วิศวะ จุฬาฯ ร่วมจัดตั้ง “สถาบันคาร์บอนเพื่อความยั่งยืน” หนุนไทยมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

มูลนิธิอรุณ สรเทศน์ ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ สมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดตัว “โครงการจัดตั้งสถาบันคาร์บอนเพื่อความยั่งยืน (Carbon Institute for Sustainability : CBiS)” พร้อมจัดเสวนาวิชาการ หัวข้อ “Carbon Footprint towards Thailand SMEs inclusive growth” ในงาน “อรุณ สรเทศน์ รำลึก 2566” ร่วมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ และกิจกรรมมอบรางวัลการประกวด “Faculty Future; race to zero concept” ของ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมรายงานความคืบหน้าของโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก มูลนิธิอรุณ สรเทศน์

ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และ หัวหน้าโครงการจัดตั้งสถาบันคาร์บอนเพื่อความยั่งยืน (CBiS) กล่าวว่า การจัดตั้งสถาบันคาร์บอนเพื่อความยั่งยืน ครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายในการเป็นสถาบันที่มุ่งเน้นการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกตามหลักวิศวกรรม ผ่านการถ่ายทอดองค์ความรู้และร่วมพัฒนานวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ และการเติบโตอย่างมีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นการสร้างคนเก่งที่มีทักษะความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม หรือ  Green Talent การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม การสร้างความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ และการสนับสนุนธุรกิจ SMEs ที่กำลังเผชิญความท้าทายของการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง

ด้าน ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ รองประธานกรรมการมูลนิธิ อรุณ สรเทศน์ กล่าวว่า สถาบัน ฯ ที่กำลังจะดำเนินการจัดตั้งนี้ จะช่วยให้เกิดการสร้างความรู้และความเข้าใจถึงความสำคัญของการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน และมีส่วนช่วยในการพัฒนาศักยภาพของกลุ่มคน Green talent อันเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำในประเทศไทยได้อย่างเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งสนับสนุนการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน และ การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ร่วมกัน

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการเสวนาวิชาการ หัวข้อ “Carbon Footprint towards Thailand SMEs inclusive growth” โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญจากหลายสาขาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ และแลกเปลี่ยนมุมมองต่อความสำคัญของการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ในการนำพา SMEs ของประเทศไทยสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน ได้แก่ ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขานุการสำนักงานนโยบายและแผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คุณเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) คุณพิพิธ อเนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชะวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ คุณวฤต รัตนชื่น ผู้ช่วยผู้ว่าการวิจัย นวัตกรรม และพัฒนาธุรกิจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นผู้ดำเนินการเสวนา พร้อมมอบรางวัลการประกวด “Future Faculty; Race to Zero” เป็นโครงการประกวดที่เปิดโอกาสให้นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมเสนอแนวคิดลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ทั้งนี้ สามารถรับชมงานเสวนาย้อนหลังได้ที่ facebook.com/ChulaEngineering สำหรับผู้สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Facebook Page “Faculty of Engineering, Chulalongkorn University” และ “Carbon Institute for Sustainability – CBiS”

RANDOM

สมาคมบริดจ์ ลุ้นการยื่นของบประมาณจาก กกท.และกองทุน หลังจากที่นักกีฬาเยาวชนสร้างผลงานดีระดับเอเชีย จนได้สิทธิ์เข้าร่วมการชิงแชมป์โลกได้สำเร็จ หวังให้ได้เงินหนุน เพื่อประโยชน์ต่อวงการ และอีกด้านถ้าหากได้สิทธิแต่ไม่ส่งจะโดนห้ามร่วมงานถึง 2 ปี

error: Content is protected !!