บันทึกอดีตไทย

พี่ณัฏฐ์ บอกไว้ด้วยความห่วงใย โดนทิ้ง โดนเท ในงานสมรส ไม่ว่าจะเป็นเจ้าบ่าวเจ้าสาวที่เป็นผู้เสียหาย…ต้องฟ้องเรียกค่าเสียหาย

“พี่ณัฏฐ์” ณัฏฐ์ ธีรณัฐสุภานนท์ ประธานมูลนิธิธรรมาภิบาลและต่อต้านทุจริต ต้องบอกกล่าวผู้เสียหาย เพราะมีข่าวให้เห็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ในสังคมวันนี้ เจ้าบ่าวหนีงานแต่ง เทเจ้าสาว เจ้าสาวหายตัว เจ้าบ่าวรอเก้อในงานแต่ง สรุปสุดท้ายสิ่งที่คาดว่าจะดีมีครอบครัว กลับกลายเป็นเรื่องสิ้นหวัง ท้อแท้ และบางครอบครัวต้องยอมรับว่าอับอายสังคมหมู่มิตร พี่ณัฏฐ์ จึงได้ฝากไว้ว่า เป็นกำลังใจกับผู้ที่โดนเทโดนทิ้ง ที่เป็นผู้เสียหาย ความรู้สึกจะแย่แน่ แต่อย่ายอม…กับสิ่งที่เสียหายไป เรื่องเหล่านี้ฟ้องเรียกร้องได้ มากมายหลายกรณี…ต้องติดตามไว้เผื่อญาติมิตรใครเจอปัญหา จะได้เล่าสู่แนวทางนี้ให้ฟังครับ

ศึกแดงเดือด เป็นที่ฮือฮา “พี่ณัฏฐ์” ก็ฝากให้ระวังการขายบัตรแล้วมีแถมพิเศษ ถ้าผู้ขายทำที่ระบุไม่ได้อาจจะลำบากหลังงานเลิก

“พี่ณัฏฐ์” ณัฏฐ์ ธีรณัฐสุภานนท์ ประธานมูลนิธิธรรมาภิบาลและต่อต้านทุจริต เห็นกระแสฮอตความต้องการของผู้ซื้อ และ ความต้องการของผู้ขาย ในศึกแดงเดือด แต่ก็ห่วงจากข่าวที่พบคือกลยุทธ์การขายบัตรเกินจริง คือมีแจกแถมแบบหรูหรา พิเศษเกินพิเศษ จนอาจจะทำไม่ได้ตามเงื่อนไขที่ขายให้กับผู้ซื้อที่หลงเชื่อ ซึ่งจะเป็นข่าวร้ายกลบข่าวดีที่ควรจะเป็น เพราะสัญญาว่าจะให้นั้น ถ้าทำไม่ได้ ผู้ขายอาจจะอยู่ไม่สุขหลังจากงานแดงเดือดผ่านไป #ต้องติดตาม

พี่ณัฏฐ์ แจ้งพี่น้องถึงข้อกฏหมายที่ฟ้องเรียกค่าสินไหมได้ หากตัวเองประสบเหตุ จากการก่อสร้างถนน หนทาง ที่ยังไม่แล้วเสร็จ

ต้องบอกกล่าวกันไว้ “พี่ณัฏฐ์” ณัฏฐ์ ธีรณัฐสุภานนท์ ประธานมูลนิธิธรรมาภิบาลและต่อต้านทุจริต มีข้อแนะนำสำหรับยุคที่มีการสร้างความเจริญในทุกมุมเมือง การก่อสร้างเส้นทางสัญจร ไม่ว่าจะอยู่ในระดับพื้นดินหรือ ยกระดับขึ้นไปบนฟ้า ล่วนเป็นสิ่งที่จะเอื้ออำนวยความสะดวกให้กับผู้คนในสังคม แต่การก่อสร้างทาง ต้องมีการเดินทางของคน ผู้สร้างต้องมีมาตรการที่ดีในการป้องกันภัยในยามที่กำลังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งมีหลายกรณีมากมายที่เกิดเหตุ คนสัญจรประสพภัย ที่เกิดขึ้นจากการก่อสร้างที่ยังไม่แล้วเสร็จ เจ็บเล็กเจ็บน้อยก็ไม่ควรเกิดขึ้น ผู้ที่เสียหายหรือผู้ประสบภัย จากการก่อสร้าง ควรต้องรู้ไว้ว่ามีกฏหมายไว้ให้ท่านเรียกร้องค่าสินไหมได้หากว่าเจอปัญหานั้นจริง ต้องติดตาม ณ ตรงนี้ ที่พี่ณัฏฐ์ จะเล่าความครับ

พี่ณัฏฐ์ เป็นห่วงโดยเฉพาะผู้ที่รับเคราะห์จากธุรกิจแฟรนไชส์ ควรไตร่ตรองก่อนร่วม และผู้บริโภคพลาดแล้วควรทำอย่างไร

