สถานีการศึกษา

กกพ. เปิดช่องทางรับเรื่องร้องเรียน กรณีบิลค่าไฟแพงผิดปกติ คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค

นายวัลลภ จิวหลง ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการมีส่วนร่วมและคุ้มครองสิทธิประโยชน์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) เปิดเผยว่า หากประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาค่าไฟฟ้าแพง รวมถึงบิลค่าไฟฟ้ามีการเรียกเก็บผิดปกติ สามารถรองเรียนปัญหาดังกล่าวต่อ สำนักงาน กกพ. ได้ทุกแห่ง ทั้งนี้ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในฐานะหน่วยงานคุ้มครองสิทธิผู้ใช้ไฟฟ้า ได้แต่งตั้งคณะกรรมการผู้ใช้พลังงานประจำเขต (คพข.) ทั้ง 13 เขตพื้นที่สำนักงาน กกพ. ประจำเขต ครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ ทำหน้าที่ในการคุ้มครองผู้ใช้พลังงาน ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้พลังงาน ประชาชนที่ประสบปัญหาการไฟฟ้าเรียกเก็บค่าไฟฟ้าไม่ถูกต้อง หรือ คิดค่าไฟฟ้าแพงเกินกว่าอัตราที่ กกพ. กำหนด สามารถยื่นร้องเรียนได้ทางอีเมล sarabun@erc.or.th และเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. https://www.erc.or.th/th/contact หรือติดต่อที่ สำนักงานคณะกรรมการประจำเขต ทั้ง 13 เขต ในเวลาทำการ (วันจันทร์-วันศุกร์) เวลา 08.30 – 17.00 น. เข้าไปดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์สำนักงาน อ้างอิงจาก https://bit.ly/3Hdj8WN

กรุงเทพธนาคม จับมือ มจธ. วิจัยเพิ่มประสิทธิภาพและสมรรถนะเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้าในคลองผดุงกรุงเกษม หลังกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง

ตามที่ กรุงเทพมหานครมีนโยบายกลับมาเปิดให้บริการเดินเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้า (EV) ในคลองผดุงกรุงเกษมอีกครั้ง เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา หลังจากเปิดให้บริการครั้งแรก เมื่อกลางปี 2563 และได้หยุดให้บริการไป เมื่อช่วงปลายปี 2565 โดยมอบหมายให้ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด เป็นผู้ดำเนินการ เมื่อมีนโยบายให้บริการเรือไฟฟ้าในคลองผดุงกรุงเกษมอีกครั้ง บริษัทจึงได้ทำการสำรวจเรือเพื่อเตรียมความพร้อมในการให้บริการ พร้อมทั้งทำการซ่อมบำรุงให้เรืออยู่ในสภาพสมบูรณ์ และพร้อมให้บริการ โดยเบื้องต้นได้ขอรับคำปรึกษาจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) พบว่า ระบบกักเก็บพลังงาน หรือ แบตเตอรี่ของเรือนั้นเสื่อมสภาพ ไม่สามารถอัดประจุ และจ่ายพลังงานไฟฟ้า เพื่อขับเคลื่อนเรือได้ และจำเป็นต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ชุดใหม่เข้ามาทดแทน ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความรอบคอบ คุ้มค่า และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและสมรรถนะให้แก่เรือ จึงจำเป็นจะต้องทำการศึกษาค้นคว้า และวิจัยทางวิศวกรรม เพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมในการใช้งาน ดูแลรักษาซ่อมบำรุงเรือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระบบขับเคลื่อน และระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้า (แบตเตอรี่) ของเรือ รวมทั้ง แนวทางในการลดค่าใช้จ่ายในการเดินเรือ เพื่อการให้บริการประชาชนอย่างยั่งยืนต่อไป จึงเป็นที่มาของพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือว่าด้วยการศึกษา ค้นคว้า และวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสมรรถนะของเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้า ระหว่าง …

กรุงเทพธนาคม จับมือ มจธ. วิจัยเพิ่มประสิทธิภาพและสมรรถนะเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้าในคลองผดุงกรุงเกษม หลังกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง Read More »

ซินโครตรอนไทย เจ๋ง ไขความลับ “กระเทียม” เมืองจิงโจ้ วิเคราะห์ปัจจัยเพิ่มสารออกฤทธิ์ทางยาก่อนแปรรูปอัดเม็ด ส่งขายในอุตสาหกรรมเภสัชโภชนศาสตร์

