นักวิจัย ม.มหิดล โชว์กึ๋น ประดิษฐ์ “แพลตฟอร์มกลางสร้างเครื่องมือบำบัดจิตวิทยาด้วยปัญญาประดิษฐ์” ช่วยดูแลปัญญาสุขภาพจิตคนไทย การันตีด้วยรางวัลเหรียญทองนักประดิษฐ์นานาชาติ ที่เจนีวา

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี พร้อมด้วย รศ. ดร.ธนภัทร์ วานิชานนท์ และ รศ. ดร.นรเศรษฐ์ ณ สงขลา แสดงความยินดีกับ ทีมนักวิจัยไทย ดร.กลกรณ์ วงศ์ภาติกะเสรี ผศ.ดร.นริศ หนูหอม และ ดร.สุเมธ ยืนยง ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ นางสาวพณิดา โยมะบุตร นักจิตวิทยาคลินิก ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เจ้าของผลงาน นวัตกรรม “แพลตฟอร์มกลางสำหรับการสร้างเครื่องมือบำบัดทางจิตวิทยาด้วยปัญญาประดิษฐ์” (AI Phychological Open Platform) ที่สามารถคว้ารางวัลเหรียญทอง จากเวทีนักประดิษฐ์นานาชาติเจนีวา ประจำปี 2566 (International Exhibition of Inventors Geneva 2023) สมาพันธรัฐสวิส มาครองได้สำเร็จ

ดร.กลกรณ์ วงศ์ภาติกะเสรี หัวหน้าทีมวิจัย และ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ขณะที่สังคมและเศรษฐกิจมีความซับซ้อนอ่อนไหวและผันผวน ปัญหาสุขภาพจิตมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และคุณภาพชีวิตของผู้ประสบปัญหาและคนใกล้ตัว หลายหน่วยงานที่ให้บริการดูแลสุขภาพจิต ทั้งภาครัฐ เอกชน และหน่วยงานอิสระ ต่างก็ช่วยเหลือให้คำแนะนำปรึกษาแก่ประชาชน แต่ยังมีข้อจำกัด เช่น จำนวนบุคคลากรไม่เพียงพอ ค่าใช้จ่ายสูง ขาดเทคโนโลยีที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของบริการ ดังนั้น ทีมวิจัยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้ริเริ่มพัฒนา “แพลตฟอร์มกลางสำหรับการสร้างเครื่องมือบำบัดทางจิตวิทยาด้วยปัญญาประดิษฐ์” (AI Psychological Intervention Open Platform) เพื่อช่วยให้บริการสุขภาพจิตของหน่วยงานต่าง ๆ สามารถมีเครื่องมือและเทคโนโลยีในการพัฒนาบริการดูแลสุขภาพจิตให้ก้าวหน้าทันสมัยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นับเป็นงานวิจัยนวัตกรรมที่สร้างความเปลี่ยนแปลงไปสู่ดิจิทัลเฮลแคร์ และเสริมสร้างความก้าวหน้าของวงการสุขภาพจิตในประเทศไทย โดยได้รับทุนวิจัยสนับสนุน จาก สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ปัจจุบันมีหน่วยงานสุขภาพจิตจำนวนกว่า 30 องค์กร ที่ได้ร่วมโครงการอบรม และใช้ประโยชน์ในการพัฒนาบริการดูแลสุขภาพจิต

ประโยชน์ของแพลตฟอร์มนี้ ช่วยยกระดับงานบริการดูแลสุขภาพจิตของไทยให้ก้าวหน้า ช่วยให้บุคลากรของหน่วยงานดูแลสุขภาพจิตในประเทศไทยสามารถสร้าง “หุ่นยนต์โต้ตอบ (Chatbot)” แบบอัตโนมัติ ได้ง่าย สามารถออกแบบพัฒนาแชทบอทปัญญาประดิษฐ์ด้านสุขภาพจิตได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี รวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่าย เพื่อตอบโจทย์ประชาชนผู้รับบริการ ตรงวัตถุประสงค์ และเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายของหน่วยงาน เป็น Open Platform ที่หน่วยงานหนึ่งสามารถแชร์แบบให้แก่หน่วยงานอื่นนำไปปรับใช้ประโยชน์ต่อไปได้ นอกจากนี้ ยังมี “ปัญญาประดิษฐ์ (AI)” ที่ช่วยประเมินวิเคราะห์อารมณ์ หรือ ปัญหาทางสุขภาพจิต ผลงานนวัตกรรมนี้นับเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ชุมชนและประชาชนคนไทยทั่วประเทศ สามารถเข้าถึงการบริการ และได้รับการดูแลด้านสุขภาพจิตอย่างทั่วถึงมากขึ้น ได้ทุกที่ ทุกเวลา สะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย ในอนาคตยังเป็นฐานข้อมูล Big Data ด้านสุขภาพจิตของไทย ที่สามารถนำมาวิเคราะห์ วางแผน หรือ กำหนดแนวทางและนโยบายการพัฒนาสุขภาพจิตต่อไปได้อีกด้วย

RANDOM

สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารีฯ เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ พระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา เหล่าบัณฑิตมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติเป็นปลื้ม

เลือกผู้นำบ้านอัมพวัน ‘เหมือนการละเล่น’ จริงหรือ และ ถึงเวลาเปลี่ยนแปลง ให้มีศักดิ์ศรี สู่สากลได้หรือยัง ดูเหตุการณ์การเลือกตั้ง และการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ จากยุคสุดท้าย ของ ‘เสธ.ทวี ถึง ยุคบิ๊กป้อม’ จะเห็นภาพชัดๆ

NEWS

กองทุนอนุสรณ์สุนทรภู่ ร่วมกับ สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย เชิญชวนเยาวชนและบุคคลทั่วไปที่สนใจ ร่วมประกวดบทร้อยกรอง “นิทานคำกาพย์” เนื่องในวันสุนทรภู่ ประจำปี 2568 สมัครและส่งผลงานได้ ตั้งแต่บัดนี้ – 6 มิถุนายน

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!