ม.รังสิต ปักธง 5 ปี ชู “นวัตกรรม” อัปเกรดองค์กรครอบคลุมทุกมิติ ปูทางมหาวิทยาลัย 24 ชั่วโมง พร้อมก้าวสู่ Hub ใหม่ของการศึกษาในอนาคต

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

มหาวิทยาลัยรังสิต ปักหมุดยุทธศาสตร์ 5 ปี ขับเคลื่อนมหาวิทยาลัย วางเป้าหมายมุ่งผลิตบัณฑิตให้มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการของพลเมืองโลกที่มีคุณภาพ เน้นให้ความสำคัญกับความต้องการของนักศึกษา เปิดพื้นที่สนับสนุนการเรียนรู้ เป็นมหาวิทยาลัย 24 ชั่วโมง โดยพัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของ Digital Transformation ที่ครอบคลุมทุกหลักสูตร เพื่อเพิ่มความหลากหลายในวิชาชีพ พร้อมก้าวสู่ Hub ใหม่ของการศึกษาในอนาคต

ดร.อรรถวิท อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า ประเด็นสำคัญที่ใช้ขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยให้แข็งแกร่ง คือ “นวัตกรรม” เรามองว่า นวัตกรรม เป็นธงหลักในการพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถสูง นอกจากงานวิจัยแล้ว มหาวิทยาลัยต้องสร้างนวัตกรรมที่องค์กรและสังคมสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ให้ความสำคัญกับความต้องการการเรียนรู้ของนักศึกษาทุกด้านกับการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ ได้วางทิศทางการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยรังสิต 5 ปี หลังจากนี้ ให้มีความพร้อมในทุกด้าน ได้แก่ 1. สร้างความเป็นเลิศทางการศึกษาและการผลิตบัณฑิต 2. สร้างความเป็นเลิศทางวิจัย งานสร้างสรรค์ และนวัตกรรม 3. สร้างความเป็นเลิศด้านการบริการวิชาการและการฝึกอบรม 4. ชี้นําการรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม และ 5. บริหารจัดการให้เป็นองค์กรแห่งความเป็นเลิศ และองค์กรแห่งความสุข ซึ่งทุกหน่วยงานภายในองค์กรร่วมกันขับเคลื่อนทั้งคุณภาพการศึกษา และความพร้อมในทุก ๆ ด้าน ตามแนวทางที่เราวางไว้คือ “ดีมาก-หลากหลาย-24 ชั่วโมง”

ด้าน ผศ.ดร.นฤพนธ์ ไชยยศ รองอธิการบดีฝ่ายแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจัยหลักที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงใน 5 ปี ข้างหน้า คือ เรื่องความคาดหวังสมรรถนะใหม่ในด้านอาชีพ ความต้องการกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของ Digital Transformation ที่ครอบคลุมทุกหลักสูตร และนักศึกษาต้องการหลักสูตรและการเรียนรู้ที่เพิ่มความหลากหลายในวิชาชีพ ซึ่งมหาวิทยาลัยรังสิตเองได้มีการปรับตัวในเรื่องหลักสูตรการเรียนการสอนที่มีความหลากหลายมากขึ้น นักศึกษาไม่ได้เรียนเพียงแค่ทฤษฎี แต่สามารถลงมือปฏิบัติได้จริง เพื่อเตรียมพร้อมสู่โลกของการทำงานได้อย่างมืออาชีพ ตามแบบฉบับ Practical University รวมทั้งเรื่องของรูปแบบการบริหารจัดการองค์กร ก็ต้องเป็น Smart Organization เพื่อขับเคลื่อนไปพร้อมกัน และสิ่งที่เราให้ความสำคัญ คือ นักศึกษา โดยเปิดพื้นที่การเรียนรู้ให้นักศึกษาได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ในเรื่องของความเป็นนานาชาติ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยรังสิตมีกลุ่มนักศึกษาต่างประเทศมาเรียนเพิ่มมากขึ้นทุกปี อยู่ในเทรนด์ที่ว่า ประเทศไทย จะเป็น Hub ใหม่ของการศึกษาในอนาคต

