Day: March 20, 2023

DPU ระดมผู้เชี่ยวชาญธุรกิจ จัดงาน Hackathon ติวเข้ม นศ. เฟ้นหาไอเดียสุดเจ๋ง ปั้นผู้ประกอบการหน้าใหม่

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มุ่งสู่การเป็น “Smart Campus” เดินหน้าจัดโครงการ DPU Hackathon เฟ้นหาสุดยอดทีมนักศึกษาที่มีไอเดียธุรกิจสุดเจ๋ง สร้างสรรค์สินค้า-บริการที่ใช่ ตอบโจทย์ความท้าทายของโลกยุคใหม่ ชูแนวคิด “Smart Idea with SDGs” ระดมผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขาติวเข้มนักศึกษา เติมเต็มองค์ความรู้ เพิ่มประสบการณ์และทักษะจำเป็น พร้อมสานต่อไอเดียธุรกิจให้เกิดขึ้นจริง และก้าวสู่การเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ ผศ.ดร.พัทธนันท์ เพชรเชิดชู รองอธิการบดีสายงานวิชาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ หรือ DPU กล่าวถึงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยฯ เพื่อมุ่งสู่การเป็น “Smart Campus” ว่า DPU มีความมุ่งมั่นในการจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อเป็นการเสริมสร้างประสบการณ์และพัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ ทักษะการแก้ปัญหา การคิดเชิงวิเคราะห์ การทำงานเป็นทีม การนำเสนอ การคิดเชิงสร้างสรรค์ การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี และการเป็นผู้ประกอบการ เพื่อให้นักศึกษาทุกคนมีศักยภาพพร้อมที่จะก้าวไปกับโลกยุคใหม่ ดังนั้น โครงการ DPU Hackathon โดย ฝ่ายนวัตกรรมหลักสูตรและการสอน จึงได้เกิดขึ้นมา เพื่อเป็นหนึ่งในแนวทางส่งเสริมให้นักศึกษามีเวทีฝึกฝนและพัฒนาทักษะ พร้อมทั้งได้เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์จริง ซึ่งโครงการฯ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ …

DPU ระดมผู้เชี่ยวชาญธุรกิจ จัดงาน Hackathon ติวเข้ม นศ. เฟ้นหาไอเดียสุดเจ๋ง ปั้นผู้ประกอบการหน้าใหม่ Read More »

วธ. ยันพร้อมจัด “พิพิธภัณฑ์ในยามค่ำคืน (Night at the Museum)” เต็มรูปแบบ หลังตัวเลขเข้าชมแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวทางมรดกศิลปวัฒนธรรม ปี 65 ทะลุ 4 ล้านคน

วธ.เผยตัวเลขเข้าชมแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวทางมรดกศิลปวัฒนธรรม ปี 65 มากกว่า 4 ล้านคน พร้อมจัด “พิพิธภัณฑ์ในยามค่ำคืน (Night at the Museum)” เต็มรูปแบบ ในงานใต้ร่มพระบารมี 241 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ 21 – 25 เมษายน 2566 ชมความงามของโบราณสถานวังหน้า การแสดงศิลปวัฒนธรรม นิทรรศการในพระที่นั่งต่าง ๆ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566 โดยมี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (กวช.) เป็นประธาน ที่ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ที่ประชุมได้รายงานสถิติผู้เข้าใช้เข้าชมแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวทางมรดกศิลปวัฒนธรรม ที่อยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มากกว่า 4 ล้านคน ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นและมีทิศทางเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ โดยได้รับความสนใจจากประชาชนและนักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมอย่างต่อเนื่อง …

วธ. ยันพร้อมจัด “พิพิธภัณฑ์ในยามค่ำคืน (Night at the Museum)” เต็มรูปแบบ หลังตัวเลขเข้าชมแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวทางมรดกศิลปวัฒนธรรม ปี 65 ทะลุ 4 ล้านคน Read More »

สำนักงาน กปร. เชิญชวนเยาวชนเข้าร่วมโครงการค่ายเยาวชนรู้งานสืบสานพระราชดำริ (RDPB Camp) รุ่นที่ 13 ภายใต้หัวข้อ “สานรักษ์ ดิน น้ำ ป่า พัฒนาคุณภาพชีวิต” ปิดรับสมัคร 31 มี.ค. 2566