เป็นห่วงสังคม“พี่ณัฏฐ์” ณัฏฐ์ ธีรณัฐสุภานนท์ ประธานมูลนิธิธรรมาภิบาลและต่อต้านทุจริต จึงบอกกล่าวเล่าความถึงข้อห่วงใจจากใจ ผ่าน Station THAI ในเรื่องของธุรกิจแฟรนไชส์ ที่กำลังเป็นที่ฮิตในหมู่นักลงทุนที่มุ่งหวังผลกำไรจากการเข้าร่วมแฟรนไชส์นั้น ขณะที่ผู้บริโภคเองก็เป็นเป้าหมายในการเป็นผู้ซื้อเพื่อสร้างธุรกิจนั้นให้เจริญเติบโตในเชิงการตลาด แต่ทุกอย่างมันไม่ได้ง่าย หรือดีทุกอย่างตามที่คาดหมายไว้ทุกด้าน ฉะนั้นการไตร่ตรองต้องมี ทั้งผู้เข้าร่วมแฟรนไชส์ และ ผู้บริโภคที่อาจจะตกเป็นเหยือในเชิงการตลาดที่มักง่าย มักได้ เหมือนกรณีที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ผู้เป็นเจ้าของแฟรนไชส์ความผิดมีแน่นอน คนที่รับแฟรนไชส์ไปทำต่อก็มีความผิดแต่ก็มีทางออก และสุดท้ายผู้บริโภคที่ตกเป็นเหยื่อจะต้องทำอย่างไร ลองติดตามครับ

พี่ณัฏฐ์ เตือนใจสายเขียว “ปลดล็อกกัญชา” ใช่ว่าจะอิสระเสรีเหนืออื่นใดแบบเต็มที่นะครับ

“พี่ณัฏฐ์” ณัฏฐ์ ธีรณัฐสุภานนท์ ประธานมูลนิธิธรรมาภิบาลและต่อต้านทุจริต เอ่ยฝากจากกลุ่มที่ดีใจแต่อาจจะเข้าใจคลาดเคลื่อน เรื่องราวของการปลดล็อกกัญชา…ที่ในปัจจุบันท่ามกลางความดีใจของสายเขียว หรือ ผู้ที่อยากจะลิ้มลอง จริง ๆ แล้ว อิสรเสรีภาพจากการปลดล็อกนี้ คืออะไร และแค่ไหน สำหรับผู้สนใจและเกี่ยวข้อง หรือ พี่น้องในสังคม สรุปง่าย ๆ คือ การปลดล็อก ไม่ใช่เปิดอิสรเสรีทั้งหมดแบบไม่ต้องดูเรื่องราวใดๆ ซึ่งผู้เกี่ยวข้องต้องรู้เท่าทันต้องติดตาม กฎกติกาในส่วนต่าง ๆ ที่กำลังขยับตามออกมา ที่จะเป็นกรอบที่จะบอกต่อสังคมว่า อะไรทำได้ไม่ได้ ด้วยเจตนารมณ์ที่ดีที่จะใช้กัญชาเพื่อให้เกิดประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน แต่บางด้านบางกลุ่มการคิดว่าจะใช้ประโยชน์ที่อิสระเสรีเกินไป ก็จะเป็นการหาเรื่องใส่ตัว หรือมีภัยมากกว่าท่านคิด

เริ่มแล้ว “กลิ่น – ควัน” กัญชา กัญชง ถือเป็นเหตุรำคาญ ผู้ได้รับผลกระทบแจ้งความเอาผิดได้ เริ่มมีผลบังคับใช้ 15 มิ.ย. 65

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดให้การกระทำให้เกิดกลิ่น หรือควันกัญชา กัญชง หรือพืชอื่นใด เป็นเหตุรำคาญ พ.ศ. 2565 การใช้กัญชา กัญชง หรือพืชอื่นใด ในทางที่ไม่เหมาะสม เช่น สันทนาการ อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่โดยปกติสุข หรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยควันของพืชดังกล่าว จะมีอนุภาคขนาดเล็กที่สามารถเข้าสู่ปอดได้ด้วยการหายใจเอาควันเข้าไป ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย เช่น โรคปอด หอบหืด หลอดลมอักเสบ หรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และเพื่อควบคุมและป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง หรือผู้ที่ต้องประสบภัยกับเหตุนั้น จึงกำหนดให้การกระทำให้เกิดกลิ่น หรือควันกัญชา กัญชง หรือพืชอื่นใด เป็นเหตุรำคาญ ตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข เริ่มมีผลบังคับใช้วันที่ 15 มิ.ย. 65 เป็นต้นไป (ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 25,000 บาท ตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535)

พี่ณัฏฐ์ : เตือนใจการเรี่ยไรและการขอรับบริจาค มีกติกาสังคมดูอยู่ ก็โปรดพึงระวังและควรทำให้ถูกต้อง