นักวิทยาศาสตร์ต่างชาตินำกระเทียมจากออสเตรเลียมาวิเคราะห์ด้วยแสงซินโครตรอนที่ประเทศไทย เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีบทบาทต่อความเข้มข้นของ “อัลลิซิน” ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ทางยาในกระเทียม เพื่อเป้าหมายการผลิตกระเทียมที่ให้สารดังกล่าวในปริมาณสูง เป็นประโยชน์ต่อการแปรรูปเป็นกระเทียมอัดเม็ดหรือแคปซูล ในอุตสาหกรรมเภสัชโภชนศาสตร์ รศ.สตีเฟน ฮาร์เปอร์ (Assoc. Prof. Stephen Harper) นักวิจัยจากวิทยาลัยการเกษตรและอาหาร (School of Agriculture and Food Sciences) มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ (The University of Queensland) ออสเตรเลีย และ ดร.บินห์ เหงียน (Dr.Binh Nguyen) นักวิจัยชาวเวียดนาม ซึ่งจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ออสเตรเลีย เดินทางมาใช้บริการแสงซินโครตรอน ณ ระบบลำเลียงแสงที่ 8 สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) จ.นครราชสีมา รศ.สตีเฟน ฮาร์เปอร์ กล่าวว่า เราใช้แสงซินโครตรอนด้วยเทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์ (XAS) เก็บข้อมูลรูปแบบของธาตุซัลเฟอร์ ในกระเทียมหลากหลายสายพันธุ์ และกระเทียมที่ปลูกด้วยกรรมวิธีที่แตกต่างกัน เพื่อวิเคราะห์ว่ารูปแบบของธาตุซัลเฟอร์ตั้งต้นมีผลต่อปริมาณสาร “อัลลิซิน” (Allicin) ในกระเทียมหรือไม่ ซึ่งอัลลิซินเป็นสารที่สำคัญต่ออุตสาหกรรมเภสัชโภชนศาสตร์ มีการแปรรูปกระเทียมเป็นอัลลิซินอัดเม็ดหรือบรรจุแคปซูล …

ซินโครตรอนไทย เจ๋ง ไขความลับ “กระเทียม” เมืองจิงโจ้ วิเคราะห์ปัจจัยเพิ่มสารออกฤทธิ์ทางยาก่อนแปรรูปอัดเม็ด ส่งขายในอุตสาหกรรมเภสัชโภชนศาสตร์ Read More »

ชาวไทยในสหรัฐอเมริกา ส่งมอบโบราณวัตถุ “บ้านเชียง” คืนสู่ประเทศไทย เพื่อเก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ

เมื่อวันอังคารที่ 25 เมษายน 2566 ที่ผ่านมา ณ ห้องรับรอง 2 กระทรวงการต่างประเทศ นายณัฐพล ขันธหิรัญ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และคณะ ประกอบด้วย นางกาญจนา ภัทรโชค อธิบดีกรมสารนิเทศ และ นายณัฐพล ณ สงขลา ผู้อำนวยการกองทูตวัฒนธรรม เป็นผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ทำพิธีมอบโบราณวัตถุบ้านเชียง จำนวน 13 รายการ ที่ชาวไทยในสหรัฐอเมริกาประสงค์ส่งมอบคืนให้กับประเทศไทย ผ่านกระทรวงการต่างประเทศให้แก่กรมศิลปากร เพื่อเก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ โดยมี นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร พร้อมด้วย นางสาวนิตยา กนกมงคล ผู้อำนวยการสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เป็นผู้แทนกรมศิลปากร รับมอบ การส่งคืนโบราณวัตถุในครั้งนี้ เกิดจาก นายมะลิ นงเยาว์ ชาวไทยในสหรัฐอเมริกา ประสานมายังสถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส ว่า มีความประสงค์จะมอบโบราณวัตถุกลับคืนสู่ประเทศไทย เพื่อเป็นสมบัติของชาติ ประกอบไปด้วย ภาชนะดินเผา จำนวน 5 …

ชาวไทยในสหรัฐอเมริกา ส่งมอบโบราณวัตถุ “บ้านเชียง” คืนสู่ประเทศไทย เพื่อเก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ Read More »

