ดังนี้ – แอปพลิเคชัน “ตาสับปะรด” ร่วมต่อต้านทุจริตการเลือกตั้ง – แอปพลิเคชัน “Smart Vote” รอบรู้ทุกเรื่องเลือกตั้ง – แอปพลิเคชัน “Civic Education” รวมพลังสร้างพลเมืองคุณภาพ แอปนี้เหมาะกับเพื่อนครู นักเรียน นักศึกษา และบุคลากรวงการศึกษา ดาวน์โหลดได้ทั้งระบบ iOS และ Android ตั้งแต่วันที่ 18 เม.ย. 66 เป็นต้นไป ทุกท่านสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง สถานที่ หน่วยเลือกตั้ง ลำดับเลขที่บัญชีเลือกตั้งได้แล้ว ทางแอป Smart Vote

error: Content is protected !!