มทร.ล้านนา อัปสกิลภาษาแก่นักศึกษา ตอบโจทย์สถานประกอบการ เรียนจบทำงานได้ทันที พร้อมเปิดโปรแกรมทดสอบทักษะภาษาอังกฤษออนไลน์ อัปเลเวลบินดูงานต่างประเทศ

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

มทร.ล้านนา ยกระดับทักษะนักศึกษาตอบโจทย์สถานประกอบการ สร้างความร่วมมือกับบริษัทยักษ์ใหญ่ ออกแบบหลักสูตรผลิตบัณฑิตร่วมกัน สอดคล้องกับนโยบายมหาวิทยาลัย เรียนจบทำงานได้ทันที พร้อมเปิดโปรแกรมทดสอบทักษะภาษาอังกฤษออนไลน์ อัปเลเวลบินดูงานต่างประเทศ ปัจฉิมพิเศษสุด จัด Card To You ให้แก่บัณฑิตจบใหม่ พร้อมเติม 100 แต้ม อบรม Upskill Reskill ฟรี 1 ปี

ผศ.ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (มทร.ล้านนา) กล่าวว่า มทร.ล้านนา ให้ความสำคัญในการพัฒนาทักษะที่ตอบโจทย์ความต้องการของสถานประกอบการให้แก่นักศึกษาในทุกคณะ โดยเฉพาะทักษะด้านดิจิทัล ทักษะการสื่อสาร ทักษะด้านภาษาอังกฤษ ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล และ ทักษะความเป็นผู้ประกอบการ ซึ่งทักษะเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการในแต่ละอุตสาหกรรมต้องการจากแรงงาน มทร.ล้านนา จึงได้มีโครงการความร่วมมือกับสถานประกอบการโดยตรง ทั้งในเรื่องของการออกแบบหลักสูตรร่วมกัน เปิดโอกาสให้นักศึกษาไปทำงานเรียนรู้ในสถานประกอบการตั้งแต่ตอนเรียน

ปัจจุบัน มทร.ล้านนา มีความร่วมมือกับสถานประกอบการ 10 กว่าบริษัทในทุกคณะ เช่น คณะบริหารธุรกิจ และศิลปศาสตร์ มีความร่วมมือกับ บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน), บริษัท ซีอาร์ซี ไทวัสดุ จำกัด, กลุ่มบริษัท ซีพี ออลล์ จํากัด (มหาชน) และ กลุ่มเซ็นทรัลกรุ๊ป ส่วนคณะวิศวกรรมศาสตร์ มีความร่วมมือกับ ริษัท ฟูจิคูระ อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด สยามมิชลีน, บริษัท ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส์ จำกัด ส่วนคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการเกษตร มีความร่วมมือกับ บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) และ คณะศิลปกรรม และสถาปัตยกรรม มีความร่วมมือกับสถาปนิกล้านนา เป็นต้น

“มทร.ล้านนา จัดการศึกษาการเรียนการสอนในสายวิชาชีพ สิ่งสำคัญในการอบรมสั่งสอน พัฒนานักศึกษา ทุกคณะต้องเรียนรู้แล้วสามารถนำไปทำงานได้ทันที สถานประกอบการไม่ต้องเสียเวลามาฝึกอบรม หรือ ฝึกปฎิบัติใหม่ ขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยได้มีการจัดทำโปรแกรมการเรียนการสอนร่วมมือกับสถานประกอบการเกือบทุกคณะ เว้นแต่หลักสูตรที่มีสภาวิชาชีพกำหนด หรือ มีตลาดรองรับนักศึกษาอยู่แล้ว เช่น วิศวกรรมก่อสร้าง วิศวกรรมโยธา เป็นต้น ส่วนคณะอื่น ๆ มหาวิทยาลัยต้องการให้นักศึกษามีทักษะตรงกับความต้องการของสถานประกอบการ จึงต้องทำงานร่วมกับสถานประกอบการเป็นหลัก”

ผศ.ดร.จัตตุฤทธิ์ กล่าวต่อว่า การพัฒนาการผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาตรีให้มีคุณภาพสูง และสมรรถนะตรงตามความต้องการของประเทศ และสถานประกอบการ อีกทั้งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดอย่างเป็นระบบและต่อเนี่อง จำเป็นจะต้องมีการทำงานร่วมกับสถานประกอบการ และเปิดโอกาสให้นักศึกษาทำโปรเจคที่เป็นปัญหาของสถานประกอบการจริง ๆ ซึ่งมหาวิทยาลัยจะมีการสนับสนุนและให้ทุนทั้งนักศึกษา และคณาจารย์ ในการทำไปงาน หรือ ร่วมโปรเจคกับสถานประกอบการ ฉะนั้น มิติในการพัฒนานักศึกษาให้เป็นกำลังคนสมรรถนะสูง สอดคล้องกับความต้องการของภาคการผลิต สามารถสร้างงานในอนาคตได้

ตั้งแต่ผมเข้ามาทำหน้าที่รักษาราชการแทน อธิการบดี มทร.ล้านนา ให้ความสำคัญในการพัฒนาทักษะด้านภาษา ทักษะดิจิทัล และไอที โดยมีกลไกให้นักศึกษาได้เรียนรู้พัฒนาตนเองด้วยโปรแกรมออนไลน์ ซึ่งโปรแกรมออนไลน์ดังกล่าว นักศึกษาสามารถเข้าไปทดสอบทักษะภาษาอังกฤษของตนเองว่าอยู่เลเวลไหน และหากได้ในเลเวลที่เพิ่มขึ้นตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด จะมีทุนให้แก่นักศึกษาไปศึกษาดูงานในต่างประเทศ ซึ่งในปีการศึกษาที่ผ่านมา ได้พานักศึกษา 20 คน ไปดูงานที่ประเทศสิงคโปร์ ในโครงการ Learning Express อีกทั้งเมื่อนักศึกษาพัฒนาตัวเองให้มีทักษะภาษาอังกฤษที่สูงขึ้น จะได้รับโล่รางวัล และยกเว้นค่าเล่าเรียน เพื่อเป็นแรงจูงใจให้แก่นักศึกษาได้พัฒนาตนเองด้านทักษะภาษาอังกฤษ” 

นอกจากนั้น ปัจฉิมนิเทศในปีนี้ ทางมหาวิทยาลัยได้มีการจัดทำ Card To You ให้แก่บัณฑิตจบใหม่ พร้อมเติม 100 แต้ม อบรม Upskill Reskill ฟรี 1 ปี เพื่อเป็นช่องทางการติดต่อแก่นักศึกษา การฝึกอบรม และสิทธิพิเศษอื่น ๆ ให้แก่นักศึกษาเก่า อีกทั้งเป็นช่องทางการติดต่อระหว่างนักศึกษาและศิษย์เก่าร่วมกัน เป็นการประชาสัมพันธ์ข้อมูล และสร้างสังคมระหว่างรุ่นพี่ รุ่นน้อง โดยรุ่นน้องต้องการงานสาขาไหน หรือ รุ่นพี่ต้องการรุ่นน้องในสาขาไหนไปทำงาน ก็สามารถติดต่อร่วมกันได้ อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ทางมหาวิทยาลัยได้มีการนำโปรแกรมนวัตกรรมต่าง ๆ มาช่วยในการพัฒนายกระดับทักษะให้แก่นักศึกษา มีสมรรถนะ มีความพร้อมในการทำงาน และสามารถแข่งขันได้ในตลาดงานยุคปัจจุบัน

RANDOM

NEWS

error: Content is protected !!