มธบ. เดินหน้าเปิด “วิทยาลัยนานาชาติ” ตั้งเป้า Education and Travel ดึงนักศึกษาต่างชาติเรียนต่อไทย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ

วิทยาลัยนานาชาติ DPU พร้อมก้าวสู่นานาประเทศ ตั้งเป้า Education and Travel ดึงนักศึกษาจากนานาชาติเข้าเรียนไทย รองรับการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจโลก ตีตลาด South Asia ผศ.ดร.ศิริเดช คำสุพรหม คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) หรือ DPU เปิดเผยว่า DPU เป็นอีกหนึ่งสถาบันการศึกษาที่พร้อมจะขับเคลื่อนประเทศเพื่อปรับเปลี่ยนสู่ธุรกิจยุคใหม่ ซึ่งมหาวิทยาลัยไทยมีศักยภาพไม่ได้ด้อยไปกว่าประเทศอื่น ๆ และ DPU จะเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมให้ประเทศไทย เกิด Education and Travel โดยการพัฒนาหลักสูตรและสร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก ควบคู่กับ การดึงจุดเด่นทั้งในการท่องเที่ยว การบริการ หรือทางการแพทย์ และการศึกษา เพื่อให้นักศึกษาต่างชาติได้มาศึกษา และมาอยู่ในประเทศมากขึ้น เพราะเมื่อนักศึกษาต่างชาติได้เข้ามาใช้ชีวิตในประเทศไทย จะเกิดการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน การท่องเที่ยว และในอนาคตอาจจะทำให้เกิดการลงทุน หรือ การทำธุรกิจในประเทศร่วมด้วย ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มีเป้าหมายในการยกระดับให้มีความเป็นนานาชาติมากขึ้น โดยปัจจุบันนอกจากพัฒนาหลักสูตรแล้ว ยังมุ่งเน้นสร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำ จากประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เป็นต้น …

มธบ. เดินหน้าเปิด “วิทยาลัยนานาชาติ” ตั้งเป้า Education and Travel ดึงนักศึกษาต่างชาติเรียนต่อไทย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ Read More »

ประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ 20 ปี บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด (TAI) ชิงเงินรางวัล รับสมัครตั้งแต่บัดนี้ – 30 เม.ย. 66

บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จํากัด ชวนนิสิตนักศึกษาและบุคคลทั่วไป ร่วมประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ 20 ปี TAI (LOGO) “โครงการ TAI Moving Forward ก้าวสู่ปีที่ 20” ชิงเงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร คุณสมบัติผู้เข้าประกวด บุคคลทั่วไป ไม่จํากัดอายุ และ พนักงาน TAI คุณสมบัติของผลงานที่ส่งเข้าประกวด – ตราสัญลักษณ์ต้องประกอบด้วยข้อความ คําว่า “TAI” ซึ่งเป็นตัวอักษรย่อของบริษัทฯ ในภาษาอังกฤษ ในการออกแบบตราสัญลักษณ์จะต้องมีการสื่อถึงการซ่อมบํารุงอากาศยาน การจัดตั้งบริษัทฯ มาถึงปีที่ 20 – ตราสัญลักษณ์ต้องมีเอกลักษณ์ องค์ประกอบศิลป์สวยงาม ชัดเจน ทันสมัย จดจําง่าย และสามารถอธิบายแนวความคิดในการออกแบบและความหมายของตราสัญลักษณ์ ซึ่งแสดงออกถึงความเป็น TAI สามารถศึกษาข้อมูล ความเป็นมา และจุดเด่นของโครงการฯ ได้จากเว็บไซต์ www.taithailand.com, www.facebook.com/TAThailand และ http://intra.taithail.and.com/ – แบบอักษรและส่วนประกอบต่าง …

ประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ 20 ปี บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด (TAI) ชิงเงินรางวัล รับสมัครตั้งแต่บัดนี้ – 30 เม.ย. 66 Read More »

นักจิตวิทยา จุฬาฯ แนะ Mindset เผชิญความชราอย่างสง่างาม ด้วยแนวคิด “Aging Gracefully”

