Piyanuch Meemuang

“เด็กจมน้ำ” ภัยเงียบที่ไม่อาจมองข้าม สาเหตุคร่าชีวิตอันดับต้น ๆ ของเด็กไทย

ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการ วิธีคลายร้อนที่เด็ก ๆ หลายคนชื่นชอบ คือ การเล่นน้ำ ตามแหล่งน้ำธรรมชาติต่าง ๆ ทั้งคู คลอง แม่น้ำ อ่างเก็บน้ำ รวมถึงบ่อน้ำที่เกษตรกรขุดไว้เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเกษตรต่าง ๆ  และด้วยความเยาว์วัยและความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเด็ก ๆ สิ่งที่ตามมาคือความสูญเสียที่พบเห็นได้ตามหน้าสื่อต่างๆ บ่อยครั้ง ซึ่ง Station Thai ขอเป็นช่องทางหนึ่งในการให้ความรู้และการช่วยเหลือเด็ก ๆ ในกรณีที่เกิดการจมน้ำ เพื่อลดการสูญเสียให้ได้มากที่สุด จากการเฝ้าระวังของ กรมควบคุมโรค ข้อมูลในช่วง 10 ปี (ตั้งแต่ปี 2553 – 2562) พบว่า การจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของเด็กไทย อายุต่ำกว่า 15 ปี โดยมีเด็กจมน้ำเสียชีวิตสูงถึง 8,394 ราย เฉลี่ยปีละ 839 ราย หรือวันละ 2 ราย โดยสาเหตุหลักเกิดจากการชวนกันไปเล่นน้ำเป็นกลุ่มตามแหล่งน้ำธรรมชาติ และเด็กขาดทักษะเอาชีวิตรอดในน้ำ และการช่วยเหลือที่ถูกต้อง และจากข้อมูลระบบรายงานผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากการตกน้ำ จมน้ำ …

“เด็กจมน้ำ” ภัยเงียบที่ไม่อาจมองข้าม สาเหตุคร่าชีวิตอันดับต้น ๆ ของเด็กไทย Read More »

สอศ. จับมือ CPSC พัฒนาข้าราชการและบุคลากรในสังกัด ตอบโจทย์นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ร่วมกับ Colombo Plan Staff College for Technician Education (CPSC) จัดโครงการฝึกอบรม In-Country Program หัวข้อ “Project Management in TVET” ระหว่างวันที่ 21 – 25 มีนาคม 2565 ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย จังหวัดเชียงราย โดยมีเรืออากาศโท สมพร ปานดำ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นประธานเปิด โดยมีผู้เข้ารับอบรม จำนวน 25 คน ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย จังหวัดเชียงราย เรืออากาศโท สมพร ปานดำ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ให้ความสำคัญในการให้ความร่วมมือกับสถาบันอาชีวศึกษาต่างประเทศ เพื่อยกระดับการอาชีวศึกษาให้มีมาตรฐานในระดับนานาชาติ เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้ของผู้เชี่ยวชาญจากประเทศต่าง ๆ สู่บุคลากรของอาชีวศึกษาไทย ซึ่ง CPSC เป็นองค์กรระหว่างประเทศ ที่มุ่งเน้นส่งเสริมการอาชีวศึกษา หรือการพัฒนาทักษะด้านอาชีพ …

สอศ. จับมือ CPSC พัฒนาข้าราชการและบุคลากรในสังกัด ตอบโจทย์นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ Read More »

