Day: May 12, 2022

แสนสิริ – กสศ. เดินหน้าโครงการ “Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน” ที่ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ลดจำนวนเด็กหลุดจากระบบการศึกษา

นายสมัชชา พรหมศิริ Chief of Staff ฝ่ายการตลาดดิจิตอลและสื่อสารองค์กร บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “แสนสิริมุ่งมั่นส่งเสริมความเสมอภาคและความเท่าเทียม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในประเทศ และขอเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือสังคมไทย อันเป็นภาคส่วนสำคัญของ 4 เสาสังคมแสนสิริ ได้แก่ ลูกค้า พนักงาน ผู้ถือหุ้น และสังคม โดยในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้ปัญหาเด็กหลุดจากระบบการศึกษาชัดเจนมากขึ้น ทำให้แสนสิริมีความตั้งใจที่อยากให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงประเทศ และเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เราจึงได้ออกหุ้นกู้มูลค่า 100 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนโครงการ “Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน” ครั้งแรก ของเอเชีย ชู ‘ราชบุรีโมเดล’ เป็นจังหวัดต้นแบบ ที่เด็กหลุดจากการศึกษาจะเป็น “ศูนย์” ภายใน 3 ปี ไทย และเดินหน้าทำงานอย่างใกล้ชิดกับ กสศ. ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เพื่อติดตามผลงานและประสานกลไกท้องถิ่น-พื้นที่ ระดมความร่วมมือค้นหาและช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาส เด็กชายขอบ ทั้งตามเด็กที่หลุดจากระบบการศึกษาไปแล้ว ให้ได้กลับมาเรียน พร้อมส่งเสริมสนับสนุนและแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ให้กลุ่มเด็กเสี่ยงหลุดได้เรียนต่อไป …

แสนสิริ – กสศ. เดินหน้าโครงการ “Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน” ที่ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ลดจำนวนเด็กหลุดจากระบบการศึกษา Read More »

ม.ศรีปทุม สร้าง “อสม.การศึกษารุ่นเยาว์” แก้ปัญหาการเรียนรู้ในเด็กประถมยุคโควิด 19

มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี และ มูลนิธิเพื่อทักษะแห่งอนาคต ได้รับสนับสนุนให้ดำเนินโครงการ “โรงเรียนพัฒนาตนเอง หรือ TSQP” จาก กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) โดยดำเนินโครงการมา กว่า 3 ปี ซึ่งในปี 2564 โครงการได้มีการพัฒนานวัตกรรมเพื่อบริหารความเสี่ยงในสภาวการณ์ที่ไม่สามารถจัดการเรียนรู้ที่โรงเรียนได้ อันเกิดจากจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน จนเกิดเป็นนวัตกรรม “การพัฒนายุวนวัตกรสร้างชาติ” โดยขอเรียกว่าอาสาสมัครด้านการศึกษา (อสม. ด้านการศึกษา หรือ ครูชาวบ้าน) โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ 3 ประการ ได้แก้ 1) พัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน ผ่านการเป็น อสม. 2) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ชุมชนด้านการจัดการศึกษาของโรงเรียน และ 3) เพื่อแก้ปัญหาทุพลภาพด้านโภชนาการอและการเรียนรู้ให้แก่เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา ด้วยความช่วยเหลือจากรุ่นพี่และผู้ปกครองในชุมชน รศ.ดร.ธันยวิช วิเชียรพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรม มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี และในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง กล่าวว่า นวัตกรรม “การพัฒนายุวนวัตกรสร้างชาติ” เกิดจากกรอบแนวคิดการพัฒนานวัตกรรมเพื่อจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ และแก้ปัญหาทุพลภาพด้านโภชนาการและการเรียนรู้ในสถานการณ์ยากลำบากแก่เด็กประถม และพัฒนาทักษะในศตวรรษ …