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือ สำนักงาน กปร. เชิญชวนเยาวชนเข้าร่วมโครงการค่ายเยาวชนรู้งานสืบสานพระราชดำริ (RDPB Camp) รุ่นที่ 13 ภายใต้หัวข้อ “สานรักษ์ ดิน น้ำ ป่า พัฒนาคุณภาพชีวิต” ปิดรับสมัคร 31 มี.ค. 2566 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่แนวพระราชดำริการพัฒนาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าผู้หัวทรงสืบสาน รักษา ต่อยอดไปสู่เยาวชน นิสิต นักศึกษาจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ 2. เพื่อให้เยาวชนได้รับรู้และรับทราบองค์ความรู้ตามแนวพระราชดำริในมุมมองใหม่ หรือ นวัตกรรมการพัฒนาในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 3. เพื่อให้เยาวชนเป็นเครือข่ายในการเผยแพร่และสืบสาน รักษา ต่อยอด ขยายผล แนวพระราชดำริได้อย่างกว้างขวางและถูกต้องยิ่งขึ้น การดำเนินโครงการ โครงการค่ายเยาวชนรู้งานสืบสานพระราชดำริ (RDPB Camp) รุ่นที่ 13 มีรายละเอียดในการดำเนินงาน ดังนี้ – กิจกรรมที่ 1 ค่ายเยาวชนรู้งานสืบสานพระราชดำริ (RDPB Camp) รุ่นที่ 13 โดยการคัดเลือกเยาวชนในระดับอุดมศึกษา หรือ เทียบเท่า …

สำนักงาน กปร. เชิญชวนเยาวชนเข้าร่วมโครงการค่ายเยาวชนรู้งานสืบสานพระราชดำริ (RDPB Camp) รุ่นที่ 13 ภายใต้หัวข้อ “สานรักษ์ ดิน น้ำ ป่า พัฒนาคุณภาพชีวิต” ปิดรับสมัคร 31 มี.ค. 2566 Read More »

“กังหันน้ำคีรีวง” กังหันผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก นวัตกรรมฝีมือคนไทย ขยายผลสู่ชุมชนรอบเทือกเขานครศรีธรรมราช

แม้ว่า “ไฟฟ้าพลังน้ำ” จะเป็นหนึ่งในแหล่งพลังงานทดแทนที่ถูกบรรจุอยู่ ภายใต้แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558 – 2579 (AEDP2015) แต่ส่วนใหญ่จะเน้นไปเทคโนโลยีกังหันน้ำผลิตไฟฟ้าขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าป้อนเข้าสู่ระบบสายส่ง ขณะที่ เทคโนโลยีกังหันน้ำผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก ซึ่งมีราคาต่อหน่วยพลังงานต่ำสุดในกลุ่มพลังงานหมุนเวียนด้วยกัน (ประมาณ 1.5-12 บาท/กิโลวัตต์-ชั่วโมง) กลับเป็นเทคโนโลยีนำเข้า ที่ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงถึงกิโลวัตต์ละ 100,000 บาท เพราะยังไม่มีบริษัทของไทยที่สามารถผลิตกังหันน้ำขนาดเล็กได้ ทั้งที่เป็นเทคโนโลยีที่จะก่อให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกรในพื้นที่ห่างไกลจากสายส่งได้อย่างมหาศาล ชุมชนคีรีวง คือ ตัวอย่างหนึ่งของชุมชนเกษตรกรรม ที่อยู่ห่างไกลจากจากสายส่ง และต้องใช้เครื่องปั่นกระแสไฟฟ้า ที่ทำให้มีต้นทุนค่าน้ำมันค่อนข้างสูง และหากจะใช้แผงโซลาร์เซลล์ก็มีที่โล่งแจ้งอยู่จำกัด และใช้ได้เฉพาะเวลากลางวัน ขณะเดียวกันระบบท่อที่เกษตรกรแต่ละรายทำ ก็เป็นการใช้น้ำที่ไหลผ่านท่อลงมจากจากยอดเขา เพื่อปลูกผลไม้และพืชสวนต่าง ๆ เพียงอย่างเดียว ทั้งที่หากนำมาผ่านเครื่องกังหันน้ำผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (0-1 KW) ก่อนปล่อยสู่แปลงปลูก ก็จะทำให้มีกระแสไฟฟ้าที่นำไปใช้ประโยชน์ได้อีกหลายด้าน นี่จึงเป็นที่มาของการเข้าไปทำการวิจัย พัฒนา ติดตั้ง และทดลองใช้กังหันน้ำผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ณ ชุมชนหมู่บ้านคีรีวง ตั้งแต่ปี 2548 โดยมี ผศ.ดร.อุสาห์ บุญบำรุง …