แพทย์ จุฬาฯ แนะ กินคีโตอย่างเข้าใจ ลดน้ำหนักได้ สุขภาพดี

จากที่ Station Thai ได้นำเสนอเรื่องราว กระแสการกินแบบคีโตที่กำลังได้รับความนิยมไปก่อนหน้านี้แล้ว ใน “สถานีความคิด” มาในครั้งนี้ “สถานีการศึกษา” จะมาให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการกินแบบคีโต เพื่อประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังมองหน้าวิธีการกินเพื่อสุขภาพที่ดี และลดน้ำหนักอย่างได้ผลไปในคราวเดียวกัน การลดน้ำหนักไม่ใช่เรื่องของการดูแลรูปร่างและความสวยงามเท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องของการรักษาโรคและดูแลสุขภาพด้วย ทั้งนี้ แนวทางการบริโภคเพื่อลดน้ำหนักในปัจจุบันมีหลายวิธี โดยส่วนใหญ่จะเน้นการกินอาหารจำพวกผัก ปลา และเลี่ยงการบริโภคไขมัน แต่ก็มีวิธีการลดน้ำหนักอีกแบบ ที่เรียกว่า “การกินคีโต” ที่สวนกระแส ยกให้ “ไขมัน” เป็นตัวเอกในทุกมื้ออาหาร “หัวใจหลักของการกินคีโต คือ การลดน้ำหนัก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาสุขภาพและการรักษาโรค เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวานบางชนิด ที่ต้องการให้ผู้ป่วยควบคุมน้ำหนัก” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (พิเศษ) พญ.พัชญา บุญชยาอนันต์ สาขาวิชาต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการกินคีโตอย่างถูกวิธี ได้ผลดีทั้งน้ำหนักตัวและสุขภาพ การกินคีโตคืออะไร คีโต มาจากคำว่า “คีโตเจนิก ไดเอต” (Ketogenic diet) คือ การลดอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล และให้น้ำหนักกับการบริโภค “ไขมัน” และโปรตีน …

แพทย์ จุฬาฯ แนะ กินคีโตอย่างเข้าใจ ลดน้ำหนักได้ สุขภาพดี Read More »

“เด็กอ่านไม่ออก-เขียนไม่ได้” อุปสรรคพัฒนาประเทศ วาระแห่งชาติที่ต้องเร่งแก้ไข

  Station Thai จะขอพูดถึงอีกหนึ่งประเด็นสำคัญทางการศึกษา ที่ทางกระทรวงศึกษาธิการกำลังดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง นั่นคือ ปัญหาอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ของเด็กไทย ที่ยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก หลาย ๆ หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ต่างระดมสมอง ค้นหาวิธีการที่จะช่วยให้การอ่านออกเขียนได้ของเด็กไทยพัฒนาไปในทางดีขึ้น ในที่นี้จะขอกล่าวถึง โครงการภาคีพูนพลังครู ที่จะมาร่วมแบ่งปันความรู้ และทักษะการเรียนการสอนที่ได้ผล ช่วยให้เด็กอ่านออก เขียนได้มากขึ้น ผ่านไอเดียของ “คุณครูศิริลักษณ์ ชมพูคำ” จากโรงเรียนบ้านหินลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม ด้วยบันได 6 ขั้น ซึ่งก็ไปสอดคล้องกับนโยบายการสนับสนุนของ สพฐ. คุณครูศิริลักษณ์ กล่าวว่า จากประสบการณ์สอนหนังสือของตน ในแต่ละห้องจะมีนักเรียนที่มีปัญหาในการอ่านเขียนเกินครึ่ง และในจำนวนนั้นจะเป็นเด็กพิเศษที่เรียกว่า LD รวมอยู่ด้วย คุณครูจึงเริ่มแก้ปัญหาด้วยการสอนเพิ่มเติมให้กลุ่มที่มีปัญหาการอ่านเขียน ทั้งในห้องเรียนและนอกเวลาเรียน พบว่า การฝึกฝนเด็กในช่วงประถมปลาย ทำให้เด็กสูญเสียโอกาสที่จะเรียนรู้ตั้งแต่เริ่มเรียน และการสอนที่ไม่ต่อเนื่องเด็กจะมีพัฒนาการล่าช้ามาก คุณครูจึงออกแบบเครื่องมือ ด้วยการใช้บันได 6 ขั้น สร้างการเรียนรู้ ร่วมกับการชักชวนนักเรียนที่มีทักษะภาษาไทยค่อนข้างดีมาเป็นจิตอาสา จับคู่เป็นบัดดี้คอยช่วยกระตุ้นให้เด็กพิเศษเกิดการเปลี่ยนแปลงได้เร็วขึ้น ผลพลอยได้เด็กอาสาก็จะเก่งขึ้น และมีจิตใจที่อ่อนโยนขึ้นด้วย ซึ่งรายละเอียดของบันได …