ม.ศรีปทุม สร้าง “อสม.การศึกษารุ่นเยาว์” แก้ปัญหาการเรียนรู้ในเด็กประถมยุคโควิด 19 Read More »

จุฬาฯ พัฒนา โซลาร์เซลล์สายพันธุ์ใหม่ กำลังไฟเต็มร้อย รูปแบบหลากหลาย ได้มาตรฐานโลก

นักวิจัย จุฬาฯ คว้ารางวัลระดับโลก โชว์ผลงานโซลาร์เซลล์รุ่นใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้า ประยุกต์เป็นหลากหลายผลิตภัณฑ์ การันตีมาตรฐานสากล และการพัฒนาพลังงานสะอาดที่ยั่งยืนเพื่อสังคม สิ่งที่เราเคยเห็นในภาพยนตร์ไซไฟ อาจกำลังกลายเป็นจริง วันที่เราจะกลายเป็นมนุษย์ไฟฟ้า ผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เองได้จากเสื้อผ้าที่มีโซลาร์เซลล์ถักทอผสมอยู่ในเส้นใยผ้า หรือจากนาฬิกาข้อมือ โทรศัพท์มือถือ หรือแม้กระทั่งหมวกใบเก่ง การพัฒนาเสถียรภาพให้กับโซลาร์เซลล์ชนิด “เพอรอฟสไกต์” (Perovskite Solar Cell)” โดย ดร.รงรอง เจียเจริญ จากสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนึ่งในสามนักวิจัยจากภูมิภาคอาเซียนที่เพิ่งคว้ารางวัล Green Talents Competition 2021 จากประเทศเยอรมนี เมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยผลงานวิจัยดังกล่าว ช่วยลบข้อจำกัดของโซลาร์เซลล์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน และเพิ่มความสามารถให้โซลาร์เซลล์แปลงเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบต่าง ๆ ได้หลากหลาย แผงโซลาร์เซลล์ในปัจจุบัน มีข้อจำกัดหลายประการ อาทิ ปัญหาการผลิต แผงอุปกรณ์ขนาดใหญ่เทอะทะ และประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลง เมื่ออยู่ในสภาพอากาศร้อนชื้น “ส่วนมากแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน หรือที่ปรากฏในโซลาร์ฟาร์ม เป็นโซลาร์เซลล์ประเภทซิลิกอน  ซึ่งประสิทธิภาพจะลดลง 15% เมื่ออุณหภูมิบนแผงพุ่งสูงขึ้นราว 60-70 องศาเซลเซียส” ดร.รงรอง …

จุฬาฯ พัฒนา โซลาร์เซลล์สายพันธุ์ใหม่ กำลังไฟเต็มร้อย รูปแบบหลากหลาย ได้มาตรฐานโลก Read More »

สธ. เผย ไอคิว เด็ก ป.1 สูงเกินค่ามาตรฐาน ส่วน อีคิว อยู่ระดับปกติ เร่งเดินหน้าพัฒนาเด็กด้อยโอกาส

กระทรวงสาธารณสุข เผย ผลสำรวจระดับไอคิว-อีคิว เด็กไทยชั้น ป.1 ปี 2564 พบ มีไอคิวเฉลี่ย 102.8 สูงขึ้นจากปี 2559 และเกินค่ามาตรฐานที่ 100 ตั้งเป้าพัฒนาให้ถึง 103 ภายในปี 2570 และยังพบเด็กที่ฉลาดมาก ไอคิวเกิน 130 ถึง 10.4% กระทรวงสาธารณสุข เผย ผลสำรวจระดับไอคิว-อีคิว เด็กไทยชั้น ป.1 ปี 2564 พบ มีไอคิวเฉลี่ย 102.8 สูงขึ้นจากปี 2559 และเกินค่ามาตรฐานที่ 100 ตั้งเป้าพัฒนาให้ถึง 103 ภายในปี 2570 และยังพบเด็กที่ฉลาดมาก ไอคิวเกิน 130 ถึง 10.4% ส่วนกลุ่มไอคิวบกพร่องพบ 4.2% สูงกว่ามาตรฐาน ขณะที่ อีคิวอยู่ในเกณฑ์ปกติ 83.4% เดินหน้าเพิ่มศักยภาพเด็กไทย โดยเฉพาะกลุ่มด้อยโอกาส ให้พร้อมเป็นพลเมืองศตวรรษที่ …