ขณะที่ รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ พูตระกูล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อย มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวต่อว่า เมื่อเราเปิดพื้นที่การเรียนรู้ เป็นมหาวิทยาลัย 24 ชั่วโมง เรื่องของความปลอดภัยของนักศึกษาจึงเป็นสิ่งสำคัญ และเพื่อให้นักศึกษา บุคลากร รวมทั้งผู้ปกครองรู้สึกอุ่นใจถึงความปลอดภัยตลอดเวลาที่อยู่ในรั้วมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิตได้จัดตั้ง สำนักงานตำรวจมหาวิทยาลัยรังสิต (ตร.ม.) ขึ้นซึ่งเป็นที่แรกในประเทศไทย เพื่อดูแลป้องกันการก่อเหตุอาชญากรรมในพื้นที่โดยรอบสถานศึกษา โดยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทำงานร่วมกัน ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจมหาวิทยาลัยรังสิตจะได้รับการฝึกอบรม ฝึกฝนมาโดยเฉพาะเพื่อปฏิบัติงานด้านการดูแลความปลอดภัย ทั้งยังมีเรื่องของระบบการเฝ้าระวัง ระบบการตรวจตราความเรียบร้อยในพื้นที่โดยรอบ และการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการช่วยกำกับดูแล เฝ้าระวังด้วย ซึ่งหากเกิดเหตุด่วนนักศึกษาสามารถแจ้งได้ตลอด 24 ชั่วโมง เรียกว่า นักศึกษา หรือ ผู้ปกครองที่เข้ามาต้องรู้สึกอุ่นใจ ปลอดภัย เมื่ออยู่ในรั้วมหาวิทยาลัย

ทางด้าน ผศ.ดร.ปถมาพร สุกปลั่ง รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวเสริมว่า จากความเข้มแข็งทางวิชาการ และการที่มหาวิทยาลัยรังสิตมีหลักสูตรการเรียนการสอนที่หลากหลาย ทำให้ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยรังสิตสามารถครองพื้นที่ในการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรม ซึ่งแต่ละหลักสูตรที่เปิดสอนมีผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่โดดเด่น และเป็นที่ยอมรับมากมาย อาทิ ความสำเร็จในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์กัญชาเพื่อการแพทย์ ของ วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ ผลงานวิจัยและนวัตกรรมของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือดแบบไม่ต้องเจาะเลือดชนิดพกพา ผิวหนังเทียมที่ทำจากเจลาตินด้วยเทคนิคการพิมพ์ชีวภาพสามมิติสำหรับการรักษาแผล เป็นการเรียนที่ตอบโจทย์อนาคต เรียนสถาปัตย์ ม.รังสิต ปี 1 ออกแบบบ้านได้ เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้เป็นการปรับรูปแบบการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเทรนด์การศึกษาในปัจจุบัน โดยที่มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนในสิ่งที่อยากเรียนได้ เรียนหมอแต่อยากเรียนดนตรีควบคู่ไปด้วยก็ได้ เรียนวิศวะแต่อยากทำสื่อเป็น ก็สามารถเลือกเรียนนิเทศศาสตร์เป็นวิชาโทได้ เรียกว่า เป็นการผสมผสานหลายวิชาแบบองค์รวม ก้าวข้ามข้อจำกัดทางการศึกษา เป็นการเติมเต็มการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ที่สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ เพราะที่นี่อนาคตออกแบบได้

ปิดท้ายที่ ผศ.ดร.นเรฏฐ์ พันธราธร รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวต่อว่า จากงานวิจัยสู่วิจัยเพื่อชุมชม สังคมแห่งการแบ่งปัน เพื่อสร้างเศรษฐกิจเกื้อกูล ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี (อบจ.ปทุมธานี) เป็นหุ้นส่วนสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อสร้างสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดีในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี โดยได้จัดตั้ง ศูนย์พัฒนาหลักหก (LakHok Development Center : LHDC) ขึ้น เพื่อพัฒนากลไกการดำเนินงานร่วมทุนที่ยั่งยืน เกิดเป็นแหล่งทุนระยะยาวสำหรับการดำเนินงานสร้างสุขภาวะของประชาชนจังหวัดปทุมธานี สนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานของบุคคล กลุ่มบุคคล ชุมชน หน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ที่ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาวะ รายได้ สิ่งแวดล้อม และสังคมของจังหวัดปทุมธานี สู่พื้นที่สุขภาวะที่ดีและยั่งยืน นอกจากนี้ สสส. ยังได้มุ่งสรรหาและจัดสรรงบประมาณเพื่อการสร้างอาชีพและรายได้แนวใหม่ ตามแนวคิดเศรษฐกิจฐานรากเพื่อสร้างสุขภาวะให้กับนักศึกษาที่กำลังจะจบ ติดอาวุธให้นักศึกษาสามารถหารายได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาระบบการสมัครงาน

RANDOM

แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล รับสมัครคัดเลือกบุคคลบรรจุแต่งตั้งเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย “นักวิทยาศาสตร์การกีฬา – นักวิชาการโสตทัศนศึกษา” รับสมัครตั้งแต่บัดนี้ – 15 มิ.ย. 66

error: Content is protected !!