“เด็กอ่านไม่ออก-เขียนไม่ได้” อุปสรรคพัฒนาประเทศ วาระแห่งชาติที่ต้องเร่งแก้ไข Read More »

“บาส-ปอป้อ” ร้อนแรงต่อเนื่อง ฉลุยรอบสอง ขนไก่ออลอิงแลนด์

“บาส” เดชาพล พัววรานุเคราะห์ – “ปอป้อ” ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย คู่ผสมมือ 1 ของโลก ยังไม่แผ่ว ผ่านเข้ารอบสองศึกแบดมินตันรายการที่เก่าแก่ที่สุดในโลก 123 ปี “โยเน็กซ์ ออลอิงแลนด์ โอเพ่น 2022” เมื่อคืนวันที่ 16 มีนาคม ที่ประเทศอังกฤษ รอบแรก “บาส-ปอป้อ” ดีกรีรองแชมป์เมื่อปี 2020 พบกับ เฉิน ตัง เจีย-เพ็ค เหยิน เว่ย มือ 29 โลกจากมาเลเซีย ซึ่งสถิติที่เจอกันมา 3 ครั้ง บาส-ปอป้อ เป็นฝ่ายเอาชนะได้ทั้งหมด และในเกมนี้คู่ของไทยที่เพิ่งคว้าแชมป์ “เยอรมัน โอเพ่น” มาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ยังร้อนแรงต่อเนื่อง เอาชนะไปสองเกมรวด 21-10, 21-18 ใช้เวลา 33 นาที ผ่านเข้ารอบสอง หรือรอบ 16 คู่ …

“บาส-ปอป้อ” ร้อนแรงต่อเนื่อง ฉลุยรอบสอง ขนไก่ออลอิงแลนด์ Read More »

“วัคซีนใบยา” ป้องกันเชื้อโควิด 19 กลายพันธุ์ ฝีมือนักวิจัยไทย เปิดรับอาสาสมัครทดสอบวัคซีน รุ่น 2 ระยะที่ 1

วันนี้ Station Thai ได้ทราบข่าวมาว่า ขณะนี้ ได้เปิดรับอาสาสมัครที่มีสุขภาพแข็งแรง เพื่อเข้ารับวัคซีนสูตรปรับปรุงใหม่รับเชื้อกลายพันธุ์ “ใบยาซาร์สโควีทูแวกซ์ 2” (Baiya SARS CoV-2 Vax 2) ระยะที่ 1 ซึ่งนับเป็นเรื่องที่ดี ที่ประเทศไทยเราสามารถวิจัยและพัฒนาวัคซีนโควิด 19 ได้เอง ช่วยลดการพึ่งพาการนำเข้าวัคซีนจากต่างประเทศได้ส่วนหนึ่งในอนาคต ซึ่งผลการทดสอบวัคซีนในคนรุ่นที่ 1 ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ตอนนี้เข้าสู่รุ่นที่ 2 ระยะที่ 1 ส่วนผลการทดสอบจะเป็นอย่างไรนั้น Station Thai จะติดตามข่าวสารมาเล่าให้ฟังในอนาคตค่ะ ก่อนอื่นมาทำความรู้จักวัคซีนใบยา ฝีมือนักวิจัยไทย กันก่อนดีกว่า “วัคซีนใบยา” ป้องกันโควิด-19 ผลิตจากใบพืช เป็นผลงานของสองนักวิจัย จากรั้วจุฬาฯ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ และรองศาสตราจารย์ ดร.วรัญญู พูลเจริญ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ที่พัฒนาเทคนิคการได้โปรตีนจากใบยาสูบ เพื่อใช้เป็นยาโมโนโคลนอลแอนติบอดี (monoclonal antibody) หรือ โปรตีนที่สามารถเป็นชีววัตถุเพื่อการรักษาโรคได้ เป็นเทคโนโลยีที่มีมามากกว่า …