ณัฏฐ์ ธีรณัฐสุภานนท์  ประธานมูลนิธิธรรมาภิบาลและต่อต้านทุจริต เตือนใจและเตือนภัยต่อสังคม การรับและให้ผ่านความง่ายในการขอรับบริจาคทางออนไลน์ เพื่อการใด ๆ ต่าง ๆ จากการคิดดีทำดี แต่ก็มีกติกาของสังคม คือ พระราชบัญญัติการเรี่ยไร ที่ควบคุมอยู่ เมื่อคิดดีแล้วต้องทำดีอย่างถูกต้องก็จะเป็นการดี ขณะที่มุมมองอีกด้านการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการรับบริจาค ต้องพึงระวังสำหรับ “คนไม่ดีคิดฉวยโอกาสจากคนในสังคมใจบุญ” วัตถุประสงค์การขอเรี่ยไรหรือบริจาคต้องชัดและต้องทำให้ได้ หากละเลยหรือเจตนาเลี่ยงการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่ขอ คดี”ฉ้อโกง” ประชาชนก็รออยู่ สาระทางกฎหมายที่ควรรู้ และควรไตร่ตรองจาก พี่ณัฎฐ์ ครับ

พี่ณัฏฐ์ บอกกล่าวต่อสังคมพึงระวังการใช้ไอดีผู้อื่นส่งข้อมูลมีความผิดตามกฎหมาย…อย่าหาทำเชียวนะขอรับ

“พี่ณัฏฐ์” ณัฏฐ์ ธีรณัฐสุภานนท์ ประธานมูลนิธิธรรมาภิบาลและต่อต้านทุจริต ขอย้ำเพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคม กับโลกแห่งการใช้ประโยชน์จาก “สื่อออนไลน์” หรือ Social Media ในปัจจุบัน ที่ต้องรู้เท่าทันกติกาการใช้ไปด้วย ไม่เช่นนั้นอาจจะตกเป็นผู้ต้องหา ที่ทำผิดกฎหมายได้ง่าย ๆ จากกรณีตัวอย่าง “คดีน้องแตงโม” ที่มีผู้นำไอดีของเธอไปเปิดค้นข้อมูลในโทรศัพท์มือถือของเธอและนำออกเผยแพร่ทาง Social Media เรื่องอย่างนี้มีความผิด ทั้ง พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และผิดพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล #คนในสังคมควรทราบครับ

สคส. ชี้แจง 4 เรื่องเข้าใจผิด เกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) ชี้แจง ความเข้าใจผิดในโลกโซเชียลมีเดีย เกี่ยวกับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ PDPA ที่จะเริ่มบังคับใช้ในวันที่ 1 มิ.ย. นี้ ใน 4 ประเด็น ดังนี้ 1. การถ่ายรูป/คลิป ติดคนอื่นโดยไม่เจตนา ไม่ผิดกฎหมาย PDPA หากใช้ในวัตถุประสงค์ส่วนตัว และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ถูกถ่าย 2. รูป/คลิป ที่ถ่ายติดคนอื่นนั้น สามารถโพสต์ลงโซเชียลมีเดียได้ หากใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่ใช่ทางการค้า และไม่สร้างความเสียหายแก่ผู้นั้น 3. การติดกล้องวงจรปิดภายในบ้าน ไม่จำเป็นต้องมีป้ายแจ้งเตือน หากติดเพื่อป้องกันอาชญากรรม รักษาความปลอดภัยแก่เจ้าของบ้าน 4. ไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ในกรณีที่ – เป็นการทำตามสัญญา – มีกฎหมายให้อำนาจ – ใช้เพื่อรักษาชีวิต หรือ ร่างกายของบุคคล – ใช้เพื่อค้นคว้าวิจัยทางสถิติ – ใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ – ใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ หรือสิทธิของตนเอง …

สคส. ชี้แจง 4 เรื่องเข้าใจผิด เกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) Read More »

พี่ณัฏฐ์เตือนใจในยุคการเลือกตั้ง อย่าเผลอไปฉก ไปลักป้ายโฆษณาหาเสียงไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว อาจจะเจอโทษแรง

“พี่ณัฏฐ์” ณัฏฐ์ ธีรณัฐสุภานนท์ ประธานมูลนิธิธรรมาภิบาลและต่อต้านทุจริต ขอแสดงความยินดีกับ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่ “คุณชัชชาติ สิทธิพันธ๋” ที่ผ่านฉันทามติ ได้ครองเสียงส่วนใหญ่ของคนกรุงเข้าสู่ การดำรงตำแหน่ง แต่เรื่องที่ยังไม่จบคือ ป้ายหาเสียง ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ และมีการแอบฉกจากประชาชนผู้ที่สนใจอยากได้ อยากที่จะนำไปใช้ประโยชน์ของตนเอง เรื่องนี้มีความผิดครับ จะผิดออย่างไรก็ต้องติดตามฟังกัน และกรณีศึกษานี้ที่บอกกล่าว จะเป็นแนวทางการป้องกันและป้องปราม ในทุก ๆ การเลือกตั้ง ในทุกระดับที่มีการติดป้ายหาเสียงในอนาคต ว่า ไม่ว่าป้ายนั้นจะเป็นป้ายหาเสียงของใคร ลงสนามระดับใดๆก็ตาม “ป้ายเหล่านั้น ห้ามแตะและนำไปใช้ประโยชน์” สำหรับผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องนะครับ ประชาชนไทยอย่าเผลอเชียว. ติดตามข้อมูลด้านล่างครับ

error: Content is protected !!