สธ. เผย ไอคิว เด็ก ป.1 สูงเกินค่ามาตรฐาน ส่วน อีคิว อยู่ระดับปกติ เร่งเดินหน้าพัฒนาเด็กด้อยโอกาส Read More »

ปันจักสีลัตไทย คว้าทองประวัติศาสตร์ ปันจักลีลาเหรียญแรกในซีเกมส์

ทีมปันจักสีลัต ประเภทปันจักลีลาทีมชายของไทย คว้าเหรียญทองแรกในซีเกมส์ ครั้งที่ 31 ที่เวียดนาม สร้างประวัติศาสตร์ เป็นเหรียญทองเหรียญแรกของทีมชายในประเภทร่ายรำ โดนก่อนหน้านี้ที่มาเลเซียเคยได้จากทีมหญิง ขณะที่ “ภาณุ อุทัยรัตน์” นายกสมาคมกีฬาปันจักสีลัตแห่งประเทศไทย สุดปลื้มเป็นเหรียญทองที่ได้แบบเกินความคาดหมาย ขอลุ้นต่อในประเภทต่อสู้อีก 1 ทอง การแข่งขันปันจักสีลัต ในการแข่งขันมหกรรมกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 31 ที่สนามบัค ตู เหลียม ยิมเนเซียม กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ทีมปันจักสีลัตทีมชาติไทยมีโปรแกรมชิงชัยกีฬาซีเกมส์เป็นวันที่ 2 ในประเภทปันจักลีลา ซึ่งไทยสามารถผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ 2 ประเภท ประเภทปันจักลีลาทีมชาย ซอบรี เจ๊ะนิ, อับดุลการีม คูลี, อับดุลรอฮีม ซีเดะ ในรอบชิงชนะเลิศ เจอกับ อังกี ไฟซาล มูบารอก, อาซีพ ยูดัน ซานิ, นูนู นูกราฮา จากอินโดนีเซีย ผล …

ปันจักสีลัตไทย คว้าทองประวัติศาสตร์ ปันจักลีลาเหรียญแรกในซีเกมส์ Read More »

สพฐ. ผนึก Dow และ สมาคมเคมีฯ หนุนเด็กไทยเรียนวิทย์แนวใหม่ นำการทดลอง “เคมีแบบย่อส่วน” สู่โรงเรียน

นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการพัฒนาศักยภาพการเรียนการสอนการทดลองวิทยาศาสตร์ด้วยหลักการของปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วนสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา” ระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมกับ กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) และ สมาคมเคมีแห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์ ศ.ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒนวรขัตติยราชนารี เพื่อต่อยอดความสำเร็จโครงการห้องเรียนเคมีดาว ซึ่ง Dow และสมาคมเคมีฯ ได้ร่วมดำเนินงานมานานกว่า 9 ปี และเตรียมพร้อมขยายวิธีการเรียนวิทยาศาสตร์แนวใหม่ไปยังโรงเรียนในสังกัด สพฐ. ทั่วประเทศ โดยมีผู้บริหารของ สพฐ. ผู้แทนจากกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) และสมาคมเคมีแห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์ฯ รวมถึงบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุม สพฐ. 1 อาคาร สพฐ. 4 ชั้น 2 กระทรวงศึกษาธิการ นายอัมพร พินะสา เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า …

สพฐ. ผนึก Dow และ สมาคมเคมีฯ หนุนเด็กไทยเรียนวิทย์แนวใหม่ นำการทดลอง “เคมีแบบย่อส่วน” สู่โรงเรียน Read More »

error: Content is protected !!