“วัคซีนใบยา” ป้องกันเชื้อโควิด 19 กลายพันธุ์ ฝีมือนักวิจัยไทย เปิดรับอาสาสมัครทดสอบวัคซีน รุ่น 2 ระยะที่ 1 Read More »

“บิ๊กสุชัย” เปิดตัวเยาวชนทีมชาติไทย ปี 65 ประเดิมส่งรุ่น 16 ปี สู้ศึกเทนนิสโลก

“บิ๊กสุชัย” นายสุชัย พรชัยศักดิ์อุดม นายกสมาคมกีฬาลอนเทนนิสแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า ตามที่สมาคมฯ ได้กำหนดใช้ผลการแข่งขันเทนนิสเยาวชนเพื่อความชนะเลิศแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 60 ประจำปี 2565 ซึ่งจัดขึ้น ณ ศูนย์พัฒนากีฬาเทนนิสแห่งชาติ เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 15-27 ก.พ. ที่ผ่านมา เป็นผลของการคัดเลือกนักเทนนิสเยาวชนทีมชาติไทย รุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี 14 ปี และ 16 ปี นั้น ล่าสุด ได้ตัวนักกีฬาครบ 3 รุ่นอายุ ทั้งชายและหญิงเรียบร้อยแล้ว สำหรับรายชื่อนักเทนนิสเยาวชนทีมชาติไทย ประจำปี 2565 มีดังนี้ รุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี ชาย พศิน สินฉลอง, ตรัย ศรีเสน, ธรรม์ พันธราธร และหญิง จิณห์นิภา ตราชูวณิช, โชติรินทร์ แก้วก่า, ปวีณอร …

“บิ๊กสุชัย” เปิดตัวเยาวชนทีมชาติไทย ปี 65 ประเดิมส่งรุ่น 16 ปี สู้ศึกเทนนิสโลก Read More »

จุดจบรับน้องโหด รุ่นน้องตาย รุ่นพี่ติดคุก ค่านิยมแบบผิด ๆ ในรั้วมหาวิทยาลัย

ประเพณีการรับน้อง เป็นประเพณีที่มีมานานแล้ว มีรากเหง้ามาจากทวีปยุโรป มาจากระบบ Penalism ในยุโรป และระบบแฟกกิง ในอังกฤษ ระบบ Penalism เกิดขึ้นในสมัยกลางประมาณ 700 ปีก่อน เนื่องจากเชื่อว่าน้องใหม่ที่เข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยยังขาดการศึกษาจึงต้องขัดเกลาด้วยความลำบาก ก่อนที่จะได้รับชีวิตใหม่ที่ดีในรั้วมหาวิทยาลัย เพื่อให้รู้จักประพฤติตัวให้เหมาะสม โดยจะมีการบังคับให้ใส่ชุดแปลก ๆ ถูกทำร้ายร่างกาย ถูกเล่นตลกที่หยาบคาย ถูกรีดไถเงินหรืออาหาร 200 ปีต่อมา ระบบนี้ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วยุโรป แต่ทว่าเป็นระบบที่อันตราย มีการบันทึกเรื่องคนเจ็บและคนตายจากกิจกรรมนี้ จนผู้ปกครองนักศึกษาหวาดกลัวประเพณีนี้ เมื่อสิ้นสุดสมัยกลางใน 100 ปีถัดมา ระบบนี้จึงได้ถูกยกเลิกไป สำหรับ การรับน้องแบบรุนแรง หรือ ระบบว๊าก หรือที่เรียกกันว่า “ระบบโซตัส” รุ่นพี่จะนำระบบนี้มาใช้กดดันรุ่นน้องด้วยการกลั่นแกล้ง เพราะคิดว่าจะเป็นการละลายพฤติกรรม ลดทอนความต่างของฐานะให้นิสิตใหม่รู้สึกเท่าเทียมกัน มีความรักสามัคคี “ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ” ได้พูดถึงที่มาของระบบว๊าก หรือระบบโซตัส ในหนังสือ “หนุ่มหน่ายคัมภีร์” ของ สุจิตต์ วงษ์เทศ ว่า ตัวอย่างของประเพณีประเภทนี้แผ่ขยายเข้ามาในเมืองไทยจนเห็นได้ชัด ในกรณีของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ …

จุดจบรับน้องโหด รุ่นน้องตาย รุ่นพี่ติดคุก ค่านิยมแบบผิด ๆ ในรั้วมหาวิทยาลัย Read More »

ศึกตะกร้อนัดชิง ระหว่างไทย-มาเลเซีย คู่ปรับตลอดกาล ประเภททีมเดี่ยวชาย ในกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่ประเทศไทย

ศึกตะกร้อ เอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 13 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ ปี พ.ศ.2541 นัดชิงประเภททีมเดี่ยวชาย ระหว่างไทย-มาเลเซีย ทีมไทย ประกอบด้วย สืบศักดิ์ ผันสืบ สุริยัน เป๊ะชาญ และ พูนศักดิ์ เพิ่มทรัพย์ ติดตามต่อได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=I3phOpNuXrM

“เสาจราจรล้มลุกจากยางธรรมชาติ” เพื่อถนนสีขาว ยืดหยุ่นสูง ซับแรงกระแทก ลดแรงปะทะ ไอเดียเด็ด จาก รั้วจุฬาฯ

เสาจราจรแท่งกลมสีส้มสลับแถบสะท้อนแสงสีขาว เป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยจัดระเบียบการจราจรบนท้องถนนให้ผู้ขับขี่อยู่ในช่องทางที่ถูกต้อง และเห็นเส้นทางชัดเจนขึ้นในยามค่ำคืน แต่หลายครั้ง เสาสีส้มแถบขาวเหล่านี้ถูกชนจนแตกหัก เศษชิ้นส่วนกระเด็นกีดขวางถนน ทำให้ผู้ขับขี่ต้องหลบเลี่ยงจนเกิดอุบัติเหตุและเป็นอันตรายต่อผู้ใช้รถใช้ถนนได้ จากปัญหาดังกล่าว เป็นจุดเริ่มต้นให้ รศ.ดร.ศิริลักษณ์ พุ่มประดับ ภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คิดค้นและผลิต “เสาจราจรล้มลุกจากยางธรรมชาติ” ผลงานความร่วมมือกับ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และ บริษัท สยามยูไนเต็ด รับเบอร์ จำกัด รศ.ดร.ศิริลักษณ์ กล่าวว่า เสาจราจรในปัจจุบันส่วนใหญ่ทำมาจากพลาสติก น้ำหนักเบา และมีความเปราะ ไม่อาจช่วยลดแรงกระแทกได้มากนัก แม้จะมีเสาจราจรที่ทำจากวัสดุอื่นมีคุณสมบัติทนทานกว่า เช่น พอลิยูรีเทน (Polyurethane) หรือ เทอร์มอพลาสติกพอลิยูรีเทน (Thermoplastic polyurethane) แต่ก็ไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากมีราคาสูง ดังนั้น ยางธรรมชาติจึงดูเป็นวัสดุที่เหมาะสมที่สุดในการพัฒนาเป็นเสาจราจร ยางพาราหรือยางธรรมชาติ มีความยืดหยุ่นสูง สามารถคืนตัวกลับได้ทันทีเมื่อถูกรถเหยียบทับหรือเฉี่ยวชน นอกจากนี้ ยางธรรมชาติยังมีความสามารถในการดูดซับแรงกระแทกที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ประสบอุบัติเหตุด้วย อย่างไรก็ตาม ยางธรรมชาติก็มีจุดอ่อน คือ เมื่อโดนแสงแดดและความร้อนเป็นเวลานานจะเกิดรอยแตก ซึ่ง รศ.ดร.ศิริลักษณ์ ก็ได้พยายามทดลองและปรับสูตรเพื่อกำจัดจุดอ่อนตรงนี้ …

“เสาจราจรล้มลุกจากยางธรรมชาติ” เพื่อถนนสีขาว ยืดหยุ่นสูง ซับแรงกระแทก ลดแรงปะทะ ไอเดียเด็ด จาก รั้วจุฬาฯ Read More »

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!