“กังหันน้ำคีรีวง” กังหันผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก นวัตกรรมฝีมือคนไทย ขยายผลสู่ชุมชนรอบเทือกเขานครศรีธรรมราช Read More »

เมื่อเลือดเป็นยา ทางเลือกใหม่บรรเทาปวด ผลงานวิจัยชิ้นโบว์แดง คลินิกระงับปวด จุฬาฯ

แพทย์จุฬาฯ วิจัยสำเร็จ ใช้เกล็ดเลือดเข้มข้นของคนไข้เอง ฉีดเข้าเอ็นข้อไหล่ ลดปวด สมานเอ็นฉีกขาด และฟื้นฟูกล้ามเนื้อที่ฉีกขาดได้ ทางเลือกใหม่แทนการผ่าตัด ลดความเสี่ยงจากผลกระทบจากการกินยาแก้ปวดต่อเนื่องเป็นเวลานาน “การฉีดเกล็ดเลือดฟื้นฟูเอ็นข้อหัวไหล่เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาคนไข้ที่เราทำมากว่า 5 ปีแล้ว แนวทางนี้ช่วยลดผลข้างเคียงของยากลุ่มแก้ปวดได้ และมีความปลอดภัยสูงมาก เพราะเป็นการเอาเกล็ดเลือดและพลาสมาของคนไข้เอง ออกมาแล้วฉีดกลับเข้าไปในร่างกายเพื่อกระตุ้นซ่อมแซมตัวเอง” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (พิเศษ) นายแพทย์มาร์วิน เทพโสพรรณ แพทย์ประจำคลินิกระงับปวด ฝ่ายวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เล่าถึงวิธีการบรรเทาอาการปวดด้วยเกล็ดเลือด วิทยาการนี้เป็นงานวิจัยที่ คลินิกระงับปวด ร่วมมือกับ หน่วยการกีฬาของโรงพยาบาลจุฬาฯ เพื่อศึกษาการดูแลความปวดให้กับผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุจากการทำงาน การเล่นกีฬา การเคลื่อนไหวร่างกายที่ผิดท่า ซึ่งล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ และเอ็นฉีกขาด บางรายต้องรักษาด้วยการผ่าตัด บางรายรักษาไม่หายขาด พัฒนาไปสู่อาการปวดเรื้อรังตลอดชีวิต “ในการศึกษานี้ เราเปรียบเทียบการรักษาโดยทำ MRI ที่หัวไหล่ของคนไข้ที่ได้รับการฉีดเกล็ดเลือดไปแล้ว 6 เดือน กับคนไข้ที่ไม่ได้ใช้วิธีการฉีดเกล็ดเลือดในการรักษาเอ็นหัวไหล่ฉีกขาด พบว่า การฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้นเข้าไปในเอ็นข้อไหล่ ช่วยลดอาการปวดได้อย่างมีนัยยะสำคัญ ภายใน 1 – 2 เดือน และยังช่วยซ่อมแซมรอยฉีกขาด ทำให้เอ็นข้อไหล่ติดกันได้ดีขึ้นด้วย ขนาดแผลที่ฉีกขาดก็ลดขนาดลง …

เมื่อเลือดเป็นยา ทางเลือกใหม่บรรเทาปวด ผลงานวิจัยชิ้นโบว์แดง คลินิกระงับปวด จุฬาฯ Read More »

error: Content is protected !!