แนวคิด Aging Gracefully คืออะไร? การเผชิญความชราอย่างสง่างาม ทำได้อย่างไร? อาจารย์นักจิตวิทยาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีคำตอบ สำหรับผู้ที่กำลังจะก้าวสู่สังคมสูงวัย ให้มีความมั่นใจทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” โดยสมบูรณ์ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 โดยมีประชากรวัยตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป กว่า 20% ของประชากรในประเทศ แม้ว่าการมีชีวิตยืนยาวจะหมายถึงสัญญาณของการมีสุขภาพที่ดี แต่อายุที่เพิ่มขึ้นก็เต็มไปด้วยความรู้สึกกดดันทางอารมณ์ด้วยเช่นกัน อาทิ ความกังวลต่อรูปลักษณ์ภายนอกที่เปลี่ยนไป ความกลัวที่จะสูญเสียความสามารถในการดูแลตัวเอง หรือ กลัวต้องเจ็บป่วยรุนแรงเมื่อเข้าสู่วัยชรา เมื่ออายุมากขึ้น หลายคน ๆ อาจสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของตัวเอง เช่น ริ้วรอย ความหย่อนคล้อย กระ ฝ้า ต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะ ฯลฯ ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า เรากำลังแก่ตัวลง และเมื่อถึงวัยสูงอายุ (ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป) ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจน ทั้งทางร่างกาย สมอง อารมณ์ และการเข้าสังคม วัยชราจึงเป็นวัยที่คนส่วนใหญ่กลัว Aging Gracefully …

นักจิตวิทยา จุฬาฯ แนะ Mindset เผชิญความชราอย่างสง่างาม ด้วยแนวคิด “Aging Gracefully” Read More »

รร.ธิดานุเคราะห์ จับมือ รร.ระยองวิทยาคม คว้ารางวัลชนะเลิศวาดภาพดิจิทัล โครงการ อีซูซุเยาวชนสัมพันธ์ ปี 2565 ไปครอง

บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เดินหน้าจุดประกายศิลปะกับเยาวชนคนรุ่นใหม่ ต่อยอดการสร้างซอฟต์พาวเวอร์รู้รักษ์พลังงาน เปิดบ้านต้อนรับ 20 เยาวชนหัวศิลป์ จัดการประกวดวาดภาพรูปแบบดิจิทัล รอบชิงชนะเลิศ ผ่านโครงการ “อีซูซุเยาวชนสัมพันธ์” ประจำปี 2565 มร. ทาคาชิ ฮาตะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด กล่าวว่า โครงการ “อีซูซุเยาวชนสัมพันธ์” จัดขึ้นเพื่อให้เยาวชนไทยตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งแวดล้อม ตลอดจนส่งเสริมการจุดประกายความคิดสร้างสรรค์และทักษะทางศิลปะของน้อง ๆ ซึ่งปีนี้พิเศษกว่าทุกปีที่ผ่านมา เพราะได้มีการพลิกโฉมเปลี่ยนรูปแบบโครงการ จากการประกวดวาดภาพโปสเตอร์พร้อมคำขวัญ เป็นการประกวดวาดภาพดิจิทัล หรือ Digital Painting ที่เยาวชนสามารถสร้างสรรค์ผลงานผ่านเครื่องมือดิจิทัลที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น การสร้างภาพในคอมพิวเตอร์ แท็ปเลต สมาร์ทโฟน หรือ อุปกรณ์ดิจิทัลอื่น ๆ ถือเป็นการพัฒนาทักษะงานศิลปะร่วมสมัยที่แพร่หลายในปัจจุบัน เพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบการใช้ชีวิตยุคใหม่ ผ่านหัวข้อ “ประหยัดพลังงาน เพื่อลดโลกร้อน” สำหรับปีนี้ มีเยาวชนหัวศิลป์ร่วมส่งผลงานทั้งหมด 318 ผลงาน แบ่งเป็น …

รร.ธิดานุเคราะห์ จับมือ รร.ระยองวิทยาคม คว้ารางวัลชนะเลิศวาดภาพดิจิทัล โครงการ อีซูซุเยาวชนสัมพันธ์ ปี 2565 ไปครอง Read More »

กฟผ. สุดเจ๋ง สร้างต้นแบบ “หอฟอกอากาศ” ดักจับฝุ่น PM 2.5 นวัตกรรมเพื่อชุมชน นำร่องติดตั้งพื้นที่ภาคเหนือของประเทศ

