กรมการแพทย์ ปรับแนวทางการรักษาผู้ป่วย รับมือโควิด 19 สายพันธุ์ XBB.1.16 ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

แพทย์หญิงนฤมล สวรรค์ปัญญาเลิศ และ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ ที่ปรึกษากรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า โควิด 19 สายพันธุ์ XBB.1.16 อาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อสายพันธุ์นี้ ไม่ต่างจากสายพันธุ์อื่น ๆ ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่คล้ายไข้หวัด คือ มีไข้ เจ็บคอ น้ำมูกไหล ปวดเมื่อยตามตัว ปวดศีรษะ แต่เมื่อเทียบอาการเด็กกับผู้ใหญ่ พบลักษณะพิเศษในเด็ก คือ มีไข้สูง และ ตาแดง นักวิชาการทั่วโลกคาดการณ์ว่า ต่อไป สายพันธุ์ XBB.1.16 จะกลายเป็นสายพันธุ์ที่พบระบาดมาก

ทั้งนี้ กรมการแพทย์ ได้มีการประชุมหารือแนวทางการวินิจฉัยรักษาผู้ป่วยโรคโควิด 19 โดยให้ปรับแนวทางเวชปฏิบัติสำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข 2 เรื่อง คือ

1. ปรับการให้ยาต้านไวรัสในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรครุนแรง โดยให้ใช้ยาต้านไวรัสทั้งหมดที่มีอยู่ในประเทศตามไกด์ไลน์เดิมยังสามารถให้ผู้ป่วยได้ทั้งหมด แต่ให้เลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง พิจารณาจากยาที่มีประสิทธิภาพ และอาการของคนไข้เป็นหลัก

2. ปรับเงื่อนไขของการให้ LAAB สำหรับการดูแลผู้ป่วย ยังคงตามไกด์ไลน์เดิม หากอาการเข้าตามนิยามของกรมควบคุมโรค ให้ตรวจด้วย ATK หรือ RT PCR หากไม่เจอเชื้อ ไม่มีอาการ ให้ตรวจซ้ำภายใน 48 ชั่วโมง พร้อมเน้นปฏิบัติตามหลัก DMH คือ คือ เว้นระยะห่าง ใส่หน้ากาก ล้างมือ เคร่งครัด 5 วัน

กรณีที่ตรวจพบเชื้อ ให้ดูแลตามอาการ แบ่งเป็น 4 กลุ่มเหมือเดิม คือ กลุ่ม 1 ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ ให้รักษาแบบผู้ป่วยนอก ปฏิบัติตาม DMH โดยไม่ต้องให้ยาต้านไวรัส เนื่องจากส่วนมากหายเองได้ กลุ่ม 2 ผู้ป่วยที่มีอาการ แต่ไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรครุนแรง หรือ โรคร่วมสำคัญ ให้ดูแลเหมือนกลุ่ม 1 แต่อาจให้ยาตามอาการ และดุลยพินิจของแพทย์ กลุ่ม 3 ผู้ป่วยอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรครุนแรง หรือ มีโรคสำคัญ ได้แก่ อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง รวมถึงโรคปอดเรื้อรังอื่น ๆ โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ภาวะอ้วนหนักมากกว่า 90 กิโล ตับแข็ง ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำเป็นโรคที่อยู่ในระหว่างได้รับยาเคมีบำบัด หรือ ยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ติดเชื้อ HIV หรือ เป็นผู้ป่วยที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง แต่มีปอดอักเสบเล็กน้อยถึงปานกลาง อาจแอดมิทเป็นผู้ป่วยตามดุลยพินิจของแพทย์ กลุ่ม 4 ผู้ป่วยที่มีอาการหนัก และมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรครุนแรง หรือ มีโรคสำคัญ หรือ มีระดับออกซิเจนน้อยกว่า 94% ต้องแอดมิทไว้ดูอาการในโรงพยาบาล

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3ULBfIS

RANDOM

error: Content is protected !!