นักวิจัย มทร.ล้านนา ยกระดับผ้าพื้นถิ่น สร้างแบรนด์ Lanna Cotton Craft เพิ่มมูลค่าภูมิปัญญาดั้งเดิม
ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นถิ่น หรือเครื่องประดับจากผ้า เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้รับการพัฒนา และยกระดับเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน ที่สามารถจำหน่ายสร้างรายได้ให้กับชุมชนตามนโยบายหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ โดยผ้าทอพื้นเมืองที่ทอและแปรรูป จึงนับได้ว่าเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง และเป็นสาขาหนึ่งในเจ็ดสาขาตามที่ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรมได้กำหนดไว้ คือ สาขาภูมิปัญญาไทย เนื่องจากผ้าทอพื้นถิ่นจะมีความแตกต่างกันตามภูมิปัญญาดั้งเดิมของแต่ละพื้นที่ ทั้งเนื้อผ้า ลวดลาย และ วิธีการ นายสุริยนต์ สูงคำ เจ้าหน้าที่สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กล่าวถึงวัตถุประสงค์การวิจัยและพัฒนาเชิงสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือ ย้อมสีธรรมชาติ ด้วยนวัตกรรมสู่การกระจายรายได้ที่เป็นธรรม ว่า ในการส่งเสริมและยกระดับผลิตภัณฑ์จากผ้าพื้นถิ่นของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ที่ผ่านมา ได้สนับสนุนให้อาจารย์ และนักวิจัยลงพื้นที่ เพื่อสำรวจปัญหา สถานการณ์ด้านผลิตภัณฑ์จากผ้าพื้นถิ่นของกลุ่มผู้ประกอบการในระดับต่าง ๆ ทำให้ทราบปัญหา และนำไปสู่การวางแผนแก้ไขปัญหาเบื้องต้น ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาคุณภาพของกระบวนการผลิต จนถึงผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์สินค้าให้มีความหลากหลาย การพัฒนาช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ แต่การดำเนินการดังกล่าว ยังขาดมิติที่เชื่อมการทำงานตลอดห่วงโซ่อุปทานสินค้าประเภทผ้าและสิ่งทอ ทำให้ไม่สามารถมองเห็นการเกิดห่วงโซ่คุณค่าใหม่ในผลิตภัณฑ์ โดยนักวิจัยได้ศึกษาข้อมูลกลุ่มผู้ประกอบการประเภทผ้าและสิ่งทอพื้นที่ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ทำให้ได้กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา จำนวน 11 กลุ่ม ครอบคลุม 4 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ แพร่ ลำพูน และอุตรดิตถ์ นอกจากนั้น …