ปัจจุบันปัญหาฝุ่น PM 2.5 ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตคนไทยเพิ่มสูงขึ้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาในทุกมิติ รวมทั้งการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ล่าสุด ทีมนักวิจัยและนักประดิษฐ์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ร่วมกันพัฒนา “ต้นแบบหอฟอกอากาศ” สำหรับชุมชนด้วยเทคนิคพลาสมา และดำเนินการติดตั้งในพื้นที่ กฟผ. ก่อนที่จะมีการขยายผลการติดตั้งไปในพื้นที่อื่น ๆ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ สำหรับต้นแบบหอฟอกอากาศดังกล่าว มีคุณสมบัติที่ช่วยบรรเทาปัญหามลพิษทางอากาศ ดังนี้ – มีประสิทธิภาพมากกว่า 80% ในการดักจับอนุภาคฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5 – ฟอกอากาศบริสุทธิ์ได้ในอัตราสูงสุด 30,000 ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง – ครอบคลุมพื้นที่ในรัศมี 250 เมตร – สามารถนำไปติดตั้งใช้งานในพื้นที่ต่าง ๆ ที่ประสบปัญหาฝุ่น PM2.5 หรือ มลพิษทางอากาศ ทั้งนี้ นวัตกรรมดังกล่าว เป็นการใช้เทคนิค “การกำเนิดพลาสมา” ที่ใช้ไฟฟ้าแรงสูง เพื่อสร้างความเครียดสนามไฟฟ้า ทำให้อากาศแตกตัวเป็นประจุไฟฟ้า (Pre-charge) จากนั้นจึงปล่อยประจุไฟฟ้าไปเกาะอนุภาคฝุ่น PM 2.5 …

กฟผ. สุดเจ๋ง สร้างต้นแบบ “หอฟอกอากาศ” ดักจับฝุ่น PM 2.5 นวัตกรรมเพื่อชุมชน นำร่องติดตั้งพื้นที่ภาคเหนือของประเทศ Read More »

วิศวฯ นิวเคลียร์ จุฬาฯ เคลียร์ประเด็นซีเซียม-137 อันตรายแค่ไหน? พร้อมให้บริการตรวจวัดรังสีเชิงลึก โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ จุฬาฯ เผย ไม่พบการปนเปื้อนหรือแพร่กระจายซีเซียม-137 ในสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ จ.ปราจีนบุรี ที่ตกเป็นข่าว พร้อมให้บริการวิชาการและการตรวจวัดรังสีโดยทีมผู้เชี่ยวชาญ และเครื่องมือวิเคราะห์เชิงลึก จากกรณี วัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 สูญหายในพื้นที่อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี เมื่อราวต้นเดือนมีนาคม 2566 ที่ผ่านมา มีการแชร์ข้อมูลในโลกโซเซียลถึงอันตรายร้ายแรงจากซีเซียม ทำให้ประชาชนจำนวนมากตื่นตระหนกและกังวลใจถึงผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม พืชผลการเกษตรถึงกับขายไม่ออก ราคาตก จนเกษตรกรต้องออกมาร้องขอความเห็นใจและให้ความมั่นใจว่าสินค้าของพวกเขารับประทานได้ ปลอดกัมมันตภาพรังสี ด้วยความเชี่ยวชาญและความพร้อมด้านเครื่องมือในการตรวจวัดรังสี คณาจารย์รจากภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาให้ข้อมูลความรู้ที่ถูกต้องผ่านสื่อ Social media ช่องทางต่าง ๆ พร้อมจัดทีมผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย อาจารย์ นักวิทยาศาสตร์ และนิสิต ลงไปในพื้นที่ประสบเหตุ เพื่อตรวจวิเคราะห์ธาตุซีเซียม-137 จากตัวอย่างในสิ่งแวดล้อม เช่น ดิน น้ำ อาหาร พืช ผักผลไม้ในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี ผลของการตรวจวิเคราะห์ คือ “ไม่พบการปนเปื้อนของรังสี” และ “ไม่พบการแพร่กระจายซีเซียม-137 ในอากาศ” ซึ่งหมายความว่า ประชาชนสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ รองศาสตราจารย์ นเรศร์ …

วิศวฯ นิวเคลียร์ จุฬาฯ เคลียร์ประเด็นซีเซียม-137 อันตรายแค่ไหน? พร้อมให้บริการตรวจวัดรังสีเชิงลึก โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย Read More »

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!